xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

"ชุมชนอีอีซี" 3 จังหวัด อยู่ตรงไหนของผังเมือง ??

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ผู้จัดการสุดสัปดาห์ - ยังคงมีความสงสัยว่า หลังจากมีการประกาศพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) แล้ว "ชุมชนอีอีซี" ที่ชาวบ้าน ใน 3 จังหวัด "ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา" อยู่ตรงไหน เพราะภาพรวม รัฐถูกมองว่าสร้างประโยชน์แต่ภาคอุตสาหกรรม ยังไม่มีความชัดเจนจริงของแนวทางการก่อสร้าง สร้างบ้านแปงเมือง กันอย่างชัดเจน

ยังไม่เห็นพื้นที่บริเวณที่จะพัฒนาเป็นเมือง เป็นชุมชนเมือง เกิดขึ้น ณ ที่ใด ขอบเขตชุมชนเมือง จำนวนประชากรที่จะให้เข้าอยู่ในชุมชนเมืองนั้นเป็นอย่างไร ยังไม่เห็นเส้นทางคมนาคมที่จะเพิ่มขึ้น ทั้งแนวถนน ทางรถไฟความเร็วสูง ชุมชนเมืองที่จะเกิดขึ้นจากรถไฟความเร็วสูง

 ยังไม่เห็นว่าชุมชนในพื้นที่ของอีอีซี ทั้ง 3 เมือง "ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา" จะได้ประโยชน์ และจะต้องเสียสละอะไรบ้าง แผนผังจะออกมาในทิศทางใด แม้ราชกิจจานุเบกษา จะเผยแพร่แผนที่นิคมอุตสาหกรรม 21 แห่ง ไปแล้วเมื่อกลางเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา

ปัจจุบันในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มีนิคมอุตสาหกรรมในกำกับของการนิคมอุตสาหกรรม (กนอ.) 31 แห่ง รวมพื้นที่ 113,000 ไร่ ซึ่งในจำนวนนี้มีนิคมฯ ที่ได้รับการประกาศเป็นเขตส่งเสริมอุตสาหกรรม สำหรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายแล้ว จำนวน 21 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ 86,775 ไร่ เป็นพื้นที่ลงทุน 28,666 ไร่ หรือ คิดเป็น 70% ของพื้นที่นิคมฯในเขตอีอีซีทั้งหมด รัฐคาดว่าจะสามารถรองรับวงเงินลงทุนได้ 1.31 ล้านล้านบาท

นอกจากนี้ กนอ.ยังจัดเตรียมความพร้อมพท้นที่สำหรับการลงทุนอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่อีอีซี ได้ทันที 14 นิคมฯ กว่า 11,000 ไร่ และในอนาคต กนอ. จะมีการพัฒนาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเพิ่มเติมอีกประมาณ 15,000 ไร่ และส่วนพื้นที่ที่เหลือ จะเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมนอก กนอ. ที่อยู่ในการส่งเสริมของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) หรืออยู่ในเขต / สวนอุตสาหกรรมซึ่งจะช่วยตอบโจทย์ความต้องการของนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนในระดับต่าง ๆ ในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม

ทั้งนี้ 21 นิคมฯ ที่ได้รับการประกาศเป็นเขตส่งเสริมอุตสาหกรรม สำหรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย กนอ.ได้จัดสรรพื้นที่แบ่งเป็นนิคมฯ จ.ระยอง 8 แห่ง เพื่อรองรับอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ, การบินและชิ้นส่วน, ไฮเทก อิเล็กทรอนิกส์, การแพทย์ครบวงจร, การบินและโลจิสติกส์, เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ

นิคมฯใน จ.ชลบุรี 12 แห่ง รองรับอุตสาหกรรมไฮเทก อิเล็กทรอนิกส์, ดิจิตอล, ยานยนต์อนาคต และเมืองวิทยาศาสตร์

นิคมฯ ใน จ.ฉะเชิงเทรา 1 แห่ง รองรับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์, อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนพลาสติก เพื่อเป็นส่วนประกอบในรถยนต์ และโลจิสติกส์ เพื่อต้องการให้แต่ละนิคมฯ มีการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคที่มีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาพื้นที่ให้มีความทันสมัย เช่นจัดทำเขตนวัตกรรม หรือเขตนวัตกรรมดิจิตอล

ขณะเดียวกัน ยังส่งเสริมให้แต่ละนิคมฯ จัดทำโครงการเพื่อรองรับการประกอบอุตสาหกรรมที่มีการจัดสรรที่ดิน เพื่อขายหรือเช่าให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย กนอ. โดยกำหนดการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย และมีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก และบริการที่จำเป็นต่อการประกอบกิจการอุตสาหกรรม เป็นต้น

กลับมาที่คำถามว่า "ชุมชนอีอีซี" ที่ชาวบ้าน ใน 3 จังหวัด "ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา" อยู่ตรงไหน

