"พาณิชย์"คิกออฟ "โครงการแฟรนไชส์สร้างอาชีพ" เริ่มพ.ค.นี้ นำแฟรนไชส์ที่ทำได้ง่าย ราคาไม่เกิน 5 หมื่นบาท รวม 95 ธุรกิจ ไปให้เลือก เน้น 20 จังหวัด ที่มีผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอยู่เป็นจำนวนมาก และเป็นเมืองรองท่องเที่ยว เผยพา ออมสิน ธ.ก.ส. ไปปล่อยสินเชื่อให้ด้วย ส่วนจังหวัดที่เหลือ ไม่มีทิ้ง สามารถเลือกแฟรนไชส์ ที่สนใจไปทำธุรกิจได้ผ่านเว็บไซต์ โดยมีเงื่อนไขช่วยเหลือแบบเดียวกัน คาดสร้างงานสร้างอาชีพได้ไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นราย
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ จะเดินหน้าโครงการแฟรนไชส์สร้างอาชีพ โดยจะนำแฟรนไชส์ ที่ผ่านการอบรมพัฒนาจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจำนวน 95 ราย ซึ่งเป็นธุรกิจที่ทำได้ง่าย ใช้เงินลงทุนไม่สูง ไม่เกิน 5 หมื่นบาท ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม เช่น ลูกชิ้นทอด หมูปิ้ง ก๋วยเตี๋ยว กาแฟโบราณ เป็นต้น ไปออกงานใน 20 จังหวัดเป้าหมาย ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอยู่มาก และเป็นจังหวัดที่อยู่ในกลุ่มส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง เพื่อผลักดันให้ผู้มีรายได้น้อย และประชาชนได้เลือกซื้อแฟรนไชส์ที่เหมาะสมกับตัวเองไปทำเป็นธุรกิจ
สำหรับ 20 จังหวัดเป้าหมาย ได้แก่ จ.นครราชสีมา อุบลราชธานี ขอนแก่น เชียงราย บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด อุดรธานี สุรินทร์ ชัยภูมิ สกลนคร สงขลา ลำปาง นครศรีธรรมราช พิษณุโลก กำแพงเพชร พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ลพบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี โดยจะเริ่มดำเนินการจังหวัดแรก ประมาณต้นเดือนพ.ค.61 เรื่อยไปจนถึงสิ้นเดือนต.ค.61
"กระทรวงฯ มั่นใจว่า การนำแฟรนไชส์ไปให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และประชาชนที่สนใจอยากจะมีธุรกิจเป็นของตัวเองผ่านการลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ในครั้งนี้ จะช่วยให้คนมีงานทำเพิ่มมากขึ้น โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะช่วยสร้างงานสร้างอาชีพได้ไม่ต่ำกว่า 20,000 ราย" นายสนธิรัตน์ กล่าว
นายสนธิรัตน์กล่าวด้วยว่า กระทรวงฯ ยังได้ประสานธนาคารพันธมิตร คือ ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร่วมสนับสนุนสินเชื่อพิเศษ สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและประชาชนที่ต้องการลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ โดยธนาคารออมสิน จะเริ่มให้สินเชื่อ 0% ในปีแรก เริ่มให้สินเชื่อตั้งแต่วันที่ 14 มี.ค. 61 ที่ผ่านมา และธ.ก.ส. อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อให้สินเชื่อ 0% สำหรับ 6 เดือนแรก คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนพ.ค.นี้
ส่วนในจังหวัดที่เหลือ นอกเหนือจาก 20 จังหวัดข้างต้น กระทรวงฯ ไม่ได้ทอดทิ้ง ได้ขอให้พาณิชย์จังหวัด นำข้อมูลแฟรนไชส์ทั้ง 95 ราย ที่ได้ผ่านการคัดเลือกมาแล้วนี้ ไปแจ้งให้กับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และประชาชนในจังหวัดที่ตนเองดูแลอยู่ได้รับรู้รับทราบ โดยสามารถดูข้อมูลได้จากเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และหากสนใจที่จะลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ ก็จะได้รับการดูแลเช่นเดียวกัน และยังสามารถขอสินเชื่อจากธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. ได้เช่นเดียวกัน
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ จะเดินหน้าโครงการแฟรนไชส์สร้างอาชีพ โดยจะนำแฟรนไชส์ ที่ผ่านการอบรมพัฒนาจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจำนวน 95 ราย ซึ่งเป็นธุรกิจที่ทำได้ง่าย ใช้เงินลงทุนไม่สูง ไม่เกิน 5 หมื่นบาท ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม เช่น ลูกชิ้นทอด หมูปิ้ง ก๋วยเตี๋ยว กาแฟโบราณ เป็นต้น ไปออกงานใน 20 จังหวัดเป้าหมาย ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอยู่มาก และเป็นจังหวัดที่อยู่ในกลุ่มส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง เพื่อผลักดันให้ผู้มีรายได้น้อย และประชาชนได้เลือกซื้อแฟรนไชส์ที่เหมาะสมกับตัวเองไปทำเป็นธุรกิจ
สำหรับ 20 จังหวัดเป้าหมาย ได้แก่ จ.นครราชสีมา อุบลราชธานี ขอนแก่น เชียงราย บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด อุดรธานี สุรินทร์ ชัยภูมิ สกลนคร สงขลา ลำปาง นครศรีธรรมราช พิษณุโลก กำแพงเพชร พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ลพบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี โดยจะเริ่มดำเนินการจังหวัดแรก ประมาณต้นเดือนพ.ค.61 เรื่อยไปจนถึงสิ้นเดือนต.ค.61
"กระทรวงฯ มั่นใจว่า การนำแฟรนไชส์ไปให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และประชาชนที่สนใจอยากจะมีธุรกิจเป็นของตัวเองผ่านการลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ในครั้งนี้ จะช่วยให้คนมีงานทำเพิ่มมากขึ้น โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะช่วยสร้างงานสร้างอาชีพได้ไม่ต่ำกว่า 20,000 ราย" นายสนธิรัตน์ กล่าว
นายสนธิรัตน์กล่าวด้วยว่า กระทรวงฯ ยังได้ประสานธนาคารพันธมิตร คือ ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร่วมสนับสนุนสินเชื่อพิเศษ สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและประชาชนที่ต้องการลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ โดยธนาคารออมสิน จะเริ่มให้สินเชื่อ 0% ในปีแรก เริ่มให้สินเชื่อตั้งแต่วันที่ 14 มี.ค. 61 ที่ผ่านมา และธ.ก.ส. อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อให้สินเชื่อ 0% สำหรับ 6 เดือนแรก คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนพ.ค.นี้
ส่วนในจังหวัดที่เหลือ นอกเหนือจาก 20 จังหวัดข้างต้น กระทรวงฯ ไม่ได้ทอดทิ้ง ได้ขอให้พาณิชย์จังหวัด นำข้อมูลแฟรนไชส์ทั้ง 95 ราย ที่ได้ผ่านการคัดเลือกมาแล้วนี้ ไปแจ้งให้กับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และประชาชนในจังหวัดที่ตนเองดูแลอยู่ได้รับรู้รับทราบ โดยสามารถดูข้อมูลได้จากเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และหากสนใจที่จะลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ ก็จะได้รับการดูแลเช่นเดียวกัน และยังสามารถขอสินเชื่อจากธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. ได้เช่นเดียวกัน