หนึ่งความคิด
สุรวิชช์ วีรวรรณ
หลายคนถามว่าพวงหรีดดอกไม้มาจากไหน เท่าที่เคยอ่านพบทราบว่าวัฒนธรรมพวงหรีดดอกไม้นั้นเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 บางคนบอกว่า ดอกไม้นอกจากจะสร้างความสวยงามและความมีชีวิตชีวาในงานศพแล้ว ยังแทนชีวิตของคนที่มีวันเหี่ยวเฉาร่วงโรยราไปตามกาลเวลา บางคนบอกว่าเป็นกุศโลบายในสมัยก่อนที่จะใช้กลิ่นดอกไม้ดับกลิ่นศพ
แต่วิวัฒนาการทางสังคมเป็นพลวัตที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ปัจจุบันมีการใช้หรีดผ้าห่ม บางพื้นที่พับเป็นรูปดอกไม้บางพื้นที่ให้เป็นผืนใหญ่เลยแบบจังหวัดตรังบ้านผม มีหรีดที่มาแรงมากคือหรีดพัดลม หรีดต้นไม้ และล่าสุดที่กำลังพยายามสร้างกระแสคือ หรีดหนังสือ และที่มาแรงมากในตอนนี้คือ หรีดจักรยาน
ข้อกล่าวหาที่มีการรณรงค์ให้ยกเลิกหรีดดอกไม้ก็คือ ใช้แล้วทิ้งไม่ก่อนให้เกิดประโยชน์ ล่าสุดผมได้ยินบางคนบอกว่า ซากของดอกไม้ก่อให้เกิดก๊าซมีเทนที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ความเข้าใจของผมนั้นซากพืชนั้นเป็นสิ่งที่ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ถ้าห่วงว่า จะสร้างก๊าซมีเทนนั้น "ตด" ของคนก็เป็นก๊าซมีเทนนะครับ มีบางทฤษฎีบอกว่า ไดโนเสาร์สูญพันธุ์เพราะก๊าซมีเทนจากตดของมันเอง ดังนั้นแม้จะมีซากของดอกไม้จากพวงหรีดก็น่าจะมีวิธีกำจัดที่ไม่ยากและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยการทำเป็นปุ๋ยหมักได้
มีงานวิจัยพบว่า การผลิตพวงหรีด เป็นธุรกิจที่สร้างงานให้แก่ชุมชน ทั้งยังมั่นคงและสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการจ้างงานของเกษตรกรชาวไร่ ชาวสวน ในการปลูกและตัดไม้ดอก การจ้างแรงงานในการจัดทำตกแต่งพวงหรีด การจ้างแรงงานในการขนส่งพวงหรีดไปตามวัดต่าง ๆ เป็นต้น ผู้ประกอบการรายหนึ่ง ให้ข้อมูลว่า ธุรกิจการผลิตและขายพวงหรีดมีเงินหมุนเวียนในตลาดเป็นหลักพันล้านบาทต่อปี สอดคล้องกับข้อมูลจากหนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ ระบุว่า ตลาดร้านดอกไม้ของประเทศไทยในปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ 7.5 พันล้านบาท แบ่งเป็น ดอกไม้สด 1.2 พันล้านบาท ดอกไม้จัดส่งถึงบ้าน 2 พันล้านบาท และพวงหรีด 4.3 พันล้านบาท ราคาของพวงหรีดในปัจจุบัน มีตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักพัน หากเป็นร้านดอกไม้ในเขตเมือง ก็จะมีบริการส่งถึงงาน และพวงหรีดดอกไม้สดยังคงเป็นประเภทที่ได้รับความนิยมมากที่สุด (อ้างอิงจากบทความ ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการตาย ของศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และ วนิพพล มหาอาชา)
