วานนี้ (6พ.ย.) น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดผยหลังการประชุมครม.ว่า นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล ได้รายงานให้ที่ประชุมครม.รับทราบถึงการหารือกับวิปรัฐบาล เกี่ยวกับการจะตั้งกมธ.วิสามัญ ศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขรธน. จำนวน 49 คน แบ่งสัดส่วนตัวแทนจากครม. 12 คน จากพรรคร่วมรัฐบาล 18 คน และ จากพรรคร่วมฝ่ายค้าน 19 คน ซึ่งนายวิรัช รัตนเศรษฐ ประธานวิปรัฐบาล ให้ข้อเสนอว่า 6 คนในจำนวน 12คน จะให้มาจากนักวิชาการที่วิปรัฐบาลจะไปพิจารณาเอง ส่วน 6 คนที่เหลือ ให้รัฐบาลพิจารณาคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายโดยประเด็นเหล่านี้อยู่ระหว่างการพิจารณา ที่ประชุมยังไม่มีข้อสรุปใด
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวในที่ประชุมโดยฝากให้ไปหารือในภาพรวม และส่วนตัวไม่มีข้อขัดแย้งใดๆ ต่อการตั้งกมธ. ดังกล่าว และไม่ติดใจว่า ประธานกมธ.ชุดนี้ควรจะมาจากพรรคไหน แต่อยากให้มีการไปทำความเข้าใจกับประชาชนว่า การตั้งกมธ.ชุดนี้ และการแก้ไขรธน.เป็นการทำเพื่อประชาชน ไม่ใช่ทำเพื่อประโยชน์ทางการเมืองเท่านั้น และขอให้มีการพิจารณาถึงการแก้ไขในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นอันดับแรก
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.สาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า ทางพรรคยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะส่งใครเป็นตัวแทนพรรคไปนั่งในกมธ.ชุดนี้ เพราะต้องดูคนที่มีความเชียวชาญด้านกฎหมาย และมีบารมีด้วย ส่วนที่พรรคประชาธิปัตย์ เสนอให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรคปชป. เป็นประธานกมธ.นั้น พรรคร่วมรัฐบาลจะต้องหารือร่วมกัน และต้องให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ใครก็ได้ที่เหมาะสม ทำแล้ว ประเทศชาติได้ประโยชน์ ซึ่งตนเน้นในเรื่องนี้ และไม่จำเป็นต้องเป็นคนจากพรรคร่วมรัฐบาลก็ได้
เมื่อถามย้ำว่า นายอภิสิทธิ์ เหมาะสมหรือไม่ นายอนุทิน กล่าวว่า ทุกคนเหมาะสมหมด หากมีความตั้งใจที่จะทำให้กับบ้านเมือง อย่าทำอะไร เพื่อตัวเองหรือเพิ่มอำนาจให้กับตัวเอง จากความรู้สึกที่ถูกรัฐธรรมนูญปี 2560 ลดอำนาจ ซึ่งรัฐธรรมนูญแล้วเป็นของสูงสุดของกฎหมายมีพระปรมาภิไธย อยู่ทำอะไรก็ต้องนึกถึงข้อนี้
ด้านนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า ตนก็มีความตั้งใจ อยากจะเข้าร่วมทำงานในกมธ.ชุดนี้ เช่นกัน เพราะเห็นว่ามีหลายมาตราที่ควรแก้ไข โดยเฉพาะประเด็นที่จะเป็นประโยชน์ในการช่วยเหลือประชาชน เช่น มาตรา 185 ที่ห้าม ส.ส.และ ส.ว.เข้าไปแทรกแซงการทำหน้าที่ของข้าราชการ เพราะจะเป็นการจำกัดในกรณีที่จะไปติดต่อช่วยเหลือประชาชน ซึ่งแตกต่างจากรธน. 40 ที่ห้ามเพียงแทรกแซงการโยกย้ายขรก. เท่านั้น ถ้าแก้ไขได้ ก็จะเป็นประโยชน์กับประชาชน อย่างไรก็ตาม ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขในประเด็นเกี่ยวกับความขัดแย้งการแย่งชิงอำนาจ
ส่วนที่พรรคปชป. เสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ เป็นประธานกมธ.ชุดนี้ ส่วนตัวเห็นว่าถ้านายอภิสิทธิ์ จะมาร่วมเป็นกมธ.นั้นเห็นด้วย แต่ถ้าจะเป็นประธานกมธ. คงไม่เหมาะ เพราะนายอภิสิทธิ์ ไมได้เป็นส.ส. ซึ่งคนเป็นประธานฯ ควรต้องเป็นส.ส. จะมาจากพรรคไหนก็ได้
ขณะที่ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน ในฐานะ เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ ตอบคำถามที่ว่า ประธาน กมธ.ชุดนี้ ควรเป็นของ พปชร. ที่เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลหรือไม่ ว่า พรรคร่วมรัฐบาลก็ต้องหารือกัน อย่าเพิ่งไปรีบตัดสินใจอะไรกัน
ด้านนายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ กล่าวว่า การแก้ไขรธน. เป็นเรื่องที่พรรคร่วมฝ่ายค้านตั้งใจเข้ามาแก้ไข แต่ยอมรับว่าเสียงอาจไม่เพียงพอที่จะนำไปสู่การแก้ไข จึงต้องอาศัยพลังจากประชาชน เพื่อทำให้รธน.เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง
ส่วนนายอภิสิทธิ์ เหมาะที่จะมาเป็นประธานกมธ.หรือไม่นั้น ต้องกลับไปถามว่าชื่อนายอภิสิทธิ์ เป็นที่ยอมรับในสังคมหรือไม่ ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วยังไม่มีข้อสรุปเรื่องนี้
นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกวิปวุฒิสภา กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ในการประชุมวิปวุฒิสภา ยังไม่มีการพูดถึงเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม ในความเห็นส่วนตัวนั้น ขณะนี้ ส.ว.ส่วนใหญ่เห็นว่า รธน.พึ่งจะใช้บังคับ และผ่านการลงประชามติมา จึงกำลังดูว่า ส.ส.จะมีความเห็นอย่างไร เพราะพรรคการเมืองต่างๆ เองก็ศึกษาในมุมมองที่แตกต่างกัน ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะแก้ หรือไม่แก้ประการใด ดังนั้น ถ้าจำเป็นที่จะต้องมีการหารือกันก็จะแถลงข่าวให้ทราบต่อไป
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะแก้ไขรธน.ในประเด็นใดนั้น มีองค์ประกอบที่แตกต่างจากรธน.ฉบับก่อนหน้านี้อยู่ 3 ประการ + 1 คือ 1. ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล 2. ส.ส.ฝ่ายค้าน 3. ส.ว. และ 4. การลงประชามติ ซึ่งองค์ประกอบ 3 ประการแรกนั้น แม้จะทำในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา แต่ในวาระ 3 จะต้องมีเสียงต่อฝ่ายค้านสนับสนุนประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ในวาระที่ 1 และวาระที่ 3 จะต้องมีเสียงเห็นด้วยของ ส.ว.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 อีกทั้งเมื่อผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาแล้ว ยังจะต้องผ่านการลงประชามติอีกด้วย
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวในที่ประชุมโดยฝากให้ไปหารือในภาพรวม และส่วนตัวไม่มีข้อขัดแย้งใดๆ ต่อการตั้งกมธ. ดังกล่าว และไม่ติดใจว่า ประธานกมธ.ชุดนี้ควรจะมาจากพรรคไหน แต่อยากให้มีการไปทำความเข้าใจกับประชาชนว่า การตั้งกมธ.ชุดนี้ และการแก้ไขรธน.เป็นการทำเพื่อประชาชน ไม่ใช่ทำเพื่อประโยชน์ทางการเมืองเท่านั้น และขอให้มีการพิจารณาถึงการแก้ไขในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นอันดับแรก
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.สาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า ทางพรรคยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะส่งใครเป็นตัวแทนพรรคไปนั่งในกมธ.ชุดนี้ เพราะต้องดูคนที่มีความเชียวชาญด้านกฎหมาย และมีบารมีด้วย ส่วนที่พรรคประชาธิปัตย์ เสนอให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรคปชป. เป็นประธานกมธ.นั้น พรรคร่วมรัฐบาลจะต้องหารือร่วมกัน และต้องให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ใครก็ได้ที่เหมาะสม ทำแล้ว ประเทศชาติได้ประโยชน์ ซึ่งตนเน้นในเรื่องนี้ และไม่จำเป็นต้องเป็นคนจากพรรคร่วมรัฐบาลก็ได้
เมื่อถามย้ำว่า นายอภิสิทธิ์ เหมาะสมหรือไม่ นายอนุทิน กล่าวว่า ทุกคนเหมาะสมหมด หากมีความตั้งใจที่จะทำให้กับบ้านเมือง อย่าทำอะไร เพื่อตัวเองหรือเพิ่มอำนาจให้กับตัวเอง จากความรู้สึกที่ถูกรัฐธรรมนูญปี 2560 ลดอำนาจ ซึ่งรัฐธรรมนูญแล้วเป็นของสูงสุดของกฎหมายมีพระปรมาภิไธย อยู่ทำอะไรก็ต้องนึกถึงข้อนี้
ด้านนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า ตนก็มีความตั้งใจ อยากจะเข้าร่วมทำงานในกมธ.ชุดนี้ เช่นกัน เพราะเห็นว่ามีหลายมาตราที่ควรแก้ไข โดยเฉพาะประเด็นที่จะเป็นประโยชน์ในการช่วยเหลือประชาชน เช่น มาตรา 185 ที่ห้าม ส.ส.และ ส.ว.เข้าไปแทรกแซงการทำหน้าที่ของข้าราชการ เพราะจะเป็นการจำกัดในกรณีที่จะไปติดต่อช่วยเหลือประชาชน ซึ่งแตกต่างจากรธน. 40 ที่ห้ามเพียงแทรกแซงการโยกย้ายขรก. เท่านั้น ถ้าแก้ไขได้ ก็จะเป็นประโยชน์กับประชาชน อย่างไรก็ตาม ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขในประเด็นเกี่ยวกับความขัดแย้งการแย่งชิงอำนาจ
ส่วนที่พรรคปชป. เสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ เป็นประธานกมธ.ชุดนี้ ส่วนตัวเห็นว่าถ้านายอภิสิทธิ์ จะมาร่วมเป็นกมธ.นั้นเห็นด้วย แต่ถ้าจะเป็นประธานกมธ. คงไม่เหมาะ เพราะนายอภิสิทธิ์ ไมได้เป็นส.ส. ซึ่งคนเป็นประธานฯ ควรต้องเป็นส.ส. จะมาจากพรรคไหนก็ได้
ขณะที่ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน ในฐานะ เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ ตอบคำถามที่ว่า ประธาน กมธ.ชุดนี้ ควรเป็นของ พปชร. ที่เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลหรือไม่ ว่า พรรคร่วมรัฐบาลก็ต้องหารือกัน อย่าเพิ่งไปรีบตัดสินใจอะไรกัน
ด้านนายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ กล่าวว่า การแก้ไขรธน. เป็นเรื่องที่พรรคร่วมฝ่ายค้านตั้งใจเข้ามาแก้ไข แต่ยอมรับว่าเสียงอาจไม่เพียงพอที่จะนำไปสู่การแก้ไข จึงต้องอาศัยพลังจากประชาชน เพื่อทำให้รธน.เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง
ส่วนนายอภิสิทธิ์ เหมาะที่จะมาเป็นประธานกมธ.หรือไม่นั้น ต้องกลับไปถามว่าชื่อนายอภิสิทธิ์ เป็นที่ยอมรับในสังคมหรือไม่ ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วยังไม่มีข้อสรุปเรื่องนี้
นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกวิปวุฒิสภา กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ในการประชุมวิปวุฒิสภา ยังไม่มีการพูดถึงเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม ในความเห็นส่วนตัวนั้น ขณะนี้ ส.ว.ส่วนใหญ่เห็นว่า รธน.พึ่งจะใช้บังคับ และผ่านการลงประชามติมา จึงกำลังดูว่า ส.ส.จะมีความเห็นอย่างไร เพราะพรรคการเมืองต่างๆ เองก็ศึกษาในมุมมองที่แตกต่างกัน ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะแก้ หรือไม่แก้ประการใด ดังนั้น ถ้าจำเป็นที่จะต้องมีการหารือกันก็จะแถลงข่าวให้ทราบต่อไป
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะแก้ไขรธน.ในประเด็นใดนั้น มีองค์ประกอบที่แตกต่างจากรธน.ฉบับก่อนหน้านี้อยู่ 3 ประการ + 1 คือ 1. ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล 2. ส.ส.ฝ่ายค้าน 3. ส.ว. และ 4. การลงประชามติ ซึ่งองค์ประกอบ 3 ประการแรกนั้น แม้จะทำในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา แต่ในวาระ 3 จะต้องมีเสียงต่อฝ่ายค้านสนับสนุนประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ในวาระที่ 1 และวาระที่ 3 จะต้องมีเสียงเห็นด้วยของ ส.ว.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 อีกทั้งเมื่อผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาแล้ว ยังจะต้องผ่านการลงประชามติอีกด้วย