"ฝั่งขวาเจ้าพระยา"
"โชกุน"
เข้าฤดูเก็บเกี่ยวข้าวนาปีแล้ว ปีนี้ ราคาข้าวสูงกว่าทุกปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ราคาพุ่งขึ้นไปถึงตันละ 17,000 บาท แล้ว เจริญ เหล่าธรรมทํศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยเคยบอกไว้ว่า ราคาข้าวปีนี้สูงที่สุดในรอบ 70 ปี
ฤดูเก็บเกี่ยวปีนี้ จึงไม่มีข่าวชาวนาร้องทุกข์ ขายข้าวไม่ได้ราคา ชาวนาเดินขบวนเข้ากรุง เหมือนหลายปีก่อนหน้านี้ หรือ โครงการรรรงค์ให้ผู้บริโภคซื้อข้าวโดยตรงจากชาวนา ไม่ต้องผ่านโรงสี หรือคนกลาง เหมือนสองปีที่แล้ว
ข้าวเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ที่ราคาถูกกำหนดจากดีมานด์ ซัพพลายในตลาดโลก ซึ่งมีผู้ส่งออกหลายราย ราคาข้าวที่สูงขึ้น เป็นประวัติการณ์ในปีนี้ และปีที่แล้ว เป็นเพราะความต้องการข้าวไทย มีมาก แม้ผลผลิตข้าวของไทยปีนี้จะสุงมาก เพราะไม่มีภัยแล้ง ไม่เจอน้ำท่วม จากฝีมือการบริหารจัดการน้ำของ รัฐบาล คสช. แต่ข้าวก็ยังไม่พอชาย เมื่อดีมานด์ มากกว่าซัพพลาย ราคาส่งออกข้าวก็ขยับตัวขึ้น ตามหลักพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ ส่งผลมาถึงราคารับซื้อข้าวในประเทศ
ที่พูดกันว่า ราคาข้าวสูง แต่ผู้ส่งออก และโรงสี ได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ ชาวนาไมได้อะไรเลยเพราะถูกกดราคา นั้น ไม่จริ งเป็นคำพูดที่พูดกันมาไม่ต่ำกว่าครึ่งศตวรรษแล้ว กลไกตลาด ถ้าไม่ถูดบิดเบือนด้วยมนุษย์ ทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา โดยเฉพาะในยุคนี้ ที่ชาวนาเข้าถึงข้อมุลข่าวสารแบบเรียลไทม์ ไม่ให้ใครมาเอาเปรียบง่ายๆ
ราคาข้าวที่สูงขึ้น แม้ว่า ปัจจัยหลักๆจะมาจาก ตลาดโลก แต่การบริหารจัดการ ที่ถูกต้อง โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบคือ คณะกรรมการนโยบายข้าว หรือ กบข. และ กระทรวงพาณิชย์ ก็มีบทบาทำคัญที่ทำให้ไทยส่งออกข้าวได้มาก และได้ราคาดี
ปีนี้คาดว่า ไทยจะส่งออกข้าวได้ 11 ล้านตัน มากที่สุดในประวัติศาสตร์ และเป้นผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลก
โครงการจำนำข้าวในยุคยิ่งลักษณ์ ทำให้การส่งออกข้าวไทย เกิดวิกฤตครั้งใหญ่ ข้าวไทย ขายไม่ได้ เพราะราคาแพง เนื่องจากรัฐบาลรับซื้อข้าวตันละ 15,000 บาท เป็นราคาที่ขายไม่ได้ เพราะสูงกว่าคู่แข่ง นอกจากนั้น ยังเป็นข้าวที่ไม่มีคุณภาพ เพราะรัฐบาลรัฐซื้อข้าวทุกเมล็ดในราคาเดียวกัน จะเป็น ข้าวหอมมะลิ ข้าว กข. หรือข้าวพันธุ์เลวๆ ก็ขายได้ตันละ 15,000 บาทเท่ากัน ชาวนาจึงไม่สนใจที่จะปลูกข้าวพันธ์ ดี มีคุณภาพ เพราะใช้เวลานาน เลือกปลูกข้าวที่ได้ผลเร็วที่สุด เพราะจะข้าวดีหรือข้าวไม่ดี นายกฯ ยิ่งลักษณ์รับซื้อหมด