รายได้จากผลผลิตหรีดดอกไม้จึงเป็นเงินที่หล่อเลี้ยงคนจำนวนมากในระบบสังคมของเรา เพราะเป็นการสร้างงานให้ชุมชน เกษตรกร ชาวสวน ชาวไร่ ไม่ใช่ผู้ประกอบการในเชิงอุตสาหกรรม นี่คือสิ่งสำคัญที่หักล้างคำพูดว่า หรีดดอกไม้ไม่มีประโยชน์ใช้แล้วทิ้ง แต่หรีดดอกไม้นั้นสามารถสร้างรายได้ให้กับคนจำนวนมากซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจนั่นเอง
ผมยังไม่เคยได้ยินว่า มีกลุ่มทุนผุ้ประกอบการขนาดใหญ่ทำสวนดอกไม้เพื่อป้อนผู้ประกอบการหรีดดอกไม้
อีกอย่างที่ใกล้เคียงกันคือ หรีดต้นไม้ ส่วนตัวผมก็คิดว่าดีนะครับ แต่ถ้าเทียบกับที่กระจายรายได้สู่ชุมชนระดับล่างผมคิดว่ายังสู้หรีดดอกไม้ไม่ได้ และผมเห็นหรีดต้นไม้ส่วนใหญ่ถ้าเจ้าของงานไม่เอากลับไปก็จะถูกทิ้งไว้ในวัด ซึ่งแน่นอนวัดในกรุงเทพฯส่วนใหญ่ก็ไม่ที่ปลูก ก่อนจะส่งหรีดต้นไม้ต้องลองคิดก่อนว่า มันจะถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร นอกเหนือจากทำให้ภาพของคนส่งหรีดต้นไม้ดูเป็นคนรักษ์โลก
มาที่หรีดพัดลม คำถามแรกเลยครับว่าใครได้ประโยชน์
สำหรับผมแล้วผมมีความเชื่อโดยไม่ต้องสำรวจเลยว่า ทุกบ้านในประเทศไทยแม้แต่ในชุมชนแออัดต่างก็มีพัดลมกันอย่างน้อยสองตัว เพราะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีราคาไม่แพง ถามว่า พัดลมที่ใช้แทนหรีดในงานศพนั้นเอาไปไหน คำตอบแรกก็มักจะตอบว่าเอาไปบริจาค ถามว่าที่ๆเอาไปบริจาคนั้น ได้สอบถามหรือยังว่าเขามีความจำเป็นต้องใช้หรือไม่ หรือมีพัดลมเพียงพอแล้วหรือยัง ผมเชื่อเลยครับว่าส่วนใหญ่เพียงพอแล้ว แต่ถ้าเราไปบริจาคเขาก็รับเอาไว้ไม่ปฏิเสธหรอกครับ แต่ถามว่ามันจำเป็นหรือ
แม้ไม่ได้สำรวจก็น่าจะเชื่อได้ว่า อัตราการขาดแคลนพัดลมของครัวเรือนในประเทศไทย วัด โรงเรียน หน่วยราชการน่าจะต่ำมาก และสุดท้ายแล้วเจ้าภาพงานก็ไม่รู้จะเอาไปไหน แม้จะบอกว่าแจกจ่าย แน่นอนจะต้องมีคนรับอยู่แล้ว แต่ต้องคำนึงถึงความต้องการที่แท้จริงด้วย
ผมมีตัวเลขบริษัทเดียวคือ บริษัท ฮาตาริ อิเล็กทริค จำกัด ผู้จัดจำหน่ายพัดลมรายใหญ่ ปี 2559 มีรายได้มากถึง 5,383 ล้านบาท ลองคิดดูว่ามีพัดลมกี่ยี่ห้อ
อาจบอกได้ว่า การผลิตพัดลมก่อให้เกิดการจ้างงานทำให้คนส่วนหนึ่งมีงานทำ หากความนิยมการใช้พวงหรีดในงานศพแพร่หลายจะส่งผลดีต่อธุรกิจทำให้ลูกจ้างมีรายได้และมีความมั่นคง ส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ แต่ถามว่า รายได้ส่วนใหญ่ไปไหน ชัดเจนว่า ผลกำไรมันตกอยู่กับผู้ประกอบการเป็นส่วนใหญ่นั่นเอง
