แม้ว่ากระทรวงพลังงานซึ่งเป็นกระทรวงที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินในปี 2562 น้อยที่สุด คือเพียง 2,319 ล้านบาท ในขณะที่กระทรวงศึกษาธิการได้รับมากที่สุดถึง 489,799 ล้านบาท หรือมากกว่ากันถึง 211 เท่าตัว แต่ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานก็เป็นที่หมายปองของนักการเมืองบางกลุ่มในพรรคร่วมรัฐบาล จนส่งผลให้การจัดตั้งรัฐบาลต้องล่าช้าและมีปัญหาจนถึงวันนี้
อะไรคือสาเหตุดังกล่าว
แน่นอนครับว่า เหตุผลมีหลายอย่าง แล้วแต่ว่าใครจะยกเอาอะไรมาอ้าง
แต่จากข้อมูลของกระทรวงพลังงานเองบอกเราว่า ในปี 2561 คนไทยใช้พลังงานคิดเป็นมูลค่า 2.26 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 13.9 ของจีดีพี ในจำนวนนี้เป็นปิโตรเลียม (น้ำมัน) 1.32 ล้านล้านบาท ไฟฟ้า 6.8 แสนล้านบาท และก๊าซธรรมชาติ (ที่ไม่เกี่ยวกับไฟฟ้า) อีก 1.2 แสนล้านบาท
ผมเข้าใจว่าไม่มีรัฐมนตรีกระทรวงใดได้กำกับดูแลหน่วยงานที่มีมูลค่าคิดเป็นตัวเงินมากเท่ากับกระทรวงพลังงานอีกแล้ว ผมคิดว่าไม่มีนะครับถึงจะมีก็เป็นการกำกับดูแลรายย่อยๆ นับหมื่นนับแสนราย ในขณะที่รัฐมนตรีพลังงานแค่ได้กำกับ 3 หน่วยงาน คือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติซึ่งดูแลการให้สัมปทานปิโตรเลียม ก็คิดเป็นมูลค่ามหาศาลแล้วนอกจากนี้ยังมีอำนาจในการบริหาร “กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน”ซึ่งมีรายได้จากการเรียกเก็บจากผู้ใช้น้ำมันลิตรละ 10 สตางค์ (เดือนละประมาณ 300 ล้านบาท) ปัจจุบันกองทุนนี้มีเงินเกือบ 3 หมื่นล้านบาทอ้อ! ยังมีกองทุนน้ำมันอีกกว่า 4 หมื่นล้านบาทให้บริหารด้วยครับ
สาเหตุที่ผมได้ยกเรื่องนี้ขึ้นมาเขียน ไม่ใช่เพราะข่าวการแย่งชิงตำแหน่งรัฐมนตรีพลังงานในการจัดตั้งรัฐบาลครั้งนี้ แต่เป็นเพราะว่า ผมได้ติดตามนโยบายพลังงานของประเทศนี้มายาวนาน และสงสัยมาตลอด แต่ก็ไม่เคยมีโอกาสได้เขียนถึงประเด็นนี้สักที
ผมขอเริ่มที่แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (พีดีพี 2018) ซึ่งเป็นแผนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงพลังงาน เป็นแผนที่บอกว่าในปีใดจะมีการสร้างโรงไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงชนิดใด จำนวนเท่าใด และให้ กฟผ.หรือบริษัทเอกชนเป็นผู้ก่อสร้างจำนวนเท่าใด เป็นต้น แผนนี้มีอายุ 20 ปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ถึง 2580 (แต่การใช้งานจริงก็แค่ 2-3 ปีเท่านั้น) ผมได้นำบางส่วนของแผนนี้มาให้ดูกันด้วยครับ

ผมมีข้อสังเกต 2 ประการในภาพข้างต้น คือ
