รองหัวหน้า ปชป. มอง 3 ปมปัญหา เบื้องหลังสนช. คว่ำ กสทช. ไม่ชอบมาพากลตั้งแต่กระบวนการสรรหา เหตุดันคนมีเอี่ยวสื่อนั่งเก้าอี้ เรียกร้อง สรรหาใหม่ ต้องโปร่งใส ด้าน "วิษณุ" ยัน สนช. มีสิทธิ์คว่ำ กสทช. ปมคุณสมบัติได้ แจงมีเอกสิทธิ์ กม.คุ้มครอง ชี้คนที่ถูกโละ เข้ารับการสรรหาใหม่ได้ ปัดตอบสัปดาห์หน้ารู้ผลเยียวยา "ค่ายมือถือ-ทีวีดิจิทัล" หรือไม่
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี สนช. มีมติไม่เลือกผู้เข้ารับการสรรหาเป็น กสทช. ทั้ง 14 คน ว่า น่าจะมีความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้น ตั้งแต่เริ่มต้นที่คณะกรรมการสรรหา จนได้รายชื่อจำนวนหนึ่งมาให้คณะกรรมาธิการสามัญ เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้สมควรได้รับเลือกตั้งเป็น กสทช. และเข้าสู่การพิจารณาเลือกของ สนช. เพราะมีความพยายามที่จะผลักดันบุคคลที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับธุรกิจ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม ทั้งทางตรง และทางอ้อม เข้ามาเป็น กสทช.
การสรรหา กสทช.ครั้งนี้ จึงมีความเคลือบแคลงสงสัยหลายประการ ดังนี้
1. กระบวนการสรรหาที่เริ่มต้นจากคณะกรรมการสรรหา ตามที่กม.กำหนด ได้ทำหน้าที่ครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่ ได้มีความพยายามบล็อกโหวต ดังที่มีการกล่าวหา หรือไม่ อย่างไร
2. สนช. ได้ทำหน้าที่ตามที่ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 บัญญัติไว้ หรือไม่ เพราะ กม.บัญญัติให้ สนช. มีหน้าที่ลงมติเลือกเท่านั้น ไม่ได้มีหน้าที่ให้ความเห็นชอบ หรือ ไม่เห็นชอบ เหมือนกับกรณีการพิจารณาเห็นชอบ หรือ ไม่เห็นชอบ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระอื่นๆ การที่ สนช.ไม่เลือก แต่ใช้วิธีมีมติล้มการเลือก กสทช. จะทำให้มีปัญหาตามมาอีกหลายด้าน หรือไม่
3. มีการส่งสัญญาณจาก นายกรัฐมนตรี หรือผู้มีอำนาจในบ้านเมือง ให้ล้มการเลือก กสทช. ครั้งนี้ เพราะมีคนไม่พอใจบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อหรือไม่ เพราะตามปกติ การทำหน้าที่ของสนช. ก็ถูกมองว่าเป็นสภาตรายาง พร้อมที่จะทำตามความต้องการของผู้มีอำนาจอยู่แล้ว ยิ่งมีคลิปเสียงที่มีคำพูดอ้างว่า พล.อ.ประยุทธ์ ไม่พอใจบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อ ก็ยิ่งทำให้ถูกสงสัยว่า สนช.กำลังทำหน้าที่สภาตรายางอีกครั้ง เพื่อสนองตอบผู้มีอำนาจ นอกจากนี้ เหตุผลที่สนช.อ้างว่า ต้องล้มการเลือก กสทช. เพราะผู้ผ่านการสรรหา มีปัญหาเรื่องคุณสมบัติ ก็เป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น เนื่องจากการวินิจฉัยเรื่อง
คุณสมบัติ เป็นหน้าที่ของ คณะกรรมการสรรหา ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ สนช. ไม่ควรทำหน้าที่เป็นศาลตัดสินเสียเอง