ก่อนที่จะไปถึงหรีดจักรยานที่มีกระแสชื่นชมกันเหลือเกิน โซเชียลแห่เชียร์กันจำนวนมาก ผมขอวกมาที่หรีดหนังสือเสียก่อน จากการไปสืบค้นข่าวพบว่าคนที่ออกมารณรงค์หรีดหนังสือก็คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเลยทีเดียว
นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ปัจจุบันมีการรณรงค์ให้ใช้พวงหรีดทางเลือกมากขึ้น เช่น พวงหรีดผ้าห่ม พวงหรีดต้นไม้ พวงหรีดพัดลม พวงหรีดจักรยาน เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ เป็นที่รู้จักเผยแพร่แล้ว ส่วนโครงการหรีดหนังสือไม่ใช่ครั้งแรกในไทย แต่เป็นครั้งแรกของโลกที่เกิดขึ้นจากการตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม จากขยะดอกไม้สดของพวงหรีดในงานศพ ซึ่งมีเป็นจำนวนมากในแต่ละปี โครงการจึงพลิกวิกฤติของปัญหาสิ่งแวดล้อมมาเป็นโอกาสในการสร้างคุณค่าสนับสนุนการอ่านให้แก่ประชาชน ตัวอย่างเช่น วัดในกรุงเทพฯ 450 แห่งถ้ามีผู้สั่งหรีดหนังสือเข้าวัดวัดละ 2 พวง พวงละ 2 เล่ม จะมีหนังสือจากหรีด 1,800 เล่มต่อวัน 54,000 เล่มต่อเดือน และ 657,000 เล่มต่อปีส่งต่อไปยังหน่วยงานที่ต้องการจะเป็นประโยชน์ทางปัญญาต่อไปในระยะยาว ดังนั้นการพัฒนาต้นแบบหรีดหนังสือเพื่อต่อยอดการใช้หนังสืออย่างสร้างสรรค์จะเป็นผลดีกับวงการหนังสือ สำหรับราคาพวงหรีดหนังสือจะมีราคาตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
แน่นอนครับการอ่านหนังสือเป็นวัฒนธรรมที่อยู่กับโลกมายาวนาน การอ่านหนังสือมากก่อให้เกิดความรู้และภูมิปัญญา แต่แนวโน้มที่ทราบขณะนี้คือ ธุรกิจหนังสือกำลังตกต่ำเพราะไม่มีคนซื้อหนังสือ สำนักพิมพ์และร้านขายหนังสือพากันปิดตัว แนวคิดหรีดหนังสือนี้จึงดูดีนะครับ เหมือนจะช่วยให้ธุรกิจหนังสือมีทางออกในทางธุรกิจ แต่ต้องถามว่า ปัจจัยที่ธุรกิจหนังสือกำลังเป็นธุรกิจตะวันตกดินคืออะไร ถ้าคนอ่านหนังสือน้อยลง แล้วหนังสือที่จะแจกไปนั้นจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ไหม เมื่อคนพากันไปอ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์กันหมด โอเคหนังสืออาจถูกแจกจ่ายไปตามโรงเรียนห้องสมุด แต่มันก็จะถูกเก็บไว้บนหิ้งนั่นแหละ
มาที่กระแสยอดฮิตดูเก๋เท่ไม่หยอก นั่นคือเทรนด์ใช้จักรยานแทนหรีด ที่มีข่าวเมื่อไม่นานมานี้ และได้รับการชื่นชมมากว่า เป็นการให้หรีดที่นำไปใช้ประโยชน์ได้มาก คำถามว่า ใครได้ประโยชน์จากแนวคิดนี้