ข้าวที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยรับซื้อมาเก็บไว้ในโกดัง เพราะตรรกะที่บิดเบี้ยวของพี่ชายนายกรัฐมนตรีว่า รอให้ประเทศอื่นขายให้หมดก่อน เราค่อยขาย จะตั้งราคาเท่าไรก็ได้ ไม่มีขาดทุน มีจำนวนมากถึง 17 ล้านตัน เป็นข้าวที่ขายไม่ออก เพราะต้นทุนแพง เป็นสต็อกข้าวมหาศาล ที่ผู้ซื้อข้าวทั่วโลกรู้ว่า ประเทศไทยต้องแบกเอาไว้ เป็นข้อมูลที่ผู้ซื้อข่าวใช้ต่อรอง กดราคาข้าวไทย
กบข, และกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาล คสช. ใช้เวลา 3 ปี กว่าจะเคลียร์สต๊อคข้าว 17 ล้านตัน้นี้ได้หมด ยอมขายในราคาที่ขาดทุน ส่วนหนึ่งต้องขายถูกๆไปทำอาหารสัตว์ และพลังงาน เพราะเสื่อมคุณภาพ คิดเป็นค่าเสียหายทั้งหมดหลายแสนล้านบาท แต่ผลที่ได้คือ กลไกตลาดกลับมาทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ราคาส่งออกสูงขึ้น ชาวนาขายข้าวเปลือกได้ราคาชึ้น ตั้งแต่ปีที่แล้ว
นอกจาก การระบายสต็อคข้าว ได้จนหมดแล้ว ปัจจัยที่ทำให้การส่งออกข้าวของไทยกลับมารุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่ง คือ การที่รัฐบาล คสช. ปล่อยให้กลไกตลาด ทำหน้าที่อย่างอิสระ ให้ผู้ประกอบการเอกชน ทั้งโรงสี ผู้ส่งออกทำงานของตัวเองไปภายใต้กลไกตลาด
ในยุครัฐบาลพรรคเพื่อไทย กลไกตลาดข้าวถูกทำลายหมด เพราะรัฐบาลเข้ามารับซื้อข้าวแข่งกับเอกชน ในราคาสูงกว่าตลาด เพราะใช้เงินภาษีซื้อ ผู้ส่งออกไม่สามารถหาข้าวในประเทศ ต้องซื้อจากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อส่งออก ข้าวที่รัฐบาลซื้อไปเก็บ จะขายให้กับบริษัทสยามอินดิก้า ของเสี่ยเปี๋ยง นายอภิชาต จันทร์สกุลพร เพียงรายเดียวเท่านั้น เพราะเป็นคนของทักษิณ ที่คิดกลโกง จีทูจีเก๊ขึ้นมา
รัฐบาล คสช. ก็มีการขายข้าวแบบจีทูจี แต่เป็นจีทูจี จริงๆ ไม่ใช่จีทูจีเก๊ คือ ขายข้าวให้จีน ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น แบบรัฐต่อรัฐ จากการเจรจาของกระทรวงพาณิชย์ ปริมาณ 1 ล้านกว่าตัน ทยอยส่งมอบเป็นงวดๆ ทำให้การส่งออกข้าวเพิ่มขึ้น และราคาข้าวเปลือกในประเทศสูงขึ้น
อีกกลไกหนึ่ง ที่ช่วยทำให้ราคาข้าวสูงขึ้น คือ การจำนำข้าวที่เรียกว่าจำนำยุ้งฉาง เพื่อชะลอการขายข้าวเปลือก ในช่วงเก็บเกี่ย วเป็นการดึงซัพพลายข้าวออกจากระบบ ปีที่แล้ว มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการไม่ถึง 70 % ของเป้าหมาย แสดงว่า ราคาข้าวในตลาดสุงกว่า ราคารับจำนำ เกษตรกรจึงขายข้าวเลย ไม่เก็บไว้ รอให้ราคาขึ้น
สองปีที่ผ่านมา ถือได้ว่า เป็นปีทองของชาวนา เพราะขายข้าวได้ราคาดี โดยไม่ต้องมีโครงการจำนำข้าวแบบรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งสร้างความเสียหายให้ประเทศหลายแสนล้านบาท เพราะเป็นโครงการที่ตั้งใจจะโกงกันอย่างเป็นระบบ โดยอ้างว่า ช่วยชาวนา