หนึ่ง โดยเฉลี่ยจะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ประมาณปีละ 2,822 เมกะวัตต์ ประมาณอย่างคร่าวๆ ก็น่าจะประมาณปีละ1 แสนล้านบาท แล้วนี่แค่โรงไฟฟ้าอย่างเดียว ยังไม่นับระบบสายส่งไฟฟ้า ฯลฯ
แผนดังกล่าวได้เริ่มดำเนินการไปบ้างแล้ว โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมา ได้มีการเสนอข้อสรุปแผนการสร้างโรงไฟฟ้ามั่นคงภาคตะวันตก จำนวน 2 โรง ขนาดกำลังการผลิตรวม 1,400 เมกะวัตต์เพื่อจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในปี 67-68 ต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ทั้งๆ ที่โดยมารยาทแล้วน่าจะรอรัฐบาลชุดใหม่เป็นผู้ตัดสินใจ
บริษัทที่ได้รับงานนี้คือ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) โดยไม่มีการประมูล แต่เป็นการเจรจา จนได้ค่าไฟฟ้าได้ในอัตราที่ต่ำกว่าค่าไฟฟ้าของทุกระบบในปัจจุบัน และมีความเหมาะสมในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานที่ตั้งในพื้นที่เดิมในจังหวัดราชบุรี
โรงไฟฟ้าดังกล่าวสร้างขึ้นมาทดแทนโรงไฟฟ้าไตรเอ็นเนอร์ยี่ (ของบริษัทราชบุรีโฮล์ดิ้ง) ซึ่งได้จ่ายไฟฟ้าเมื่อกลางปี 2543 จะปลดระวางในปี 2563 นั่นคือ โรงไฟฟ้านี้มีอายุการใช้งานเพียง 20 ปีเท่านั้น
เว็บไซต์ศูนย์ข่าวพลังงาน ได้รายงานว่า การลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในภาคตะวันตกขนาด1,400 เมกะวัตต์ดังกล่าวอาจจะมีขึ้นก่อนที่รัฐมนตรีพลังงานคนใหม่จะเข้ารับตำแหน่ง
เห็นไหมครับว่า กระทรวงพลังงานมีความสำคัญแค่ไหน
สอง ในแผนพีดีพี 2018 ดังกล่าวได้ระบุว่า จะปลดระวางโรงไฟฟ้าจะนะ ชุดที่ 1 จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าของ กฟผ. และได้เดินไฟฟ้าตั้งแต่กลางปี 2551 และจะปลดระวางในปี 2577 รวมอายุเพียง 25 ปี
โรงไฟฟ้าควรจะมีอายุการใช้งานนานเท่าใด
โรงไฟฟ้าทั้ง 2 โรงที่กล่าวมาแล้ว เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ เรา-คนธรรมดาๆ ไม่ทราบหรอกครับว่ามันควรจะมีอายุการใช้งานนานกี่ปี แต่จากการค้นคว้าพบว่า ในประเทศสหราชอาณาจักร โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติจำนวนหลายโรงมีอายุนานถึง 51 ปีแล้ว แต่ยังสามารถใช้ผลิตอยู่ต่อไป (ดูข้อมูลและแหล่งอ้างอิงจากภาพประกอบ)

จากข้อมูลขององค์กรอีไอเอพบว่า ในสหรัฐอเมริกา เฉพาะโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติจำนวนกว่า 1.2 แสนเมกะวัตต์มีอายุมากกว่า 31 ปี ในจำนวนนี้กว่า 2 หมื่นเมกะวัตต์ที่มีอายุ 51 ถึง 60 ปี

สรุปแล้วทั้งประเทศสหราชอาณาจักรและประเทศสหรัฐอเมริกา เขามีโรงไฟฟ้าที่สามารถใช้งานได้นานถึงกว่า 2 เท่าของประเทศไทยเรา
ถ้าอายุการใช้งานของโรงไฟฟ้ามากขึ้นแล้วจะดีอย่างไร?