คำตอบที่ดูดีก็คือ จักรยานสามารถนำไปบริจาคให้กับเด็กนักเรียนในโรงเรียนต่างๆที่ขาดแคลนได้ แต่สำหรับผมคิดว่า ถ้าจะทำอย่างนั้น ต้องมีการสำรวจความต้องการที่ชัดเจนให้ได้เสียก่อนนะครับว่า เขาขาดแคลนจริงไหม มีความต้องการจำนวนเท่าไหร่ ถ้าไม่สำรวจความต้องการเสียก่อนมันจะมีปัญหาตามมามากนะครับว่าจะเอาจักรยานไปให้ที่ไหน แน่นอนล่ะไปบริจาคให้ใครเขาก็ต้องรับแหละ แต่มันจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ไหม
ผมยังจำได้เคยมีคนเอาคลิปเด็กญี่ปุ่นเดินไปโรงเรียนเอง แล้วมีเสียงชื่นชมแซ่ซ้องในโซเชียลมีเดียเอามากระทบกระเทียบกับเด็กไทยจำนวนมาก เรื่องนี้เกี่ยวกันไหมก็คิดดู
แล้วลองคิดดูว่า ถ้าโรคฮิตนี้ระบาดขึ้นมา แค่วัดธาตุทองวัดเดียวจะมีจักรยานเดือนละกี่คัน จะจัดการกับจักรยานอย่างไร แล้วลองคิดดูวัดทั่วประเทศด้วยจะมีจักรยานกี่คัน
ตลาดจักรยานของประเทศไทยในปี 2017 มีมูลค่าตลาดรวม 7,500 ล้านบาท แน่นอนแม้จะเหมือนวงจรธุรกิจทั่วไป คือ ทำให้เกิดการจ้างงาน ทำให้คนจำนวนหนึ่งมีงานทำ แต่รายได้ส่วนใหญ่ก็ตกอยู่กับผู้ประกอบการนั่นเอง
ส่วนหรีดผ้าห่มนั้นส่วนใหญ่ก็คล้ายกับพัดลมแหละครับว่า มันจำเป็นไหมและเชื่อว่า ทุกคนก็มีอยู่แล้ว ถ้าจะบอกว่าเอาไปบริจาคถามจริงเถอะว่ามันจริงไหม และคนที่ได้ประโยชน์ก็คือ นายทุนผู้ประกอบการเช่นเดียวกัน
ข้ออ้างเรื่องซากดอกไม้ใบไม้ของพวงหรีดสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของนักวิชาการบางคน ถ้าพูดกันอย่างนั้น ผมถามว่า แล้วพัดลม จักรยานสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไหม พัดลมทำมาจากพลาสติกเป็นส่วนใหญ่ ถึงวันที่หมดอายุการใช้มันถูกนำไปไหน ย่อยสลายอย่างไร แล้วส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไหม โลกนี้เขากำลังมีปัญหามลภาวะจากพลาสติกไม่ใช่เหรอ จักรยานส่วนใหม่จะทำจากอะลูมิเนียมอัลลอย และก็มีหลายส่วนที่เป็นพลาสติก อลูมิเนียม อัลลอยเป็นอโลหะ ถามว่า การผลิตอลูมิเนียมอัลลอยนั้นส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไหม แล้วทั้งหมดเมื่อหมดสภาพการใช้งานแม้จะกินเวลานาน แต่มันก็ไม่สามารถย่อยสลายไปได้เช่นกันไม่ใช่หรือ
ผมไม่ได้ไปว่าใครนะครับ ถ้าอยากจะใช้หรีดจักรยาน หรือหรีดพัดลม มันเป็นสิทธิส่วนบุคคลอย่างเต็มเปี่ยม เพียงแต่ผมคิดว่า การบอกว่าหรีดดอกไม้ใช้เสร็จแล้วทิ้งไม่ก่อให้เกิดประโยชน์นั้นไม่น่าจะถูกเสียทีเดียว
ส่วนตัวผมชอบดอกไม้ครับ และเราเปรียบผู้หญิงเป็นดอกไม้ ผมจึงเป็นผู้ชายที่ชอบดอกไม้ และเห็นหรีดดอกไม้แล้วมีความสุขมากกว่าเห็นพัดลมและจักรยานครับ
ติดตามผู้เขียนได้ที่ https://www.facebook.com/surawich.verawan
สุรวิชช์ วีรวรรณ
หลายคนถามว่าพวงหรีดดอกไม้มาจากไหน เท่าที่เคยอ่านพบทราบว่าวัฒนธรรมพวงหรีดดอกไม้นั้นเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 บางคนบอกว่า ดอกไม้นอกจากจะสร้างความสวยงามและความมีชีวิตชีวาในงานศพแล้ว ยังแทนชีวิตของคนที่มีวันเหี่ยวเฉาร่วงโรยราไปตามกาลเวลา บางคนบอกว่าเป็นกุศโลบายในสมัยก่อนที่จะใช้กลิ่นดอกไม้ดับกลิ่นศพ
แต่วิวัฒนาการทางสังคมเป็นพลวัตที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ปัจจุบันมีการใช้หรีดผ้าห่ม บางพื้นที่พับเป็นรูปดอกไม้บางพื้นที่ให้เป็นผืนใหญ่เลยแบบจังหวัดตรังบ้านผม มีหรีดที่มาแรงมากคือหรีดพัดลม หรีดต้นไม้ และล่าสุดที่กำลังพยายามสร้างกระแสคือ หรีดหนังสือ และที่มาแรงมากในตอนนี้คือ หรีดจักรยาน
ข้อกล่าวหาที่มีการรณรงค์ให้ยกเลิกหรีดดอกไม้ก็คือ ใช้แล้วทิ้งไม่ก่อนให้เกิดประโยชน์ ล่าสุดผมได้ยินบางคนบอกว่า ซากของดอกไม้ก่อให้เกิดก๊าซมีเทนที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ความเข้าใจของผมนั้นซากพืชนั้นเป็นสิ่งที่ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ถ้าห่วงว่า จะสร้างก๊าซมีเทนนั้น "ตด" ของคนก็เป็นก๊าซมีเทนนะครับ มีบางทฤษฎีบอกว่า ไดโนเสาร์สูญพันธุ์เพราะก๊าซมีเทนจากตดของมันเอง ดังนั้นแม้จะมีซากของดอกไม้จากพวงหรีดก็น่าจะมีวิธีกำจัดที่ไม่ยากและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยการทำเป็นปุ๋ยหมักได้
มีงานวิจัยพบว่า การผลิตพวงหรีด เป็นธุรกิจที่สร้างงานให้แก่ชุมชน ทั้งยังมั่นคงและสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการจ้างงานของเกษตรกรชาวไร่ ชาวสวน ในการปลูกและตัดไม้ดอก การจ้างแรงงานในการจัดทำตกแต่งพวงหรีด การจ้างแรงงานในการขนส่งพวงหรีดไปตามวัดต่าง ๆ เป็นต้น ผู้ประกอบการรายหนึ่ง ให้ข้อมูลว่า ธุรกิจการผลิตและขายพวงหรีดมีเงินหมุนเวียนในตลาดเป็นหลักพันล้านบาทต่อปี สอดคล้องกับข้อมูลจากหนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ ระบุว่า ตลาดร้านดอกไม้ของประเทศไทยในปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ 7.5 พันล้านบาท แบ่งเป็น ดอกไม้สด 1.2 พันล้านบาท ดอกไม้จัดส่งถึงบ้าน 2 พันล้านบาท และพวงหรีด 4.3 พันล้านบาท ราคาของพวงหรีดในปัจจุบัน มีตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักพัน หากเป็นร้านดอกไม้ในเขตเมือง ก็จะมีบริการส่งถึงงาน และพวงหรีดดอกไม้สดยังคงเป็นประเภทที่ได้รับความนิยมมากที่สุด (อ้างอิงจากบทความ ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการตาย ของศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และ วนิพพล มหาอาชา)
