ผู้จัดการสุดสัปดาห์ -สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ให้คำนิยาม และเขียนแผนภูมิ เวียนหนังสือเผยแพร่ถึงหน่วยราชการทั่วประเทศ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ ภายหลังมีการประชุมชี้แจงไปแล้ว เมือเดือนก.ย.ที่ผ่านมา ตามกรอบของ"ยุทธศาสตร์ชาติ20ปี" หลังจากมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561
คำนิยามตามกฎหมายว่าด้วยการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อใช้เป็นกรอบในการ จัดทำแผนต่างๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกัน เพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่ เป้าหมายดังกล่าว ตามรธน.60 หมวด 6 แนวนโยบาย แห่งรัฐ มาตรา 65
ระบไว้ว่า "ยุทธศาสตร์ชาติ" สามารถใช้กับ "แผนในระดับที่1" หรือ ยุทธศาสตร์ชาติ เท่านั้น ที่จะเป็นเป้าหมายใหญ่ในการขับเคลื่อนประเทศ โดยแผนในระดับอื่นๆ ต้องมุ่งดำเนินการให้ บรรลุเป้าหมายตามที่ยุทธศาสตร์ชาติกำหนด โดยสภาพัฒน์ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ จะเสนอร่างยุทธศาสตร์ชาติ ต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ พิจารณาให้ความเห็น แล้วจึงส่งแผนดังกล่าวไปยังสำนักเลขาธิการครม. เพื่อนำเสนอ ครม.พิจารณา
ส่วน"แผนในระดับที่ 2" เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนประเทศเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ ซึ่งอาจกำหนดประเด็นการพัฒนาในบางประการ และถ่ายทอดไปสู่แนวทางในการปฏิบัติ ในแผนระดับที่ 3
ทั้งเป็นแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ร.บ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 มาตรา 3) แผนการปฏิรูปประเทศด้าน...(แผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศตามพ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560)
แผนความมั่นคง (นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งเป็นนโยบายและแผนหลักของชาติที่เป็นกรอบหรือทิศทางในการดำเนินการป้องกัน แจ้งเตือน แก้ไข หรือระงับ ยับยั้งภัยคุกคามเพื่อธำรงไว้ซึ่งความมั่นคงแห่งชาติ) โดยให้คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ/คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ/สำนักงานสภาความมั่นคง แห่งชาติ ส่งเรื่องไปยังสภาพัฒน์ เพื่อเสนอ แผนต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติพิจารณาให้ความเห็น ก่อนน่าเสนอแผนดังกล่าวไปยัง สำนักเลขาธิการครม. เพื่อน่าเสนอ ครม.พิจารณา
สำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ (แผนสำหรับถ่ายทอดยุทธศาสตร์ชาติสู่กรอบและแนวทางในการพัฒนาประเทศในแต่ละช่วงระยะเวลา 5 ปี) ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำเสนอสภาพัฒน์ให้ความเห็น ก่อนการน่าเสนอ ครม.พิจารณา ทั้งนี้ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ จะใช้ข้อมูลดังกล่าวประกอบการ ติดตามการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติต่อไป
ล่าสุด คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้มีมติรับทราบหลักเกณฑ์การวิเคราะห์แผนระดับที่ 3 ของ สศช. หลังจากให้ฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการด้านการสร้างขีดความสามารถในการแช่งขัน ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยกร่างหลักเกณฑ์ การวิเคราะห์แผนระดับที่ 3 เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการวิเคราะห์และให้ความเห็นประกอบการพิจารณา ชองคณะอนุกรรมการฯ
ทั้งนี้ เป็นตามที่ ครม. (4 ธ.ค.60) เห็นชอบการจำแนกแผน "ยุทธศาสตร์ชาติ" เป็น 3 ระดับ และวิธีการเสนอแผนตามที่ สภาพัฒน์ ยกร่างขึ้นมา
