xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

โปรเจกต์พันล้าน "อัตลักษณ์บุคคล" รัฐ ดันลดปัญหาการสวมสิทธิ์บุคคล

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ผู้จัดการสุดสัปดาห์ -ไม่นานนี้ประเทศไทย จะเริ่มใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ “เชื่อมโยงข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล" ตามโครงการพัฒนาเพื่อจัดตั้งฐานข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลแห่งชาติ เน้น "ลดปัญหาการสวมสิทธิ์บุคคล" โครงการนี้รัฐบาลผ่านหลักการไปเมื่อสองปีที่แล้ว (28 ก.พ.60) และผ่านความเห็นชอบจากพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หลังมีข้อสั่งการเมื่อ 7 เม.ย.5

มอบนโยบาย ให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และ กระทรวงยุติธรรม เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดแนวทางพัฒนาหน่วยงานที่ทำหน้าที่พิสูจน์หลักฐานประกอบการสืบสวนดำเนินคดีต่างๆ ให้มี ความทันสมัย มีศักยภาพในการวิเคราะห์วัตถุพยาน และหลักฐานได้อย่างแม่นยำ มีฐานการอ้างอิงที่เป็นสากล รวมถึงให้พิจารณาความเป็นไปได้โนการเก็บอัตลักษณ์บุคคลเพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง

ผ่านความเห็นชอบจาก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการบูรณาการข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลแห่งชาติ และ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับการบริหารราชการกระทรวงยุติธรรม
 
โครงการนี้ หวังจะบูรณาการข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลระหว่างหน่วยงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และสามารถถ่ายโอน เชื่อมโยง และใช้ประโยชน์จากข้อมูลร่วมกัน ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถตรวจสอบ และยืนยันบุคคล ประวัติบุคคล ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ ช่วยสนับสนุนงานกระบวนการยุติธรรม งานบริการประชาชน แก้ไขความเดือดร้อน ความไม่เป็นธรรมต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และเป็นการ สนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง

รวมทั้งให้มีการจัดตั้ง "ศูนย์ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลแห่งชาติ" ภายในสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ที่ประกอบด้วย ระบบหลักของศูนย์อัตลักษณ์และฐานข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลแห่งชาติ พัฒนาระบบค้นหาและเปรียบเทียบอัตลักษณ์บุคคล รองรับจำนวนข้อมูล อัตลักษณ์บุคคล ได้แก่ ลายพิมพ์นี้วมือหรือลายพิมพ์นิ้วมือแฝง ภาพใบหน้า ภาพม่านตา รูปแบบสารพันธุกรรม (DNA Profile)และให้หน่วยงานความมั่นคงชองชาติ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม หน่วยงาน ภาครัฐและหน่วยงานภาคเอกชนสามารถเข้ามาใช้บริการและทราบผลภายใน 30 วินาที

ล่าสุดเมื่อต้นปี 2562 ที่ผ่านมา รัฐบาลมอบหมายให้ "กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม" เข้ามาเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงแรงงาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งทบทวนพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล เพื่อจัดตั้งฐานข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลแห่งชาติในภาพรวม เข้ามาย้ำระบบให้มีความชัดเจน เหมาะสม และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยคำนึงถึงประเด็นสำคัญต่าง ๆ เช่น

1) ความครบถ้วนของข้อมูลที่อยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน 2) การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างศูนย์ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลแห่งชาติกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3) แนวทางการบริหารจัดการข้อมูลของศูนย์ฯ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมประสิทธิภาพ และบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ 4) เทคโนโลยีที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการดำเนินการ 5 ) ภาระงบประมาณที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว 6 ) ความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงข้อมูลชองศูนย์ฯกับระบบกล้องวงจรปีด (CCTV)เพื่อประโยชน์ ในการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยของบ้านเมีอง เป็นต้น
 
โครงการนี้ "สำนักงบประมาณ" เตรียมอนุมัติงบประมาณให้ "สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม" เข้ามารับผิดชอบดำเนินการตามแผน ซึ่งกำหนดแผนการดำเนินโครงการ ภายในวงเงิน 944,000,000 บาท แบ่งเป็น 3 ระยะ

ระยะที่ 1 พัฒนาระบบเพื่อตั้งฐานข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล (Bio Hub Establishment)และถ่ายโอนข้อมูลจากหน่วยงานในกระทรวงยุติธรรม และกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เข้าฐานข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล จำนวน 2.4 ล้านรายการ ระยะเวลาดำเนินการ 8 เดือน (เดือนม.ค. - ส.ค. 62) วงเงิน 129,924,400 บาท

ระยะที่ 2 ขยายฐานข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลเป็น 10 ล้านรายการ และสร้างระบบเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมเริ่มให้บริการแก่หน่วยงานด้านความมั่นคงและด้านกระบวนการยุติธรรม (Bio Hub Service and Integration) ระยะเวลาดำเนินการ 8 เดือน (เดือนก.ย.- เม.ย.63) วงเงิน 442,248,400 บาท

ระยะที่ 3 เพิ่มฐานข้อมูลเป็น 14 ล้านรายการ และขยายการบริการไปยังหน่วยงานด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งภาคเอกชน (Bio Hub Scaling up) ระยะเวลาดำเนินการ 8 เดือน (เดือนพ.ค.- ธ.ค.63) วงเงิน 322,816,000 บาท

