ณ บ้านพระอาทิตย์
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ย้อนเวลากลับไปเมื่อประมาณ 3 ปีที่แล้ว ได้ปรากฏมีข่าวชิ้นหนึ่งในด้านสุขภาพระบุว่า คณะกรรมาธิการที่ปรึกษาทางด้านอาหาร ซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวงสาธารณสุขและการบริการประชาชนของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออกคำแนะนำในด้านโภชนาการใหม่ว่า “ระดับของคอเลสเตอรอลไม่ได้มีความสัมพันธ์ว่าทำให้เพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ” [1]
การที่สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่ออกมารณรงค์ให้ประชาชนควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ซึ่งมีผลประโยชน์อยู่เบื้องหลังทั้งน้ำมันไม่อิ่มตัว (นำโดยน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันข้าวโพด) และยาลดคอเลสเตอรอล ยังไม่สามารถทานทนต่อการรับรู้จากงานวิจัยในเรื่องที่ประชาชนถูกหลอกเรื่องคอเลสเตอรอลมานานแสนนาน
อาจเป็นเพราะคนในยุคนี้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและงานวิจัยทั่วโลกได้ง่ายและเร็วกว่าสมัยก่อนมาก กระแสตื่นตัวเหล่านี้ย่อมเป็นผลทำให้อำนาจของรัฐจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ไม่เว้นแม้แต่ไขมันทรานส์ที่ต้องทยอยยกเลิกกันทั่วโลก แม้ว่าความเสี่ยงต่อการทำให้โรคหลอดเลือดอักเสบเพิ่มสูงขึ้นยังคงหลงเหลืออยู่ จากการบริโภคแป้งขัดขาว น้ำตาล ตลอดจนไขมันไม่อิ่มตัว (ถั่วเหลือง ข้าวโพด ดอกทานตะวัน รำข้าว) แต่ก็เชื่อว่าพลังของข้อมูลของข่าวสารของประชาชนนั้นมีความรวดเร็วกว่าอำนาจรัฐ และรวดเร็วกว่าองค์การอนามัยโลกแล้ว
เฉพาะเรื่องคอเลสเตอรอลสวนทางกับความเป็นจริงนั้นรู้มานานขนาดไหนแล้ว ลองพิจารณาดูจากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารสมาคมการแพทย์อเมริกัน JAMA ที่ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยเป็นการติดตามผลวัดคอลเลสเตอรอลทั้งชายและหญิง 4,374 คนต่อเนื่องยาวนานถึง 30 ปี ภายใต้โครงการการศึกษาซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วโลกคือ “การศึกษาฟรามิงแฮม” พบเรื่องที่เป็นสาระสำคัญว่า
1. คนที่อายุน้อยกว่า 50 ปีลงมา ระดับของคอเลสเตอรอลมีความสัมพันธ์โดยตรงกับอัตราการเสียชีวิตโดยรวมและอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ
“คอเลสเตอรอลที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 10 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะเพิ่มความเสี่ยงในการเสี่ยงเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น 5% และเพิ่มความเสี่ยงเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น 9%”
แต่ข้อมูลผลการวิจัยที่ร้ายแรงมากกว่าอยู่ด้านล่างความว่า
2. สำหรับคนที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ระดับของคอเลสเตอรอลที่ต่ำหรือสูงไม่ได้มีความสัมพันธ์ทำให้ความเสี่ยงการเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น แต่ “การลดลง”ของคอเลสเตอรอลกลับมีความสัมพันธ์ในการเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น
“คอเลสเตอรอลที่ลดลงเพียงทุกๆ 1 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น 11% และเพิ่มอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น 14 %” [2]
ในประเด็นหลังที่ว่าร้ายแรงนัก เพราะหมายความว่าถ้าคนๆหนึ่งอายุ 50 ปีขึ้นไป แล้วคอเลสเตอรอลลดลงแค่ปีละ 2 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร คนๆนั้นมีความเสี่ยงเสียชีวิตโดยรวมภายใน 5 ปี หรือเสี่ยงเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจภายในไม่เกิน 3 ปีครึ่งเท่านั้น
งานวิจัยชิ้นนี้แสดงถึงความเอาแน่เอานอนไม่ได้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างระดับคอเลสเตอรอลกับอัตราการเสียชีวิตโดยรวมและอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ
แต่ที่ยิ่งเลวร้ายไปกว่านั้นคือมีแนวโน้มว่าปัญหาการลดลงของคอเลสเตอรอลเมื่อมีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป เป็นปัญหาที่รุนแรงกว่า เพราะทำให้อัตราความเสี่ยงเสียชีวิตโดยรวมและอัตราความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจมากขึ้น
ท่านผู้อ่านลองพิจารณาดูว่าข้อมูลงานวิจัยชิ้นสำคัญระดับตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ของสมาคมแพทย์อเมริกัน JAMA เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 แต่กว่าที่คำแนะนำในการโภชนาการของชาวอเมริกันที่จะออกมายอมรับว่าคอเลสเตอรอลไม่ได้มีความสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดหัวใจคือปี พ.ศ. 2558
นั่นหมายความว่ากว่าที่จะมีการเปลี่ยนคำแนะนำในเรื่องระดับคอเลสเตอรอลกับการโภชนาการ ต้องใช้เวลาถึง 28 ปีนับจากนั้น ลองคิดดูว่าอิทธิพลของธุรกิจที่เกี่ยวกับการลดคอเลสเตอรอล โดยเฉพาะน้ำมันพืชไม่อิ่มตัว (ถั่วเหลืองและข้าวโพด) และยาลดคอเลสเตรอล จะทำกำไรไปอย่างมหาศาลเพียงใดในช่วงเวลาที่ผ่านมา
ย้อนกลับไปถึงงานวิจัยชิ้นสำคัญอีกชี้นหนึ่งก่อนหน้านี้ ซึ่งได้ซ่อนเร้นบอกความจริงไม่หมดทำให้คนทั่วโลกหลงประเด็นเรื่องคอเลสเตอรอล แต่เพิ่งทราบความจริงที่เกิดขึ้นไม่นานมานี้เช่นกัน
งานวิจัยชิ้นที่กล่าวถึงนี้มีความน่าเชื่อถือและมีอิทธิพลทำให้เกิดความหวาดกลัวและเข้าใจผิดอย่างมหันต์ว่าไขมันอิ่มตัวเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ เพราะทำให้คอเลสเตอรอลสูงขึ้น และเป็นผลทำให้มนุษยชาติหันมาใช้ไขมันไม่อิ่มตัวในการปรุงอาหาร นั่นก็คืองานวิจัยการทดลองโรคหลอดเลือดหัวใจของมลรัฐมินิโซต้า ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่าง พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2516
งานวิจัยที่ว่าน่าเชื่อถือนี้ก็เพราะงานวิจัยดังกล่าวได้ใช้การสำรวจกลุ่มประชากรขนาดใหญ่ถึง 9,423 คน และบางทีอาจจะเป็นงานวิจัยในมนุษย์ที่ใช้ประชากรมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในการ “ลดคอเลสเตอรอล” ด้วยการใช้ไขมันไม่อิ่มตัวประเภทที่มีกรดไขมันไลโนเลอิก หรือที่เรียกว่า ไขมันโอเมก้า 6 มาบริโภคทดแทนไขมันอิ่มตัวมากขึ้น ซึ่งกรดไขมันชนิดนี้พบมากในน้ำมันพืชส่วนใหญ่ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันรำข้าว ฯลฯ
งานวิจัยชิ้นนี้ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการรณรงค์ให้ประชากรโลกมาบริโภคกลุ่มไขมันไม่อิ่มตัวเพื่อลดคอเลสเตอรอลมาเป็นเวลาประมาณ 45 ปีที่ผ่านมา
กินไขมันไม่อิ่มตัวเพิ่มมากขึ้นทำให้คอเลสเตอรอลลดลง 13.8% เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมนั้นเป็นความจริงเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น!!!
แต่ความจริงอีกด้านหนึ่งที่ไม่ถูกเปิดเผยตลอด 45 ปีที่ผ่านมาในงานวิจัยชิ้นเดียวกัน คือคอเลสเตอรอลที่ลดลงทุกๆ 30 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร กลับเพิ่มความเสี่ยงเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น 22%!!!!
ความจริงครึ่งแรกถูกนำมาใช้รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในโลกใบนี้หันมาเปลี่ยนใช้ไขมันไม่อิ่มตัวมานาน 45 ปี
แต่ความจริงครึ่งหลังที่ว่าคอเลสเตอรอลที่ลดลงจากการใช้ไขมันไม่อิ่มตัวกลับเสี่ยงเสียชีวิตเพิ่มขึ้น เพิ่งจะมีการเปิดเผยความจริงนี้ในวารสารทางการแพทย์ชั้นแนวหน้าของอังกฤษ บีเอ็มเจ (BMJ Journals)โดยคณะของ ดร.คริสโตเฟอร์ อี. รัมส์เดน เมื่อปี พ.ศ.2559 นี้เอง
การทบทวนงานวิจัยชิ้นดังกล่าวนี้ยังระบุด้วยว่า การหันมากินไขมันไม่อิ่มตัวเพื่อลดคอเลสเตอรอลให้ลดลงนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ในการลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจแข็งตัวหรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายแต่ประการใด
งานวิจัยชิ้นดังกล่าวนี้ยังได้กล่าวถึงการวิเคราะห์อภิมานจากการทบทวน 5 งานวิจัยอย่างเป็นระบบ ซึ่งครอบคลุมกลุ่มตัวอย่าง 10,808 ราย สรุปได้ว่าไม่พบประโยชน์ใดๆต่อโรคหลอดเลือดหัวใจในกลุ่มลดคอเลสเตอรอลให้ลดลงด้วยไขมันไม่อิ่มตัว
ทั้งนี้เมื่อมีการวิเคราะห์แยกรายละเอียดของการทดลองของมลรัฐมินิโซต้าก็จะพบว่า
(1) กลุ่มประชากรที่มีอายุน้อยกว่า 65 ปี ถ้าคอเลสเตอรอลต่ำจะมีสัดส่วนการเสียชีวิตสะสมน้อยกว่าประชากรที่มีคอเลสเตอรอลสูง (เล็กน้อย) หรือแทบไม่แตกต่างกัน
(2) ผลจะเกิดตรงกันข้ามในกลุ่มประชากรที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ถ้าคอเลสเตอรอลต่ำอันเป็นผลมาจากการบริโภคไขมันไม่อิ่มตัว จะมีสัดส่วนการเสียชีวิตมากกว่าประชากรที่มีคอเลสเตอรอลสูงอย่างเห็นได้ชัดเจน ดูภาพประกอบที่ 1 [3]

สิ่งที่เราได้รับข้อมูลจากงานวิจัย 2 ชิ้นสำคัญข้างต้น ได้ผลตรงกันว่าผู้ที่สูงวัยคอเลสเตอรอลลดลงไม่ใช่สัญญาณชีพที่ดี และหมายถึงว่าคนที่คอเลสเตอรอลต่ำจะมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น
แท้ที่จริงแล้วร่างกายมนุษย์สามารถสังเคราะห์คอเลสเตอรอลได้เองเป็นส่วนใหญ่ อีกส่วนหนึ่งมาจากอาหารที่มีคอเลสเตอรอลจากสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นม เนย ชีส ไข่ ซึ่งนักวิจัยเรียกไขมันกลุ่มนี้ว่า “ไขมันอิ่มตัว” และแม้แต่ไขมันอิ่มตัวที่ได้จากพืช คือ น้ำมันมะพร้าวที่ตัวมันเองไม่มีคอเลสเตอรอลเลย แต่น้ำมันมะพร้าวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของต่อมไทรอยด์ จึงเป็นผลทำให้ร่างกายสังเคราะห์คอเลสเตอรอลให้สูงขึ้นได้เช่นกัน ผลปรากฏในงานวิจัยวิเคราะห์อภิธานจากการรวบรวมงานวิจัยทางด้านโภชนาการถึง 72 ชิ้น ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ Annals of Internal Medicine. เมื่อปี พ.ศ. 2558 สรุปว่า :
“การลดการบริโภคไขมันอิ่มตัว” ไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจเลย [4]
นอกจากนี้ ความจริงอีกด้านหนึ่งที่พบจากงานวิจัยในวารสารที่เกี่ยวกับโรคตามวัย Aging and Diseaseเมื่อปี พ.ศ. 2556 พบความสัมพันธ์ของคอเลสเตอรอลกับผู้สูงวัยใน 10 ประเทศตรงกันว่า ผู้สูงวัยยิ่งสูงวัยมากขึ้นเท่าไหร่ หรือใกล้วันหมดอายุขัยเท่าไหร่ กลับสังเคราะห์คอเลสเตอรอลลดลง หรือแม้แต่แอลดีแอลก็สังเคราะห์ได้ลดลงด้วย [5] ดูภาพประกอบที่ 2

สำทับด้วยงานวิจัยอย่างเป็นระบบในวารสารทางการแพทย์ชื่อดังของอังกฤษ The BMJ เมื่อปี พ.ศ. 2559 พบว่าสำหรับผู้สูงวัยที่มีอายุเกิน 60 ปีแล้ว คนที่มีไขมันแอลดีแอล (ที่มักเรียกว่าไขมันตัวเลว)อยู่ในระดับสูงกลับมีความเสี่ยงการเสียชีวิตน้อยกว่าคนที่มีไขมันแอลดีแอลต่ำ [6]
คำถามคือผู้สูงวัยที่มีคอเลสเตอรอลลดลงเสี่ยงเสียชีวิตมากขึ้นจริงหรือไม่ และคนสูงวัยที่คอเลสเตรอลลดลงเขาเสี่ยงชีวิตด้วยโรคอะไร?
งานวิจัยที่กล่าวถึงเรื่องนี้มีปรากฏอย่างเห็นในวารสารทางการแพทย์ของสแกนดิเนเวียน Scandinavian Journal of Primary Health Care ซึ่งเคยเผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2553 ว่าผลการติดตามกลุ่มผู้สูงวัยที่อายุเกินกว่า 75 ปีขึ้นไป ติดตามผลเป็นเวลา 6 ปี ปรากฏว่า คนที่มีคอเลสเตอรอลสูงกว่า 231 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร มีอายุยืนกว่ากลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 193 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร อย่างชัดเจน ดูภาพประกอบที่ 3 [7]

โดยกลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลสูง 231 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง “น้อยกว่า” กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 193 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรประมาณ 57%
ในช่วงการสำรวจ 6 ปี กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลสูง 231 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป จะเป็นโรคหัวใจ “น้อยกว่า” กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 193 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรประมาณ 41 %
ในช่วงการสำรวจ 6 ปี กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลสูง 231 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป จะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) “น้อยกว่า” กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 193 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรประมาณ 55 %
ในช่วงการสำรวจ 6 ปี กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลสูง 231 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป จะเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง “น้อยกว่า” กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 193 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรประมาณ 54 %
ในช่วงการสำรวจ 6 ปี กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลสูง 231 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป จะเป็นโรคมะเร็ง “น้อยกว่า” กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 193 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรประมาณ 50 %
ในช่วงการสำรวจ 6 ปี กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลสูง 231 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป จะเป็นโรคสมองเสื่อม “น้อยกว่า” กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 193 มิลลกรัมต่อเดซิลิตรประมาณ 49 %
แสดงให้เห็นว่าผู้สูงวัยขาดคอเลสเตอรอลไม่ได้ และการลดลงของคอเลสเตอรอลคือสัญญาณอายุขัยที่นับถอยหลัง ที่ไม่สามารถมองข้ามได้เลย
ทั้งนี้ คอเลสเตอรอลส่วนใหญ่จะถูกสังเคราะห์ขึ้นภายในร่างกาย เช่น มาจากตับ สมอง และผนังหลอดเลือด (atheroma) ลำไส้เล็ก ต่อมหมวกไต อวัยวะสืบพันธุ์
ร่างกายใช้คอเลสเตอรอลเป็นสารเบื้องต้นในการสร้างฮอร์โมนเพศทุกชนิด สร้างน้ำดี สร้างสารสเตอรอลที่อยู่ใต้ผิวหนังให้เป็นเป็นวิตามินดี เมื่อโดนแสงแดด และใช้คอเลสเตอรอลเป็นเป็นผนังหุ้มเซลล์ เป็นฉนวนหุ้มปลายประสาท
ดังนั้นเมื่อหลอดเลือดอักเสบเกิดบาดแผล (เช่น จาการบริโภคน้ำตาลมาก หรือไขมันไม่อิ่มตัวมาก) ร่างกายจะต้องส่งคอเลสเตอรอลมาซ่อมแซมผนังหลอดเลือดที่เสียหาย (แต่เรามักจะประณามคอเลสเตอรอลที่มาทำหน้าที่ซ่อมแซมผนังหลอดเลือดว่าเป็นไขมันเลว) ไขมันตามหลอดเลือดนั้นเป็นปลายเหตุ แต่ต้นเหตุที่แท้จริงมาจากอาหารที่เรานำใส่ปากนั่นเอง
เฉพาะคิดถึงเรื่องบทบาทหน้าที่ของคอเลสเตอรอลในการเป็น “ผนังหุ้มเซลล์” ก็น่าจะพิจารณาต่อว่า คอเลสเตอรอลมีความจำเป็นในการใช้เพื่อเยียวยาและซ่อมและสร้างทุกเซลล์ที่เสื่อมสภาพลงไป ซึ่งสอดคล้องและไปในทิศทางเดียวกับกับหางโครโมโซมที่เรียกว่า “เทโลเมียร์” จะสั้นลงไปเรื่อยๆทุกครั้งที่มีการแบ่งเซลล์เสมอ
และเมื่อมีการแบ่งเซลล์ก็ต้องมีผนังหุ้มเซลล์อีกเช่นกัน เมื่อเป็นเช่นนี้เมื่อสูงวัยมากขึ้นเทโลเมียร์สั้นลง การแบ่งเซลล์และซ่อมเซลล์ก็ลดลง รวมถึงการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลก็ต้องลดลงไปด้วยตามธรรมชาติ
ลองคิดดูถึงเหตุการณ์ที่ว่าหลอดเลือดเกิดความเสียหายจากการบริโภคนน้ำตาลมาก และไขมันไม่อิ่มตัวมาก (ถั่วเหลือง ข้าวโพด ดอกทานตะวัน รำข้าว)[8] ไม่ว่าจะผลิตคอเลสเตอรอลได้มากหรือน้อยการอักเสบก็ยังอยู่ที่เดิม จริงหรือไม่?
เพียงแต่ว่าถ้าอายุน้อยการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลยังสูง หางโครโมโซหรือเทโลเมียร์ก็ยังยาวอยู่ก็อาจเกิดการซ่อมแซมเซลล์ได้ แต่ถ้าอายุมากขึ้นร่างกายสังเคราะห์คอเลสเตอรอลลดลงควบคู่ไปกับหางโครโมโซมสั้นลงแล้ว ก็เป็นดัชนีแสดงให้เห็นว่าการซ่อมเซลล์เกิดขึ้นได้ยากขึ้น การอักเสบหรือบาดแผลถูกเยียวยาได้น้อยในภาวะที่คอเลสเตอรอลลดลง
จึงไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดีนักที่ผู้สูงวัยมีคอเลสเตอรอลลดต่ำลง !!!
และข่าวร้ายสำหรับผู้ที่บริโภคยาลดคอเลสเตอรอลอยู่ตรงที่ว่า แม้ว่าจะอ้างสรรพคุณทั้งหลายว่าช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ แต่การวิเคราะห์อภิธานงานวิจัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 - 2557 กลับพบว่าการใช้ยาลดคอเลสเตรอลล้มเหลวในการลดความเสี่ยงการเสียชีวิตโดยรวม และไม่ได้ทำให้อายุยืนขึ้นเลย [9] [10] [11] [12]
นี่คือเหตุผลว่าทำไมผู้ที่สูงวัยที่มีคอเลสเตอรอลต่ำถึงเสียชีวิตได้แทบทุกโรคมากกว่าคนที่คอเลสเตอรอลสูง ในทุกงานวิจัย
วันนี้จึงมีทางเลือกอยู่ 2 ทางให้เราเลือก
ทางเลือกแรก คือ กลุ่มไขมันอิ่มตัวที่จะเพิ่มคอเลสเตอรอลให้สูงขึ้น โดยไขมันเอชดีแอล ที่เรียกว่าไขมันตัวดีเพิ่มขึ้นด้วย ไขมันกลุ่มนี้ได้แก่ น้ำมันมะพร้าว เนย นม ชีส และน้ำมันปาล์ม และด้วยความที่โครงสร้างไขมันอิ่มตัวจึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่ะจะทำให้เกิดอนุมูลอิสระได้น้อยกว่า
ทางเลือกที่สอง คือ กลุ่มไขมันไม่อิ่มตัวที่จะลดคอเลสเตอรอลให้ลดลง และไขมันโดยรวมจะลดลงทั้งหมดด้วย ไขมันกลุ่มนี้ได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน และน้ำมันรำข้าว ซึ่งมีไขมันโอเมก้า 6 ซึ่งไม่อิ่มตัวที่จะมาทำให้เกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือด
วันนี้ องค์ความรู้ของมนุษย์ในยุคนี้มีความเข้าใจมากขึ้นแล้วว่า การจะทำให้หางโครโมโซมที่เรียกว่า เทโลเมียร์ “สั้นช้าที่สุด” คือคำตอบที่จะรักษาการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลให้ใช้ได้ “นานที่สุด” วิธีการก็คือการทำให้อินซูลินหลั่งช้าที่สุด และทำให้ฮอร์โมน IGF-1 หลั่งช้าที่สุด
การที่ฮอร์โมนอินซูลินจะหลั่งช้าที่สุดสามารถทำได้ด้วยการกินอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลให้ต่ำที่สุด ส่วนการทำให้ฮอร์โมน IGF-1 คือการทำให้เกิดการอักเสบน้อยที่สุด เกิดอนุมูลอิสระน้อยที่สุด หนึ่งในนั้นก็คือหลีกเลี่ยงไขมันไม่อิ่มตัวที่เกิดอนุมูลอิสระง่ายกว่ามาผัดทอดด้วยความร้อนสูง
ทั้งนี้ สถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต จึงได้จัดหลักสูตรวิถีชีวาเวศาสตร์ไปแล้ว 2 รุ่น เพื่อให้ประชาชนทั่วไปมีความเข้าใจและรู้เท่าทันโภชนาการบำบัดจากงานวิจัย ตามที่กล่าวมาบางส่วนแล้วข้างต้น
นอกจากนี้ เพื่อทำให้เกิดเป็นรูปธรรม จึงได้จัดหลักสูตรการประกอบอาหารสุขภาพและชะลอวัยระดับยีน (Cooking Course: Healthy and Anti-Aging Genomic Diet) เพื่อตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการ “ภาคปฏิบัติ” ในการทำอาหารสุขภาพที่มาจากฐานองค์ความรู้จากภูมิปัญญาจนถึงงานวิจัย ผนวกเข้ากับศิลปะการปรุงอาหารให้อร่อยและสวยงาม เพื่อประโยชน์สำหรับคนในครอบครัว หรือเพื่อต่อยอดในการทำธุรกิจที่จะเชื่อมโยงกับศูนย์สุขภาพ คลีนิกด้านอาหาร โรงพยาบาล ฯลฯ โดยปราศจากไขมันทรานส์ และปราศจากไขมันที่เติมไฮโดรเจน ตลอดจนแป้งและน้ำตาลที่จะสร้างการอักเสบของหลอดเลือด

หลักสูตรดังกล่าวได้รับการสนับสนุนและการอนุเคราะห์ครัวและอุปกรณ์การเรียนการสอนของวิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ ของมหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งเป็นห้องครัวสำหรับการเรียนเป็นเชฟที่ทันสมัยและดีที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชีย
โดยการสอนในหลักสูตรดังกล่าวจะเรียนทุกวันเสาร์เต็มวันตั้งแต่ประมาณต้นเดือน สิงหาคม ถึงประมาณเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 รวม 3 ภาคการเรียน จะเรียนตัวอย่างและลงมือปฏิบัติปรุงอาหารทั้งสิ้น 18 เมนู และผู้เรียนคิดและสร้างสรรค์เองในการสอบรวม 9 เมนู โดยผู้ที่สอบผ่านหลักสูตรที่ 3 ภาคการเรียนแล้ว จะได้รับประกาศนียบัตร จากสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต และได้รับเสื้อเชฟของสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิตอีกด้วย
โอกาสสัปดาห์สุดท้าย สนใจสมัครเรียนหลักสูตรด้งกล่าวได้ก่อนวันอังคารที่ 31 กรกฎาคม 2561 ได้ที่ สถาบันรังสิตวิชชาลัย หมายเลขโทรศัพท์ 02-791-5681, 02-791-5683, 02-791-5684
ด้วยความปรารถนาดี
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต
อ้างอิง :
[1] Advisory Committee (Advisory Report) to the Secretaries of the U.S. Departments of Health and Human Services (HHS) and Agriculture (USDA), Scientific Report of the 2015 Dietary Guidelines Advisory Committee.
[2] Anderson KM, Castelli WP, Levy D., Cholesterol and mortality. 30 years of follow-up from the Framingham study. JAMA. 1987 Apr 24;257(16):2176-80.
[3] Ramsden CE, Zamora D, Majchrzak-Hong S, et al. Re-evaluation of the traditional diet-heart hypothesis: analysis of recovered data from Minnesota Coronary Experiment (1968-73). The BMJ. 2016;353:i1246. doi:10.1136/bmj.i1246.
[4] Chowdhury R, Warnakula S, Kunutsor S, Crowe F, Ward HA, Johnson L, Franco OH, Butterworth AS, Forouhi NG, Thompson SG, et al. Association of dietary, circulating, and supplement fatty acids with coronary risk: a systematic review and meta-analysis. Ann Intern Med.2014;160:398-406.
[5] Félix-Redondo FJ, Grau M, Fernández-Bergés D. Cholesterol and Cardiovascular Disease in the Elderly. Facts and Gaps. Aging and Disease. 2013;4(3):154-169.
[6] Ravnskov U, Diamond DM, Hama R, et al. Lack of an association or an inverse association between low-density-lipoprotein cholesterol and mortality in the elderly: a systematic review. BMJ Open. 2016;6(6):e010401. doi:10.1136/bmjopen-2015-010401.
[7] Tuikkala P, Hartikainen S, Korhonen MJ, et al. Serum total cholesterol levels and all-cause mortality in a home-dwelling elderly population: a six-year follow-up. Scandinavian Journal of Primary Health Care. 2010;28(2):121-127. doi:10.3109/02813432.2010.487371.
[8] Aseem Malhotra, Rita F Redberg, Pascal Meier,Saturated fat does not clog the arteries: coronary heart disease is a chronic inflammatory condition, the risk of which can be effectively reduced from healthy lifestyle interventions., British Journal of sports medicine, April 30, 2017
[9] Aung PP, Maxwell HG, Jepson RG, Price JF, Leng GC. Lipid-lowering for peripheral arterial disease of the lower limb. Cochrane Database Syst Rev. 2007;(4):CD000123.
[10] Ray KK, Seshasai SR, Erqou S, Sever P, Jukema JW, Ford I, Sattar N. Statins and all-cause mortality in high-risk primary prevention: a meta-analysis of 11 randomized controlled trials involving 65,229 participants. Arch Intern Med. 2010;170:1024-1031. [PubMed] [Ref list]
[11] Vale N, Nordmann AJ, Schwartz GG, de Lemos J, Colivicchi F, den Hartog F, Ostadal P, Macin SM, Liem AH, Mills EJ, et al. Statins for acute coronary syndrome. Cochrane Database Syst Rev. 2014;9:CD006870.[PubMed] [Ref list]
[12] Abramson JD, Rosenberg HG, Jewell N, Wright JM. Should people at low risk of cardiovascular disease take a statin? BMJ. 2013;347:f6123. [PubMed] [Ref list]
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ย้อนเวลากลับไปเมื่อประมาณ 3 ปีที่แล้ว ได้ปรากฏมีข่าวชิ้นหนึ่งในด้านสุขภาพระบุว่า คณะกรรมาธิการที่ปรึกษาทางด้านอาหาร ซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวงสาธารณสุขและการบริการประชาชนของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออกคำแนะนำในด้านโภชนาการใหม่ว่า “ระดับของคอเลสเตอรอลไม่ได้มีความสัมพันธ์ว่าทำให้เพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ” [1]
การที่สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่ออกมารณรงค์ให้ประชาชนควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ซึ่งมีผลประโยชน์อยู่เบื้องหลังทั้งน้ำมันไม่อิ่มตัว (นำโดยน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันข้าวโพด) และยาลดคอเลสเตอรอล ยังไม่สามารถทานทนต่อการรับรู้จากงานวิจัยในเรื่องที่ประชาชนถูกหลอกเรื่องคอเลสเตอรอลมานานแสนนาน
อาจเป็นเพราะคนในยุคนี้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและงานวิจัยทั่วโลกได้ง่ายและเร็วกว่าสมัยก่อนมาก กระแสตื่นตัวเหล่านี้ย่อมเป็นผลทำให้อำนาจของรัฐจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ไม่เว้นแม้แต่ไขมันทรานส์ที่ต้องทยอยยกเลิกกันทั่วโลก แม้ว่าความเสี่ยงต่อการทำให้โรคหลอดเลือดอักเสบเพิ่มสูงขึ้นยังคงหลงเหลืออยู่ จากการบริโภคแป้งขัดขาว น้ำตาล ตลอดจนไขมันไม่อิ่มตัว (ถั่วเหลือง ข้าวโพด ดอกทานตะวัน รำข้าว) แต่ก็เชื่อว่าพลังของข้อมูลของข่าวสารของประชาชนนั้นมีความรวดเร็วกว่าอำนาจรัฐ และรวดเร็วกว่าองค์การอนามัยโลกแล้ว
เฉพาะเรื่องคอเลสเตอรอลสวนทางกับความเป็นจริงนั้นรู้มานานขนาดไหนแล้ว ลองพิจารณาดูจากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารสมาคมการแพทย์อเมริกัน JAMA ที่ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยเป็นการติดตามผลวัดคอลเลสเตอรอลทั้งชายและหญิง 4,374 คนต่อเนื่องยาวนานถึง 30 ปี ภายใต้โครงการการศึกษาซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วโลกคือ “การศึกษาฟรามิงแฮม” พบเรื่องที่เป็นสาระสำคัญว่า
1. คนที่อายุน้อยกว่า 50 ปีลงมา ระดับของคอเลสเตอรอลมีความสัมพันธ์โดยตรงกับอัตราการเสียชีวิตโดยรวมและอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ
“คอเลสเตอรอลที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 10 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะเพิ่มความเสี่ยงในการเสี่ยงเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น 5% และเพิ่มความเสี่ยงเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น 9%”
แต่ข้อมูลผลการวิจัยที่ร้ายแรงมากกว่าอยู่ด้านล่างความว่า
2. สำหรับคนที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ระดับของคอเลสเตอรอลที่ต่ำหรือสูงไม่ได้มีความสัมพันธ์ทำให้ความเสี่ยงการเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น แต่ “การลดลง”ของคอเลสเตอรอลกลับมีความสัมพันธ์ในการเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น
“คอเลสเตอรอลที่ลดลงเพียงทุกๆ 1 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น 11% และเพิ่มอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น 14 %” [2]
ในประเด็นหลังที่ว่าร้ายแรงนัก เพราะหมายความว่าถ้าคนๆหนึ่งอายุ 50 ปีขึ้นไป แล้วคอเลสเตอรอลลดลงแค่ปีละ 2 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร คนๆนั้นมีความเสี่ยงเสียชีวิตโดยรวมภายใน 5 ปี หรือเสี่ยงเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจภายในไม่เกิน 3 ปีครึ่งเท่านั้น
งานวิจัยชิ้นนี้แสดงถึงความเอาแน่เอานอนไม่ได้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างระดับคอเลสเตอรอลกับอัตราการเสียชีวิตโดยรวมและอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ
แต่ที่ยิ่งเลวร้ายไปกว่านั้นคือมีแนวโน้มว่าปัญหาการลดลงของคอเลสเตอรอลเมื่อมีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป เป็นปัญหาที่รุนแรงกว่า เพราะทำให้อัตราความเสี่ยงเสียชีวิตโดยรวมและอัตราความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจมากขึ้น
ท่านผู้อ่านลองพิจารณาดูว่าข้อมูลงานวิจัยชิ้นสำคัญระดับตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ของสมาคมแพทย์อเมริกัน JAMA เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 แต่กว่าที่คำแนะนำในการโภชนาการของชาวอเมริกันที่จะออกมายอมรับว่าคอเลสเตอรอลไม่ได้มีความสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดหัวใจคือปี พ.ศ. 2558
นั่นหมายความว่ากว่าที่จะมีการเปลี่ยนคำแนะนำในเรื่องระดับคอเลสเตอรอลกับการโภชนาการ ต้องใช้เวลาถึง 28 ปีนับจากนั้น ลองคิดดูว่าอิทธิพลของธุรกิจที่เกี่ยวกับการลดคอเลสเตอรอล โดยเฉพาะน้ำมันพืชไม่อิ่มตัว (ถั่วเหลืองและข้าวโพด) และยาลดคอเลสเตรอล จะทำกำไรไปอย่างมหาศาลเพียงใดในช่วงเวลาที่ผ่านมา
ย้อนกลับไปถึงงานวิจัยชิ้นสำคัญอีกชี้นหนึ่งก่อนหน้านี้ ซึ่งได้ซ่อนเร้นบอกความจริงไม่หมดทำให้คนทั่วโลกหลงประเด็นเรื่องคอเลสเตอรอล แต่เพิ่งทราบความจริงที่เกิดขึ้นไม่นานมานี้เช่นกัน
งานวิจัยชิ้นที่กล่าวถึงนี้มีความน่าเชื่อถือและมีอิทธิพลทำให้เกิดความหวาดกลัวและเข้าใจผิดอย่างมหันต์ว่าไขมันอิ่มตัวเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ เพราะทำให้คอเลสเตอรอลสูงขึ้น และเป็นผลทำให้มนุษยชาติหันมาใช้ไขมันไม่อิ่มตัวในการปรุงอาหาร นั่นก็คืองานวิจัยการทดลองโรคหลอดเลือดหัวใจของมลรัฐมินิโซต้า ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่าง พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2516
งานวิจัยที่ว่าน่าเชื่อถือนี้ก็เพราะงานวิจัยดังกล่าวได้ใช้การสำรวจกลุ่มประชากรขนาดใหญ่ถึง 9,423 คน และบางทีอาจจะเป็นงานวิจัยในมนุษย์ที่ใช้ประชากรมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในการ “ลดคอเลสเตอรอล” ด้วยการใช้ไขมันไม่อิ่มตัวประเภทที่มีกรดไขมันไลโนเลอิก หรือที่เรียกว่า ไขมันโอเมก้า 6 มาบริโภคทดแทนไขมันอิ่มตัวมากขึ้น ซึ่งกรดไขมันชนิดนี้พบมากในน้ำมันพืชส่วนใหญ่ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันรำข้าว ฯลฯ
งานวิจัยชิ้นนี้ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการรณรงค์ให้ประชากรโลกมาบริโภคกลุ่มไขมันไม่อิ่มตัวเพื่อลดคอเลสเตอรอลมาเป็นเวลาประมาณ 45 ปีที่ผ่านมา
กินไขมันไม่อิ่มตัวเพิ่มมากขึ้นทำให้คอเลสเตอรอลลดลง 13.8% เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมนั้นเป็นความจริงเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น!!!
แต่ความจริงอีกด้านหนึ่งที่ไม่ถูกเปิดเผยตลอด 45 ปีที่ผ่านมาในงานวิจัยชิ้นเดียวกัน คือคอเลสเตอรอลที่ลดลงทุกๆ 30 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร กลับเพิ่มความเสี่ยงเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น 22%!!!!
ความจริงครึ่งแรกถูกนำมาใช้รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในโลกใบนี้หันมาเปลี่ยนใช้ไขมันไม่อิ่มตัวมานาน 45 ปี
แต่ความจริงครึ่งหลังที่ว่าคอเลสเตอรอลที่ลดลงจากการใช้ไขมันไม่อิ่มตัวกลับเสี่ยงเสียชีวิตเพิ่มขึ้น เพิ่งจะมีการเปิดเผยความจริงนี้ในวารสารทางการแพทย์ชั้นแนวหน้าของอังกฤษ บีเอ็มเจ (BMJ Journals)โดยคณะของ ดร.คริสโตเฟอร์ อี. รัมส์เดน เมื่อปี พ.ศ.2559 นี้เอง
การทบทวนงานวิจัยชิ้นดังกล่าวนี้ยังระบุด้วยว่า การหันมากินไขมันไม่อิ่มตัวเพื่อลดคอเลสเตอรอลให้ลดลงนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ในการลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจแข็งตัวหรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายแต่ประการใด
งานวิจัยชิ้นดังกล่าวนี้ยังได้กล่าวถึงการวิเคราะห์อภิมานจากการทบทวน 5 งานวิจัยอย่างเป็นระบบ ซึ่งครอบคลุมกลุ่มตัวอย่าง 10,808 ราย สรุปได้ว่าไม่พบประโยชน์ใดๆต่อโรคหลอดเลือดหัวใจในกลุ่มลดคอเลสเตอรอลให้ลดลงด้วยไขมันไม่อิ่มตัว
ทั้งนี้เมื่อมีการวิเคราะห์แยกรายละเอียดของการทดลองของมลรัฐมินิโซต้าก็จะพบว่า
(1) กลุ่มประชากรที่มีอายุน้อยกว่า 65 ปี ถ้าคอเลสเตอรอลต่ำจะมีสัดส่วนการเสียชีวิตสะสมน้อยกว่าประชากรที่มีคอเลสเตอรอลสูง (เล็กน้อย) หรือแทบไม่แตกต่างกัน
(2) ผลจะเกิดตรงกันข้ามในกลุ่มประชากรที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ถ้าคอเลสเตอรอลต่ำอันเป็นผลมาจากการบริโภคไขมันไม่อิ่มตัว จะมีสัดส่วนการเสียชีวิตมากกว่าประชากรที่มีคอเลสเตอรอลสูงอย่างเห็นได้ชัดเจน ดูภาพประกอบที่ 1 [3]
สิ่งที่เราได้รับข้อมูลจากงานวิจัย 2 ชิ้นสำคัญข้างต้น ได้ผลตรงกันว่าผู้ที่สูงวัยคอเลสเตอรอลลดลงไม่ใช่สัญญาณชีพที่ดี และหมายถึงว่าคนที่คอเลสเตอรอลต่ำจะมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น
แท้ที่จริงแล้วร่างกายมนุษย์สามารถสังเคราะห์คอเลสเตอรอลได้เองเป็นส่วนใหญ่ อีกส่วนหนึ่งมาจากอาหารที่มีคอเลสเตอรอลจากสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นม เนย ชีส ไข่ ซึ่งนักวิจัยเรียกไขมันกลุ่มนี้ว่า “ไขมันอิ่มตัว” และแม้แต่ไขมันอิ่มตัวที่ได้จากพืช คือ น้ำมันมะพร้าวที่ตัวมันเองไม่มีคอเลสเตอรอลเลย แต่น้ำมันมะพร้าวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของต่อมไทรอยด์ จึงเป็นผลทำให้ร่างกายสังเคราะห์คอเลสเตอรอลให้สูงขึ้นได้เช่นกัน ผลปรากฏในงานวิจัยวิเคราะห์อภิธานจากการรวบรวมงานวิจัยทางด้านโภชนาการถึง 72 ชิ้น ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ Annals of Internal Medicine. เมื่อปี พ.ศ. 2558 สรุปว่า :
“การลดการบริโภคไขมันอิ่มตัว” ไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจเลย [4]
นอกจากนี้ ความจริงอีกด้านหนึ่งที่พบจากงานวิจัยในวารสารที่เกี่ยวกับโรคตามวัย Aging and Diseaseเมื่อปี พ.ศ. 2556 พบความสัมพันธ์ของคอเลสเตอรอลกับผู้สูงวัยใน 10 ประเทศตรงกันว่า ผู้สูงวัยยิ่งสูงวัยมากขึ้นเท่าไหร่ หรือใกล้วันหมดอายุขัยเท่าไหร่ กลับสังเคราะห์คอเลสเตอรอลลดลง หรือแม้แต่แอลดีแอลก็สังเคราะห์ได้ลดลงด้วย [5] ดูภาพประกอบที่ 2
สำทับด้วยงานวิจัยอย่างเป็นระบบในวารสารทางการแพทย์ชื่อดังของอังกฤษ The BMJ เมื่อปี พ.ศ. 2559 พบว่าสำหรับผู้สูงวัยที่มีอายุเกิน 60 ปีแล้ว คนที่มีไขมันแอลดีแอล (ที่มักเรียกว่าไขมันตัวเลว)อยู่ในระดับสูงกลับมีความเสี่ยงการเสียชีวิตน้อยกว่าคนที่มีไขมันแอลดีแอลต่ำ [6]
คำถามคือผู้สูงวัยที่มีคอเลสเตอรอลลดลงเสี่ยงเสียชีวิตมากขึ้นจริงหรือไม่ และคนสูงวัยที่คอเลสเตรอลลดลงเขาเสี่ยงชีวิตด้วยโรคอะไร?
งานวิจัยที่กล่าวถึงเรื่องนี้มีปรากฏอย่างเห็นในวารสารทางการแพทย์ของสแกนดิเนเวียน Scandinavian Journal of Primary Health Care ซึ่งเคยเผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2553 ว่าผลการติดตามกลุ่มผู้สูงวัยที่อายุเกินกว่า 75 ปีขึ้นไป ติดตามผลเป็นเวลา 6 ปี ปรากฏว่า คนที่มีคอเลสเตอรอลสูงกว่า 231 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร มีอายุยืนกว่ากลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 193 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร อย่างชัดเจน ดูภาพประกอบที่ 3 [7]
โดยกลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลสูง 231 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง “น้อยกว่า” กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 193 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรประมาณ 57%
ในช่วงการสำรวจ 6 ปี กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลสูง 231 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป จะเป็นโรคหัวใจ “น้อยกว่า” กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 193 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรประมาณ 41 %
ในช่วงการสำรวจ 6 ปี กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลสูง 231 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป จะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) “น้อยกว่า” กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 193 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรประมาณ 55 %
ในช่วงการสำรวจ 6 ปี กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลสูง 231 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป จะเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง “น้อยกว่า” กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 193 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรประมาณ 54 %
ในช่วงการสำรวจ 6 ปี กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลสูง 231 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป จะเป็นโรคมะเร็ง “น้อยกว่า” กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 193 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรประมาณ 50 %
ในช่วงการสำรวจ 6 ปี กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลสูง 231 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป จะเป็นโรคสมองเสื่อม “น้อยกว่า” กลุ่มประชากรที่มีคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 193 มิลลกรัมต่อเดซิลิตรประมาณ 49 %
แสดงให้เห็นว่าผู้สูงวัยขาดคอเลสเตอรอลไม่ได้ และการลดลงของคอเลสเตอรอลคือสัญญาณอายุขัยที่นับถอยหลัง ที่ไม่สามารถมองข้ามได้เลย
ทั้งนี้ คอเลสเตอรอลส่วนใหญ่จะถูกสังเคราะห์ขึ้นภายในร่างกาย เช่น มาจากตับ สมอง และผนังหลอดเลือด (atheroma) ลำไส้เล็ก ต่อมหมวกไต อวัยวะสืบพันธุ์
ร่างกายใช้คอเลสเตอรอลเป็นสารเบื้องต้นในการสร้างฮอร์โมนเพศทุกชนิด สร้างน้ำดี สร้างสารสเตอรอลที่อยู่ใต้ผิวหนังให้เป็นเป็นวิตามินดี เมื่อโดนแสงแดด และใช้คอเลสเตอรอลเป็นเป็นผนังหุ้มเซลล์ เป็นฉนวนหุ้มปลายประสาท
ดังนั้นเมื่อหลอดเลือดอักเสบเกิดบาดแผล (เช่น จาการบริโภคน้ำตาลมาก หรือไขมันไม่อิ่มตัวมาก) ร่างกายจะต้องส่งคอเลสเตอรอลมาซ่อมแซมผนังหลอดเลือดที่เสียหาย (แต่เรามักจะประณามคอเลสเตอรอลที่มาทำหน้าที่ซ่อมแซมผนังหลอดเลือดว่าเป็นไขมันเลว) ไขมันตามหลอดเลือดนั้นเป็นปลายเหตุ แต่ต้นเหตุที่แท้จริงมาจากอาหารที่เรานำใส่ปากนั่นเอง
เฉพาะคิดถึงเรื่องบทบาทหน้าที่ของคอเลสเตอรอลในการเป็น “ผนังหุ้มเซลล์” ก็น่าจะพิจารณาต่อว่า คอเลสเตอรอลมีความจำเป็นในการใช้เพื่อเยียวยาและซ่อมและสร้างทุกเซลล์ที่เสื่อมสภาพลงไป ซึ่งสอดคล้องและไปในทิศทางเดียวกับกับหางโครโมโซมที่เรียกว่า “เทโลเมียร์” จะสั้นลงไปเรื่อยๆทุกครั้งที่มีการแบ่งเซลล์เสมอ
และเมื่อมีการแบ่งเซลล์ก็ต้องมีผนังหุ้มเซลล์อีกเช่นกัน เมื่อเป็นเช่นนี้เมื่อสูงวัยมากขึ้นเทโลเมียร์สั้นลง การแบ่งเซลล์และซ่อมเซลล์ก็ลดลง รวมถึงการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลก็ต้องลดลงไปด้วยตามธรรมชาติ
ลองคิดดูถึงเหตุการณ์ที่ว่าหลอดเลือดเกิดความเสียหายจากการบริโภคนน้ำตาลมาก และไขมันไม่อิ่มตัวมาก (ถั่วเหลือง ข้าวโพด ดอกทานตะวัน รำข้าว)[8] ไม่ว่าจะผลิตคอเลสเตอรอลได้มากหรือน้อยการอักเสบก็ยังอยู่ที่เดิม จริงหรือไม่?
เพียงแต่ว่าถ้าอายุน้อยการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลยังสูง หางโครโมโซหรือเทโลเมียร์ก็ยังยาวอยู่ก็อาจเกิดการซ่อมแซมเซลล์ได้ แต่ถ้าอายุมากขึ้นร่างกายสังเคราะห์คอเลสเตอรอลลดลงควบคู่ไปกับหางโครโมโซมสั้นลงแล้ว ก็เป็นดัชนีแสดงให้เห็นว่าการซ่อมเซลล์เกิดขึ้นได้ยากขึ้น การอักเสบหรือบาดแผลถูกเยียวยาได้น้อยในภาวะที่คอเลสเตอรอลลดลง
จึงไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดีนักที่ผู้สูงวัยมีคอเลสเตอรอลลดต่ำลง !!!
และข่าวร้ายสำหรับผู้ที่บริโภคยาลดคอเลสเตอรอลอยู่ตรงที่ว่า แม้ว่าจะอ้างสรรพคุณทั้งหลายว่าช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ แต่การวิเคราะห์อภิธานงานวิจัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 - 2557 กลับพบว่าการใช้ยาลดคอเลสเตรอลล้มเหลวในการลดความเสี่ยงการเสียชีวิตโดยรวม และไม่ได้ทำให้อายุยืนขึ้นเลย [9] [10] [11] [12]
นี่คือเหตุผลว่าทำไมผู้ที่สูงวัยที่มีคอเลสเตอรอลต่ำถึงเสียชีวิตได้แทบทุกโรคมากกว่าคนที่คอเลสเตอรอลสูง ในทุกงานวิจัย
วันนี้จึงมีทางเลือกอยู่ 2 ทางให้เราเลือก
ทางเลือกแรก คือ กลุ่มไขมันอิ่มตัวที่จะเพิ่มคอเลสเตอรอลให้สูงขึ้น โดยไขมันเอชดีแอล ที่เรียกว่าไขมันตัวดีเพิ่มขึ้นด้วย ไขมันกลุ่มนี้ได้แก่ น้ำมันมะพร้าว เนย นม ชีส และน้ำมันปาล์ม และด้วยความที่โครงสร้างไขมันอิ่มตัวจึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่ะจะทำให้เกิดอนุมูลอิสระได้น้อยกว่า
ทางเลือกที่สอง คือ กลุ่มไขมันไม่อิ่มตัวที่จะลดคอเลสเตอรอลให้ลดลง และไขมันโดยรวมจะลดลงทั้งหมดด้วย ไขมันกลุ่มนี้ได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน และน้ำมันรำข้าว ซึ่งมีไขมันโอเมก้า 6 ซึ่งไม่อิ่มตัวที่จะมาทำให้เกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือด
วันนี้ องค์ความรู้ของมนุษย์ในยุคนี้มีความเข้าใจมากขึ้นแล้วว่า การจะทำให้หางโครโมโซมที่เรียกว่า เทโลเมียร์ “สั้นช้าที่สุด” คือคำตอบที่จะรักษาการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลให้ใช้ได้ “นานที่สุด” วิธีการก็คือการทำให้อินซูลินหลั่งช้าที่สุด และทำให้ฮอร์โมน IGF-1 หลั่งช้าที่สุด
การที่ฮอร์โมนอินซูลินจะหลั่งช้าที่สุดสามารถทำได้ด้วยการกินอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลให้ต่ำที่สุด ส่วนการทำให้ฮอร์โมน IGF-1 คือการทำให้เกิดการอักเสบน้อยที่สุด เกิดอนุมูลอิสระน้อยที่สุด หนึ่งในนั้นก็คือหลีกเลี่ยงไขมันไม่อิ่มตัวที่เกิดอนุมูลอิสระง่ายกว่ามาผัดทอดด้วยความร้อนสูง
ทั้งนี้ สถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต จึงได้จัดหลักสูตรวิถีชีวาเวศาสตร์ไปแล้ว 2 รุ่น เพื่อให้ประชาชนทั่วไปมีความเข้าใจและรู้เท่าทันโภชนาการบำบัดจากงานวิจัย ตามที่กล่าวมาบางส่วนแล้วข้างต้น
นอกจากนี้ เพื่อทำให้เกิดเป็นรูปธรรม จึงได้จัดหลักสูตรการประกอบอาหารสุขภาพและชะลอวัยระดับยีน (Cooking Course: Healthy and Anti-Aging Genomic Diet) เพื่อตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการ “ภาคปฏิบัติ” ในการทำอาหารสุขภาพที่มาจากฐานองค์ความรู้จากภูมิปัญญาจนถึงงานวิจัย ผนวกเข้ากับศิลปะการปรุงอาหารให้อร่อยและสวยงาม เพื่อประโยชน์สำหรับคนในครอบครัว หรือเพื่อต่อยอดในการทำธุรกิจที่จะเชื่อมโยงกับศูนย์สุขภาพ คลีนิกด้านอาหาร โรงพยาบาล ฯลฯ โดยปราศจากไขมันทรานส์ และปราศจากไขมันที่เติมไฮโดรเจน ตลอดจนแป้งและน้ำตาลที่จะสร้างการอักเสบของหลอดเลือด
หลักสูตรดังกล่าวได้รับการสนับสนุนและการอนุเคราะห์ครัวและอุปกรณ์การเรียนการสอนของวิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ ของมหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งเป็นห้องครัวสำหรับการเรียนเป็นเชฟที่ทันสมัยและดีที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชีย
โดยการสอนในหลักสูตรดังกล่าวจะเรียนทุกวันเสาร์เต็มวันตั้งแต่ประมาณต้นเดือน สิงหาคม ถึงประมาณเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 รวม 3 ภาคการเรียน จะเรียนตัวอย่างและลงมือปฏิบัติปรุงอาหารทั้งสิ้น 18 เมนู และผู้เรียนคิดและสร้างสรรค์เองในการสอบรวม 9 เมนู โดยผู้ที่สอบผ่านหลักสูตรที่ 3 ภาคการเรียนแล้ว จะได้รับประกาศนียบัตร จากสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต และได้รับเสื้อเชฟของสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิตอีกด้วย
โอกาสสัปดาห์สุดท้าย สนใจสมัครเรียนหลักสูตรด้งกล่าวได้ก่อนวันอังคารที่ 31 กรกฎาคม 2561 ได้ที่ สถาบันรังสิตวิชชาลัย หมายเลขโทรศัพท์ 02-791-5681, 02-791-5683, 02-791-5684
ด้วยความปรารถนาดี
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต
อ้างอิง :
[1] Advisory Committee (Advisory Report) to the Secretaries of the U.S. Departments of Health and Human Services (HHS) and Agriculture (USDA), Scientific Report of the 2015 Dietary Guidelines Advisory Committee.
[2] Anderson KM, Castelli WP, Levy D., Cholesterol and mortality. 30 years of follow-up from the Framingham study. JAMA. 1987 Apr 24;257(16):2176-80.
[3] Ramsden CE, Zamora D, Majchrzak-Hong S, et al. Re-evaluation of the traditional diet-heart hypothesis: analysis of recovered data from Minnesota Coronary Experiment (1968-73). The BMJ. 2016;353:i1246. doi:10.1136/bmj.i1246.
[4] Chowdhury R, Warnakula S, Kunutsor S, Crowe F, Ward HA, Johnson L, Franco OH, Butterworth AS, Forouhi NG, Thompson SG, et al. Association of dietary, circulating, and supplement fatty acids with coronary risk: a systematic review and meta-analysis. Ann Intern Med.2014;160:398-406.
[5] Félix-Redondo FJ, Grau M, Fernández-Bergés D. Cholesterol and Cardiovascular Disease in the Elderly. Facts and Gaps. Aging and Disease. 2013;4(3):154-169.
[6] Ravnskov U, Diamond DM, Hama R, et al. Lack of an association or an inverse association between low-density-lipoprotein cholesterol and mortality in the elderly: a systematic review. BMJ Open. 2016;6(6):e010401. doi:10.1136/bmjopen-2015-010401.
[7] Tuikkala P, Hartikainen S, Korhonen MJ, et al. Serum total cholesterol levels and all-cause mortality in a home-dwelling elderly population: a six-year follow-up. Scandinavian Journal of Primary Health Care. 2010;28(2):121-127. doi:10.3109/02813432.2010.487371.
[8] Aseem Malhotra, Rita F Redberg, Pascal Meier,Saturated fat does not clog the arteries: coronary heart disease is a chronic inflammatory condition, the risk of which can be effectively reduced from healthy lifestyle interventions., British Journal of sports medicine, April 30, 2017
[9] Aung PP, Maxwell HG, Jepson RG, Price JF, Leng GC. Lipid-lowering for peripheral arterial disease of the lower limb. Cochrane Database Syst Rev. 2007;(4):CD000123.
[10] Ray KK, Seshasai SR, Erqou S, Sever P, Jukema JW, Ford I, Sattar N. Statins and all-cause mortality in high-risk primary prevention: a meta-analysis of 11 randomized controlled trials involving 65,229 participants. Arch Intern Med. 2010;170:1024-1031. [PubMed] [Ref list]
[11] Vale N, Nordmann AJ, Schwartz GG, de Lemos J, Colivicchi F, den Hartog F, Ostadal P, Macin SM, Liem AH, Mills EJ, et al. Statins for acute coronary syndrome. Cochrane Database Syst Rev. 2014;9:CD006870.[PubMed] [Ref list]
[12] Abramson JD, Rosenberg HG, Jewell N, Wright JM. Should people at low risk of cardiovascular disease take a statin? BMJ. 2013;347:f6123. [PubMed] [Ref list]