ผู้จัดการรายวัน 360 – เปิดเบื้องหลังเกม "ไพรินทร์" กลับรังเก่ากิจตำแหน่งกรรมการบริหาร รอแค่ สคร.เคาะคุณสมบัติ แฉทุ่มสุดตัวชิงขึ้นแท่น “ประธานบอร์ด” แทน “ไกรฤทธิ์” ที่ยังไม่หมดวาระ หวังคุมช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสรรหา CEO คนใหม่ ล็อกเป้าตัวตายตัวแทน "ชาญศิลป์" สุดท้ายยึด-สืบทอดอำนาจเบ็ดเสร็จ
เป็นที่ทราบกันดีว่า บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) เป็นบริษัทใหญ่ที่มีมูลค่าตลาดกว่า 1.3 ล้านล้านบาท กำไรปีละกว่าแสนล้านบาท แต่ละปีมีแผนการลงทุนปีละหลายหมื่นล้านบาท
การเคลื่อนไหวภายใน ปตท.ล่าสุดกำลังถูกจับตามองอย่างมาก เนื่องจากในการประชุมคณะกรรมการบริหารหรือบอร์ด ปตท. เมื่อวันที่ 14 พ.ย.62 ที่ผ่านมา ได้พิจารณาแต่งตั้ง นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการคมนาคม และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปตท. เป็นกรรมการและกรรมบริหารความเสี่ยงองค์กร แทน นายณัฐชาติ จารุจินดา ที่ครบวาระโดยจะส่งชื่อให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) พิจารณาคุณสมบัติก่อนเข้ารับตำแหน่งต่อไป
หลังจากมติบอร์ดออกมา ปรากฎว่ามีกระแสข่าวตามมาว่า หลังจากผ่านขั้นตอนที่ สคร.ตรวจสอบคุณสมบัตินายไพรินทร์และกรรมการที่ตั้งขึ้นใหม่พร้อมแล้ว บอร์ด ปตท.จะเรียกประชุมเพื่อที่จะพิจารณาเลือก นายไพรินทร์ขึ้นเป็นประธานบอร์ด ปตท.คนใหม่ แทน นายไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย ที่นั่งเป็นประธานกรรมการและกรรมการอิสระ อยู่ในปัจจุบัน
การประชุมบอร์ดเมื่อวันที่14พ.ย.ที่ผ่านมาจึงถูกมองว่า เป็นความจงใจและเจตนาอะไรบางอย่างที่รีบเร่งให้นายไพรินทร์เข้ามาเป็นกรรมการโดยเข้าสู่อำนาจในขั้นตอนแรก
แหล่งข่าวระดับสูงในปตท.เปิดเผยว่า เรื่องนี้ก่อให้เกิดคำถามอย่างมาก ว่า ทำไมต้องรีบเปลี่ยนตัวประธานบอร์ด เพราะ เดิมระหว่างปตท.กับกระทรวงพลังงานในฐานะผู้กำกับดูแลปตท.ไม่มีแผนที่จะเปลี่ยนประธานบอร์ดในระหว่างนี้แต่อย่างใด โดยจะรอจนถึงครบวาระในเดือนเมษายนปี 2563
คำถามสำคัญ คือ การคัมแบ็กเข้ามาปตท.ของนายไพรินทร์ และเดินหน้าเต็มตัวที่จะพยายามให้บอร์ดตั้งนายไพรินทร์เป็นประธานบอร์ดปตท.ก็ เพื่อให้ทันช่วงที่จะมีการสรรหาซีอีโอปตท.คนใหม่ ใช่หรือไม่?
ปัจจุบัน ปตท.กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาหาบุคคลที่จะเข้ามารับตำแหน่งซีอีโอต่อจาก นายชาญศิลป์ ตรีนุชกรประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ที่จะครบวาระในเดือน พ.ค.2563
ก่อนนี้ บอร์ดปตท.มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาซีอีโอคนใหม่จำนวน 5 คน โดยเปิดรับสมัครมาตั้งแต่วันที่ 4 พ.ย.ไปจนถึง 26 พ.ย.62
ทั้งนี้ การตั้งคณะกรรมการสรรหาซีอีโอปตท.ครั้งนี้ ก็เป็นประเด็นหนึ่งที่ว่ากันว่า มีความโปร่งใสมากน้อยแค่ไหน และ มีการเคลื่อนไหวจัดตัวแทนโดยคนกลุ่มเดียวกันกับนายไพรินทร์ซึ่งไม่มีการเปิดเผยรายชื่อคณะกรรมการสรรหาให้สาธารณะรับทราบกันโดยทั่วไปเหมือนที่ผ่านๆมา
มีรายงานว่า คณะกรรมการสรรหาทั้ง 5 คน ไม่มีตัวแทนจากกระทรวงพลังงานและคลังเลย ทำให้สังคมประหลาดใจว่า กระทรวงพลังงาน และกระทรวงการคลังในฐานะผู้กำกับและผู้ถือหุ้นใหญ่เหตุใดจึงไม่มีสิทธิมีเสียงในการเลือกคนมาบริหารปตท.โดยเป็นได้แค่คนนอกที่มองดู
การที่ นายไพรินทร์ เข้ามาพร้อมกับแผนจะผลักดันตัวเองขึ้นเป็นประธานบอร์ดปตท.ว่ากันว่า นายไพรินทร์เป็นผู้เคลือนไหวด้วยตัวเอง เดินเข้าเจรจากับผู้มีอำนาจ ผ่านสายสัมพันธ์ที่เคยมีในช่วงที่ได้รับความไว้วางใจจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้นั่ง รมช.คมนาคมในสมัย คสช.ก็เพื่อชิงเปิดเกมรุกยึดอำนาจโดยไม่รอให้ถึง เม.ย.ปีหน้า เพราะไม่แน่ใจว่า เมื่อถึงเวลานั้นจะเกิดอะไรขึ้นก็ได้
สำหรับคนที่มีชื่อชิงตำแหน่งซีอีโอ ปตท.ตามกระแสข่าว ประกอบด้วย 1.นายนพดล ปิ่นสุภา กรรมการผู้จัดการใหญ่ไออาร์พีซี 2.นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ไทยออยส์ จำกัด (มหาชน) และ 3.นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย ปตท.
