ผู้จัดการรายวัน 360 - ดุสิตโพลชี้ ปชช.เดือดร้อน “ของแพง-ค่าครองชีพสูง” แนะควบคุมราคาสินค้า-ไม่ขึ้นภาษี เอาผิดผู้เอารัดเอาเปรียบ 47.90% คาดหวัง “บิ๊กตู่” กู้สถานการณ์ ศก.ตกต่ำ "รองโฆษก รบ." ลั่นเดินหน้าลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า ช่วยค่าครองชีพ ปชช.คืบหน้าไปมาก ระบุบอร์ด รฟม.ประชุม 19 พ.ย. มั่นใจเสร็จก่อนสิ้นปี เป็นของขวัญปีใหม่คนไทย "สนธิรัตน์" หนุนน้ำมันบนดินพลิก ศก.ฐานราก ยัน B10 แก้ปัญหาราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำอย่างยั่งยืน
วานนี้ (17 พ.ย.) “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ เรื่องการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลในสายตาประชาชน สำรวจระหว่างวันที่ 12-16 พ.ย.62 สรุปผล 5 อันดับ ปัญหาเศรษฐกิจที่รุมเร้าประชาชน ณ วันนี้ ได้แก่ อันดับ 1 ข้าวของแพง ค่าครองชีพสูง 65.54% สาเหตุจากสินค้ามีต้นทุนสูง ทุกอย่างปรับขึ้นราคา รัฐขึ้นภาษีสินค้าต่างๆ ทำให้มีราคาแพงขึ้น นายทุนเอารัดเอาเปรียบ ฯลฯ วิธีแก้ไข คือ ควบคุมราคาสินค้า มีส่วนลดสำหรับประชาชน ลดราคาน้ำมัน ของกินของใช้ ดำเนินการกับผู้ที่เอารัดเอาเปรียบอย่างจริงจัง ฯลฯ
อันดับ 2 ภาวะเศรษฐกิจของประเทศย่ำแย่ 39.19% สาเหตุจากรัฐบาลแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจยังไม่ค่อยได้ผล เงินบาทแข็ง ท่องเที่ยวซบเซา เศรษฐกิจโลกตกต่ำ ฯลฯ วิธีแก้ไข คือ รัฐบาลแก้ปัญหาให้ตรงจุด มีนโยบายช่วยเหลือประชาชน ใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์ ไม่ทุจริตคอร์รัปชัน ฯลฯ
อันดับ 3 การว่างงาน ตกงาน 31.76% สาเหตุจากเศรษฐกิจไม่ดี ไม่มีงานทำ สถานประกอบการขาดทุนต้องปิดตัวลง ไม่มีเงินจ่ายค่าจ้าง คนงานถูกเลิกจ้าง ฯลฯ วิธีแก้ไข คือ ไม่เลือกงาน ลดรายจ่าย หางานพิเศษทำ รัฐบาลมีนโยบายเร่งช่วยเหลือคนตกงาน ชดเชยเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ฯลฯ
อันดับ 4 รายได้ลดลง เงินไม่พอใช้ 25.68% สาเหตุจากองค์กร สถานประกอบการมีกำไรลดลง ต้องลดรายจ่าย ให้ค่าตอบแทนลดลง ข้าวของแพง รายจ่ายสูง ฯลฯ วิธีแก้ไข คือ ขึ้นเงินเดือน เพิ่มค่าแรง ลดความเหลื่อมล้ำ ลดภาษี ลดดอกเบี้ย ขยายเวลาชำระหนี้ ช่วยเหลือคนยากจน ฯลฯ
และอันดับ 5 การส่งออก การค้าและการลงทุน 17.48% สาเหตุจากเศรษฐกิจโลกซบเซา ต่างชาติ ภาคเอกชนไม่กล้าลงทุน ส่งออก-นำเข้ามีปัญหา ค่าเงินบาทแข็งทำให้ได้กำไรลดลง ฯลฯ วิธีแก้ไข คือ รัฐบาลต้องสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ต่างชาติและนักลงทุน ส่งเสริมการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจภาพรวม ฯลฯ
ขณะที่เรื่องที่ประชาชนอยากให้รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือมากที่สุด คือ อันดับ 1 ควบคุมราคาสินค้า ลดค่าครองชีพ ไม่ขึ้นภาษี 54.34% อันดับ 2 แก้ปัญหาเศรษฐกิจโดยเร่งด่วน สร้างงานสร้างรายได้ ขึ้นเงินเดือน 38.41% อันดับ 3 พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น 31.15%
