วานนี้ (5พ.ย.) นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงผลการประชุม ส.ส.ของพรรค ที่มีวาระสำคัญคือการพิจารณาญัตติด่วน ขอให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในสัดส่วนของพรรค 4 คน โดยมติของที่ประชุมส.ส. พรรค มี 2 ข้อคือ 1. สนับสนุนให้ตั้งคณะกมธ.วิสามัญเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2. พร้อมสนับสนุน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรค เป็นประธานกมธ. และมอบหมายให้วิปพรรค ซึ่งมี นายชินวรณ์ บุญยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช เป็นประธานไปหารือกับวิปรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาล และพรรคอื่นๆ เพราะถือว่าการแก้ไขรธน.เป็นเรื่องสำคัญของบ้านเมือง จึงต้องเห็นพ้องกันทุกพรรคการเมือง
ทั้งนี้ นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส. นครศรีธรรมราช เป็นผู้เสนอชื่อ นายอภิสิทธิ์ เป็นประธานกมธ. โดยสมาชิกส่วนใหญ่อภิปรายคุณสมบัติของนายอภิสิทธิ์ว่า เป็นอดีตนายกฯ และมีความเกี่ยวข้องกับรธน.มาหลายฉบับ ส่วนรายชื่อกมธ. อีก 3 คน พรรคยังมีเวลาสรรหา เพราะคาดว่าวาระด่วนนี้ จะเข้าที่ประชุมส.ส.ในสัปดาห์หน้า ส่วนกรณีที่พรรคพลังประชารัฐ แสดงท่าทีต้องการเป็นประธานกมธ.ชุดนี้ นายราเมศ กล่าวว่า ยังไม่มีการพูดคุย และเป็นสิทธิของพรรคพปชร. ที่จะแสดงความเห็น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หากนายอภิสิทธิ์ ยอมรับการเสนอชื่อเป็นประธานกมธ. ในสัดส่วนของพรรค ก็จะให้อำนาจ นายอภิสิทธิ์ หากมธ.อีก 3 คน มาร่วมทำงาน
ทั้งนี้ มีรายงานข่าวจากคนใกล้ชิดนายอภิสิทธิ์ ว่า นายอภิสิทธิ์ ได้รับข้อเสนอนี้แล้ว โดยขึ้นอยู่กับมติพรรคจะว่าอย่างไร ทั้งนี้ สำหรับรายชื่อของผู้ที่จะเป็น กมธ.อีก 3 คนยังไม่ชัดเจน เพราะส่วนหนึ่งต้องการให้นายอภิสิทธิ์ คัดเลือกเอง แต่ที่ประชุมได้วางหลักเกณฑ์ว่า ต้องเป็นผู้มีความรู้ ประสบการณ์ ความชำนาญด้านกฎหมาย และรัฐธรรมนูญ เช่น นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และอดีตหัวหน้าพรรค นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรค เป็นต้น โดยไม่พิจารณาแบ่งตามรายภาค
ด้านนายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว. กล่าวถึง กรณีฝ่ายส.ส. ผลักดันให้เร่งแก้ไขรธน.ว่าส.ว.ยังไม่มีความพร้อมที่จะให้แก้ไข เนื่องจาก 1. ข้อเสนอที่จะขอให้แก้ไข ยังไม่ชัดเจนว่าจะแก้ไขประเด็นใด 2. ยังไม่เห็นปัญหาของการใช้รธน.ฉบับนี้ และ 3. ส.ว.ยังมีหน้าที่ต้องควบคุมดูแลความเรียบร้อยในช่วงเปลี่ยนผ่านประเทศ 5 ปี ให้ดำเนินไปด้วยดี
ดังนั้น ต้องรอดูความชัดเจนจากฝ่ายการเมืองก่อน ทางส.ว.ยังไม่ผลีผลามที่จะไปเข้าร่วม หรือเสนอความเห็นใดๆ เกี่ยวกับการแก้ไข และจะต้องมีความรอบคอบ เพราะจะต้องใช้เสียงส.ว. 1 ใน 3 ร่วมออกเสียงในการแก้รธน.วาระ 1 และ 3
