xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

"กอ.รมน."จ่อเคลียร์ปมสัญญาผู้ค้าจตุจักร ก่อนกทม.เข้าบริหารตลาดอีก 10 ปี

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ผู้จัดการสุดสัปดาห์ - "ผลกระทบจากการโตเร็วของเมือง ทำให้ทุกวันนี้ กทม.แทบจะไม่มีพื้นที่ว่างเหลือพอจะมาทำสวนสาธารณะ เพราะที่ดินมีราคาสูงเกินกว่าจะซื้อมาเพื่อทำเป็นพื้นที่สีเขียว หรือพื้นที่สาธารณะให้ประชาชนใช้สอย กระแสคนรุ่นใหม่รักสุขภาพ ต้องการใช้สวนสาธารณะเพื่อออกกำลังกายเป็นประจำ อาจเป็นปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่ทำให้พื้นที่สีเขียวของไทยมีความเปลี่ยนแปลง แต่ก็ต้องมีการจัดการที่ชัดเจน และแบ่งบทบาทหน้าที่ของพื้นที่ให้ชัด สวนในอนาคตคงไม่ได้ทำหน้าที่แค่สวน เช่น พื้นที่ในเมืองที่มีความแออัด อาจจะมีความต้องการพื้นที่สีเขียวมาใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ แต่บริเวณชานเมือง อาจกลายเป็นพื้นที่รองรับน้ำท่วม หรือใช้เป็นศูนย์อพยพเมื่อประสบภัยพิบัติ อย่างนี้เป็นต้น"

บทความทางวิชาการหนึ่งในนิตยสารออนไลน์ "ลึกกับจุฬา" เรื่อง "ทำไมเมืองไทยถึงมี "ห้าง" เยอะ เขียนโดย รศ.ดร.จิตติศักดิ์ ธรรมาภรณ์พิลาศ ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านการจัดการทรัพย์สิน และอาจารย์จากภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เผยแพร่ฉบับ วันที่: 19/11/2018

ข้ามมาสองวัน (21 พ.ย.61) คณะรัฐมนตรี (ครม.)รับทราบผลการดำเนินการโอนความรับผิดชอบการบริหารตลาดนัดจตุจักร ของ รฟท. ไปเป็นความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ตามมติครม. เมื่อวันที่ 6 พ.ย.61 ทั้งนี้ ให้เร่งรัด รฟท. ทำข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)และสัญญาเช่ากับกทม. ให้ทันภายในวันที่ 1 ธ.ค.61

กรณีดังกล่าว เป็นไปตามมติคณะกรรมการขับเคลื่อนและการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน คณะที่ 5 เป็นผลงงานลำดับต้นๆ ของ "พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ" รองนายกรัฐมนตรี ที่เห็นชอบมาตั้งแต่วันที่ 12 ก.ย. 61 ที่เห็นชอบให้ลดค่าเช่าแผงตลาดนัดจตุจักร เหลือ 1,800 บาทต่อแผงต่อเดือน จาก 3,157 บาทต่อแผง ต่อเดือน โดยหากรฟท.บริหารและลดค่าเช่าแผงเอง จะทำให้กำไรสุทธิของตลาดนัดลดลง จากเฉลี่ย 213.29 ล้านบาทต่อปี เหลือ 58.67 ล้านบาทต่อปี แต่หากให้ กทม.บริหาร จะมีกำไรสุทธิเพียงพอ และจ่ายค่าเช่าให้ รฟท.ได้ 169 ล้านบาทต่อปี ดังนั้น ครม.จึงเห็นชอบให้กระทรวงคมนาคม และกระทรวงมหาดไทย โอนความรับผิดชอบในการบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักร โดยเร็ว

หลังจาก กทม.ได้เคยบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรมาแล้ว ในช่วงปี 47-54 โดยมีรายได้สูงสุด 175 ล้านบาท และต่ำสุด 88 ล้านบาท โดย กทม.จ่ายค่าเช่าให้ รฟท. ต่ำสุดที่ 1.6 ล้านบาทต่อปี และสูงสุด 24 ล้านบาทเศษ ถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบมูลค่าเชิงพาณิชย์ และ ต่อมาปี 2555-2560 รฟท. ได้บริหารจัดการตลาดนัดดังกล่าวอีกครั้ง โดยมีรายได้และกำไรเพิ่มขึ้นทุกปี จากปี 55 มีรายได้ 238 ล้านบาท และ กำไร 85 ล้านบาท มาเป็นมีรายได้ 375 ล้านบาท และกำไร 177 ล้านบาท ในปี 2560

 ตามมติครม. (21 พ.ย.61) ระบุว่า 1. ให้ รฟท.ตกลงกับ กทม.ในการเช่าที่ดินเพื่อบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรทั้งหมด พื้นที่ 68 ไร่ 1 งาน 88 ตารางวา 2. ให้กำหนดอัตราค่าเช่าปีละ 169.42 ล้านบาท ระยะเวลาการเช่า 10 ปี หรือไม่เกินปี 2571 และ ให้มีการทบทวนอัตราค่าเช่าทุก 3 ปี