และในหัวข้อที่ว่า ใครหรือหน่วยงานใดที่ประชาชนคาดหวังให้เข้ามาช่วยเหลือ ปรากฏว่า อันดับ 1 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรี และผู้นำฝ่ายรัฐบาล 47.90%, อันดับ 2 กระทรวงต่างๆ เช่น กระทรวงการคลัง พาณิชย์ แรงงาน อุตสาหกรรม เกษตรฯ 32.84% และอันดับ 3 ฝ่ายค้าน พรรคเพื่อไทย พรรคอนาคตใหม่ 24.94%
ลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าเสร็จทันปีนี้
อีกด้าน น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า เพื่อลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศึกษาแนวทางการปรับลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า โดยไม่มีผลกระทบต่อสัญญา เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทาง บรรเทาความเดือนร้อนของผู้โดยสาร ลดภาระค่าครองชีพที่ใช้จ่ายประจำวัน ซึ่งนโยบายดังกล่าวนี้มีความคืบหน้าไปมาก โดยวันที่ 19 พ.ย.นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (บอร์ด รฟม.) พิจารณาลดภาระค่าโดยสารรถไฟฟ้าเพื่อประชาชน ทั้งนี้ บอร์ด รฟม. จะพิจารณาใน 2 มาตรการ 1.เปิดจำหน่ายตั๋วโดยสารร่วมระหว่างรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง คิดอัตราค่าโดยสารต่อเที่ยวถูกลง 2.ลดอัตราค่าโดยสารในช่วงนอกเวลาเร่งด่วน (Off Peak) ระหว่าง 9.00-15.30 น. และช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ ของรถไฟฟ้าสายสีม่วง โดยปัจจุบันเก็บอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 14-42 บาทต่อเที่ยว ส่วนมาตรการลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าทั้งระบบนั้น ขณะนี้ กรมการขนส่งทางราง กำลังเร่งหาแนวทางอยู่ โดยต้องพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อไม่ได้กระทบต่อสัญญา และให้ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด
“การลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าลง จะทำให้ประชาชนหันมาเดินทางโดยรถไฟฟ้ามากขึ้น โดย รมว.คมนาคม (นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ) คาดหวังจะให้นโยบายนี้ แล้วเสร็จก่อนสิ้นปี เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชนชาวไทย และคาดหวังว่าจะเป็นที่น่าพอใจต่อประชาชน สามารถช่วยเหลือประชาชนในการประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการเดินทางได้เป็นอย่างดี” น.ส.ไตรศุลี ระบุ
“สนธิรัตน์” ดัน B10 อุ้มราคาปาล์ม
วันเดียวกัน นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน เป็นประธานกล่าวปาฐกถาเรื่อง “B10 น้ำมันบนดิน เพื่อเศรษฐกิจฐานราก” ภายในงานสัมมนา B10 ราคาปาล์มจะรุ่ง หรือร่วง จัดขึ้นที่ จ.