นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา กล่าวถึงกระแสข่าวว่าตนเองได้รับการเสนอชื่อ พร้อมด้วย ส.ว.ส่วนหนึ่ง เป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ในสัดส่วนคณะรัฐมนตรีว่า ยังไม่มีการติดต่อทาบทาม หรือมีความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับวุฒิสภา ทราบเพียงกระแสข่าวที่ปรากฏผ่านสื่อ และเรื่องนี้ไม่สามารถตัดสินใจได้โดยลำพัง เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของวุฒิสภาทั้งหมด ซึ่งอาจต้องมีการคุยกันภายในวิปวุฒิสภา
อย่างไรก็ตาม แม้ ส.ว.จะเข้าเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาผู้แทนราษฎรได้ แต่ก็ต้องพิจารณาเกี่ยวความเหมาะสม หากเข้าไปทำหน้าที่ในสัดส่วนคณะรัฐมนตรี
นายสมชายยังให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขรธน.ว่า รธน.สามารถแก้ไขได้ เพียงแต่ต้องคำนึงถึงระยะเวลาที่เหมาะสม ซึ่งควรมีการศึกษาแนวทางก่อน โดยรธน. ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1. ส่วนที่แก้ไขไม่ได้ 2. ส่วนที่แก้ไขได้ ซึ่งก็ต้องพิจารณาว่าเกิดจากรธน. , พ.ร.บ.ประกอบรธน. , ความไม่เข้าใจในเนื้อหา , หรือความผิดพลาดในเชิงบริหาร และ 3. การแก้ไขในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างอำนาจ และองค์กรอิสระ ซึ่งต้องทำประชามติ และ ย้ำว่าการแก้ไขรธน. จำเป็นต้องอาศัยจังหวะที่เหมาะสม คำนึงอย่างรอบคอบ หากเป็นเรื่องใหญ่ และนำไปสู่วิกฤติทางการเมืองก็ไม่ควรเข้าไปแก้ไข
ด้านนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงบทบาท กมธ.ชุดนี้ว่า เป็นการศึกษาถึงวิธีการแก้ไขรธน. เพราะต้องยอมรับว่าเงื่อนไขการแก้ไขรธน.ฉบับนี้ เกือบจะเป็นไปไม่ได้ จึงจะต้องศึกษาถึงแนวทางเพื่อให้การแก้ไขเป็นไปได้ แต่ยังไม่มีประเด็นแก้ในเนื้อหา ซึ่งทุกฝ่ายต้องปรึกษาหารือกัน อย่าคิดว่าพยายามล้มรธน.ฉบับนี้ แต่ควรคิดว่า สมควรปรับปรุงหรือไม่ เพื่อให้มีโครงสร้างความเป็นประชาธิปไตย เพราะรธน. คือกฎหมายกำหนดโครงสร้างการปกครองบ้านเมือง และการถ่วงดุลอำนาจแต่ละฝ่าย
อย่างไรก็ตาม เราอย่าไปมุ่งเปลี่ยนรธน.อย่างเดียว แต่ต้องมุ่งว่า แต่ละครั้งที่มีปัญหาเกิดขึ้นเป็นเพราะอะไร จึงต้องให้ความสำคัญทั้งตัวกฎหมาย และผู้ปฏิบัติ ส่วนกรณีที่ส.ว.จะเข้ามาร่วมในคณะกรรมาธิการชุดนี้ด้วย นายชวนกล่าวสั้นๆ ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องของทุกฝ่าย
อย่างไรก็ตาม แม้ ส.ว.จะเข้าเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาผู้แทนราษฎรได้ แต่ก็ต้องพิจารณาเกี่ยวความเหมาะสม หากเข้าไปทำหน้าที่ในสัดส่วนคณะรัฐมนตรี
นายสมชายยังให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขรธน.ว่า รธน.สามารถแก้ไขได้ เพียงแต่ต้องคำนึงถึงระยะเวลาที่เหมาะสม ซึ่งควรมีการศึกษาแนวทางก่อน โดยรธน. ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1. ส่วนที่แก้ไขไม่ได้ 2. ส่วนที่แก้ไขได้ ซึ่งก็ต้องพิจารณาว่าเกิดจากรธน. , พ.ร.บ.ประกอบรธน. , ความไม่เข้าใจในเนื้อหา , หรือความผิดพลาดในเชิงบริหาร และ 3. การแก้ไขในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างอำนาจ และองค์กรอิสระ ซึ่งต้องทำประชามติ และ ย้ำว่าการแก้ไขรธน. จำเป็นต้องอาศัยจังหวะที่เหมาะสม คำนึงอย่างรอบคอบ หากเป็นเรื่องใหญ่ และนำไปสู่วิกฤติทางการเมืองก็ไม่ควรเข้าไปแก้ไข
ด้านนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงบทบาท กมธ.ชุดนี้ว่า เป็นการศึกษาถึงวิธีการแก้ไขรธน. เพราะต้องยอมรับว่าเงื่อนไขการแก้ไขรธน.ฉบับนี้ เกือบจะเป็นไปไม่ได้ จึงจะต้องศึกษาถึงแนวทางเพื่อให้การแก้ไขเป็นไปได้ แต่ยังไม่มีประเด็นแก้ในเนื้อหา ซึ่งทุกฝ่ายต้องปรึกษาหารือกัน อย่าคิดว่าพยายามล้มรธน.ฉบับนี้ แต่ควรคิดว่า สมควรปรับปรุงหรือไม่ เพื่อให้มีโครงสร้างความเป็นประชาธิปไตย เพราะรธน. คือกฎหมายกำหนดโครงสร้างการปกครองบ้านเมือง และการถ่วงดุลอำนาจแต่ละฝ่าย
อย่างไรก็ตาม เราอย่าไปมุ่งเปลี่ยนรธน.อย่างเดียว แต่ต้องมุ่งว่า แต่ละครั้งที่มีปัญหาเกิดขึ้นเป็นเพราะอะไร จึงต้องให้ความสำคัญทั้งตัวกฎหมาย และผู้ปฏิบัติ ส่วนกรณีที่ส.ว.จะเข้ามาร่วมในคณะกรรมาธิการชุดนี้ด้วย นายชวนกล่าวสั้นๆ ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องของทุกฝ่าย