xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

จะสำเร็จยุคนี้จริงไหม? ภารกิจ โอนรพ.สต.ไปท้องถิ่น

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ผู้จัดการสุดสัปดาห์ -หลังจากมีการหารือกันมานานหลายปี วันก่อนมีการเปิดเผยรายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง การถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ของคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มายังที่ ประชุมคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.) ครั้งที่ 2/2561 ที่มีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ

หลายปีแล้วที่ รพ.สต. กว่า 9,000 แห่งทั่วประเทศ แสดงความกังวลในเรื่องการถ่ายโอน รพ.สต.ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ไปสังกัดกระทรวงมหาดไทย โดยให้ขึ้นกับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเทศบาลในพื้นที่แทน เนื่องจาก สนช.ไปอ้างอิง พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ว่า โรงพยาบาลทำหน้าที่ในการบริการสุขภาพ ควรอยู่ในสังกัด สธ. เพราะจะทำงานง่ายและคล่องตัวมากกว่า ส่วนการกระจายอำนาจในส่วน สธ. ก็มีการจัดเขตสุขภาพที่เป็นการกระจายอำนาจสู่พื้นที่เช่นกัน

"ไม่ได้คัดค้านการกระจายอำนาจ แต่ขอให้พิจารณาความพร้อมและความสมัครใจ" คือประโยคบอกเล่าของคนใน รพ.สต.ในชณะนั้น

มติดังกล่าวของ ก.ก.ถ. เป็นวาระพิจารณา "วาระแรก" ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบในหลักการ เรื่อง การถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือ รพ.สต. จากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งเป็นไปตามหลักการการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ไปประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ และ อปท. เพื่อดำเนินการต่อไป

วาระดังกล่าวว่าด้วยกรณี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ได้เสนอรายงานมายัง บอร์ด ก.ก.ถ. ซึ่งคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น พิจารณาเสร็จแล้ว ตามคำสั่ง พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย อดีตรองนายกฯ ที่กำกับกระทรวงสาธารณสุขในขณะนั้น และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับ เรื่องดังกล่าวในภาพรวม ส่งให้ สลค. ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งเพื่อนำเสนอครม. ซึ่งสรุปความได้ดังนี้

ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

(1) ต้องปรับเกณฑ์การประเมินความพร้อมในการถ่ายโอนของ รพ.สต. และ เตรียมความพร้อมให้แก่ อปท. (2) ต้องปรับขั้นตอนในการประเมินเพื่อดำเนินการถ่ายโอนให้มีห้วงเวลา ที่ชัดเจนและง่ายในการปฏิบัติจากเดิมที่ประเมินในครั้งเดียวให้ประเมินเป็นขั้นตอน (3) การถ่ายโอนภารกิจไปยัง อปท. จะต้องมีความซัดเจน ทั้งในด้านภารกิจ บุคลากร งบประมาณ และด้านอื่น ๆ (4) ต้องปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบการปฏิบัติงานสำหรับ รพ. สต. ให้ซัดเจน เพื่อให้ อปท.สามารถดำเนินตามภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอน

(5) ให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการ ผลักดัน สนับสนุนและส่งเสริม ในการเตรียมการก่อนการถ่ายโอนและหลังการถ่ายโอนให้เกิดประสิทธิภาพและ บรรลุเป้าหมายของการถ่ายโอนภารกิจ เพื่อให้ อปท. สามารถให้บริการประขาขนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้ ถือปฏิบัติตามนโยบายของรัฐที่จะกระจายอำนาจ โดยการถ่ายโอนภารกิจด้านนี้จากหน่วยงานเดิมไปให้ท้องถิ่น เป็นหน่วยงานดำเนินการแทน

(6) ต้องให้ สธ. พิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับการถ่ายโอนภารกิจด้านการส่งเสริมสุขภาพ ในงาน รพ.สต. ให้สอดคล้องกับข้อเสนอแนะดังกล่าวข้างต้น (7) ต้องให้สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น (สกถ.) นำข้อเสนอแนะดังกล่าวข้างต้นใช้สำหรับเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาจัดทำ (ร่าง) แผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 3) พ.ศ และ (ร่าง) แผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 3) ต่อไป (8) ต้องยึดหลักการบริหารราชการแผ่นดินและนโยบายของรัฐบาลเป็นสำคัญ และควรกำหนดแผนการกระจายอำนาจและการถ่ายโอนภารกิจไว้อย่างขัดเจน

(9) การบริหารบุคคลต้องดำเนินการดังนี้ -บุคลากรที่โอนหรือขอตัวช่วยราฃการจาก สธ. ไปยัง อปท. ยังคงให้มี แนวทางรับราชการอยู่ในความรับผิดขอบของ สธ. -กรณีหากขาดแคลนบุคลากรให้นำระบบการบริหารงานบุคคลด้วยการว่าจ้างบุคคลภายนอกๆ และ (10) สธ. จะต้องมีความจริงใจในการถ่ายโอนและเป็นหน่วยรับผิดขอบหลักใน การผลักดันให้ รพ.สต. มีความพร้อมรับการถ่ายโอน โดยต้องดำเนินการเป็นลำดับขั้นตอน