วันก่อน คณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย คณะที่ 2 ที่มี นายประยูร รัตนเสนีย์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านความมั่นคงภายใน เป็นประธานกรรมการ ได้ประชุมเพื่อพิจารณาขอความเห็นทางกฎหมายคณะกรรมการกฤษฎีกา กรณี ข้อกำหนดการใช้ประโยขน์ที่ดินในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งขาติ ที่ 47/2560 ลงวันที่ 24 ต.ค.60

หลังจาก "เมืองพัทยา"ได้มีหนังสือถึง กรมโยธาธิการและผังเมือง ขอทราบวิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติตามคำสั่งหัวหน้า คสช.เรื่อง ข้อกำหนดการใช้ประโยขน์ที่ดินในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก เพื่อจะได้ยึดเป็นแนวทางการปฏิบัติใน 2 ประเด็น ดังนี้

ประเด็นที่ 1 ตามข้อ 4 วรรคแรก ของคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่กำหนดให้กรมโยธาธิการและผังเมืองดำเนินการจัดทำผังเมืองขึ้นใหม่ ให้สอดคล้องกับแผนผังการใช้ประโยขน์ที่ดิน แผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค ที่ออกตามข้อ 3 ของคำสั่งดังกล่าวโดยให้ถือเป็นภารกิจเร่งด่วนที่ต้องดำเนินให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี เนื่องจากมีการถ่ายโอนภารกิจให้องค์กรปกครองส่วนห้องถิ่นดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองรวมในพื้นที่ ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก องค์กรปกครองส่วนห้องถิ่นยังคงสามารถดำเนินการวางและจัดทำผังเมือง รวมในพื้นที่ของแต่ละห้องถิ่นต่อไปได้หรือไม่
 
ประเด็นที่ 2 ปัจจุบันมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อยู่ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ทั้ง 3 จังหวัด บางแห่งได้ดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองรวม โดยดำเนินการตามขั้นตอน ของพ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ. 2518 เช่น การปิดประกาศ 15 วัน การประขุมรับพิงความคิดเห็นของประชาชน การปิดประกาศ 90 วัน เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้อง เป็นค้น องค์กรปกครองส่วนห้องถิ่น จะสามารถดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองรวมต่อไปได้หรือไม่ หากดำเนินการต่อไปจะถือว่าเป็นการ ดำเนินการขัดคำสั่งดังกล่าวหรือไม่ อย่างไร

กรมโยธาริการและผังเมือง พิจารณาแล้วเห็นว่า ตามมาตรา 18 วรรคแรก แห่งพ.ร.บ.การผังเมือง กำหนดให้การวางและจัดทำผังเมืองรวม ณ ห้องที่ใด กรมโยธาริการและผังเมืองจะวางและจัดทำผังเมืองรวมท้องที่นั้นขึ้น หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นของท้องที่นั้นจะวางและจัดทำผังเมืองรวมในท้องที่ของตนขึ้น ก็ได้ แต่เนื่องจากคำสั่งหัวหน้า คสช. ดังกล่าว ในข้อ 5 ระบุให้กรมโยธาธิการและผังเมือง เป็นผู้ดำเนินการจัดทำผังเมืองขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกับแผนผังที่จัดทำขึ้นเมื่อได้รับความเห็นขอบจากคณะกรรมการนโยบาย หรือครม.อนุมัติแล้ว โดยถือเป็นภารกิจเร่งด่วน ที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายใน 1 ปี ดังนั้น จากผลของคำสั่งดังกล่าว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงไม่มีอำนาจหน้าที่ในการวางและ จัดทำผังเมืองรวมภายหลังจากแผนผังที่จัดทำขึ้น ตามข้อ 3 ของคำสั่งฯที่ใช้บังคับแล้ว

สำนักกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย พิจารณาแล้วเห็นว่า มาตรา 279 ของรัฐธรรมนูญแห่งราขอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 บัญญัติว่า บรรดาประกาศ คำสั่ง และการกระทำของคสช. หรือของหัวหน้าคสช. ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อน วันประกาศใข้รัฐธรรมนูญนี้ หรือที่จะออกใข้บังคับต่อไปตาม มาตรา 265วรรคสอง ไม่ว่าเป็นประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำที่มืผลใข้บังคับในทางรัฐธรรมนูญ ทางนิติบัญญัติ ทางบริหาร หรือทางตุลาการ ให้ประกาศ คำสั่ง การกระทำตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำนั้น เป็นประกาศ คำสั่ง การกระทำ หรือการปฏิบัติที่ขอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้และกฎหมาย และมีผล"ใช้,บังคับ" โดยชอบด้วย รัฐธรรมนูญนี้ต่อไป