นครศรีธรรมราช โดยได้กล่าวช่วงหนึ่งว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนผลิตไฟฟ้าให้มีสัดส่วนไม่น้อยกว่า 30% ในปี 2579 จึงมีโครงการต่างๆ เกิดขึ้นเพื่อตอบโจทย์นโยบายนี้ ทั้งการส่งเสริมโรงไฟฟ้าชุมชน การส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพจากไบโอดีเซล และเอทานอลผสมในเนื้อน้ำมัน ซึ่งถือเป็นน้ำมันบนดินที่มาจากผลผลิตทางการเกษตรที่เป็นจุดแข็งของไทย ช่วยสร้างเสถียรภาพราคาผลผลิตทางการเกษตรให้กับเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลผสมในน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นเป็น B10 นั้น ขณะนี้ได้ประกาศให้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.63 น้ำมัน B10 จะเป็นดีเซลพื้นฐานของประเทศแทน B7 โดยที่น้ำมันดีเซล B7 เป็นทางเลือกสำหรับรถเก่า และรถยุโรปที่ยังรองรับไม่ได้ และมี B20 เป็นทางเลือกสำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ ซึ่งหากผลักดันการใช้ B10 สำเร็จจะทำให้การใช้ไบโอดีเซลเพิ่มขึ้นราว 2.1 ล้านลิตรต่อวัน หรือเพิ่มประมาณ 40% จากปัจจุบัน ซึ่งขณะนี้มีปริมาณการใช้ไบโอดีเซล 5.15 ล้านลิตรต่อวัน ก็จะเพิ่มเป็นประมาณ 7 ล้านลิตรต่อวันในปี 2563
“เมื่อราคา B10 ถูกกว่า B7 ถึง 2 บาทต่อลิตร เพื่อเป็นการจูงใจให้เกิดการใช้เพิ่มขึ้น โดยกระทรวงฯ ตั้งเป้าหมายให้สถานีบริการน้ำมันมี B10 จำหน่ายทั่วประเทศตั้งแต่ 1 มี.ค. 63 ซึ่งปัจจุบันมีสถานีบริการ B10 ทั่วประเทศแล้ว 120 สถานี ผลจากการผลักดันนโยบาย B10 เกิดประโยชน์ขึ้นหลายต่อ ทั้งการปรับสมดุลน้ำมันปาล์มดิบจากการใช้ไบโอดีเซลในภาคพลังงานมากขึ้น โดยดำเนินการร่วมกับกระทรวงพาณิชย์บริหารจัดการผลผลิตปาล์มน้ำมันเพื่อใช้ผลิตไบโอดีเซลและเพื่อใช้บริโภค และร่วมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องป้องกันการลักลอบการนำเข้าปาล์มดิบจากต่างประเทศด้วย อันจะมีส่วนช่วยยกระดับราคาผลปาล์มน้ำมัน และทั้งยังช่วยสร้างความมั่นคงทางพลังงาน ลดการพึ่งพานำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิลจากต่างประเทศด้วย” นายสนธิรัตน์ ระบุ
วานนี้ (17 พ.ย.) “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ เรื่องการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลในสายตาประชาชน สำรวจระหว่างวันที่ 12-16 พ.ย.62 สรุปผล 5 อันดับ ปัญหาเศรษฐกิจที่รุมเร้าประชาชน ณ วันนี้ ได้แก่ อันดับ 1 ข้าวของแพง ค่าครองชีพสูง 65.54% สาเหตุจากสินค้ามีต้นทุนสูง ทุกอย่างปรับขึ้นราคา รัฐขึ้นภาษีสินค้าต่างๆ ทำให้มีราคาแพงขึ้น นายทุนเอารัดเอาเปรียบ ฯลฯ วิธีแก้ไข คือ ควบคุมราคาสินค้า มีส่วนลดสำหรับประชาชน ลดราคาน้ำมัน ของกินของใช้ ดำเนินการกับผู้ที่เอารัดเอาเปรียบอย่างจริงจัง ฯลฯ
อันดับ 2 ภาวะเศรษฐกิจของประเทศย่ำแย่ 39.19% สาเหตุจากรัฐบาลแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจยังไม่ค่อยได้ผล เงินบาทแข็ง ท่องเที่ยวซบเซา เศรษฐกิจโลกตกต่ำ ฯลฯ วิธีแก้ไข คือ รัฐบาลแก้ปัญหาให้ตรงจุด มีนโยบายช่วยเหลือประชาชน ใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์ ไม่ทุจริตคอร์รัปชัน ฯลฯ
อันดับ 3 การว่างงาน ตกงาน 31.76% สาเหตุจากเศรษฐกิจไม่ดี ไม่มีงานทำ สถานประกอบการขาดทุนต้องปิดตัวลง ไม่มีเงินจ่ายค่าจ้าง คนงานถูกเลิกจ้าง ฯลฯ วิธีแก้ไข คือ ไม่เลือกงาน ลดรายจ่าย หางานพิเศษทำ รัฐบาลมีนโยบายเร่งช่วยเหลือคนตกงาน ชดเชยเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ฯลฯ
