นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง ความคืบหน้ากรณีมติพรรคเสนอให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรคปชป. เป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า ต้องรอผลการหารือของวิปรัฐบาลก่อน เพราะพรรคได้มอบหมายให้ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ วิปรัฐบาล ของพรรคปชป. ไปแจ้งมติพรรคกับวิปรัฐบาลแล้ว ซึ่งถือว่ายังมีเวลา เนื่องจากกว่าจะได้พิจารณาตั้งกมธ.ชุดนี้ น่าจะเป็นวันพุธที่ 13 พ.ย. ทั้งนี้เหตุผลที่พรรคมีมติสนับสนุน นายอภิสิทธิ์ เนื่องจากกมธ.ชุดนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นในการแสวงหาความเห็นร่วมของสังคมในเรื่องการแก้รธน. ดังนั้น กมธ. จึงไม่ได้คุยเฉพาะวิธีแก้เท่านั้น แต่จะศึกษารธน.ทั้งฉบับ ประธานกมธ. จึงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ ต้องเป็นผู้มีความรอบรู้ เคยผ่านการใช้รธน. มองเห็นจุดอ่อน ช่องว่างต่างๆ ที่สำคัญต้องเป็นผู้ที่เปิดใจกว้างรับฟังความเห็นต่าง ซึ่งนายอภิสิทธิ์ มีคุณสมบัติที่เหมาะสมจะทำหน้าที่นี้
นายสาทิตย์ กล่าวด้วยว่าตำแหน่งนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นของพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมาก เพราะเป็นการทำงานของสภาฯ เหมือนกรณีเลือกประธานสภาฯ ที่ได้ นายชวน หลีกภัย จากพรรคปชป. ก็ได้รับการยอมรับ ทั้งจากคนในสภาฯและคนภายนอก จึงต้องทำความเข้าใจกับพรรคพลังประชารัฐ ต่อไป
ส่วนที่มีข่าวว่าพลังประชารัฐ จะเสนอชื่อ นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาฯ เป็นประธานกมธ.นั้น ก็ต้องฟังเหตุผลซึ่งกันและกัน ว่าใครมีความเหมาะสมที่สุด ซึ่งพรรคให้แกนนำไปคุยกับระดับคีย์แมนของรัฐบาล เพื่อลดความระแวงแคลงใจด้วย อย่างไรก็ตาม จากที่คุยกับหลายฝ่าย ก็มีเสียงสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ ค่อนข้างมาก
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รองประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า ได้นำมติพรรคไปแจ้งต่อวิปรัฐบาลแล้ว โดยวิปของแต่ละพรรค จะไปหารือภายในพรรคของตัวเอง ก่อนที่จะกลับมาหารือร่วมกัน ในการประชุมวิปรัฐบาล วันจันทร์ที่ 11 พ.ย.นี้
ด้านนายสุชาติ ตันเจริญ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ และรองประธานสภาฯ คนที่หนึ่ง กล่าวถึงกรณีที่ พรรค พปชร. เตรียมเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งประธานกมธ.แก้รธน. ว่า การเสนอชื่อบุคคลใด ให้ดำรงตำแหน่งใน กมธ. นั้น มองว่าเป็นเรื่องที่ทุกพรรคการเมือง ทั้งฝ่ายค้าน และฝ่ายรัฐบาล ต้องหารือร่วมกัน และต้องใช้ความร่วมมือ เพื่อให้การศึกษาแนวทางดังกล่าวลุล่วง