นายไพรินทร์เคยเป็นซีอีโอปตท.ได้รับเลือกปี2554ต่อจากนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ อยู่ในวาระ 4ปี ก่อนจะพ้นจากตำแหน่งเมื่อปี 2558
หากนายไพรินทร์หวนคืน ปตท.และได้นั่งประธานบอร์ด คราวนี้ก็น่าจะมั่นใจได้ว่า การสืบทอดอำนาจใน ปตท.จะไม่หลุดไปจากที่เขาวางแผนไว้ นั่นคือ คนที่จะผ่านคณะกรรมการสรรหาย่อมเป็นคนสายเดียวกันกับ นายชาญศิลป์ ซีอีโอคนปัจจุบันที่เป็นคนของนายไพรินทร์วางไว้เช่นกัน
เมื่อไพรินทร์ก้าวขึ้นคุมตั้งแต่บอร์ด และ กำกับซีอีโอ เท่ากับยึดอำนาจและสืบทอดอำนาจปตท.ไว้ในมืออย่างเบ็ดเสร็จ
ทว่า ก็ต้องรอดูปฏิกิริยายาของฝ่ายรัฐบาลที่กำกับโดยเฉพาะกระทรวงพลังงาน และ ผู้ถือหุ้นใหญ่อย่างกระทรวงการคลังด้วยจะว่าอย่างไร
ประกอบกับเมื่อมีการหยิบยก "ผู้มีอำนาจ" ในรัฐบาลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยก็คงเป็นเรื่องที่ยิ่งต้องทำให้โปร่งใส ในทุกขั้นตอน
ศึกชิงอำนาจปตท.จะเป็นอย่างไรต้องติดตามต่อไป
เป็นที่ทราบกันดีว่า บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) เป็นบริษัทใหญ่ที่มีมูลค่าตลาดกว่า 1.3 ล้านล้านบาท กำไรปีละกว่าแสนล้านบาท แต่ละปีมีแผนการลงทุนปีละหลายหมื่นล้านบาท
การเคลื่อนไหวภายใน ปตท.ล่าสุดกำลังถูกจับตามองอย่างมาก เนื่องจากในการประชุมคณะกรรมการบริหารหรือบอร์ด ปตท. เมื่อวันที่ 14 พ.ย.62 ที่ผ่านมา ได้พิจารณาแต่งตั้ง นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการคมนาคม และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปตท. เป็นกรรมการและกรรมบริหารความเสี่ยงองค์กร แทน นายณัฐชาติ จารุจินดา ที่ครบวาระโดยจะส่งชื่อให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) พิจารณาคุณสมบัติก่อนเข้ารับตำแหน่งต่อไป
หลังจากมติบอร์ดออกมา ปรากฎว่ามีกระแสข่าวตามมาว่า หลังจากผ่านขั้นตอนที่ สคร.ตรวจสอบคุณสมบัตินายไพรินทร์และกรรมการที่ตั้งขึ้นใหม่พร้อมแล้ว บอร์ด ปตท.จะเรียกประชุมเพื่อที่จะพิจารณาเลือก นายไพรินทร์ขึ้นเป็นประธานบอร์ด ปตท.คนใหม่ แทน นายไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย ที่นั่งเป็นประธานกรรมการและกรรมการอิสระ อยู่ในปัจจุบัน
การประชุมบอร์ดเมื่อวันที่14พ.ย.ที่ผ่านมาจึงถูกมองว่า เป็นความจงใจและเจตนาอะไรบางอย่างที่รีบเร่งให้นายไพรินทร์เข้ามาเป็นกรรมการโดยเข้าสู่อำนาจในขั้นตอนแรก
แหล่งข่าวระดับสูงในปตท.เปิดเผยว่า เรื่องนี้ก่อให้เกิดคำถามอย่างมาก ว่า ทำไมต้องรีบเปลี่ยนตัวประธานบอร์ด เพราะ เดิมระหว่างปตท.กับกระทรวงพลังงานในฐานะผู้กำกับดูแลปตท.ไม่มีแผนที่จะเปลี่ยนประธานบอร์ดในระหว่างนี้แต่อย่างใด โดยจะรอจนถึงครบวาระในเดือนเมษายนปี 2563
คำถามสำคัญ คือ การคัมแบ็กเข้ามาปตท.ของนายไพรินทร์ และเดินหน้าเต็มตัวที่จะพยายามให้บอร์ดตั้งนายไพรินทร์เป็นประธานบอร์ดปตท.ก็ เพื่อให้ทันช่วงที่จะมีการสรรหาซีอีโอปตท.คนใหม่ ใช่หรือไม่?