3.สัญญาเช่าต่าง ๆ จำนวน 32 สัญญา ที่รฟท.มีอยู่ในปัจจุบัน ให้โอนสิทธิและหน้าที่ไปยัง กทม.ทั้งหมด เพื่อการบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักร อย่างมีประสิทธิภาพ 4.ให้ กทม. เริ่มเข้าบริหารตลาดนัดจตุจักร ตั้งแต่ 1 ธ.ค.61 โดยกำหนดอัตราค่าเช่าแผงละ 1,800 บาท จากเดิมที่คิดค่าเช่าอยู่แผงละ 3,157 บาท 5. ให้ กทม.ได้ยื่นรับโอนสิทธิ และหน้าที่ในการทำสัญญาว่าจ้างต่าง ๆ ทั้งเรื่องการรักษาความปลอดภัย, การรักษาความสะอาด การจัดเก็บขยะให้แล้วเสร็จ

6.การทำสัญญากับผู้เช่าในทุกประเภทของ กทม. ถ้ามีผู้เช่ารายใดที่ยังค้างค่าเช่าเดิมกับ รฟท. ขอให้แจ้งให้ผู้เช่าให้ชำระค่าเช่าที่ค้างไว้ให้ครบก่อนที่จะต่อสัญญาใหม่

ขณะที่ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม. ยืนยันในความพร้อมเข้ามาบริหารว่า ดิมสัญญาเช่าจากผู้ค้าภายในตลาดฯ จะสิ้นสุดภายใน ก.พ.62 แต่มติครม.ที่ให้ กทม.มาบริหาร กทม. โดยจากการหารือเมื่อ 23 พ.ย. โดยเบื้องต้น กทม.จะจัดเก็บค่าเช่าแผง 1,800 บาท/แผง/เดือน ซึ่งจะลดลงจากเดิม ที่ รฟท.จัดก็บ 3,157 บาท/แผง/เดือน

สำหรับสิทธิผู้ค้าให้เช่าแผงในตลาดฯ กทม.ได้กำหนดเงื่อนไขให้ผู้ค้ามีสิทธิ 1 ต่อ 1 แผงค้า โดยไม่ให้มีการเช่าช่วงต่อในอัตราค่าเช่าที่สูงเกินจริง
 
ขณะเดียวกันได้ประสานขอความร่วมมือไปยัง "กองอำนวยการักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร (กอ.รมน.กทม.) เข้ามาตรวจสอบสิทธิผู้ค้า หากตรวจสอบพบผู้ค้าที่ได้รับสิทธิ ไม่ได้เข้ามาทำการค้าจริง กทม.จะยกเลิกสิทธิทันที

"สำหรับกรณี ที่ รฟท.จะคิดค่าเช่าที่ดินพื้นที่ทั้งหมด 8 ไร่ 1 ล้าน 88 ตารางวา ในอัตราค่าเช่าปีละ 169,423,250 บาท ระยะเวลา ไม่เกินปี 2571 โดยจะพิจารณาทบทวนค่าเช่าทุก ๆ 3 ปี โดยกทม.ยืนยันว่าสามารถบริหารจัดการได้"

ย้อนกลับไปดูผลการหารือของ 2 ฝ่าย คือ กทม. และ รฟท. จะเห็นว่า เมื่อวันที่ 9 พ.ย.61 คณะกรรมการ (บอร์ด)รฟท. มีมติเห็นชอบให้ กทม. เข้ามาบริหารตลาดนัดจตุจักร ตามมติครม. ( 6 พ.ย.61) เพื่อแก้ไขปัญหาค่าเช่าแผงของผู้ค้าในตลาดนัดสวนจตุจักร ขั้นตอนต่อไป รฟท. และ กทม. จะลงนามในบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) เรื่องการโอนสิทธิ์บริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรให้เร็วที่สุด

ผู้บริหาร รฟท. ยืนยันว่าไม่มีอะไรเสียหาย เป็นการปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาล ที่ต้องการช่วยเหลือผู้ค้ารายย่อย ซึ่งจะต้องมีการเจรจารายละเอียด และเขียนสัญญาให้รัดกุม โดยจะพยายามลงนามเอ็มโอยู ภายในเดือน พ.ย.นี้ เพื่อให้สิทธิ์ กทม.ไปบริหาร ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. จากนั้นจะลงนามสัญญากับ กทม. จะมีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.นี้ เป็นต้นไป เชื่อว่า "สหกรณ์บริการผู้ค้าตลาดนัดจตุจักร" ในฐานะผู้ค้า จะมีความพอใจในระดับหนึ่ง

ล่าสุดผู้ค้า ยังเตรียมจะนำเสนอให้ กทม.พิจารณาแนวทางในการบริหารตลาดนัดจตุจักร ใน 5 ข้อหลัก ด้วยกัน คือ

1.การจัดระเบียบหาบเร่แผงลอย ซึ่งที่ผ่านมาพบว่ามีผู้คว้า กว่า 2,500 แผงค้า กระจายอยู่พื้นที่โดยรอบถนน ภายในตลาดนัดจตุจักร ซึ่งจะต้องมีการจัดระเบียบพื้นที่ เพื่อการวางจำหน่ายสินค้าให้ชัดเจน โดยเป็นไปในวิธีแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย ให้อยู่ได้โดยไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของผู้ค้าหลัก

2. บริหารจัดการดูแลผู้ค้าหลัก ที่อยู่ในโครงการด้านใน ซึ่งที่ผ่านมาได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากไม่มีประชาชนเดินจับจ่ายสินค้าภายในโครงการ โดยขอให้กทม.ดูแล “คืนชีวิตแผงค้าโครงการด้านใน”ด้วย

3. การจัดระเบียบการจราจรโดยรอบพื้นที่ตลาดนัด คือการอนุญาตให้จอดรถในพื้นที่ด้านใน เพื่อผู้ค้าและคนที่ซื้อของสะดวกต่อการขนส่งสินค้า และลดปัญหาการนำพื้นที่ว่างไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนบุคคล

4. หาทางออกร่วมกัน ในเรื่องค่าเช่าค้างชำระ ซึ่งข้อมูลจากการรถไฟฯ ระบุว่ามีผู้ค้าที่ค้างชำระค่าเช่าแผงค้ากว่า 1,000 ราย (2,000 แผงค้า)

5. ให้ผู้ค้ามีส่วนร่วมในการนโยบายและแนวทางการพัฒนาตลาดนัดจตุจักรอย่างแท้จริง
 
แต่หลายคนยอมรับว่า ต่อไปนี้จะต้องรอดูแนวนโยบายของกทม.ว่าเป็นอย่าง ไรต่อไป โดยเฉพาะในวันที่ 1ธ.ค.นี้ ซึ่งจะเป็นวันที่ กทม.รับมอบตลาดนัดจตุจักร จากการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นวันแรก**

ว่าด้วยเรื่อง ตลาดนัดจตุจักรแล้ว ขอโยงมาที่ดิน จุฬาฯ อีกหน่อย ในกรณีที่ กรมพลศึกษา หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ถูกเรียกเก็บค่าเช่าที่ดินสนามกีฬาแห่งชาติ (สนามศุภชลาศัย) มาตั้งแต่ปี 56 ล่าสุดปี 61 ครม. มีหนังสือถึง ผู้อำนวยการสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ (PMCU) เป็นมติครม. ว่าด้วยการกำหนดแนวทาง/มาตรการป้องกันหรือแก้ไขปัญหากรณีที่หน่วยงานของรัฐผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ปรับอัตราค่าเช่าที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างที่หน่วยงานราชการอื่นได้เช่าใช้ประโยชน์ โดยปรับอัตราค่าเช่าเพิ่มสูงมากเกินกว่าที่ควรจะเป็น

"กำหนดให้ใช้เป็นแนวทางเท่านั้น ไม่ได้มีการบังคับ โดยขึ้นอยู่กับการเจรจา โดยเน้นเฉพาะหน่วยงานรัฐต่อรัฐและกรณีที่ใช้เงินงบประมาณเท่านั้น ซึ่งที่กระทรวงการคลังเสนอ คือ ให้ปรับปรุงอัตราค่าเช่าเพิ่มขึ้นไม่เกิน 3% ต่อปี โดยอ้างอิงจากค่าเฉลี่ยดัชนีราคาผู้บริโภคในระบบเวลา 5 ปี และให้ทบทวนอัตราในการปรับปรุงค่าเช่าทุก ๆ 5 ปี"

สำหรับกรณีนี้ PMCU มีข้อเท็จจริงส่งมายังผู้เขียนว่า ปัญหาหลังจากกรมพลศึกษา หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ถูก PMCU ขอขึ้นค่าที่ดินสนามกีฬาแห่งชาติ (สนามศุภชลาศัย) ที่เป็นประเด็นมาตั้งแต่ ปี 56 ซึ่งถูกเรียกเก็บค่าเช่าในปีงบประมาณ 56 อัตราค่าเช่าที่กรมพลศึกษาเช่าพื้นที่ในปัจจุบัน ยังคงมีอัตราค่าเช่า 15,530,000 บาท ต่อปี (สิบห้าล้านห้าแสนสามหมื่นบาท) เท่าเดิม ไม่ใช่ 153 ล้านบาท/ ปีแต่อย่างใด

โดยเป็นอัตราค่าเช่าตั้งแต่ พ.ศ.2556 และในขณะนี้อยู่ระหว่างการต่อสัญญาฉบับใหม่ ซึ่งยังคงใช้อัตราเดิม ที่ 15,530,000 บาท ต่อปี คิดเป็น 0.16% ของราคาประเมินที่ดินเท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าเช่าของกรมธนารักษ์ ที่ให้คิดค่าเช่าสำหรับหน่ายงานราชการด้วยกันเป็นอย่างมาก

ทั้งนี้ เพื่อรอระยะเวลาที่กรมพลศึกษา จะต้องย้ายไปสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติคลอง 6 ปทุมธานี เร็วๆ นี้ .




กำลังโหลดความคิดเห็น