"วิลาศ" แฉ ความไม่ชอบมาพากลของโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาใหม่ เพิ่มงบไอซีที กว่า 1,700 ล้าน อย่างไร้เหตุผล แถมคนที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบของป.ป.ช. และสตง. กลับได้ดี พร้อมเผย 2 ปมด่างพร้อย "ภคพงศ์" เอื้อบริษัทเอกชน แต่ยังได้เป็น ผู้ว่าฯ รฟม. เตรียมยื่นป.ป.ช.-สตง. สอบผู้เกี่ยวข้องกราวรูด หลังมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
วานนี้ (25มี.ค.) นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีต ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงพฤติกรรมที่ส่อว่าทุจริต ของการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ว่า ในการประชุมเมื่อวันที่ 7 มี.ค.ที่ผ่านมา มีการขอเพิ่มงบประมาณการก่อสร้างเกี่ยวกับระบบไอซีที อีกประมาณ 1,700 ล้านบาท จากเดิม เคยมีมติในการประชุม เมื่อวันที่ 10 ม.ค.61 ที่วงเงินกว่า 6,900 ล้านบาท เป็นกว่า 8,600 ล้านบาท จึงสงสัยว่า งบประมาณที่ขอเพิ่มมาจากไหน โดยมีการเพิ่มงบประมาณ เช่น การจ้างค่าที่ปรึกษาเฉพาะควบคุมระบบไอซีที อีก 299 ล้านบาททั้งๆ ที่มีที่ปรึกษาอยู่แล้ว และขออนุมัติเพิ่มวงเงิน และขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพัน 512 ล้านบาท จึงเห็นว่า โครงการนี้ใช้งบประมาณเละเทะที่สุด และไม่มีการเปิดเผยอย่างโปร่งใส
นอกจากนี้ ในส่วนของข้าราชการรัฐสภา ยังมีการเผยแพร่เอกสารการแต่งตั้งบุคคลที่ไม่มีความรู้ด้านสารสนเทศ มาเป็นผู้อำนวยการสำนักสารสนเทศ แต่คนที่สอบได้ที่ 1 และอยู่สำนักนี้มาโดยตลอด กลับไม่ได้รับการแต่งตั้ง พร้อมกับชี้ให้เห็นว่า ข้าราชการรัฐสภาที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ จะได้ดิบได้ดี ทั้งๆ ที่ข้าราชการเหล่านี้เกินครึ่ง อยู่ระหว่างการตรวจสอบจาก ป.ป.ช. และ สตง. แต่ในส่วนของรัฐสภา กลับตั้งกรรมการสอบแล้วมีมติแค่ว่ากล่าวตักเตือน จึงเห็นว่า เป็นพฤติกรรมที่ส่งเสริมคนไม่สุจริต ไม่ได้ปราบทุจริตในยุคไทยแลนด์ 4.0 เหมือนที่ประกาศไว้ พร้อมกันนี้ ขอฝากไปยังผู้อำนวยการสำนักการคลังว่า ต้องใช้งบประมาณให้ถูกต้องตามระเบียบ และขอให้ดูชะตากรรมของ ผอ.คนก่อน ว่าโดนอะไรไปบ้าง
นายวิลาศ ยังกล่าวกรณี ครม. มีมติแต่งตั้ง นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ เป็นผู้ว่าฯรฟม. ในการประชุมครม. เมื่อวันอังคารที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา ว่า นายภคพงศ์ มีประเด็นที่ถูกตรวจสอบ 2 กรณี คือ
1. กรณีนายภคพงศ์ มีการช่วยเหลือ บริษัทเอกชน ซึ่งเป็นผู้รับเหมาสัญญาโครงการรถไฟฟ้าสายสีนํ้าเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงสนามไชย-ท่าพระ เพื่อเปลี่ยนแปลงงานให้กับผู้รับเหมา ทำให้ รฟม.ต้องเสียเงินเพิ่มอีก 290 ล้านบาท ทั้งๆที่กรณีนี้ สตง. ทำหนังสือถึงรฟม. 2 ครั้ง ให้มีการสอบข้อเท็จจริง และดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และรักษาการผู้ว่าฯรฟม. ในขณะนั้นคือ นายรณชิต แย้มสะอาด ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง ผลสรุปว่า มีความผิดจริง จึงตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรง ในวันที่ 15 ม.ค. 58 แต่ในวันที่ 28 ม.ค.58 ที่ประชุมบอร์ด มีมติให้ชะลอการทำหน้าที่ของกรรมการสอบวินัยร้ายแรง และตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงซ้อนขึ้นมาอีกหนึ่งชุด ทั้งๆ ที่ไม่ใช่อำนาจของบอร์ด โดยไม่ยอมรับผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรรมการชุดที่ รักษาการผู้ว่าฯรฟม.แต่งตั้งขึ้น ต่อมายังมีมติยกเลิกกรรมการสอบวินัยร้ายแรง ที่รักษาการผู้ว่าฯรฟม. ตั้งขึ้นด้วย
อีกทั้ง ยังมีมติตั้งกก.สอบวินัยร้ายแรงนายรณชิต และ ปลดในวันเดียวกัน แสดงให้เห็นถึงความผิดปกติ เกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบนายภคพงศ์ ก่อนที่จะนำไปสู่การแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าฯรฟม.
2 . กรณีแก้ไขสัญญาโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก คือ ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี เอื้อประโยชน์ใหักับ บริษัทเอกชน ซึ่งเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการนี้ มีสิทธิเรียกร้องเงินเพิ่ม กรณีที่รฟม.ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ได้ตามกำหนดในสัญญา ซึ่งขัดกับเอกสารประกวดราคาที่กำหนดไว้แต่แรกว่าผู้รับเหมาจะได้ขยายเวลาก่อสร้างเท่านั้น แต่ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินเพิ่มจากรฟม. และยังขัดแย้งกับความเห็นของอัยการสูงสุดที่ รฟม.ได้สอบถามไปด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้ขณะนี้จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงมติ ครม. ที่แต่งตั้งนายภคพงศ์ ได้ แต่ตนจะรวบรวมข้อมูลทั้งหมด ยื่นต่อ ป.ป.ช. และสตง.หลังมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งให้ตรวจสอบผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมถึงบริษัทเอกชน ที่เกี่ยวข้องด้วย
วานนี้ (25มี.ค.) นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีต ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงพฤติกรรมที่ส่อว่าทุจริต ของการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ว่า ในการประชุมเมื่อวันที่ 7 มี.ค.ที่ผ่านมา มีการขอเพิ่มงบประมาณการก่อสร้างเกี่ยวกับระบบไอซีที อีกประมาณ 1,700 ล้านบาท จากเดิม เคยมีมติในการประชุม เมื่อวันที่ 10 ม.ค.61 ที่วงเงินกว่า 6,900 ล้านบาท เป็นกว่า 8,600 ล้านบาท จึงสงสัยว่า งบประมาณที่ขอเพิ่มมาจากไหน โดยมีการเพิ่มงบประมาณ เช่น การจ้างค่าที่ปรึกษาเฉพาะควบคุมระบบไอซีที อีก 299 ล้านบาททั้งๆ ที่มีที่ปรึกษาอยู่แล้ว และขออนุมัติเพิ่มวงเงิน และขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพัน 512 ล้านบาท จึงเห็นว่า โครงการนี้ใช้งบประมาณเละเทะที่สุด และไม่มีการเปิดเผยอย่างโปร่งใส
นอกจากนี้ ในส่วนของข้าราชการรัฐสภา ยังมีการเผยแพร่เอกสารการแต่งตั้งบุคคลที่ไม่มีความรู้ด้านสารสนเทศ มาเป็นผู้อำนวยการสำนักสารสนเทศ แต่คนที่สอบได้ที่ 1 และอยู่สำนักนี้มาโดยตลอด กลับไม่ได้รับการแต่งตั้ง พร้อมกับชี้ให้เห็นว่า ข้าราชการรัฐสภาที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ จะได้ดิบได้ดี ทั้งๆ ที่ข้าราชการเหล่านี้เกินครึ่ง อยู่ระหว่างการตรวจสอบจาก ป.ป.ช. และ สตง. แต่ในส่วนของรัฐสภา กลับตั้งกรรมการสอบแล้วมีมติแค่ว่ากล่าวตักเตือน จึงเห็นว่า เป็นพฤติกรรมที่ส่งเสริมคนไม่สุจริต ไม่ได้ปราบทุจริตในยุคไทยแลนด์ 4.0 เหมือนที่ประกาศไว้ พร้อมกันนี้ ขอฝากไปยังผู้อำนวยการสำนักการคลังว่า ต้องใช้งบประมาณให้ถูกต้องตามระเบียบ และขอให้ดูชะตากรรมของ ผอ.คนก่อน ว่าโดนอะไรไปบ้าง
นายวิลาศ ยังกล่าวกรณี ครม. มีมติแต่งตั้ง นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ เป็นผู้ว่าฯรฟม. ในการประชุมครม. เมื่อวันอังคารที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา ว่า นายภคพงศ์ มีประเด็นที่ถูกตรวจสอบ 2 กรณี คือ
1. กรณีนายภคพงศ์ มีการช่วยเหลือ บริษัทเอกชน ซึ่งเป็นผู้รับเหมาสัญญาโครงการรถไฟฟ้าสายสีนํ้าเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงสนามไชย-ท่าพระ เพื่อเปลี่ยนแปลงงานให้กับผู้รับเหมา ทำให้ รฟม.ต้องเสียเงินเพิ่มอีก 290 ล้านบาท ทั้งๆที่กรณีนี้ สตง. ทำหนังสือถึงรฟม. 2 ครั้ง ให้มีการสอบข้อเท็จจริง และดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และรักษาการผู้ว่าฯรฟม. ในขณะนั้นคือ นายรณชิต แย้มสะอาด ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง ผลสรุปว่า มีความผิดจริง จึงตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรง ในวันที่ 15 ม.ค. 58 แต่ในวันที่ 28 ม.ค.58 ที่ประชุมบอร์ด มีมติให้ชะลอการทำหน้าที่ของกรรมการสอบวินัยร้ายแรง และตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงซ้อนขึ้นมาอีกหนึ่งชุด ทั้งๆ ที่ไม่ใช่อำนาจของบอร์ด โดยไม่ยอมรับผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรรมการชุดที่ รักษาการผู้ว่าฯรฟม.แต่งตั้งขึ้น ต่อมายังมีมติยกเลิกกรรมการสอบวินัยร้ายแรง ที่รักษาการผู้ว่าฯรฟม. ตั้งขึ้นด้วย
อีกทั้ง ยังมีมติตั้งกก.สอบวินัยร้ายแรงนายรณชิต และ ปลดในวันเดียวกัน แสดงให้เห็นถึงความผิดปกติ เกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบนายภคพงศ์ ก่อนที่จะนำไปสู่การแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าฯรฟม.
2 . กรณีแก้ไขสัญญาโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก คือ ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี เอื้อประโยชน์ใหักับ บริษัทเอกชน ซึ่งเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการนี้ มีสิทธิเรียกร้องเงินเพิ่ม กรณีที่รฟม.ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ได้ตามกำหนดในสัญญา ซึ่งขัดกับเอกสารประกวดราคาที่กำหนดไว้แต่แรกว่าผู้รับเหมาจะได้ขยายเวลาก่อสร้างเท่านั้น แต่ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินเพิ่มจากรฟม. และยังขัดแย้งกับความเห็นของอัยการสูงสุดที่ รฟม.ได้สอบถามไปด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้ขณะนี้จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงมติ ครม. ที่แต่งตั้งนายภคพงศ์ ได้ แต่ตนจะรวบรวมข้อมูลทั้งหมด ยื่นต่อ ป.ป.ช. และสตง.หลังมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งให้ตรวจสอบผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมถึงบริษัทเอกชน ที่เกี่ยวข้องด้วย