xs
xsm
sm
md
lg

‘ภาวะโลกร้อน’ กรรมตามทัน...

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: โสภณ องค์การณ์


หมอกควันพิษในนิวเดลี ประเทศอินเดีย
มนุษย์เป็นผู้เปลี่ยนแปลงธรรมชาติเพื่อความอยู่รอดและความสะดวกสบายในชีวิต ขณะเดียวกันก็เป็นผู้ทำลายธรรมชาติเพราะการพัฒนาและวิวัฒนาการทำให้ต้องแลกกับการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อม ซึ่งทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ทำให้โลกเริ่มไม่น่าอยู่

เมื่อไม่มีทางเลือกอื่น หรืออพยพไปอยู่ดวงดาวอื่นๆ อย่างในภาพยนตร์ตามจินตนาการของผู้สร้าง คนในโลกจำเป็นต้องอยู่ต่อไป ผู้รู้เรื่องความเป็นไปของสภาวะของโลกได้ออกมาเตือนด้วยเสียงเข้มกว่าเดิมทุกระยะว่า ภาวะโลกร้อนอยู่ในระดับวิกฤต

ภาวะโลกร้อนเกิดจากฝีมือมนุษย์ ดังเช่นปัญหาหมอกควันพิษในหลายเมือง ทั้งกรุงเทพฯ ปักกิ่ง และที่เป็นข่าวโด่งดังทุกวันนี้คือกรุงนิวเดลี เมืองหลวงของอินเดียซึ่งเป็นภาวะยิ่งกว่าวิกฤตเพราะควันพิษคลุมเมืองในระดับเข้มถึง 999 เปอร์เซ็นต์

ระดับที่ยอมรับกันได้คือ PM 2.5 ต้องไม่เกิน 25 เปอร์เซ็นต์ และอินเดียมีประมาณ 22 เมืองที่มีปัญหาหมอกควันพิษ แต่นิวเดลีเกินหน้าไปหลายระดับ ช่วงหนึ่งรุนแรงระดับเทียบเท่ากับคนสูบบุหรี่มากถึง 44 มวนต่อวัน หรือเกิน 2 ซอง ซึ่งหนักมาก

มีประมาณ 30 เมืองในโลกที่มีปัญหาด้านหมอกควันพิษ อินเดียมีมากที่สุด ก่อนหน้านี้หลายเมืองในประเทศจีนมีปัญหาหนักจากการใช้ถ่านหินในภาคอุตสาหกรรม การจราจรที่หนาแน่น การหุงต้มโดยใช้ถ่าน แต่รัฐบาลมีมาตรการเข้มข้นเพื่อแก้ปัญหา

รัฐบาลมองว่าการปรับเปลี่ยนนิสัยของคน ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่จำเป็นต้องทำ

รัฐบาลจีนได้ให้เตาหุงต้มไฟฟ้าแก่ประชาชน ลดละเลิกการใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรม จัดระเบียบการใช้ถนนเพื่อลดอากาศเป็นพิษ แต่ยังไม่ทำให้สำเร็จได้เต็มที่เพราะจำนวนยานพาหนะในแต่ละเมืองของจีนเพิ่มขึ้นมากทุกปี

ชีวิตความเป็นอยู่ที่เริ่มพ้นสภาพจากความยากจนเป็นการใช้ทรัพยากรและสร้างปัญหาให้ธรรมชาติจนเกินระดับที่จะรับได้ จีนก็ไม่พ้นจากกฎเกณฑ์นี้

แต่อินเดียยังต้องใช้เวลาอีกมาก และมาตรการต่างๆ ต้องใช้การลงทุนสูงเพื่อปรับเปลี่ยนระบบการใช้พลังงานอุตสาหกรรม การใช้ยานพาหนะ และเกษตรกรรม

ไม่กี่วันก่อนความรุนแรงของหมอกควันทำให้เครื่องบินหลายลำต้องไปลงสนามบินอื่นเนื่องจากนักบินไม่สามารถมองเห็นทางวิ่งได้ชัด รัฐบาลต้องเร่งแจกหน้ากากกว่า 5 ล้านใบเพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนมีปัญหาทางเดินหายใจ แต่ก็ไม่เพียงพอ

นิวเดลีมีประชากร 18 ล้านคน อยู่ในภาวะจำยอม ส่วนหนึ่งต้องทุกข์กับการแสบตา จมูก ลำคอ ไอ ระบบทางเดินหายใจและสุขภาพโดยรวม และปวดศีรษะต่อเนื่อง