อันดับ 4 รายได้ลดลง เงินไม่พอใช้ 25.68% สาเหตุจากองค์กร สถานประกอบการมีกำไรลดลง ต้องลดรายจ่าย ให้ค่าตอบแทนลดลง ข้าวของแพง รายจ่ายสูง ฯลฯ วิธีแก้ไข คือ ขึ้นเงินเดือน เพิ่มค่าแรง ลดความเหลื่อมล้ำ ลดภาษี ลดดอกเบี้ย ขยายเวลาชำระหนี้ ช่วยเหลือคนยากจน ฯลฯ
และอันดับ 5 การส่งออก การค้าและการลงทุน 17.48% สาเหตุจากเศรษฐกิจโลกซบเซา ต่างชาติ ภาคเอกชนไม่กล้าลงทุน ส่งออก-นำเข้ามีปัญหา ค่าเงินบาทแข็งทำให้ได้กำไรลดลง ฯลฯ วิธีแก้ไข คือ รัฐบาลต้องสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ต่างชาติและนักลงทุน ส่งเสริมการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจภาพรวม ฯลฯ
ขณะที่เรื่องที่ประชาชนอยากให้รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือมากที่สุด คือ อันดับ 1 ควบคุมราคาสินค้า ลดค่าครองชีพ ไม่ขึ้นภาษี 54.34% อันดับ 2 แก้ปัญหาเศรษฐกิจโดยเร่งด่วน สร้างงานสร้างรายได้ ขึ้นเงินเดือน 38.41% อันดับ 3 พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น 31.15%
และในหัวข้อที่ว่า ใครหรือหน่วยงานใดที่ประชาชนคาดหวังให้เข้ามาช่วยเหลือ ปรากฏว่า อันดับ 1 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรี และผู้นำฝ่ายรัฐบาล 47.90%, อันดับ 2 กระทรวงต่างๆ เช่น กระทรวงการคลัง พาณิชย์ แรงงาน อุตสาหกรรม เกษตรฯ 32.84% และอันดับ 3 ฝ่ายค้าน พรรคเพื่อไทย พรรคอนาคตใหม่ 24.94%
ลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าเสร็จทันปีนี้
อีกด้าน น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า เพื่อลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศึกษาแนวทางการปรับลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า โดยไม่มีผลกระทบต่อสัญญา เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทาง บรรเทาความเดือนร้อนของผู้โดยสาร ลดภาระค่าครองชีพที่ใช้จ่ายประจำวัน ซึ่งนโยบายดังกล่าวนี้มีความคืบหน้าไปมาก โดยวันที่ 19 พ.ย.นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (บอร์ด รฟม.) พิจารณาลดภาระค่าโดยสารรถไฟฟ้าเพื่อประชาชน ทั้งนี้ บอร์ด รฟม. จะพิจารณาใน 2 มาตรการ 1.เปิดจำหน่ายตั๋วโดยสารร่วมระหว่างรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง คิดอัตราค่าโดยสารต่อเที่ยวถูกลง 2.ลดอัตราค่าโดยสารในช่วงนอกเวลาเร่งด่วน (Off Peak) ระหว่าง 9.00-15.30 น. และช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ ของรถไฟฟ้าสายสีม่วง โดยปัจจุบันเก็บอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 14-42 บาทต่อเที่ยว ส่วนมาตรการลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าทั้งระบบนั้น ขณะนี้ กรมการขนส่งทางราง กำลังเร่งหาแนวทางอยู่ โดยต้องพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อไม่ได้กระทบต่อสัญญา และให้ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด
“การลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าลง จะทำให้ประชาชนหันมาเดินทางโดยรถไฟฟ้ามากขึ้น โดย รมว.คมนาคม (นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ) คาดหวังจะให้นโยบายนี้ แล้วเสร็จก่อนสิ้นปี เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชนชาวไทย และคาดหวังว่าจะเป็นที่น่าพอใจต่อประชาชน สามารถช่วยเหลือประชาชนในการประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการเดินทางได้เป็นอย่างดี” น.ส.ไตรศุลี ระบุ
“สนธิรัตน์” ดัน B10 อุ้มราคาปาล์ม
วันเดียวกัน นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน เป็นประธานกล่าวปาฐกถาเรื่อง “B10 น้ำมันบนดิน เพื่อเศรษฐกิจฐานราก” ภายในงานสัมมนา B10 ราคาปาล์มจะรุ่ง หรือร่วง จัดขึ้นที่ จ.นครศรีธรรมราช โดยได้กล่าวช่วงหนึ่งว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนผลิตไฟฟ้าให้มีสัดส่วนไม่น้อยกว่า 30% ในปี 2579 จึงมีโครงการต่างๆ เกิดขึ้นเพื่อตอบโจทย์นโยบายนี้ ทั้งการส่งเสริมโรงไฟฟ้าชุมชน การส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพจากไบโอดีเซล และเอทานอลผสมในเนื้อน้ำมัน ซึ่งถือเป็นน้ำมันบนดินที่มาจากผลผลิตทางการเกษตรที่เป็นจุดแข็งของไทย ช่วยสร้างเสถียรภาพราคาผลผลิตทางการเกษตรให้กับเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลผสมในน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นเป็น B10 นั้น ขณะนี้ได้ประกาศให้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.63 น้ำมัน B10 จะเป็นดีเซลพื้นฐานของประเทศแทน B7 โดยที่น้ำมันดีเซล B7 เป็นทางเลือกสำหรับรถเก่า และรถยุโรปที่ยังรองรับไม่ได้ และมี B20 เป็นทางเลือกสำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ ซึ่งหากผลักดันการใช้ B10 สำเร็จจะทำให้การใช้ไบโอดีเซลเพิ่มขึ้นราว 2.1 ล้านลิตรต่อวัน หรือเพิ่มประมาณ 40% จากปัจจุบัน ซึ่งขณะนี้มีปริมาณการใช้ไบโอดีเซล 5.15 ล้านลิตรต่อวัน ก็จะเพิ่มเป็นประมาณ 7 ล้านลิตรต่อวันในปี 2563
“เมื่อราคา B10 ถูกกว่า B7 ถึง 2 บาทต่อลิตร เพื่อเป็นการจูงใจให้เกิดการใช้เพิ่มขึ้น โดยกระทรวงฯ ตั้งเป้าหมายให้สถานีบริการน้ำมันมี B10 จำหน่ายทั่วประเทศตั้งแต่ 1 มี.ค. 63 ซึ่งปัจจุบันมีสถานีบริการ B10 ทั่วประเทศแล้ว 120 สถานี ผลจากการผลักดันนโยบาย B10 เกิดประโยชน์ขึ้นหลายต่อ ทั้งการปรับสมดุลน้ำมันปาล์มดิบจากการใช้ไบโอดีเซลในภาคพลังงานมากขึ้น โดยดำเนินการร่วมกับกระทรวงพาณิชย์บริหารจัดการผลผลิตปาล์มน้ำมันเพื่อใช้ผลิตไบโอดีเซลและเพื่อใช้บริโภค และร่วมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องป้องกันการลักลอบการนำเข้าปาล์มดิบจากต่างประเทศด้วย อันจะมีส่วนช่วยยกระดับราคาผลปาล์มน้ำมัน และทั้งยังช่วยสร้างความมั่นคงทางพลังงาน ลดการพึ่งพานำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิลจากต่างประเทศด้วย” นายสนธิรัตน์ ระบุ