ส่วนที่พรรคปชป. เสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ เป็นประธานกมธ.นั้น ตนมองว่าดี เพราะอยู่ในวงการการเมืองมานาน และเคยดำรงตำแหน่งนายกฯ หรือมีบุคคลที่เหมาะสมจากพรรคฝ่ายค้าน ก็สามารถเสนอได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับที่ประชุมกมธ.จะพิจารณาบุคคลที่เหมาะสม
"ผมไม่ได้ตอบรับ หรือปฏิเสธ100 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ผมอยากฝากไปยังพรรคพลังประชารัฐด้วยว่า หากมีบุคคลที่เหมาะสมกว่า และสามารถทำงานให้ลุล่วงตามวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายของงาน ขอให้พิจารณาบุคคลดังกล่าวก่อนที่จะเสนอชื่อผม ทั้งนี้ผมไม่ได้ให้ความสำคัญกับตำแหน่งประธาน กมธ.วิสามัญ ศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะคิดว่าบทบาทประธานฯ คือการควบคุมการประชุม แต่หากพรรคมีมติเสนอผม ผมคงปฏิเสธไม่ได้ แต่ไม่ใช่ว่าผมเสนอตัว เพราะหากมีคนที่เหมาะสม มีความพร้อมกว่า ขอให้บุคคลนั้นทำหน้าที่ไป แต่หากไม่มีใครจริงๆ และเป็นมติพรรค ผมต้องรับไว้" นายสุชาติ กล่าว
เมื่อถามว่าหากประธาน กมธ. มาจากโควต้าพรรคพลังประชารัฐ อาจถูกมองได้ว่า รัฐบาลอาจชี้นำ หรือสั่งได้ นายสุชาติ กล่าวว่า "ใครจะชี้นำผมได้ เห็นหรือที่ผ่านมามีใครชี้นำผม ซึ่งไม่มีใครชี้นำผมได้ ถามว่าจะมีใบสั่งจากรัฐบาลหรือ ผมไม่เคยได้ใบสั่ง หรือใครโทรมาสั่งผมได้ ทั้งนี้ประเด็นที่ออกมา ผมทราบจากข่าวเท่านั้นไม่มีการพูดคุย อีกทั้งไม่คิดว่าเรื่องนี้หากเป็นคนของรัฐบาล จะมีธงสั่งการได้ เพราะเป็นเรื่องที่ทุกพรรคการเมืองต้องหารือร่วมกัน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ" นายสุชาติ กล่าว
เมื่อถามย้ำว่า หากยอมรับเป็นประธานกมธ. จะเท่ากับลดสถานะตนเอง หรือไม่ นายสุชาติ กล่าวว่า ไม่เกี่ยวอะไร เพราะกรณีของประธาน กมธ.คณะสำคัญที่ต้องการบุคคลซึ่งทำหน้าที่วางตนเป็นกลางอาจจะมองว่าลดสถานะของตำแหน่งไม่ได้ ดังนั้น กรณีที่ว่านั้น ควรยึดว่าประเด็นใด คือข้อห้ามหรือไม่มากกว่า
นายสาทิตย์ กล่าวด้วยว่าตำแหน่งนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นของพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมาก เพราะเป็นการทำงานของสภาฯ เหมือนกรณีเลือกประธานสภาฯ ที่ได้ นายชวน หลีกภัย จากพรรคปชป. ก็ได้รับการยอมรับ ทั้งจากคนในสภาฯและคนภายนอก จึงต้องทำความเข้าใจกับพรรคพลังประชารัฐ ต่อไป
ส่วนที่มีข่าวว่าพลังประชารัฐ จะเสนอชื่อ นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาฯ เป็นประธานกมธ.นั้น ก็ต้องฟังเหตุผลซึ่งกันและกัน ว่าใครมีความเหมาะสมที่สุด ซึ่งพรรคให้แกนนำไปคุยกับระดับคีย์แมนของรัฐบาล เพื่อลดความระแวงแคลงใจด้วย อย่างไรก็ตาม จากที่คุยกับหลายฝ่าย ก็มีเสียงสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ ค่อนข้างมาก