คำตอบง่ายๆ ก็คือ ทำให้ค่าไฟฟ้าลดลงอย่างแน่นอน
ปัจจุบันกำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยเราสามารถแบ่งอย่างคร่าวๆ ได้ 2 ส่วน คือ ส่วนของ กฟผ. (ซึ่งเป็นของรัฐ 100%) กับของบริษัทเอกชน โดยที่ส่วนของ กฟผ. มีจำนวนคิดเป็นร้อยละ 34 เท่านั้นของกำลังการผลิตทั้งระบบ
ในการทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับบริษัทเอกชน ฝ่ายรัฐจะต้องจ่ายสิ่งที่เรียกว่า “ค่าความพร้อมจ่ายพลังไฟฟ้า (Availability Payment)” ซึ่งได้แก่ค่าใช้จ่ายคงที่ในการดำเนินการและบำรุงรักษา ค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาหลัก ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร การชำระคืนดอกเบี้ยเงินกู้และเงินกู้ และผลตอบแทนการลงทุนต่อผู้ถือหุ้น (ข้อความที่ขีดเส้นใต้มาจากเอกสารของบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด)
ดังนั้น ถ้าอายุการใช้งานของโรงไฟฟ้านานขึ้น 2 เท่าตัว ค่าความพร้อมจ่ายพลังไฟฟ้าต่อหน่วยไฟฟ้าก็จะต้องลดลงมาเหลือเกือบครึ่งหนึ่งโดยประมาณ
ทำไมประเทศสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาเขาทำได้ ทั้งๆ ที่เครื่องจักรในการผลิตไฟฟ้าก็น่าจะผลิตจากบริษัทเดียวกันเสียด้วยซ้ำ ตำราที่ใช้ในการบริหารจัดการก็น่าจะเขียนโดยคนในสำนักคิดเดียวกัน
โดยปกติ ผมมักจะเข้าไปดูข้อมูลค่าความพร้อมจ่ายพลังไฟฟ้าในเว็บไซต์ของ กฟผ. (http://www3.egat.co.th/ft/) อยู่บ่อยๆ แต่ในช่วงประมาณ 10 วันมานี้ผมเข้าไม่ได้เลยครับไม่ทราบว่าเพราะอะไร
แต่จากข้อมูลเดิมที่ผมเก็บไว้โดยบังเอิญพบว่า ในปี 2558 ค่าความพร้อมจ่ายของโรงไฟฟ้าเอกชนรวมกันเป็นเงิน 75,688 ล้านบาท (ปี 2561 น่าจะมากกว่า 9 หมื่นล้านบาท) โดยเฉลี่ยค่าความพร้อมจ่ายพลังไฟฟ้า (หรือค่าโรงไฟฟ้า) เท่ากับ 0.68 บาทต่อหน่วยไฟฟ้า (ปี 2557 เท่ากับ 0.63 บาทต่อหน่วย) ค่าเชื้อเพลิงอาจจะประมาณ 2 บาทกว่าต่อหน่วย
ถ้ามีการยืดอายุการใช้งานของโรงไฟฟ้าออกไปเหมือนที่ได้กล่าวมาแล้ว ผมเชื่อว่าเราสามารถลดค่าไฟฟ้าลงมาได้ถึง 30 สตางค์ต่อหน่วยเป็นอย่างน้อย (คิดคร่าวๆ) คิดเป็นมูลค่าต่อปีไม่น้อยกว่า 6 หมื่นล้านบาท
ไหนๆ ก็ได้พูดถึงปัญหาการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสาธารณะ (ที่ผมเชื่อว่าถูกปิดกั้น) กันแล้ว ทั้งๆ ที่รัฐบาลได้ชูนโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” ทำให้ผมรู้สึกน้อยใจครับ เพราะว่าผมสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ของประเทศอื่นๆ ได้อย่างสะดวก เช่น http://www.caiso.com/TodaysOutlook/Pages/supply.aspx ของรัฐแคลิฟอร์เนียสหรัฐอเมริกา
