xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

กสทช. ไม่ใช่องค์กรอิสระแล้ว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


"ฝั่งขวาเจ้าพระยา"
"โชกุน"

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เกิดขึ้นตามเจตนารมณ์ของ มาตรา 40 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ที่บัญญัติว่า

“คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และวิทยุโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ

ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่ง และกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

การดำเนินการตามวรรคสองต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะอื่น รวมทั้งการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม”

กว่า กสทช. จะเกิดขึ้นได้ ต้องใช้เวลาถึง 14 ปี รัฐธรรมนูญ 2540 ถูกฉีกทิ้งไปแล้ว จากการทำรัฐประหาร วันที่ 19 กันายน 2549 เจตนารมณ์ในการตั้งองค์กรอิสระ กำกับดูแลคลื่นความถี่ ย้ายไปอยู่ มาตรา 47 รัฐธรรมนูญ 2550

กสทช. ชุดแรก ภายใต้ พระราชบัญญัติ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และการกำกับ การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 จำนวน 11 คน เกิดขึ้นเป็นรูปเป็นร่าง เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554 มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี

กรรมการ กสทช. ชุดนี้ มีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีในสายตาของสังคม เพราะมีเรื่อง การใช้จ่ายเงินอย่างฟุ่มเฟือย ตั้งที่ปรึกษา กินเงินเดือนแพงๆ การเดินทางไปต่างประเทศบ่อยๆ การเอื้อประโยชน์ให้กับ ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ การจัดประมูลคลื่นความถี่ 2100 เมกะเฮิรตซ์ เป็นครั้งแรก ในระบบใบอนุญาต ที่ถูกครหาว่า ออกแบบการประมูลให้ผู้ประกบอการทั้งสามรายเดิมได้แบ่งเค๊กกัน กีดกันไม่ให้รายใหม่ได้เข้ามาในตลาด

ในขณะที่ผลงานด้านการคุ้มครอง ผู้บริโภค กลับไม่ค่อยมี กรรมการ กสทช. ด้านการคุ้มครอง ผู้บริโภค กลายเป็นเสียง่สวนน้อย ที่ไม่สามารถผลักดันมาตรการให้ความเป็นธรรมกับผู้บริโภคได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

หลัง คสช. ยึดอำนาจ ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ไม่ถึงสองเดือน คสช. ออกคำสั่งให้ กสทช. นำเงินรายได้จากการประมูลใบอนุญาต คลื่นความถี่ และค่าธรรมเนียมต่าง ส่งให้ กระทรวงการคลัง เป็นรายได้ของแผ่นดิน จากเดิมที่ พรบ, กสทช. ให้ เป็นรายได้ที่ อยู่กับ กสทช. และ ออกคำสั่ง ภายใต้มาตรา 44 ระงับการประมูลคลื่น 900 และ 1800 Mhz หรือคลื่น 4 จี ไว้ก่อน เป็นเวลา 1 ปี จากเดิมที่ กสทช. กำหนดประมูล ภายในปี 2557 และให้ กสทช. แกไขกฎหมาย ระเบียบ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ

ท่าทีที่ออกไปในทางแข็งกร้าว ผ่านคำสั่ง คสช. ในตอนนั้น ทำให้สังคมประเมินว่า กรรมการ กสทช. คงอยู่ยาก คสช. น่าจะมีคำสั่งปลด ตามมาในเร็ววัน แต่กลับปรากฎว่า กสทช. ได้อยู่ต่อ มาจนถึงปัจจุบัน และได้รับการต่ออายุให้อยู่ยาว จนกว่า หัวหน้า คสช. จะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น จากคำสั่ง คสช.ล่าสุด 7/2551 เมื่อวันที่ 24 เมษายนที่ผ่านมา ให้ยกเลิกกระบวนการสรรหา กสทช. ชุดใหม่ และให้ กสทช. ชุดปัจจุบัน ทำหน้าที่ต่อไป หลังจาก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. มีมติล้มกระดาน ไม่รับรองรายชื่อผุ้สมัครเป็น กรรมการ กสทช. ชุดใหม่ 14 คน ที่ คณะกรรมการสรรหา เสนอเมื่อวันที่ 19 เมษายนที่ผ่านมา ด้วยเหตุผลว่า ผู้ได้รับการเสนอชื่อ 8 คน มีลักษณะต้องห้าม

กสทช. ขณะนี้ ไม่ใช่องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแล้ว แต่เป็นองค์กรกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่ ที่ขึ้นอยู่กับ คสช ว่า จะให้อยู่หรือไปเมือ่ไร และเป็นองค์กรที่ต้องจัดสรรคลื่นความถี่ ภายใต้การกำกับของ กระทรวงดิจิทัล เพ่อเศราฐกิจและสังคม หรือ กระทรวงดีอี ซึ่งจัดตั้งขึ้น ในยุค คสช.

นอกจาก คำสั่ง คสช. สิ่งที่ทำให้ กสทช. ไม่เป็นองค์กรอิสระอีกต่อไปแล้ว คือ พรบ. กสทช. ฉบับแก้ไขใหม่ ซึ่ง ผ่าน สนช. เมื่อเดือน มีนาคม ปี 2560 กำหนดให้ ให้กสทช.ต้องจัดทำแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ ให้สอดคล้องกับนโยบายและแผ่นระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของกระทรวงดีอี ด้วย และให้คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นผู้วินิจฉัยเรื่องการดำเนินการของ กสทช.ว่า ขัดกับนโยบายและแผนระดับชาติหรือไม่ และ สำนักงาน กสทช. ต้องเสนองบประมาณ รายจ่ายประจำปี ให้ คณะกรรมการ ดิจิทัล พิจารณา ก่อนเสนอให้ กรรมการ กสทช. อนุมัติ

ความเป็นองค์กรอิสระของ กสทช. ไม่มีอยู่จริงแล้ว เจตนารมณ์ ตามมาตรา 40 ของรัฐธรรมนุญ 2540 เป็นแค่ประวัติศาสตร์ช่วงสั้นๆ เท่านั้น




กำลังโหลดความคิดเห็น