ปัจจุบัน ปตท.กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาหาบุคคลที่จะเข้ามารับตำแหน่งซีอีโอต่อจาก นายชาญศิลป์ ตรีนุชกรประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ที่จะครบวาระในเดือน พ.ค.2563
ก่อนนี้ บอร์ดปตท.มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาซีอีโอคนใหม่จำนวน 5 คน โดยเปิดรับสมัครมาตั้งแต่วันที่ 4 พ.ย.ไปจนถึง 26 พ.ย.62
ทั้งนี้ การตั้งคณะกรรมการสรรหาซีอีโอปตท.ครั้งนี้ ก็เป็นประเด็นหนึ่งที่ว่ากันว่า มีความโปร่งใสมากน้อยแค่ไหน และ มีการเคลื่อนไหวจัดตัวแทนโดยคนกลุ่มเดียวกันกับนายไพรินทร์ซึ่งไม่มีการเปิดเผยรายชื่อคณะกรรมการสรรหาให้สาธารณะรับทราบกันโดยทั่วไปเหมือนที่ผ่านๆมา
มีรายงานว่า คณะกรรมการสรรหาทั้ง 5 คน ไม่มีตัวแทนจากกระทรวงพลังงานและคลังเลย ทำให้สังคมประหลาดใจว่า กระทรวงพลังงาน และกระทรวงการคลังในฐานะผู้กำกับและผู้ถือหุ้นใหญ่เหตุใดจึงไม่มีสิทธิมีเสียงในการเลือกคนมาบริหารปตท.โดยเป็นได้แค่คนนอกที่มองดู
การที่ นายไพรินทร์ เข้ามาพร้อมกับแผนจะผลักดันตัวเองขึ้นเป็นประธานบอร์ดปตท.ว่ากันว่า นายไพรินทร์เป็นผู้เคลือนไหวด้วยตัวเอง เดินเข้าเจรจากับผู้มีอำนาจ ผ่านสายสัมพันธ์ที่เคยมีในช่วงที่ได้รับความไว้วางใจจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้นั่ง รมช.คมนาคมในสมัย คสช.ก็เพื่อชิงเปิดเกมรุกยึดอำนาจโดยไม่รอให้ถึง เม.ย.ปีหน้า เพราะไม่แน่ใจว่า เมื่อถึงเวลานั้นจะเกิดอะไรขึ้นก็ได้
สำหรับคนที่มีชื่อชิงตำแหน่งซีอีโอ ปตท.ตามกระแสข่าว ประกอบด้วย 1.นายนพดล ปิ่นสุภา กรรมการผู้จัดการใหญ่ไออาร์พีซี 2.นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ไทยออยส์ จำกัด (มหาชน) และ 3.นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย ปตท.
นายไพรินทร์เคยเป็นซีอีโอปตท.ได้รับเลือกปี2554ต่อจากนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ อยู่ในวาระ 4ปี ก่อนจะพ้นจากตำแหน่งเมื่อปี 2558
หากนายไพรินทร์หวนคืน ปตท.และได้นั่งประธานบอร์ด คราวนี้ก็น่าจะมั่นใจได้ว่า การสืบทอดอำนาจใน ปตท.จะไม่หลุดไปจากที่เขาวางแผนไว้ นั่นคือ คนที่จะผ่านคณะกรรมการสรรหาย่อมเป็นคนสายเดียวกันกับ นายชาญศิลป์ ซีอีโอคนปัจจุบันที่เป็นคนของนายไพรินทร์วางไว้เช่นกัน
เมื่อไพรินทร์ก้าวขึ้นคุมตั้งแต่บอร์ด และ กำกับซีอีโอ เท่ากับยึดอำนาจและสืบทอดอำนาจปตท.ไว้ในมืออย่างเบ็ดเสร็จ
ทว่า ก็ต้องรอดูปฏิกิริยายาของฝ่ายรัฐบาลที่กำกับโดยเฉพาะกระทรวงพลังงาน และ ผู้ถือหุ้นใหญ่อย่างกระทรวงการคลังด้วยจะว่าอย่างไร
ประกอบกับเมื่อมีการหยิบยก "ผู้มีอำนาจ" ในรัฐบาลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยก็คงเป็นเรื่องที่ยิ่งต้องทำให้โปร่งใส ในทุกขั้นตอน
ศึกชิงอำนาจปตท.จะเป็นอย่างไรต้องติดตามต่อไป