เว็บไซต์นี้มีสาระดีๆ ทำให้เราสามารถเข้าใจระบบการผลิตไฟฟ้าแบบ real time ทำให้เราได้เห็นวิธีการแก้ปัญหาที่แตกต่างกับของประเทศไทย เช่น การนำแบตเตอรี่มาใช้เก็บไฟฟ้าในช่วงกลางวัน แล้วปล่อยออกมาใช้ในช่วงที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง โดยไม่จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าสำรองไว้เยอะๆ เหมือนบ้านเรา
ไม่เชื่อก็ลองเข้าไปดูซิ เข้าใจง่ายด้วยครับ
ประเทศที่เป็นประชาธิปไตย เขาจะต้องคำนึงถึงทั้ง “ประชาธิปไตยพลังงาน” และประชาธิปไตยในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ ไปพร้อมกันด้วย ไม่ใช่แค่การเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว
อะไรคือสาเหตุดังกล่าว
แน่นอนครับว่า เหตุผลมีหลายอย่าง แล้วแต่ว่าใครจะยกเอาอะไรมาอ้าง
แต่จากข้อมูลของกระทรวงพลังงานเองบอกเราว่า ในปี 2561 คนไทยใช้พลังงานคิดเป็นมูลค่า 2.26 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 13.9 ของจีดีพี ในจำนวนนี้เป็นปิโตรเลียม (น้ำมัน) 1.32 ล้านล้านบาท ไฟฟ้า 6.8 แสนล้านบาท และก๊าซธรรมชาติ (ที่ไม่เกี่ยวกับไฟฟ้า) อีก 1.2 แสนล้านบาท
ผมเข้าใจว่าไม่มีรัฐมนตรีกระทรวงใดได้กำกับดูแลหน่วยงานที่มีมูลค่าคิดเป็นตัวเงินมากเท่ากับกระทรวงพลังงานอีกแล้ว ผมคิดว่าไม่มีนะครับถึงจะมีก็เป็นการกำกับดูแลรายย่อยๆ นับหมื่นนับแสนราย ในขณะที่รัฐมนตรีพลังงานแค่ได้กำกับ 3 หน่วยงาน คือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติซึ่งดูแลการให้สัมปทานปิโตรเลียม ก็คิดเป็นมูลค่ามหาศาลแล้วนอกจากนี้ยังมีอำนาจในการบริหาร “กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน”ซึ่งมีรายได้จากการเรียกเก็บจากผู้ใช้น้ำมันลิตรละ 10 สตางค์ (เดือนละประมาณ 300 ล้านบาท) ปัจจุบันกองทุนนี้มีเงินเกือบ 3 หมื่นล้านบาทอ้อ! ยังมีกองทุนน้ำมันอีกกว่า 4 หมื่นล้านบาทให้บริหารด้วยครับ
สาเหตุที่ผมได้ยกเรื่องนี้ขึ้นมาเขียน ไม่ใช่เพราะข่าวการแย่งชิงตำแหน่งรัฐมนตรีพลังงานในการจัดตั้งรัฐบาลครั้งนี้ แต่เป็นเพราะว่า ผมได้ติดตามนโยบายพลังงานของประเทศนี้มายาวนาน และสงสัยมาตลอด แต่ก็ไม่เคยมีโอกาสได้เขียนถึงประเด็นนี้สักที
ผมขอเริ่มที่แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (พีดีพี 2018) ซึ่งเป็นแผนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงพลังงาน เป็นแผนที่บอกว่าในปีใดจะมีการสร้างโรงไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงชนิดใด จำนวนเท่าใด และให้ กฟผ.หรือบริษัทเอกชนเป็นผู้ก่อสร้างจำนวนเท่าใด เป็นต้น แผนนี้มีอายุ 20 ปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ถึง 2580 (แต่การใช้งานจริงก็แค่ 2-3 ปีเท่านั้น) ผมได้นำบางส่วนของแผนนี้มาให้ดูกันด้วยครับ
ผมมีข้อสังเกต 2 ประการในภาพข้างต้น คือ