โดยค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการใน ระยะที่ 1 และ ระยะที่ 2 ได้รับเงินจาก "กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม" รวม 676,184,000 บาท ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่ 4/2561 เมื่อ 24 ก.ย.61 สำหรับ ระยะที่ 3 จะใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่าย ประจำปี จำนวน 322,816,000 บาท

รัฐบาล ยังขอให้เจ้าภาพอย่าง "กระทรวงยุติธรรม" ดำเนินการเชื่อมโยงและจัดทำฐานข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล ประกอบด้วย ลายพิมพ์นิ้วมือ ภาพใบหน้าบุคคล ม่านตา ให้มีความครบล้วน จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย กระทรวงมหาดไทย หน่วยงานศาล สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน กระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ ฯลฯ ให้สามารถแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างประเทศ เช่น ปัญหาด้านแรงงาน อาชญากรรมข้ามชาติ เป็นต้น
 
ขณะที่ "กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" มีข้อสังเกตว่า การดำเนินการเกี่ยวกับการเชื่อมโยงข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลจำเป็นต้องคำนึงถึงเรื่องการรักษาความลับ (Confidentiality)โดยเฉพาะ "การเข้ารหัสข้อมูลตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง" (End-to-endencryption) ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมให้ความร่วมมีอในฐานะที่ปรึกษาฯ

ส่วน "สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ" หรือ สภาพัฒน์ ให้ข้อสังเกตว่า สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ควรให้ทุกหน่วยงานที่มีการจัดเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล สนับสนุน บูรณาการ และ/หรือเชื่อมโยงข้อมูลกับศูนย์ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลแห่งขาติ เพื่อทำให้ระบบข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลชองประเทศในภาพรวม มีความเป็นเอกภาพและสามารถนำไปใช้ดำเนินการ และแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงและกระบวนการยุติธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม แผนการดำเนินโครงการที่กำหนดให้บริการข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล สำหรับหน่วยงานภาคเอกชน ยังไม่ได้กำหนดแนวทางการให้บริการที่ชัดเจน ซึ่งอาจจะกระทบต่อความเป็นส่วนตัวด้านข้อมูลของบุคคล โดยเฉพาะหากมีการนำข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวไปใช้ในทางมิชอบ
 
ดังนั้น ต้องพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และขอบเขตของการเข้าถึงข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลสำหรับการให้บริการภาคเอกชน เพื่อป้องกับการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนและไม่ให้มีการนำข้อมูลไปใช้โดยไม่เหมาะสมหรือเป็นผลร้ายต่อเจ้าของข้อมูล

ปีที่แล้วศูนย์ฯ นี้ ถูกตั้งข้อสังเกตว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการฯ มีการจัดงบประมาณจัดจ้างที่ปรึกษาในวงเงิน 100 ล้านบาท แต่ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาปฏิเสธว่า "ไม่เป็นความจริง" แม้จะมีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 166/2561 แต่งตั้ง 6 นักวิชาการจาก "คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ม.มหิดล เป็นทีมที่ปรึกษา มีหน้าที่กำหนดรูปแบบ การออกแบบระบบ และแนวทางการบูรณาการข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลระหว่างหน่วยงานราชการ

ล่าสุด มีหน่วยงาน พร้อมเชื่อมโยงระบบ ประกอบด้วย สถาบันนิติวิทยาศาสตร์, กองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง, กองอำนวยการรักษาความปลอดภัยในราชอาณาจักร สถาบันนิติเวชศาสตร์ ,กรมการปกครอง , สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ ,สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ,สำนักงบประมาณ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ,สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ,สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ,กรมการจัดหางาน ,กรมการกงสุล ,กรมสอบสวนคดีพิเศษ ,กรมคุมประพฤติ ,ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ,กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ,กรมราชทัณฑ์ ,สำนักงานกิจการยุติธรรม เป็นต้น

ซึ่งข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล หรือ Personal Identity Data หมายถึง ข้อมูลที่ใช้ในการระบุตัวตน หรือลักษณะเฉพาะของบุคคลซึ่งทำให้เป็นที่รู้จัก หรือจำได้ จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

1. ข้อมูลไบโอเมตริก (Biometrics Data)เป็นข้อมูลลักษณะทางกายภาพและลักษณะทางพฤติกรรมของบุคคล มีลักษณะเฉพาะตัวบุคคลและมีโอกาสซ้ำกับบุคคลอื่นได้ยากหรือไม่มีเลย สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ หรือเปลี่ยนแปลงได้ยาก เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ (Fingerprint) ภาพม่านตา (Iris) และ ข้อมูลสารพันธุกรรม (DNA) เป็นต้น ข้อมูลที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น ภาพใบหน้า (Face) ท่าทางการเดิน (Gait) เสียง (Voice) แผลเป็น (Scar)และ รอยสัก (Tattoo) เป็นต้น

2. ข้อมูลที่ไม่ใช่ไบโอเมตริก (Non-biometrics Data) เป็นข้อมูลแวดล้อมที่ถูกบันทึกเพื่อใช้อธิบายลักษณะของบุคคลหรือใช้อ้างอิงตัวบุคคล เช่น เลขประจำตัวประชาชน เลขที่หนังสือเดินทาง ชื่อ และนามสกุล วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น

ทั้งนี้ พล.อ.อ.ประจิน ตั้งเป้าว่า "ศูนย์ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลแห่งชาติ" จะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมภายในปี 2563.





กำลังโหลดความคิดเห็น