โดย "แผนระดับที่ 3" กำหนดให้ส่วนราชการและหน่วยงานชองรัฐนำเสนอแผนตามแนวทางที่ สศช. กำหนด และให้ สศช. เป็นผู้ดำเนินการชี้แจง และสร้างความเช้าใจเกี่ยวกับแนวทางการเสนอแผนกับทุกภาคส่วน ซึ่งจะเป็นแผนในเชิงปฏิบัติที่มีความขัดเจนตามภารกิจชองส่วนราชการ และสอดคล้องกับแผนระดับที่ 1 และระดับที่ 2
สภาพัฒน์ ให้คำนิยาม "แผนระดับที่ 3" หมายถึง แผนที่จัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของแผน ระดับที่ 1 และแผนระดับที่ 2 สู่การปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ หรือจัดทำขึ้นตามที่กฎหมาย กำหนด หรือจัดทำขึ้นตามพันธกรณีหรืออนุสัญญาระหว่างประเทศ รวมถึงแผนปฏิบัติการ ทุกระดับ
โดยนับตั้งแต่วันที่ 4 ธ.ค.60 ที่ครม. มีมติกำหนดการตั้งชื่อแผนในระดับที่ 3 ให้ใช้ชื่อว่า "แผนปฏิบัติการด้าน ... ระยะที่ ... (พ.ศ -....)" เว้นแต่ได้มีการระบุชื่อแผนไว้ในกฎหมายก่อนที่จะมีมติ ครม.วันที่ 4 ธ.ค. 60 เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง มติ ครม. เป็นต้น ว่าให้ใช้ชื่อแผนว่า "แผนแม่บทด้าน... แผนพัฒนา.. หรือ แผนอื่น ๆ ..." จึงจะสามารถใช้ชื่อแผนตามที่บัญญัติไว้ ในกฎหมายนั้นๆ
ตามแผนระดับ 3 สภาพัฒน์ เขียนแนวทางการนำเสนอ และสาระสำคัญไว้ว่า การกำหนดชื่อแผนจะต้องกำหนดให้มีความซัดเจน และแสดงถึงระยะเวลาในการดำเนินการด้วย โดยแผนปฏิบัติการ ให้กำหนด ดังนี้ "แผนปฏิบัติการด้านระยะที่ ... (พ.ศ - ....)" สำหรับแผนอื่น ๆ ให้เป็นไปตามที่มีบทบัญญัติตามกฎหมายที่กำหนดชื่อแผนไว้แล้ว
แผนต้องระบุถึงความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และแผนในระดับที่ 2 ให้ชัดเจน และ กำหนดให้มีองค์ประกอบชองแผน (เช่น มาตรการ กลยุทธ์ เป้าหมาย และตัวชี้วัด) ที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนระดับที่ 1 และแผนระดับที่ 2 ให้สามารถบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาประเทศตามแนวทางของยุทธศาสตร์ชาติ
แผนควรกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม รวมทั้งกลไกการติดตาม ประเมินผล และควรคำนึงถึง "วงเงินของประเทศ" ที่จะดำเนินการตามแผนให้ประสบผลสำเร็จ
กรณีที่แผนส่งผลกระทบต่อประเทศอย่างกว้างขวาง ก่อนการเสนอแผนเช้าสู่การพิจารณา ของสภาพัฒน์ ให้หน่วยงานเจ้าของแผนจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น อย่างรอบด้าน รวมทั้งประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องกับผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน
ทั้งนี้ในกรณีที่แผนกำหนดให้ต้องมีการทำงานร่วมกันกับหลายหน่วยงาน (ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน) ให้หน่วยงานเจ้าของแผนหารือร่วมกับหน่วยงาน/ภาคี ที่เกี่ยวข้อง เพื่อบูรณาการแนวทางการดำเนินการด้วย
หมายความว่า ข้าราชการทุกระดับชั้นและรัฐบาลชุดหน้าจะต้องปฏิบัติตาม
ก่อนหน้านี้ "นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย" พูดถึง พ.ร.บ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ว่า จากนั้นจะมีการตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน จากนั้นให้มีการตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ จะมีชุดเดียวหรือหลายชุดก็ได้ เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ชาติให้เสร็จภายใน 120 วัน จากนั้นส่งให้ คณะกรมการยุทธศาสตร์ชาติพิจารณา เพื่อเสนอครม. และส่งไปให้ สนช.พิจารณา โดยคณะกรรมการชุดนี้จะติดตามไปด้วยเป็นเวลา 5 ปี
"ใครไม่ปฏิบัติตาม จะได้ฟ้องหรือรายงานมา ซึ่งยุทธศาสตร์ชาติ ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก ถ้าฝ่าฝืน ทำผิด หรือ ขัดแย้ง เรื่องจะไปถึงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ศาลรัฐธรรมนูญ ถึงขั้นติดคุก ต้องถอดถอนกัน"