หนึ่ง โดยเฉลี่ยจะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ประมาณปีละ 2,822 เมกะวัตต์ ประมาณอย่างคร่าวๆ ก็น่าจะประมาณปีละ1 แสนล้านบาท แล้วนี่แค่โรงไฟฟ้าอย่างเดียว ยังไม่นับระบบสายส่งไฟฟ้า ฯลฯ
แผนดังกล่าวได้เริ่มดำเนินการไปบ้างแล้ว โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมา ได้มีการเสนอข้อสรุปแผนการสร้างโรงไฟฟ้ามั่นคงภาคตะวันตก จำนวน 2 โรง ขนาดกำลังการผลิตรวม 1,400 เมกะวัตต์เพื่อจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในปี 67-68 ต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ทั้งๆ ที่โดยมารยาทแล้วน่าจะรอรัฐบาลชุดใหม่เป็นผู้ตัดสินใจ
บริษัทที่ได้รับงานนี้คือ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) โดยไม่มีการประมูล แต่เป็นการเจรจา จนได้ค่าไฟฟ้าได้ในอัตราที่ต่ำกว่าค่าไฟฟ้าของทุกระบบในปัจจุบัน และมีความเหมาะสมในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานที่ตั้งในพื้นที่เดิมในจังหวัดราชบุรี
โรงไฟฟ้าดังกล่าวสร้างขึ้นมาทดแทนโรงไฟฟ้าไตรเอ็นเนอร์ยี่ (ของบริษัทราชบุรีโฮล์ดิ้ง) ซึ่งได้จ่ายไฟฟ้าเมื่อกลางปี 2543 จะปลดระวางในปี 2563 นั่นคือ โรงไฟฟ้านี้มีอายุการใช้งานเพียง 20 ปีเท่านั้น
เว็บไซต์ศูนย์ข่าวพลังงาน ได้รายงานว่า การลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในภาคตะวันตกขนาด1,400 เมกะวัตต์ดังกล่าวอาจจะมีขึ้นก่อนที่รัฐมนตรีพลังงานคนใหม่จะเข้ารับตำแหน่ง
เห็นไหมครับว่า กระทรวงพลังงานมีความสำคัญแค่ไหน
สอง ในแผนพีดีพี 2018 ดังกล่าวได้ระบุว่า จะปลดระวางโรงไฟฟ้าจะนะ ชุดที่ 1 จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าของ กฟผ. และได้เดินไฟฟ้าตั้งแต่กลางปี 2551 และจะปลดระวางในปี 2577 รวมอายุเพียง 25 ปี
โรงไฟฟ้าควรจะมีอายุการใช้งานนานเท่าใด
โรงไฟฟ้าทั้ง 2 โรงที่กล่าวมาแล้ว เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ เรา-คนธรรมดาๆ ไม่ทราบหรอกครับว่ามันควรจะมีอายุการใช้งานนานกี่ปี แต่จากการค้นคว้าพบว่า ในประเทศสหราชอาณาจักร โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติจำนวนหลายโรงมีอายุนานถึง 51 ปีแล้ว แต่ยังสามารถใช้ผลิตอยู่ต่อไป (ดูข้อมูลและแหล่งอ้างอิงจากภาพประกอบ)
จากข้อมูลขององค์กรอีไอเอพบว่า ในสหรัฐอเมริกา เฉพาะโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติจำนวนกว่า 1.2 แสนเมกะวัตต์มีอายุมากกว่า 31 ปี ในจำนวนนี้กว่า 2 หมื่นเมกะวัตต์ที่มีอายุ 51 ถึง 60 ปี
สรุปแล้วทั้งประเทศสหราชอาณาจักรและประเทศสหรัฐอเมริกา เขามีโรงไฟฟ้าที่สามารถใช้งานได้นานถึงกว่า 2 เท่าของประเทศไทยเรา
ถ้าอายุการใช้งานของโรงไฟฟ้ามากขึ้นแล้วจะดีอย่างไร?