ภาพปรากฏบนทีวีเห็นว่าชาวอินเดียส่วนมากยังสัญจรไปมาบนท้องถนนโดยไม่ใช้หน้ากาก อาจเป็นเพราะหายาก มีราคาแพง หรือคุ้นเคยกับภาวะหมอกจนทนได้ แม้แต่ทัชมาฮาลในเมืองอัคระ อาคารกลายเป็นสีเหลืองเพราะควันโรงงานอุตสาหกรรม

สาเหตุหลักของหมอกควันพิษในนิวเดลีเป็นเพราะโรงงานอุตสาหกรรม ยานพาหนะทุกประเภทที่แน่นถนน และการเผาซากพืชในพื้นที่เกษตรกรรม เหมือนประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งทางการไม่สามารถควบคุมได้สำเร็จ

องค์การอนามัยโลกมีรายงานว่าจำนวนคนเสียชีวิตมีประมาณ 4.2 ล้านรายในแต่ละปีจากปัญหาที่ต้องเผชิญกับหมอกควันพิษ ส่วนใหญ่เกิดจากโรคหัวใจวาย หัวล้มเหลว เบาหวาน มะเร็งปอด และโรคปอดเรื้อรัง เป็นการเจ็บป่วยสิ้นเปลืองเงินมาก

ชาวอินเดียได้เดินขบวนเรียกร้องให้จัดการปัญหา แต่ชาวกรุงเดลียังไม่ยอมรับว่าสภาพหมอกควันพิษเป็นต้นตอของปัญหา มีกวีชื่อ นาฟคีรัต โสธิ บอกว่า “สุดท้ายกรรมตามทันเสมอ” เพราะเป็นการกระทำของมนุษย์เอง ทำอะไร ก็ต้องรับสิ่งนั้น

ชีวิตของชาวเมืองส่วนหนึ่งยังคงใช้การเผาไหม้ของฟืนและวัตถุอื่นๆ เพื่อประกอบอาหาร เป็นการใช้วิถีชีวิตตามปกติเพราะจำนวนคนยากจนและรายได้น้อยยังมีมาก

นักวิทยาศาสตร์ชี้ชัดแล้วว่าภาวะโลกร้อนเป็นต้นเหตุของความแปรปรวนของอากาศในโลก เช่นความรุนแรงของพายุ เหตุเอลนีโญ ลานีญา และระดับน้ำทะเลสูงจากการละลายของน้ำแข็งในขั้วโลกเหนือ ธารน้ำแข็งบนภูเขาละลายอย่างต่อเนื่อง

ข้อสรุปของปัญหาโลกร้อนคือ การใช้ชีวิตแบบตอบสนองความต้องการความสุขซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความมั่งคั่ง สมบูรณ์พูนสุข ซึ่งเอาจากธรรมชาติ เอาวัสดุจากธรรมชาติมาเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างอาคาร และระบบต่างๆ เปลี่ยนสภาพแวดล้อม

โรงงานอุตสาหกรรมเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้มนุษย์พัฒนาเพื่อความสุขสบายของตนเอง นักวิทยาศาสตร์ได้ยก 6 ประเด็นเพื่อดำเนินการ ถ้ามนุษยชาติต้องการป้องกันตัวเองจากหายนะในอนาคต ซึ่งเกิดจากการกระทำของตนเอง ถ้าล้มเหลวจะอยู่รอดยาก

เป็นการล่มสลายของระบบการดำเนินชีวิตของมนุษยชาตินั่นเลย!

นั่นคือความจำเป็นต้องยกเลิกการใช้พลังงานจากฟอสซิล ลดการระบายความร้อนและของเสียจากพาหนะซึ่งใช้ก๊าซมีเทน ลดการบริโภคเนื้อสัตว์ ฟื้นฟูและปกป้องระบบนิเวศน์ สร้างระบบเศรษฐกิจโดยการปลอดสารคาร์บอน ไม่เพิ่มประชากรมากเกิน

นั่นทำได้โดยระบบวางแผนครอบครัว ให้ความรู้แก่สตรีในการคุมกำเนิด การเปลี่ยนแปลงต่างๆ เพื่อลดปัญหาภาวะโลกร้อนจะต้องไม่มองว่าเป็นการเสียสละความสุข แต่เป็นความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อไม่ให้สภาพเลวร้ายกว่าเดิม

นักวิทยาศาสตร์รายหนึ่งบอกว่า การเปลี่ยนแปลง ปรับสภาพต้องเริ่มในทุกเรื่อง เช่นการติดขัดของจราจรในเมือง ปัญหาบนท้องถนน และอากาศสกปรก ถ้าจะให้ดีขึ้น
กำลังโหลดความคิดเห็น