ขณะที่ ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เสนอแนะว่า

(1) พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนห้องถิ่น พ.ศ. 2542 มีผลใช้บังคับมาเป็นเวลานาน การปฏิบัติตามภารกิจการถ่ายโอน สถานีอนามัยให้แก่ อปท. ที่บัญญัติไว้โนกฎหมายยังคงมีปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ อีกทั้ง การดำเนินงานของ สธ. ภายใต้พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ได้มีการปรับเปลี่ยน จากสถานีอนามัยเป็น รพ.สต. ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2542 ทำให้ภารกิจของสถานีอนามัยเปลี่ยนแปลงไป

ประกอบกับ ปัจจุบันได้มีการใช้บังคับพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 ที่บัญญัติให้มีคณะกรรมการ ยุทธศาสตร์ชาติ และพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 ที่บัญญัติ ให้มีคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน ซึ่งต้านสาธารณสุขถือเป็นหนี่งในแผนของการปฏิรูปประเทศ ที่มีความสำคัญและเกี่ยวช้องกับการถ่ายโอนภารกิจของ รพ.สต. ให้แก่ อปท.

ดังนั้น คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ภายใต้การจัดทำยุทธศาสตร์ขาติ 20 ปี และคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ควรได้มีการพิจารณาทบทวน ภารกิจต้านการสาธารณสุขดังกล่าว ตลอดจนแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวช้อง เพื่อผลักดันการดำเนินการ ให้เกิดความเหมาะสมต่อไป

**(2) ระบบการส่งต่อ ผู้ป่วยหรือผู้รับบริการทางการแพทย์จาก รพ.สต. ไปยัง โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป หรือโรงพยาบาลศูนย์ แล้วแต่กรณี อาจเกิดปัญหาหากมีการแยกส่วน บริการหรือไม่อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน เพราะการเบิกจ่ายเงินจาก รพ.สต. ให้แก่โรงพยาบาลชุมขน โรงพยาบาล ทั่วไป หรือโรงพยาบาลศูนย์ หากไม่เพียงพอจะมีผลกระทบต่อระบบการส่งต่อ ซึ่งปัจจุบันยังคงมีปัญหา การค้างจ่ายเงินดังกล่าว ดังนั้น สธ. ควรจัดสรรบุคลากรและงบประมาณให้เพียงพอในการดูแลผู้ป่วยทุกระดับ เพื่อให้เกิดคุณภาพในการบริการ

เรื่องนี้ คณะอนุกรรมการฯ ก.ก.ถ. มีมติเมื่อปลายปีที่แล้วว่า ข้อเสนอแนะ มีความสอดคล้องกับหลักการ (ร่าง) แผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนห้องถิ่น (ฉบับที่..)) พ.ศ และ (ร่าง)แผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนห้องถิ่น (ฉบับที่ 3) กลุ่มภารกิจด้านส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งได้กำหนดไว้ให้ สธ. ถ่ายโอน รพ.สต. ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลในปี พ.ศ. 2561 - 2564

โดยกำหนดขอบเขตการถ่ายโอน ขั้นตอนการปฏิบัติงานของ สธ. และมาตรฐานการปฏิบัติงานของส่วนราชการไว้โดยขัดเจนแล้ว และ (ร่าง) แผนการกระจายอำนาจฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ และร่างแผนปฏิบัติการฯ (ฉบับที่ 3) อยู่ระหว่างการดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นขอบ แล้วรายงานต่อสภานิติบัญญัติ เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับ

ขณะที่ สธ. ได้เสนอผลการพิจารณารายงานการพิจารณา ศึกษาเรื่องดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ และ ครม. ได้มีมติเมื่อวันที่ 19 ธ.ค.60 รับทราบรายงานผล การพิจารณาเรื่องด้งกล่าวตามที่ สธ. เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สำนักงาน เลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งขาติทราบ และเมื่อต้นปี คณะอนุกรรมการฯ ได้รับทราบ โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขาบุการฯ กำหนดการประชุมหารือเรื่องการขับเคลื่อนการถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต. ให้แก่ อปท. โดยเชิญผู้แทนจากกระทรวงสาธารณสุขเช้าร่วมประขุมด้วย

**ผลพิจารณาแล้วเห็นว่า สถานีอนามัยและ/หรือ รพ.สต. มีจำนวนประมาณ 9,000 แห่ง สธ. ได้พิจารณาถ่ายโอนให้แก่ อปท. จำนวน 51 แห่ง หากนับแต่ พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ พ.ศ. 2542 มีผลใช้บังคับและแผนปฏิบัติการฯ ประกาศใช้บังคับ ซี่งมีผลผูกพัน ส่วนราชการต้องดำเนินการถ่ายโอนภารกิจในส่วนที่เกี่ยวช้องให้แก่ อปท. การถ่ายโอนสถานีอนามัยและ/หรือ รพ.สต. ให้แก่ อปท. ส่วนราชการได้พิจารณาถ่ายโอนจำนวนน้อยมาก ปัจจุบันการให้บริการประชาชน ส่วนราชการยังคงจัดให้บริการในเขตพื้นที่ของ อปท.

สำหรับอุปสรรคปัญหาการถ่ายโอนภารกิจ เรื่องหลักเกณฑ์ความพร้อมของ อปท. ในการรับการถ่ายโอนภารกิจ ประกอบกับหลักการและเหตุผลของ ส่วนราชการในการพิจารณาถ่ายโอนภารกิจให้แก่ อปท. เป็นประเด็นปัญหาที่สำคัญ รวมถึงประเด็นเรื่อง การจัดสรรงบประมาณให้ส่วนราชการดำเนินภารกิจ ซึ่งเป็นภารกิจที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการฯ ที่ด้องถ่ายโอน ให้แก่ อปท. สำหรับการถ่ายโอนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางเพื่อปฏิบัติงานในการดำเนิน ภารกิจก็เป็นประเด็นปัญหาที่สำคัญ

เนื่องจากการจัดสรรอัตราตำแหน่งมีผลเกี่ยวเนื่องด้วยงบประมาณของ แผ่นดิน และที่สำคัญการดำเนินการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติ ราชการประจำปีงบประมาณเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง

ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามหลักการการกระจายอำนาจให้แก่ อปท.จึงเห็นสมควรพิจารณาการขับเคลื่อนการถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต. ให้แก่ อปท.ตามแผนปฏิบัติการฯ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551 กำหนดไว้ ประกอบกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และข้อเสนอแนะของที่ประขุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในการพิจารณารายงานผล การพิจารณาศึกษาเรื่องการถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต. ให้แก่ อปท. ซึ่งคณะกรรมาธิการการปกครองห้องถิ่น พิจารณาเสร็จแล้ว

โดย สธ. ควรดำเนินการทบทวนหลักเกณฑ์การประเมินความพร้อมของ อปท. ในการรับ ถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต. และเตรียมความพร้อมให้แก่ อปท. ที่มีความประสงค์จะรับการถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต

ตามมติ ก.ก.ถ. สรุปว่า จะต้องมีการศึกษากรณีการถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต. และร่างระเบียบเกี่ยวกับกับการถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต. ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 1 เดือน โดยกำหนดว่า 1. ไม่ต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินความพร้อมของ อปท. ในการรับการ ถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต. 2.อปท.ใด เมื่อมีความประสงค์รับการถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต.ให้ยื่นคำขอต่อผู้ว่าราชการจังหวัด และ 3. ผู้ว่าราชการจังหวัด มีหน้าที่แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบความเหมาะสม ของ อปท. ในการรับการถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต. ซึ่งกรณีนี้ไม่ใช่การประเมินความพร้อมของ อปท. ในการรับ การถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต.

**ขั้นตอนต่อไป กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะต้องทบทวนเฉพาะขั้นตอนและวิธีปฏิบัติการถ่ายโอนภารกิจ สำหรับหลักเกณฑ์ให้ใช้ตามเดิม เนื่องจากจะต้องใช้เวลาในการทบทวนหลักเกณฑ์ค่อนข้างนาน และ ให้สำนักงบประมาณ พิจารณาการตั้งงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนให้แก่ อปท. เพื่อเป็น ค่าใช้จ่ายสำหรับบุคลากร ซึ่งปฏิบัติงานในสถานีอนามัย หรือ รพ.สต. ที่ได้รับการถ่ายโอนจาก สธ. โดยให้รวมถึง บุคลากรของ อปท. ที่ได้สรรหาเพิ่มเติมตามกรอบอัตราที่กำหนด เช่นเดียวกับพนักงานครูของ อปท. ในสถานศึกษาที่ถ่ายโอนให้แก่ อปท. สุดท้ายให้รอดูว่าภารกิจถ่ายโอน จะสำเร็จยุคนี้ไหม ? รอดูความจริงใจของหน่วยงานรัฐ เพราะแค่โอนถึงปี 2559 มี 'รพ.สต.' ไปอยู่กับ'ท้องถิ่น' แค่ 51 จาก 9,787 แห่งใน 23 จังหวัด (รับโอนเป็น เทศบาลตำบล 17 แห่ง อบต. 16 แห่ง เทศบาลเมือง 3 แห่ง และเมือง 1 แห่ง)




กำลังโหลดความคิดเห็น