คำตอบง่ายๆ ก็คือ ทำให้ค่าไฟฟ้าลดลงอย่างแน่นอน
ปัจจุบันกำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยเราสามารถแบ่งอย่างคร่าวๆ ได้ 2 ส่วน คือ ส่วนของ กฟผ. (ซึ่งเป็นของรัฐ 100%) กับของบริษัทเอกชน โดยที่ส่วนของ กฟผ. มีจำนวนคิดเป็นร้อยละ 34 เท่านั้นของกำลังการผลิตทั้งระบบ
ในการทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับบริษัทเอกชน ฝ่ายรัฐจะต้องจ่ายสิ่งที่เรียกว่า “ค่าความพร้อมจ่ายพลังไฟฟ้า (Availability Payment)” ซึ่งได้แก่ค่าใช้จ่ายคงที่ในการดำเนินการและบำรุงรักษา ค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาหลัก ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร การชำระคืนดอกเบี้ยเงินกู้และเงินกู้ และผลตอบแทนการลงทุนต่อผู้ถือหุ้น (ข้อความที่ขีดเส้นใต้มาจากเอกสารของบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด)
ดังนั้น ถ้าอายุการใช้งานของโรงไฟฟ้านานขึ้น 2 เท่าตัว ค่าความพร้อมจ่ายพลังไฟฟ้าต่อหน่วยไฟฟ้าก็จะต้องลดลงมาเหลือเกือบครึ่งหนึ่งโดยประมาณ
ทำไมประเทศสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาเขาทำได้ ทั้งๆ ที่เครื่องจักรในการผลิตไฟฟ้าก็น่าจะผลิตจากบริษัทเดียวกันเสียด้วยซ้ำ ตำราที่ใช้ในการบริหารจัดการก็น่าจะเขียนโดยคนในสำนักคิดเดียวกัน
โดยปกติ ผมมักจะเข้าไปดูข้อมูลค่าความพร้อมจ่ายพลังไฟฟ้าในเว็บไซต์ของ กฟผ. (http://www3.egat.co.th/ft/) อยู่บ่อยๆ แต่ในช่วงประมาณ 10 วันมานี้ผมเข้าไม่ได้เลยครับไม่ทราบว่าเพราะอะไร
แต่จากข้อมูลเดิมที่ผมเก็บไว้โดยบังเอิญพบว่า ในปี 2558 ค่าความพร้อมจ่ายของโรงไฟฟ้าเอกชนรวมกันเป็นเงิน 75,688 ล้านบาท (ปี 2561 น่าจะมากกว่า 9 หมื่นล้านบาท) โดยเฉลี่ยค่าความพร้อมจ่ายพลังไฟฟ้า (หรือค่าโรงไฟฟ้า) เท่ากับ 0.68 บาทต่อหน่วยไฟฟ้า (ปี 2557 เท่ากับ 0.63 บาทต่อหน่วย) ค่าเชื้อเพลิงอาจจะประมาณ 2 บาทกว่าต่อหน่วย
ถ้ามีการยืดอายุการใช้งานของโรงไฟฟ้าออกไปเหมือนที่ได้กล่าวมาแล้ว ผมเชื่อว่าเราสามารถลดค่าไฟฟ้าลงมาได้ถึง 30 สตางค์ต่อหน่วยเป็นอย่างน้อย (คิดคร่าวๆ) คิดเป็นมูลค่าต่อปีไม่น้อยกว่า 6 หมื่นล้านบาท
ไหนๆ ก็ได้พูดถึงปัญหาการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสาธารณะ (ที่ผมเชื่อว่าถูกปิดกั้น) กันแล้ว ทั้งๆ ที่รัฐบาลได้ชูนโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” ทำให้ผมรู้สึกน้อยใจครับ เพราะว่าผมสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ของประเทศอื่นๆ ได้อย่างสะดวก เช่น http://www.caiso.com/TodaysOutlook/Pages/supply.aspx ของรัฐแคลิฟอร์เนียสหรัฐอเมริกา
เว็บไซต์นี้มีสาระดีๆ ทำให้เราสามารถเข้าใจระบบการผลิตไฟฟ้าแบบ real time ทำให้เราได้เห็นวิธีการแก้ปัญหาที่แตกต่างกับของประเทศไทย เช่น การนำแบตเตอรี่มาใช้เก็บไฟฟ้าในช่วงกลางวัน แล้วปล่อยออกมาใช้ในช่วงที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง โดยไม่จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าสำรองไว้เยอะๆ เหมือนบ้านเรา
ไม่เชื่อก็ลองเข้าไปดูซิ เข้าใจง่ายด้วยครับ
ประเทศที่เป็นประชาธิปไตย เขาจะต้องคำนึงถึงทั้ง “ประชาธิปไตยพลังงาน” และประชาธิปไตยในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ ไปพร้อมกันด้วย ไม่ใช่แค่การเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว