xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

ถึงคิว! ลูกน้องประเมินเจ้านาย เปิด “152 บิ๊กขรก.” ตำแหน่งไหน?เข้าข่าย -เน้นจับทุจริต สร้างขวัญกำลังใจ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


รายงานสุดสัปดาห์

ต้นเดือนที่แล้ว “แนวทางการประเมินผู้บริหารองค์กร” ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ (ก.พ.ร.) ได้รับไฟเขียวจากนายกรัฐมนตรี ให้ดำเนินการไปก่อนหน้านี้ ถึงมือหัวหน้าส่วนราชการ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ทั่วประเทศ มีการประชุมจัดทีมงานหารือเพื่อทำรับมือการประเมินครั้งหน้าแล้ว

เมื่อปีที่แล้ว สำนักงาน ก.พ.ร. ได้รับการบ้านจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ให้กำหนด “แนวทางการประเมินผลผู้นำในองค์กร” เพิ่มจากการประเมินปกติประจำปี จำนวน 10 ข้อ ข้อละ 10 คะแนน โดยให้ประเมินทุก 6 เดือน

โดยกลุ่มผู้ถูกประเมิน นอกจาก ผู้ว่าราชการจังหวัด 76 คน นายอำเภอ 878 คน ผู้บริหารท้องถิ่น ( อบจ. 76 คน / เมืองพัทยา 1 คน /เทศบาลนคร/เมือง 208 คน เทศบาลตำบล 2,233 คน และ อบต.5,333 คน) และ กำนัน 7,255 คน ผู้ใหญ่บ้าน 75,032 คน รวมผู้ที่จะถูกประเมิน 91,250 คน

ต่อมา ก.พ.ร. ได้เพิ่มตัวชี้วัด “แนวทางการประเมินส่วนราชการ ปี 2561 ในเชิงผลสัมฤทธิ์” เพื่อการปฏิรูปหัวหน้าส่วนราชการ รวมทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด และหน่วยราชการ จำนวน 6 เรื่อง เพื่อได้รับทราบแนวทางปฏิบัติ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

“ตัวชี้วัด” 10 คะแนน ประกอบด้วยอะไร ซึ่งส่วนใหญ่ใช้คะแนนการประเมินตามตัวชี้วัดที่ 4.2 มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ โดยการประเมินผู้บริหารองค์การจะดำเนินการประเมินปีละ 2 รอบ โดยรอบการประเมินที่ 1 (ตั้งแต่วับที่ 1 ตุลาคม 2560 - 31 มีนาคม 2561) และรอบการประเมินที่ 2 (ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561)

ประกอบด้วย ข้อ 1. “การลดพลังงาน” ข้อ 2.เรื่อง “การลดกระดาษ” ข้อ 3.เรื่อง “การประหยัดงบประมาณ” ข้อ 4.“การกำกับดูแลการทุจริต” ข้อ 5. “วิสัยทัศน์” ข้อ 6. “การบริหารงานในองค์การที่ริเริ่มแก้ไขข้อบกพร่อง” ข้อ 7.ส่งเสริมการใช้ดิจิทัลและขีดความสามารถที่มีอยู่และพัฒนาขึ้นทุก 6 เดือน ข้อ 8. การสร้างคุณธรรม จริยธรรมในองค์การ ข้อ 9. การเสริมสร้างขวัญกำลังใจ/การดูแลเอาใจใส่ผู้ใต้บังคับบัญชา และ ข้อ 10. การบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน

เบื้องต้น รอบแรกประเมินผ่านไปแล้ว และเดือนเมษายนนี้ จะเริ่มประเมินรอบ 2

เมื่อเร็วๆนี้ ก.พ.ร. ยังได้ กำหนด “แนวทางการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา (ฉบับปรับปรุง)” เพื่อนำไปสู่การประเมิน“ผู้นำในองค์กรของหน่วยงานรัฐ” จำนวน 152 ตำแหน่ง ในประเด็นกลุ่มเป้าหมายการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา เรื่องการกำกับดูแลการทุจริต และการเสริมสร้างขวัญกำลังใจ/การดูแลเอาใจใส่ผู้บังคับบัญชาเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติ 

โดยผู้บริหารที่จะถูกสำรวจความคิดเห็น ประกอบด้วย ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี อธิบดีกรมประซาสัมพันธ์เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

ปลัดกระทรวงการคลัง อธิบดีกรมธนารักษ์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง อธิบดีกรมศุลกากร อธิบดีกรมสรรพสามิตอธิบดีกรมสรรพากร ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ อธิบดีกรมการกงสุล อธิบดีกรมพิธีการทูต อธิบดีกรมยุโรป อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย อธิบดีกรมสารนิเทศ อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ อธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ อธิบดีกรมอาเซียน อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก อธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟรีกาอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ

ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดีการ อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อธิบดีกรมพลศึกษา อธิบดีกรมการท่องเที่ยว

ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ อธิบดีกรมประมง อธิบดีกรมปศุสัตว์ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน อธิบดีกรมวิชาการเกษตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร อธิบดีกรมการข้าว อธิบดีกรมหม่อนไหม อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร

ปลัดกระทรวงคมนาคม อธิบดีกรมเจ้าท่า อธิบดีกรมการชนส่งทางบก อธิบดีกรมการท่าอากาศยาน อธิบดีกรมทางหลวง อธิบดีกรมทางหลวงชนบท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการชนส่งและจราจร

ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ อธิบดีกรมป่าไม้ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและซายฝั่งอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุพืช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ปลัดกระทรวงดีจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติเลขาธิการคณะกรรมการดีจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปลัดกระทรวงพลังงาน อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน

ปลัดกระทรวงพาณิชย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ อธิบดีกรมการค้าภายใน อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า ปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน อธิบดีกรมที่ดิน อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

ปลัดกระทรวงยุติธรรม อธิบดีกรมคุมประพฤติ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ อธิบดีกรมบังคับคดี อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน อธิบดีกรมราชทัณฑ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

ปลัดกระทรวงแรงงาน อธิบดีกรมการจัดหางาน อธิบดีกรมพัฒนาผีเมือแรงงาน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม อธิบดีกรมการศาสนา อธิบดีกรมศิลปากรอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อธิบดีกรมวิทยาคาสตร์บริการ เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ อธิบดีกรมสุขภาพจิต อธิบดีกรมอนามัยเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดำริ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เลขาธิการราชบัณฑิตยสภา เลขาธิการคณะกรรมการฟ้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ เลขาธิการคณะกรรมการฟ้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ

เป็นที่น่าสังเกตว่า 152 ตำแหน่ง เป็น “ข้าราชการพลเรือน” ทั้งสิ้น ไม่รวมผู้บริหารองค์กร “ทหาร ตำรวจ หรือข้าราชการสังกัดสำนักพระราชวัง”

มีคำอธิบายถึง “การสำรวจความคิดเห็นผู้ใต้บังคับบัญชา” คืออะไร? ได้ความว่า เป็นการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีต่อผู้บริหารองค์การ ใน 2 เรื่องได้แก่ เรื่องการกำกับดูแลการทุจริต และเรื่องการเสริมสร้างขวัญกำลังใจ/การดูแลเอาใจใส่ผู้ใต้บังคับบัญชา อย่างละ 10 ข้อ

ผู้บริหารองค์กร ได้แก่ ปลัดกระทรวงหรือหัวหน้าส่วนราชการเทียบเท่าปลัดกระทรวง อธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการเทียบเท่าอธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่ง กลุ่มเป้าหมาย “ผู้ใต้บังคับบัญชา” จะเป็นผู้ตอบแบบสำรวจความคิดเห็น

ผู้ถูกประเมิน “ระดับปลัดกระทรวง” จะได้รับความคิดเห็นจากผู้ใต้บังคับบัญชา ได้แก่ รองปลัดกระทรวง อธิบดี/ ตำแหน่งที่เทียบเท่า อธิบดีทุกกรมในสังกัดกระทรวง ผู้ตรวจราชการกระทรวง ผู้ช่วยปลัดกระทรวง ที่ปรึกษา ผู้บริหาร/ หัวหน้าส่วนราชการ ตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง และมาตรา 31 วรรคสอง และผู้ดำรงตำแหน่งทาง วิชาการระดับเชียวซาญขี้นไป เป็นผู้ประเมินผู้บังคับบัญชา

ผู้ถูกประเมิน “ระดับอธิบดี”จะได้รับความคิดเห็นจากผู้ใต้บังคับบัญชา ได้แก่ รองอธิบดี ผู้ตรวจราชการกรม ที่ปรึกษา ผู้บริหาร/ หัวหน้าส่วนราชการ ตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง และมาตรา 31 วรรคสอง และผู้ดำรงตำแหน่งทาง วิชาการตั้งแต่ระดับเชี่ยวชาญขึ้นไปเป็นผู้ประเมินผู้บังคับบัญชา

ผู้ถูกประเมิน “ระดับผู้ว่าราชการจังหวัด”จะได้รับความคิดเห็นจากผู้ใต้บังคับบัญชา ได้แก่ รองผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด และนายอำเภอ

ตามตัวชี้วัดดังกล่าว สำนักงาน ก.พ.ร. จะต้องได้รับผลการสำรวจความคิดเห็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย โดยการประเมินทั้งหมด กำลังจะเริ่มต้น หลังเทศกาลสงกรานต์นี้.


กำลังโหลดความคิดเห็น