รายได้จากผลผลิตหรีดดอกไม้จึงเป็นเงินที่หล่อเลี้ยงคนจำนวนมากในระบบสังคมของเรา เพราะเป็นการสร้างงานให้ชุมชน เกษตรกร ชาวสวน ชาวไร่ ไม่ใช่ผู้ประกอบการในเชิงอุตสาหกรรม นี่คือสิ่งสำคัญที่หักล้างคำพูดว่า หรีดดอกไม้ไม่มีประโยชน์ใช้แล้วทิ้ง แต่หรีดดอกไม้นั้นสามารถสร้างรายได้ให้กับคนจำนวนมากซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจนั่นเอง
ผมยังไม่เคยได้ยินว่า มีกลุ่มทุนผุ้ประกอบการขนาดใหญ่ทำสวนดอกไม้เพื่อป้อนผู้ประกอบการหรีดดอกไม้
อีกอย่างที่ใกล้เคียงกันคือ หรีดต้นไม้ ส่วนตัวผมก็คิดว่าดีนะครับ แต่ถ้าเทียบกับที่กระจายรายได้สู่ชุมชนระดับล่างผมคิดว่ายังสู้หรีดดอกไม้ไม่ได้ และผมเห็นหรีดต้นไม้ส่วนใหญ่ถ้าเจ้าของงานไม่เอากลับไปก็จะถูกทิ้งไว้ในวัด ซึ่งแน่นอนวัดในกรุงเทพฯส่วนใหญ่ก็ไม่ที่ปลูก ก่อนจะส่งหรีดต้นไม้ต้องลองคิดก่อนว่า มันจะถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร นอกเหนือจากทำให้ภาพของคนส่งหรีดต้นไม้ดูเป็นคนรักษ์โลก
มาที่หรีดพัดลม คำถามแรกเลยครับว่าใครได้ประโยชน์
สำหรับผมแล้วผมมีความเชื่อโดยไม่ต้องสำรวจเลยว่า ทุกบ้านในประเทศไทยแม้แต่ในชุมชนแออัดต่างก็มีพัดลมกันอย่างน้อยสองตัว เพราะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีราคาไม่แพง ถามว่า พัดลมที่ใช้แทนหรีดในงานศพนั้นเอาไปไหน คำตอบแรกก็มักจะตอบว่าเอาไปบริจาค ถามว่าที่ๆเอาไปบริจาคนั้น ได้สอบถามหรือยังว่าเขามีความจำเป็นต้องใช้หรือไม่ หรือมีพัดลมเพียงพอแล้วหรือยัง ผมเชื่อเลยครับว่าส่วนใหญ่เพียงพอแล้ว แต่ถ้าเราไปบริจาคเขาก็รับเอาไว้ไม่ปฏิเสธหรอกครับ แต่ถามว่ามันจำเป็นหรือ
แม้ไม่ได้สำรวจก็น่าจะเชื่อได้ว่า อัตราการขาดแคลนพัดลมของครัวเรือนในประเทศไทย วัด โรงเรียน หน่วยราชการน่าจะต่ำมาก และสุดท้ายแล้วเจ้าภาพงานก็ไม่รู้จะเอาไปไหน แม้จะบอกว่าแจกจ่าย แน่นอนจะต้องมีคนรับอยู่แล้ว แต่ต้องคำนึงถึงความต้องการที่แท้จริงด้วย
ผมมีตัวเลขบริษัทเดียวคือ บริษัท ฮาตาริ อิเล็กทริค จำกัด ผู้จัดจำหน่ายพัดลมรายใหญ่ ปี 2559 มีรายได้มากถึง 5,383 ล้านบาท ลองคิดดูว่ามีพัดลมกี่ยี่ห้อ
อาจบอกได้ว่า การผลิตพัดลมก่อให้เกิดการจ้างงานทำให้คนส่วนหนึ่งมีงานทำ หากความนิยมการใช้พวงหรีดในงานศพแพร่หลายจะส่งผลดีต่อธุรกิจทำให้ลูกจ้างมีรายได้และมีความมั่นคง ส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ แต่ถามว่า รายได้ส่วนใหญ่ไปไหน ชัดเจนว่า ผลกำไรมันตกอยู่กับผู้ประกอบการเป็นส่วนใหญ่นั่นเอง
ก่อนที่จะไปถึงหรีดจักรยานที่มีกระแสชื่นชมกันเหลือเกิน โซเชียลแห่เชียร์กันจำนวนมาก ผมขอวกมาที่หรีดหนังสือเสียก่อน จากการไปสืบค้นข่าวพบว่าคนที่ออกมารณรงค์หรีดหนังสือก็คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเลยทีเดียว
นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ปัจจุบันมีการรณรงค์ให้ใช้พวงหรีดทางเลือกมากขึ้น เช่น พวงหรีดผ้าห่ม พวงหรีดต้นไม้ พวงหรีดพัดลม พวงหรีดจักรยาน เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ เป็นที่รู้จักเผยแพร่แล้ว ส่วนโครงการหรีดหนังสือไม่ใช่ครั้งแรกในไทย แต่เป็นครั้งแรกของโลกที่เกิดขึ้นจากการตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม จากขยะดอกไม้สดของพวงหรีดในงานศพ ซึ่งมีเป็นจำนวนมากในแต่ละปี โครงการจึงพลิกวิกฤติของปัญหาสิ่งแวดล้อมมาเป็นโอกาสในการสร้างคุณค่าสนับสนุนการอ่านให้แก่ประชาชน ตัวอย่างเช่น วัดในกรุงเทพฯ 450 แห่งถ้ามีผู้สั่งหรีดหนังสือเข้าวัดวัดละ 2 พวง พวงละ 2 เล่ม จะมีหนังสือจากหรีด 1,800 เล่มต่อวัน 54,000 เล่มต่อเดือน และ 657,000 เล่มต่อปีส่งต่อไปยังหน่วยงานที่ต้องการจะเป็นประโยชน์ทางปัญญาต่อไปในระยะยาว ดังนั้นการพัฒนาต้นแบบหรีดหนังสือเพื่อต่อยอดการใช้หนังสืออย่างสร้างสรรค์จะเป็นผลดีกับวงการหนังสือ สำหรับราคาพวงหรีดหนังสือจะมีราคาตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
แน่นอนครับการอ่านหนังสือเป็นวัฒนธรรมที่อยู่กับโลกมายาวนาน การอ่านหนังสือมากก่อให้เกิดความรู้และภูมิปัญญา แต่แนวโน้มที่ทราบขณะนี้คือ ธุรกิจหนังสือกำลังตกต่ำเพราะไม่มีคนซื้อหนังสือ สำนักพิมพ์และร้านขายหนังสือพากันปิดตัว แนวคิดหรีดหนังสือนี้จึงดูดีนะครับ เหมือนจะช่วยให้ธุรกิจหนังสือมีทางออกในทางธุรกิจ แต่ต้องถามว่า ปัจจัยที่ธุรกิจหนังสือกำลังเป็นธุรกิจตะวันตกดินคืออะไร ถ้าคนอ่านหนังสือน้อยลง แล้วหนังสือที่จะแจกไปนั้นจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ไหม เมื่อคนพากันไปอ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์กันหมด โอเคหนังสืออาจถูกแจกจ่ายไปตามโรงเรียนห้องสมุด แต่มันก็จะถูกเก็บไว้บนหิ้งนั่นแหละ
มาที่กระแสยอดฮิตดูเก๋เท่ไม่หยอก นั่นคือเทรนด์ใช้จักรยานแทนหรีด ที่มีข่าวเมื่อไม่นานมานี้ และได้รับการชื่นชมมากว่า เป็นการให้หรีดที่นำไปใช้ประโยชน์ได้มาก คำถามว่า ใครได้ประโยชน์จากแนวคิดนี้