" ประเด็นที่จะแก้ไขต้องเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง ไม่ใช่เรื่องการลิดรอนอำนาจส.ว. ถ้าเสนอมาแบบนี้ส.ว.ไม่ร่วมมือด้วยแน่นอน เพราะขณะนี้ส.ว.มีหน้าที่รับผิดชอบบ้านเมืองในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปีให้ดำเนินไปด้วยความสงบเรียบร้อย ไม่ใช่เรื่องหวงอำนาจแต่อย่างใด" นายเสรี กล่าว
ทั้งนี้ นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส. นครศรีธรรมราช เป็นผู้เสนอชื่อ นายอภิสิทธิ์ เป็นประธานกมธ. โดยสมาชิกส่วนใหญ่อภิปรายคุณสมบัติของนายอภิสิทธิ์ว่า เป็นอดีตนายกฯ และมีความเกี่ยวข้องกับรธน.มาหลายฉบับ ส่วนรายชื่อกมธ. อีก 3 คน พรรคยังมีเวลาสรรหา เพราะคาดว่าวาระด่วนนี้ จะเข้าที่ประชุมส.ส.ในสัปดาห์หน้า ส่วนกรณีที่พรรคพลังประชารัฐ แสดงท่าทีต้องการเป็นประธานกมธ.ชุดนี้ นายราเมศ กล่าวว่า ยังไม่มีการพูดคุย และเป็นสิทธิของพรรคพปชร. ที่จะแสดงความเห็น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หากนายอภิสิทธิ์ ยอมรับการเสนอชื่อเป็นประธานกมธ. ในสัดส่วนของพรรค ก็จะให้อำนาจ นายอภิสิทธิ์ หากมธ.อีก 3 คน มาร่วมทำงาน
ทั้งนี้ มีรายงานข่าวจากคนใกล้ชิดนายอภิสิทธิ์ ว่า นายอภิสิทธิ์ ได้รับข้อเสนอนี้แล้ว โดยขึ้นอยู่กับมติพรรคจะว่าอย่างไร ทั้งนี้ สำหรับรายชื่อของผู้ที่จะเป็น กมธ.อีก 3 คนยังไม่ชัดเจน เพราะส่วนหนึ่งต้องการให้นายอภิสิทธิ์ คัดเลือกเอง แต่ที่ประชุมได้วางหลักเกณฑ์ว่า ต้องเป็นผู้มีความรู้ ประสบการณ์ ความชำนาญด้านกฎหมาย และรัฐธรรมนูญ เช่น นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และอดีตหัวหน้าพรรค นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรค เป็นต้น โดยไม่พิจารณาแบ่งตามรายภาค
ด้านนายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว. กล่าวถึง กรณีฝ่ายส.ส. ผลักดันให้เร่งแก้ไขรธน.ว่าส.ว.ยังไม่มีความพร้อมที่จะให้แก้ไข เนื่องจาก 1. ข้อเสนอที่จะขอให้แก้ไข ยังไม่ชัดเจนว่าจะแก้ไขประเด็นใด 2. ยังไม่เห็นปัญหาของการใช้รธน.ฉบับนี้ และ 3. ส.ว.ยังมีหน้าที่ต้องควบคุมดูแลความเรียบร้อยในช่วงเปลี่ยนผ่านประเทศ 5 ปี ให้ดำเนินไปด้วยดี
ดังนั้น ต้องรอดูความชัดเจนจากฝ่ายการเมืองก่อน ทางส.ว.ยังไม่ผลีผลามที่จะไปเข้าร่วม หรือเสนอความเห็นใดๆ เกี่ยวกับการแก้ไข และจะต้องมีความรอบคอบ เพราะจะต้องใช้เสียงส.ว. 1 ใน 3 ร่วมออกเสียงในการแก้รธน.วาระ 1 และ 3
" ประเด็นที่จะแก้ไขต้องเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง ไม่ใช่เรื่องการลิดรอนอำนาจส.ว. ถ้าเสนอมาแบบนี้ส.ว.ไม่ร่วมมือด้วยแน่นอน เพราะขณะนี้ส.ว.มีหน้าที่รับผิดชอบบ้านเมืองในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปีให้ดำเนินไปด้วยความสงบเรียบร้อย ไม่ใช่เรื่องหวงอำนาจแต่อย่างใด" นายเสรี กล่าว