เผย “อัยการ” ตีกลับสำนวนสั่งไม่ฟ้องคดี "อนันต์ อัศวโภคิน" ฟอกเงินเครือข่ายธรรมกาย ถึงมือ "อธิบดีดีเอสไอ” แล้ว รอทำความเห็นแย้งลุยฟ้องต่อ “เลขาฯรมว.ยุติธรรม” ชำแหละประเด็นเห็นแย้งตามข้อ กม.เพียบ “อัยการ” แจงข้อเท็จจริงไม่พบความเชื่อมโยงสมคบ "ศุภชัย" ร่วมกันฟอกเงินสหกรณ์ฯคลองจั่น ลุ้น “ดีเอสไอ” เห็นแย้งหรือไม่ ระบุ “วงศ์สกุล” อสส.มีอำนาจชี้ขาดสุดท้าย “สมศักดิ์” เผยดีเอสไอรับคดีแชร์ “แม่มณี” เป็นคดีพิเศษแล้ว นัดหารือ ผบ.ตร.โอนคดีวันนี้
จากกรณีที่มีกระแสข่าวว่า สำนักงานอัยการคดีพิเศษ สั่งไม่ฟ้องคดีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ส่งสำนวนพร้อมความเห็นสมควรสั่งฟ้อง นายอนันต์ อัศวโภคิน เจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชื่อดัง ในคดีสมคบกันฟอกเงินและร่วมกันฟอกเงิน ที่ได้มาจากการยักยอกฉ้อโกงสหกรณ์เครดิตยูเนียน คลองจั่น ร่วมกับ นายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์ฯคลองจั่น ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 นั้น
วานนี้ (31 ต.ค.) ว่าที่ ร.ต.ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการ รมว.ยุติธรรม เปิดเผยว่า สำนักงานอัยการคดีพิเศษได้ส่งสำนวนพร้อมความเห็นสั่งไม่ฟ้อง นายอนันต์ กลับมาที่ สำนักงานอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และได้ส่งต่อไปให้กลุ่มงานความเห็นแย้งตรวจสอบแล้ว ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างตรวจสอบสำนวนว่าประเด็นความเห็นมีข้อแตกต่างกันอย่างไร ก่อนเสนอให้ พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีดีเอสไอ ให้พิจารณาอีกครั้ง หากไม่มีความเห็นแย้ง คดีก็จะยุติลงในชั้นอัยการที่สั่งไม่ฟ้อง แต่ถ้าอธิบดีดีเอสไอมีความเห็นแย้ง ยืนยันว่าสมควรสั่งฟ้องนายอนันต์ สำนวนจะถูกส่งไปให้อัยการสูงสุดเป็นผู้พิจารณาชี้ขาด ซึ่งผลการพิจารณาของอัยการสูงสุดจะถือเป็นที่สุดเด็ดขาด
“สำหรับประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญในการตรวจสอบ เพื่อทำความเห็นแย้งไปยังอัยการสูงสุด มีทั้งประเด็นข้อกฎหมาย เจตนาในการใช้ชื่อไปถือครองที่ดินแทนอดีตพระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย, การรับซื้อที่ดินจากนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น ในราคาต่ำกว่าราคาประเมิน โดยเงินจากการขายที่ดินไม่ได้ถูกโอนไปให้อดีตพระธัมมชโย หรือมูลนิธิอุบาสิกาจันทร์หางนกยูงทั้งหมด แต่หักเข้ากระเป๋าไว้ 189 ล้านบาท นอกจากนี้ที่ดินแปลงดังกล่าวยังเกี่ยวพันกับการเทคโอเวอร์ บริษัทเอ็ม-โฮม เอสพีวี 2 จำกัดของนายศุภชัย ซึ่งเป็นความผิดฐานฟอกเงินอยู่ด้วย” ว่าที่ ร.ต.ธนกฤต ระบุ
อีกด้าน นายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกอัยการสูงสุด เปิดเผยว่า สำนวนคดีของนายอนันต์ได้ถูกส่งกลับไปยังอธิบดีดีเอสไอ เมื่อวันที่ 30 ก.ย.ที่ผ่านมา ถ้าอธิบดีดีเอสไอเห็นพ้องกับทางอัยการสั่งไม่ฟ้องคดีก็จะยุติ แต่ถ้ามีความเห็นแย้งยืนยันควรฟ้องคดี ตามกฎหมายสำนวนก็จะถูกส่งไปที่ นายวงศ์กุล กิตติพรหมวงศ์ อัยการสูงสุด (อสส.) เพื่อชี้ขาดคดีว่าจะสั่งฟ้องหรือไม่ ส่วนเหตุผลที่อัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องนั้นมาจากรับรายงานจากสำนักงานอัยการคดีพิเศษที่ว่า คดีนี้เกิดจากการที่นายศุภชัยถูกกล่าวหาว่ามีการถ่ายโอนเงินจากสหกรณ์ฯคลองจั่นโดยในภาพรวม เป็นการซื้อที่ดินทั้งหมด 3 แปลง จากบริษัทเอ็ม-โฮมเอสพิวี 2 โดยบริษัทดังกล่าวได้มีการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน 3 แปลงที่ถูกกล่าวหาว่านำเงินสหกรณ์ฯคลองจั่น มาซื้อในราคา 1 พันล้านบาท และได้มีการวางมัดจำเบื้องต้น 321 ล้านบาท แล้วที่เหลือจะมีการผ่อนต่อ แต่ปรากฏว่านายศุภชัยไม่ชำระที่เหลือ ซึ่งที่ดินที่พิพาทดังกล่าวเป็นที่ดินที่ถูกบริหารจัดการภายใต้โครงการฟื้นฟูกิจการตามคำสั่งศาลของบริษัทเอ็ม-โฮม 2ฯ และมีการถูกเจ้าหนี้ทวงถาม จึงมีการนำที่ดินไปขายเพื่อนำเงินไปใช้หนี้ ทำให้นายศุภชัยยื่นฟ้องบริษัทเอ็ม-โฮม 2ฯ
เป็นคดีแพ่ง เพื่อบังคับตามสัญญาจะซื้อจะขาย สุดท้ายศาลแพ่งได้ให้มีการประณีประนอม และมีคำพิพากษาตามยอมของคู่ตวามทั้ง 2 ฝ่าย โดยให้บริษัทเอ็ม-โฮม 2ฯ โอนเงิน 321 ล้านบาทคืนให้กับนายศุภชัย
“เท่ากับว่าที่ดินแปลงนี้ไม่เคยโอนไปยังนายศุภชัย เงินสหกรณ์ฯคลองจั่นที่นำมาซื้อที่ดินก็ได้โอนกลับคืนไปครบถ้วน ซึ่งต่อมา ได้มีการซื้อขายเปลี่ยนมือจนจนมาถึงนายอนันต์เป็น และนายอนันต์มีการบริจาคเงินบางส่วนให้กับทางวัดพระธรรมกาย จนมาถูกกล่าวหาว่าร่วมกับนายศุภชัยฟอกเงิน ตรงนี้ ทางอัยการสำนักงานคดีพิเศษจึงพิจารณาว่า ถ้าได้ความแบบนี้ก็ไม่ใช่ประเด็นที่นายอนันต์จะไปสมคบกับนายศุภชัยฟอกเงิน” นายประยุทธ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า เท่ากับว่านายอนันต์ไม่มีการรับรู้เรื่องที่ดินระหว่างนายศุภชัยกับบริษัทเอ็ม-โฮม2ฯ นายประยุทธ ตอบว่า ในสำนวนที่อัยการสำนักงานคดีพิเศษพิจารณาเท่ากับว่า การทำสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างนายศุภชัยกับบริษัทเอ็ม-โฮม2ฯ 3 แปลง 1 พันล้านบาท นายอนันต์จึงไม่มีส่วนรู้เห็นใดๆทั้งสิ้น และประเด็นสำคัญในการประณีประนอมยอมความ คือ การคืนเงินทุกบาทให้กับสหกรณ์ฯคลองจั่น เท่ากับว่าที่ดินแปลงนี้ไม่เคยเป็นของนายศุภชัยและสหกรณ์ฯคลองจั่น กระบวนการที่มีการกล่าวหานายอนันต์ สมคบกับนายศุภชัยฟอกเงิน พยานหลักฐานในสำนวนไม่ได้เป็นอย่างนั้น ข้อเท็จจริงในสำนวนเฉพาะคดีนี้สหกรณ์ฯคลองจั่น ไม่เกิดเสียหายใดๆทั้งสิ้น.
วันเดียวกัน นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม เปิดเผยถึงกรณีกลุ่มผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงให้ร่วมออมเงินกับแชร์แม่มณีเข้าร้องเรียนกับดีเอสไอ ว่า ขณะนี้มียอดผู้เสียหายลงทะเบียนผ่านคิวอาร์โค้ดของดีเอสไอแล้ว 2,675 ราย รวมมูลค่าความเสียหายเบื้องต้น 756.26 ล้านบาทเศษ ในจำนวนดังกล่าวรวมถึงผู้เสียหายที่เดินทางเข้ามาร้องทุกข์กล่าวโทษที่ดีเอสไอ 300 ราย มูลค่าความเสียหาย 50 ล้านบาท โดยภายหลังรับเรื่องดีเอสไอได้ทำการตรวจสอบหลักฐานและสอบปากคำพยานบางส่วน พบว่าคดีมีผู้เสียหายเกิน 100 ราย และมูลค่าความเสียหายเกิน 100 ล้านบาท เข้าเกณฑ์ที่จะรับไว้เป็นคดีพิเศษ จึงได้รวบรวมหลักฐานเสนอให้คณะกรรมการกลั่นกรองคดีพิเศษ พิจารณาเสนอให้อธิบดีดีเอสไอ อนุมัติเป็นคดีพิเศษภายในวันนี้ (31 ต.ค.) และในวันที่ 1 พ.ย. คณะผู้บริหารดีเอสไอ จะเดินทางไปพบ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เพื่อหารือถึงการโอนสำนวนคดีที่กระจายอยู่ในสถานีตำรวจหลายพื้นที่ มายังดีเอสไอ รวมถึงหารือถึงมาตรการยึดอายัดทรัพย์โดยเร่งด่วน เนื่องจากมีผู้เสียหายจากแชร์ลูกโซ่เป็นจำนวนมาก จึงมีความจำเป็นต้องควบคุมบัญชีของผู้ที่เกี่ยวข้องก่อน ระหว่างนี้ ขอประชาสัมพันธ์ไปยังผู้เสียหายว่า ไม่ต้องเป็นห่วงอะไรทั้งสิ้น
จากกรณีที่มีกระแสข่าวว่า สำนักงานอัยการคดีพิเศษ สั่งไม่ฟ้องคดีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ส่งสำนวนพร้อมความเห็นสมควรสั่งฟ้อง นายอนันต์ อัศวโภคิน เจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชื่อดัง ในคดีสมคบกันฟอกเงินและร่วมกันฟอกเงิน ที่ได้มาจากการยักยอกฉ้อโกงสหกรณ์เครดิตยูเนียน คลองจั่น ร่วมกับ นายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์ฯคลองจั่น ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 นั้น
วานนี้ (31 ต.ค.) ว่าที่ ร.ต.ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการ รมว.ยุติธรรม เปิดเผยว่า สำนักงานอัยการคดีพิเศษได้ส่งสำนวนพร้อมความเห็นสั่งไม่ฟ้อง นายอนันต์ กลับมาที่ สำนักงานอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และได้ส่งต่อไปให้กลุ่มงานความเห็นแย้งตรวจสอบแล้ว ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างตรวจสอบสำนวนว่าประเด็นความเห็นมีข้อแตกต่างกันอย่างไร ก่อนเสนอให้ พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีดีเอสไอ ให้พิจารณาอีกครั้ง หากไม่มีความเห็นแย้ง คดีก็จะยุติลงในชั้นอัยการที่สั่งไม่ฟ้อง แต่ถ้าอธิบดีดีเอสไอมีความเห็นแย้ง ยืนยันว่าสมควรสั่งฟ้องนายอนันต์ สำนวนจะถูกส่งไปให้อัยการสูงสุดเป็นผู้พิจารณาชี้ขาด ซึ่งผลการพิจารณาของอัยการสูงสุดจะถือเป็นที่สุดเด็ดขาด
“สำหรับประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญในการตรวจสอบ เพื่อทำความเห็นแย้งไปยังอัยการสูงสุด มีทั้งประเด็นข้อกฎหมาย เจตนาในการใช้ชื่อไปถือครองที่ดินแทนอดีตพระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย, การรับซื้อที่ดินจากนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น ในราคาต่ำกว่าราคาประเมิน โดยเงินจากการขายที่ดินไม่ได้ถูกโอนไปให้อดีตพระธัมมชโย หรือมูลนิธิอุบาสิกาจันทร์หางนกยูงทั้งหมด แต่หักเข้ากระเป๋าไว้ 189 ล้านบาท นอกจากนี้ที่ดินแปลงดังกล่าวยังเกี่ยวพันกับการเทคโอเวอร์ บริษัทเอ็ม-โฮม เอสพีวี 2 จำกัดของนายศุภชัย ซึ่งเป็นความผิดฐานฟอกเงินอยู่ด้วย” ว่าที่ ร.ต.ธนกฤต ระบุ
อีกด้าน นายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกอัยการสูงสุด เปิดเผยว่า สำนวนคดีของนายอนันต์ได้ถูกส่งกลับไปยังอธิบดีดีเอสไอ เมื่อวันที่ 30 ก.ย.ที่ผ่านมา ถ้าอธิบดีดีเอสไอเห็นพ้องกับทางอัยการสั่งไม่ฟ้องคดีก็จะยุติ แต่ถ้ามีความเห็นแย้งยืนยันควรฟ้องคดี ตามกฎหมายสำนวนก็จะถูกส่งไปที่ นายวงศ์กุล กิตติพรหมวงศ์ อัยการสูงสุด (อสส.) เพื่อชี้ขาดคดีว่าจะสั่งฟ้องหรือไม่ ส่วนเหตุผลที่อัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องนั้นมาจากรับรายงานจากสำนักงานอัยการคดีพิเศษที่ว่า คดีนี้เกิดจากการที่นายศุภชัยถูกกล่าวหาว่ามีการถ่ายโอนเงินจากสหกรณ์ฯคลองจั่นโดยในภาพรวม เป็นการซื้อที่ดินทั้งหมด 3 แปลง จากบริษัทเอ็ม-โฮมเอสพิวี 2 โดยบริษัทดังกล่าวได้มีการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน 3 แปลงที่ถูกกล่าวหาว่านำเงินสหกรณ์ฯคลองจั่น มาซื้อในราคา 1 พันล้านบาท และได้มีการวางมัดจำเบื้องต้น 321 ล้านบาท แล้วที่เหลือจะมีการผ่อนต่อ แต่ปรากฏว่านายศุภชัยไม่ชำระที่เหลือ ซึ่งที่ดินที่พิพาทดังกล่าวเป็นที่ดินที่ถูกบริหารจัดการภายใต้โครงการฟื้นฟูกิจการตามคำสั่งศาลของบริษัทเอ็ม-โฮม 2ฯ และมีการถูกเจ้าหนี้ทวงถาม จึงมีการนำที่ดินไปขายเพื่อนำเงินไปใช้หนี้ ทำให้นายศุภชัยยื่นฟ้องบริษัทเอ็ม-โฮม 2ฯ
เป็นคดีแพ่ง เพื่อบังคับตามสัญญาจะซื้อจะขาย สุดท้ายศาลแพ่งได้ให้มีการประณีประนอม และมีคำพิพากษาตามยอมของคู่ตวามทั้ง 2 ฝ่าย โดยให้บริษัทเอ็ม-โฮม 2ฯ โอนเงิน 321 ล้านบาทคืนให้กับนายศุภชัย