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รองประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า ได้นำมติพรรคไปแจ้งต่อวิปรัฐบาลแล้ว โดยวิปของแต่ละพรรค จะไปหารือภายในพรรคของตัวเอง ก่อนที่จะกลับมาหารือร่วมกัน ในการประชุมวิปรัฐบาล วันจันทร์ที่ 11 พ.ย.นี้
ด้านนายสุชาติ ตันเจริญ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ และรองประธานสภาฯ คนที่หนึ่ง กล่าวถึงกรณีที่ พรรค พปชร. เตรียมเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งประธานกมธ.แก้รธน. ว่า การเสนอชื่อบุคคลใด ให้ดำรงตำแหน่งใน กมธ. นั้น มองว่าเป็นเรื่องที่ทุกพรรคการเมือง ทั้งฝ่ายค้าน และฝ่ายรัฐบาล ต้องหารือร่วมกัน และต้องใช้ความร่วมมือ เพื่อให้การศึกษาแนวทางดังกล่าวลุล่วง
ส่วนที่พรรคปชป. เสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ เป็นประธานกมธ.นั้น ตนมองว่าดี เพราะอยู่ในวงการการเมืองมานาน และเคยดำรงตำแหน่งนายกฯ หรือมีบุคคลที่เหมาะสมจากพรรคฝ่ายค้าน ก็สามารถเสนอได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับที่ประชุมกมธ.จะพิจารณาบุคคลที่เหมาะสม
"ผมไม่ได้ตอบรับ หรือปฏิเสธ100 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ผมอยากฝากไปยังพรรคพลังประชารัฐด้วยว่า หากมีบุคคลที่เหมาะสมกว่า และสามารถทำงานให้ลุล่วงตามวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายของงาน ขอให้พิจารณาบุคคลดังกล่าวก่อนที่จะเสนอชื่อผม ทั้งนี้ผมไม่ได้ให้ความสำคัญกับตำแหน่งประธาน กมธ.วิสามัญ ศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะคิดว่าบทบาทประธานฯ คือการควบคุมการประชุม แต่หากพรรคมีมติเสนอผม ผมคงปฏิเสธไม่ได้ แต่ไม่ใช่ว่าผมเสนอตัว เพราะหากมีคนที่เหมาะสม มีความพร้อมกว่า ขอให้บุคคลนั้นทำหน้าที่ไป แต่หากไม่มีใครจริงๆ และเป็นมติพรรค ผมต้องรับไว้" นายสุชาติ กล่าว
เมื่อถามว่าหากประธาน กมธ. มาจากโควต้าพรรคพลังประชารัฐ อาจถูกมองได้ว่า รัฐบาลอาจชี้นำ หรือสั่งได้ นายสุชาติ กล่าวว่า "ใครจะชี้นำผมได้ เห็นหรือที่ผ่านมามีใครชี้นำผม ซึ่งไม่มีใครชี้นำผมได้ ถามว่าจะมีใบสั่งจากรัฐบาลหรือ ผมไม่เคยได้ใบสั่ง หรือใครโทรมาสั่งผมได้ ทั้งนี้ประเด็นที่ออกมา ผมทราบจากข่าวเท่านั้นไม่มีการพูดคุย อีกทั้งไม่คิดว่าเรื่องนี้หากเป็นคนของรัฐบาล จะมีธงสั่งการได้ เพราะเป็นเรื่องที่ทุกพรรคการเมืองต้องหารือร่วมกัน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ" นายสุชาติ กล่าว
เมื่อถามย้ำว่า หากยอมรับเป็นประธานกมธ. จะเท่ากับลดสถานะตนเอง หรือไม่ นายสุชาติ กล่าวว่า ไม่เกี่ยวอะไร เพราะกรณีของประธาน กมธ.คณะสำคัญที่ต้องการบุคคลซึ่งทำหน้าที่วางตนเป็นกลางอาจจะมองว่าลดสถานะของตำแหน่งไม่ได้ ดังนั้น กรณีที่ว่านั้น ควรยึดว่าประเด็นใด คือข้อห้ามหรือไม่มากกว่า