การยกเลิก หรือแก้ไขเพิ่มเติมประกาศหรือคำสั่งดังกล่าว ให้กระทำเป็นพ.ร.บ. เว้นแต่ประกาศหรือคำสั่งที่มีลักษณะเป็นการใช้อำนาจทางบริหาร การยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมให้กระทำโดย คำสั่งนายกรัฐมนตรี หรือมติครม. แล้วแต่กรณี ซึ่งจากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า คำสั่ง หัวหน้าคสช. มีสถานะเป็นกฎหมาย ใช้บังคับได้

เมื่อคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่กำหนดให้กรมโยธาธิการ และผังเมืองดำเนินการจัดทำ ผังเมืองขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกับแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน แผนผังการพัฒนาโครงการพื้นฐานและระบบ สาธารณูปโภค โดยถือเป็นภารกิจเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี โดยผลของคำสั่งดังกล่าว จึงทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการวางและจัดทำผังเมืองรวมในท้องที่ของตนขึ้นก็ได้ ตามมาตรา 18 วรรคแรก แห่งพ.ร.บ.การผังเมือง

ทั้งนี้ นายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านสาธารณภัย และพัฒนาเมือง ได้ให้ความเห็นขอบให้เสนอคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทยพิจารณา ให้ความเห็นแล้ว

คณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายฯ คณะที่ 2 ได้พิจารณาข้อหารือ เห็นว่า มาตรา 279 ของรัฐธรรมนูญ บัญญัติว่า บรรดาประกาศ คำสั่ง และการกระทำของ คสช. หรือของหัวหน้า คสช. ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ หรือที่จะออกใช้บังคับต่อไปตาม มาตรา 265 วรรคสอง ไม่ว่าเป็นประกาศ คำสั่ง หรือ การกระทำที่มีผลใช้บังคับในทางรัฐธรรมนูญ ทางนิติบัญญัติ ทางบริหาร หรือทางตุลาการ ให้ประกาศ คำสั่ง การกระทำ ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำนั้น เป็นประกาศ คำสั่ง การกระทำ หรือการปฏิบัติ ที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้ และกฎหมาย และมีผลใช้บังคับโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้ต่อไป

ซึ่งคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับดังกล่าว ออกโดยอาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 265 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ โดยได้กำหนดแนวทางดำเนินการสำหรับการวางข้อกำหนดการใช้ ประโยชน์ในที่ดินในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ได้แก่ จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และ ระยอง รวมทั้งการวางผังเมืองในพื้นที่ดังกล่าวขึ้นเป็นการเฉพาะ เพื่อให้ทั้ง 3 จังหวัด มีข้อกำหนด การใช้ประโยชน์ในที่ดินที่สอดคล้องกันและการวางผังเมืองแล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อรองรับการพัฒนาเป็นเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
 
ดังนั้น คำสั่งหัวหน้า คสช. จึงมีผลใช้บังคับโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และการวางข้อกำหนดการใช้ประโยขน์ในที่ดินและการวางผังเมือง ในบริเวณ 3 จังหวัด จะต้องดำเนินการตามคำสั่งดังกล่าว เมื่อข้อ 5 ได้กำหนดให้กรมโยธาธิการและผังเมือง ดำเนินการจัดทำผังเมืองขึ้นใหม่ ให้สอดคล้องกับแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และแผนผังการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค โดยถือเป็นภารกิจเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี 

การจัดทำผังเมืองรวมในพื้นที่สามจังหวัดดังกล่าว จึงเป็นหน้าที่ของกรมโยธาธิการและผังเมือง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคะวันออกตามคำสั่งดังกล่าวไม่อาจจัดทำผังเมืองรวม ตามที่มาตรา 18 แห่งพ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ. 2518 ที่กำหนดไว้ได้

ทั้งนี้ เมื่อปรากฏ ข้อเท็จจริงตามคำชี้แจงของผู้แทนกรมโยธาธิการและผังเมืองว่า ปัจจุบันคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กรศ.) กำลังดำเนินการจัดทำนโยบายและแผนภาพรวมเพื่อการ พัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก แผนการใช้ประโยชน์ในที่ดินในภาพรวม แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค และแผนการดำเนินงานฯ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบาย ซึ่งเป็นการดำเนินการตามข้อ 2 ของคำสั่งดังกล่าว

เพื่อเป็นการสนับสนุน กรศ. กรมโยธาริการและผังเมือง ควรรวบรวมข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดทำผังเมืองที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ดังกล่าวที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ให้แก่ กรศ. เพื่อประกอบการจัดทำนโยบายและแผนภาพรวมๆ รวมทั้ง ติดตามการจัดทำนโยบายและแผนภาพรวมๆ เพื่อใช้ในการจัดทำจัดทำผังเมืองต่อไป โดยให้ กรมโยธาธิการและผังเมือง รับความเห็นของคณะกรรมการพิจารณา ร่างกฎหมาย ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป.




กำลังโหลดความคิดเห็น