คำตอบที่ดูดีก็คือ จักรยานสามารถนำไปบริจาคให้กับเด็กนักเรียนในโรงเรียนต่างๆที่ขาดแคลนได้ แต่สำหรับผมคิดว่า ถ้าจะทำอย่างนั้น ต้องมีการสำรวจความต้องการที่ชัดเจนให้ได้เสียก่อนนะครับว่า เขาขาดแคลนจริงไหม มีความต้องการจำนวนเท่าไหร่ ถ้าไม่สำรวจความต้องการเสียก่อนมันจะมีปัญหาตามมามากนะครับว่าจะเอาจักรยานไปให้ที่ไหน แน่นอนล่ะไปบริจาคให้ใครเขาก็ต้องรับแหละ แต่มันจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ไหม
ผมยังจำได้เคยมีคนเอาคลิปเด็กญี่ปุ่นเดินไปโรงเรียนเอง แล้วมีเสียงชื่นชมแซ่ซ้องในโซเชียลมีเดียเอามากระทบกระเทียบกับเด็กไทยจำนวนมาก เรื่องนี้เกี่ยวกันไหมก็คิดดู
แล้วลองคิดดูว่า ถ้าโรคฮิตนี้ระบาดขึ้นมา แค่วัดธาตุทองวัดเดียวจะมีจักรยานเดือนละกี่คัน จะจัดการกับจักรยานอย่างไร แล้วลองคิดดูวัดทั่วประเทศด้วยจะมีจักรยานกี่คัน
ตลาดจักรยานของประเทศไทยในปี 2017 มีมูลค่าตลาดรวม 7,500 ล้านบาท แน่นอนแม้จะเหมือนวงจรธุรกิจทั่วไป คือ ทำให้เกิดการจ้างงาน ทำให้คนจำนวนหนึ่งมีงานทำ แต่รายได้ส่วนใหญ่ก็ตกอยู่กับผู้ประกอบการนั่นเอง
ส่วนหรีดผ้าห่มนั้นส่วนใหญ่ก็คล้ายกับพัดลมแหละครับว่า มันจำเป็นไหมและเชื่อว่า ทุกคนก็มีอยู่แล้ว ถ้าจะบอกว่าเอาไปบริจาคถามจริงเถอะว่ามันจริงไหม และคนที่ได้ประโยชน์ก็คือ นายทุนผู้ประกอบการเช่นเดียวกัน
ข้ออ้างเรื่องซากดอกไม้ใบไม้ของพวงหรีดสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของนักวิชาการบางคน ถ้าพูดกันอย่างนั้น ผมถามว่า แล้วพัดลม จักรยานสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไหม พัดลมทำมาจากพลาสติกเป็นส่วนใหญ่ ถึงวันที่หมดอายุการใช้มันถูกนำไปไหน ย่อยสลายอย่างไร แล้วส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไหม โลกนี้เขากำลังมีปัญหามลภาวะจากพลาสติกไม่ใช่เหรอ จักรยานส่วนใหม่จะทำจากอะลูมิเนียมอัลลอย และก็มีหลายส่วนที่เป็นพลาสติก อลูมิเนียม อัลลอยเป็นอโลหะ ถามว่า การผลิตอลูมิเนียมอัลลอยนั้นส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไหม แล้วทั้งหมดเมื่อหมดสภาพการใช้งานแม้จะกินเวลานาน แต่มันก็ไม่สามารถย่อยสลายไปได้เช่นกันไม่ใช่หรือ
ผมไม่ได้ไปว่าใครนะครับ ถ้าอยากจะใช้หรีดจักรยาน หรือหรีดพัดลม มันเป็นสิทธิส่วนบุคคลอย่างเต็มเปี่ยม เพียงแต่ผมคิดว่า การบอกว่าหรีดดอกไม้ใช้เสร็จแล้วทิ้งไม่ก่อให้เกิดประโยชน์นั้นไม่น่าจะถูกเสียทีเดียว
ส่วนตัวผมชอบดอกไม้ครับ และเราเปรียบผู้หญิงเป็นดอกไม้ ผมจึงเป็นผู้ชายที่ชอบดอกไม้ และเห็นหรีดดอกไม้แล้วมีความสุขมากกว่าเห็นพัดลมและจักรยานครับ
ติดตามผู้เขียนได้ที่ https://www.facebook.com/surawich.verawan