“เท่ากับว่าที่ดินแปลงนี้ไม่เคยโอนไปยังนายศุภชัย เงินสหกรณ์ฯคลองจั่นที่นำมาซื้อที่ดินก็ได้โอนกลับคืนไปครบถ้วน ซึ่งต่อมา ได้มีการซื้อขายเปลี่ยนมือจนจนมาถึงนายอนันต์เป็น และนายอนันต์มีการบริจาคเงินบางส่วนให้กับทางวัดพระธรรมกาย จนมาถูกกล่าวหาว่าร่วมกับนายศุภชัยฟอกเงิน ตรงนี้ ทางอัยการสำนักงานคดีพิเศษจึงพิจารณาว่า ถ้าได้ความแบบนี้ก็ไม่ใช่ประเด็นที่นายอนันต์จะไปสมคบกับนายศุภชัยฟอกเงิน” นายประยุทธ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า เท่ากับว่านายอนันต์ไม่มีการรับรู้เรื่องที่ดินระหว่างนายศุภชัยกับบริษัทเอ็ม-โฮม2ฯ นายประยุทธ ตอบว่า ในสำนวนที่อัยการสำนักงานคดีพิเศษพิจารณาเท่ากับว่า การทำสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างนายศุภชัยกับบริษัทเอ็ม-โฮม2ฯ 3 แปลง 1 พันล้านบาท นายอนันต์จึงไม่มีส่วนรู้เห็นใดๆทั้งสิ้น และประเด็นสำคัญในการประณีประนอมยอมความ คือ การคืนเงินทุกบาทให้กับสหกรณ์ฯคลองจั่น เท่ากับว่าที่ดินแปลงนี้ไม่เคยเป็นของนายศุภชัยและสหกรณ์ฯคลองจั่น กระบวนการที่มีการกล่าวหานายอนันต์ สมคบกับนายศุภชัยฟอกเงิน พยานหลักฐานในสำนวนไม่ได้เป็นอย่างนั้น ข้อเท็จจริงในสำนวนเฉพาะคดีนี้สหกรณ์ฯคลองจั่น ไม่เกิดเสียหายใดๆทั้งสิ้น.
วันเดียวกัน นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม เปิดเผยถึงกรณีกลุ่มผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงให้ร่วมออมเงินกับแชร์แม่มณีเข้าร้องเรียนกับดีเอสไอ ว่า ขณะนี้มียอดผู้เสียหายลงทะเบียนผ่านคิวอาร์โค้ดของดีเอสไอแล้ว 2,675 ราย รวมมูลค่าความเสียหายเบื้องต้น 756.26 ล้านบาทเศษ ในจำนวนดังกล่าวรวมถึงผู้เสียหายที่เดินทางเข้ามาร้องทุกข์กล่าวโทษที่ดีเอสไอ 300 ราย มูลค่าความเสียหาย 50 ล้านบาท โดยภายหลังรับเรื่องดีเอสไอได้ทำการตรวจสอบหลักฐานและสอบปากคำพยานบางส่วน พบว่าคดีมีผู้เสียหายเกิน 100 ราย และมูลค่าความเสียหายเกิน 100 ล้านบาท เข้าเกณฑ์ที่จะรับไว้เป็นคดีพิเศษ จึงได้รวบรวมหลักฐานเสนอให้คณะกรรมการกลั่นกรองคดีพิเศษ พิจารณาเสนอให้อธิบดีดีเอสไอ อนุมัติเป็นคดีพิเศษภายในวันนี้ (31 ต.ค.) และในวันที่ 1 พ.ย. คณะผู้บริหารดีเอสไอ จะเดินทางไปพบ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เพื่อหารือถึงการโอนสำนวนคดีที่กระจายอยู่ในสถานีตำรวจหลายพื้นที่ มายังดีเอสไอ รวมถึงหารือถึงมาตรการยึดอายัดทรัพย์โดยเร่งด่วน เนื่องจากมีผู้เสียหายจากแชร์ลูกโซ่เป็นจำนวนมาก จึงมีความจำเป็นต้องควบคุมบัญชีของผู้ที่เกี่ยวข้องก่อน ระหว่างนี้ ขอประชาสัมพันธ์ไปยังผู้เสียหายว่า ไม่ต้องเป็นห่วงอะไรทั้งสิ้น