เนื่องจาก กสทช. เป็นคณะกรรมการที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์มหาศาล และมีอำนาจหน้าที่ ที่จะให้คุณให้โทษได้อย่างมาก การสรรหา กสทช. จึงต้องเป็นไปด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และก่อให้เกิดความมั่นใจได้ ว่าเราจะได้ กสทช. ที่มี หิริ โอตตัปปะ ทำงานด้วยความซื่อสัตย์
"จึงขอเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสรรหา กสทช. ทั้งคณะกรรมการสรรหา และสนช. ถ้าทำหน้าที่ด้วยความสุจริต เที่ยงธรรม โปร่งใส ไม่มีลับลมคมใน ข้อเคลือบแคลงสงสัย เพื่อประโยชน์ ของประเทศชาติอย่างแท้จริง" นายองอาจ กล่าว
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า รธน.กำหนดให้ สนช. ตั้งคณะกมธ.สามัญ เพื่อทำหน้าที่ ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรม ของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง กรรมการ กสทช. เพื่อเสนอที่ประชุม สนช. ประกอบการพิจารณา ดังนั้น เขาสามารถตรวจสอบคุณสมบัติได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในเมื่อ กก.สรรหาฯ ตรวจสอบประวัติมาแล้ว ในชั้น สนช. มีสิทธิ์ที่จะไม่เห็นชอบด้วยเหตุผลขาดคุณสมบัติได้อีก หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ตนไม่แน่ใจ แต่ กก.สรรหาฯ ต้องตรวจสอบ และรายงานทุกอย่างแก่ สนช. เพื่อตัดสินใจ
ส่วนผู้ที่ถูกลงมติไม่เห็นชอบ สามารถฟ้องกลับได้หรือไม่นั้น นายวิษณุ กล่าวว่า แล้วแต่เขา น่าลองดู แต่ตนไม่คิดว่าจะเป็นปัญหาในภายหลัง เพราะการลงมติของสนช. มีเอกสิทธิ์คุ้มครองอยู่ ไม่ว่าสมาชิกจะลงมติอย่างไรก็ตาม การอภิปราย เป็นเหตุผลของสมาชิกแต่ละคน ทั้งนี้บุคคลที่ สนช.ไม่ให้ความเห็นชอบในครั้งนี้ สามารถเข้ารับการสรรหาเป็น กสทช. ใหม่ได้
นายวิษณุ ยังกล่าวถึง ความคืบหน้าถึงแนวทางการแก้ปัญหา ผู้ประกอบการกิจการโทรคมนาคม และทีวีดิจิทัล ภายหลังมีการหารือกันเมื่อวันที่ 20 เม.ย. ว่า เป็นการรวบรวมความเห็นเป็นคราวๆไป ได้ข้อมูลแค่ไหน ก็ส่งให้นายกฯไป ซึ่งได้ส่งไปแล้ว แต่ยังไม่หมด ยังต้องรวบรวมข้อมูล และส่งไปให้อีกครั้ง ส่วนสัปดาห์หน้า จะมีความชัดเจนเรื่องจะช่วย หรือไม่ช่วยผู้ประกอบการโทรคมนาคม และทีวีดิจิทัลหรือไม่นั้น ขอไม่ตอบ
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี สนช. มีมติไม่เลือกผู้เข้ารับการสรรหาเป็น กสทช. ทั้ง 14 คน ว่า น่าจะมีความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้น ตั้งแต่เริ่มต้นที่คณะกรรมการสรรหา จนได้รายชื่อจำนวนหนึ่งมาให้คณะกรรมาธิการสามัญ เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้สมควรได้รับเลือกตั้งเป็น กสทช. และเข้าสู่การพิจารณาเลือกของ สนช. เพราะมีความพยายามที่จะผลักดันบุคคลที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับธุรกิจ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม ทั้งทางตรง และทางอ้อม เข้ามาเป็น กสทช.
การสรรหา กสทช.ครั้งนี้ จึงมีความเคลือบแคลงสงสัยหลายประการ ดังนี้
1. กระบวนการสรรหาที่เริ่มต้นจากคณะกรรมการสรรหา ตามที่กม.กำหนด ได้ทำหน้าที่ครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่ ได้มีความพยายามบล็อกโหวต ดังที่มีการกล่าวหา หรือไม่ อย่างไร
2. สนช. ได้ทำหน้าที่ตามที่ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 บัญญัติไว้ หรือไม่ เพราะ กม.บัญญัติให้ สนช. มีหน้าที่ลงมติเลือกเท่านั้น ไม่ได้มีหน้าที่ให้ความเห็นชอบ หรือ ไม่เห็นชอบ เหมือนกับกรณีการพิจารณาเห็นชอบ หรือ ไม่เห็นชอบ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระอื่นๆ การที่ สนช.ไม่เลือก แต่ใช้วิธีมีมติล้มการเลือก กสทช. จะทำให้มีปัญหาตามมาอีกหลายด้าน หรือไม่
3. มีการส่งสัญญาณจาก นายกรัฐมนตรี หรือผู้มีอำนาจในบ้านเมือง ให้ล้มการเลือก กสทช. ครั้งนี้ เพราะมีคนไม่พอใจบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อหรือไม่ เพราะตามปกติ การทำหน้าที่ของสนช. ก็ถูกมองว่าเป็นสภาตรายาง พร้อมที่จะทำตามความต้องการของผู้มีอำนาจอยู่แล้ว ยิ่งมีคลิปเสียงที่มีคำพูดอ้างว่า พล.อ.ประยุทธ์ ไม่พอใจบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อ ก็ยิ่งทำให้ถูกสงสัยว่า สนช.กำลังทำหน้าที่สภาตรายางอีกครั้ง เพื่อสนองตอบผู้มีอำนาจ นอกจากนี้ เหตุผลที่สนช.อ้างว่า ต้องล้มการเลือก กสทช. เพราะผู้ผ่านการสรรหา มีปัญหาเรื่องคุณสมบัติ ก็เป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น เนื่องจากการวินิจฉัยเรื่อง
คุณสมบัติ เป็นหน้าที่ของ คณะกรรมการสรรหา ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ สนช. ไม่ควรทำหน้าที่เป็นศาลตัดสินเสียเอง
เนื่องจาก กสทช. เป็นคณะกรรมการที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์มหาศาล และมีอำนาจหน้าที่ ที่จะให้คุณให้โทษได้อย่างมาก การสรรหา กสทช. จึงต้องเป็นไปด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และก่อให้เกิดความมั่นใจได้ ว่าเราจะได้ กสทช. ที่มี หิริ โอตตัปปะ ทำงานด้วยความซื่อสัตย์
"จึงขอเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสรรหา กสทช. ทั้งคณะกรรมการสรรหา และสนช. ถ้าทำหน้าที่ด้วยความสุจริต เที่ยงธรรม โปร่งใส ไม่มีลับลมคมใน ข้อเคลือบแคลงสงสัย เพื่อประโยชน์ ของประเทศชาติอย่างแท้จริง" นายองอาจ กล่าว
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า รธน.กำหนดให้ สนช. ตั้งคณะกมธ.สามัญ เพื่อทำหน้าที่ ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรม ของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง กรรมการ กสทช. เพื่อเสนอที่ประชุม สนช. ประกอบการพิจารณา ดังนั้น เขาสามารถตรวจสอบคุณสมบัติได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในเมื่อ กก.สรรหาฯ ตรวจสอบประวัติมาแล้ว ในชั้น สนช. มีสิทธิ์ที่จะไม่เห็นชอบด้วยเหตุผลขาดคุณสมบัติได้อีก หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ตนไม่แน่ใจ แต่ กก.สรรหาฯ ต้องตรวจสอบ และรายงานทุกอย่างแก่ สนช. เพื่อตัดสินใจ
ส่วนผู้ที่ถูกลงมติไม่เห็นชอบ สามารถฟ้องกลับได้หรือไม่นั้น นายวิษณุ กล่าวว่า แล้วแต่เขา น่าลองดู แต่ตนไม่คิดว่าจะเป็นปัญหาในภายหลัง เพราะการลงมติของสนช. มีเอกสิทธิ์คุ้มครองอยู่ ไม่ว่าสมาชิกจะลงมติอย่างไรก็ตาม การอภิปราย เป็นเหตุผลของสมาชิกแต่ละคน ทั้งนี้บุคคลที่ สนช.ไม่ให้ความเห็นชอบในครั้งนี้ สามารถเข้ารับการสรรหาเป็น กสทช. ใหม่ได้
นายวิษณุ ยังกล่าวถึง ความคืบหน้าถึงแนวทางการแก้ปัญหา ผู้ประกอบการกิจการโทรคมนาคม และทีวีดิจิทัล ภายหลังมีการหารือกันเมื่อวันที่ 20 เม.ย. ว่า เป็นการรวบรวมความเห็นเป็นคราวๆไป ได้ข้อมูลแค่ไหน ก็ส่งให้นายกฯไป ซึ่งได้ส่งไปแล้ว แต่ยังไม่หมด ยังต้องรวบรวมข้อมูล และส่งไปให้อีกครั้ง ส่วนสัปดาห์หน้า จะมีความชัดเจนเรื่องจะช่วย หรือไม่ช่วยผู้ประกอบการโทรคมนาคม และทีวีดิจิทัลหรือไม่นั้น ขอไม่ตอบ