“เปรมชัย” เตรียมเดินทางพบพนักงานสอบสวน ให้ปากคำวันนี้ "ผู้กำกับ สภ.ทองผาภูมิ" ลงโทษภาคทัณฑ์ "ร.ต.อ.สุมิตร บุญยะนิจ" รับแจ้งความ "เปรมชัย" ทารุณสัตว์ อ้างบกพร่องต่อหน้าที่ “อดีต รมว.คลัง” กังขาเอาใจผู้มีอำนาจบารมี แนะปฏิรูปตำรวจ
ความคืบหน้าการดำเนินคดี นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหารและกรรมการ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) พร้อมพวกรวม 4 คน ที่ถูกจับกุมขณะล่าสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร พร้อมของกลาง ซากสัตว์ป่าคุ้มครอง และอาวุธปืน ข้อหาลักลอบเข้าป่าล่าสัตว์ ซึ่ง พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร. เป็นผู้รับผิดชอบติดตามการทำงานของพนักงานสอบสวน
วานนี้ (1 มี.ค.) มีรายงานข่าวว่า ในวันที่ 2 มี.ค. พล.ต.อ.ศรีวราห์ เตรียมลงพื้นที่สภานีตำรวจภูธรทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เพื่อตรวจสำนวนการสอบสวน พร้อมทั้งมีรายงานข่าวว่า นายเปรมชัย เตรียมเดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวน เพื่อให้ปากคำเพิ่มเติมในคดีที่ถูกแจ้งข้อกล่าวหาด้วย
ขณะเดียวกันก็มีรายงานว่า พ.ต.อ.วุฒิพงษ์ เย็นจิตร ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรทองผาภูมิ มีหนังสือคำสั่ง สถานีตำรวจภูธรทองผาภูมิ ที่ 37/2561 เรื่อง ลงโทษภาคทัณฑ์ ระบุสาระสำคัญว่า ตามที่ นายณรงค์ชัย สังวรวงศา หัวหน้าด่านกักกันสัตว์กาญจนบุรี ได้มาแจ้งความร้องทุกข์เมื่อวันที่ 7 ก.พ.61 ที่ผ่านมา ให้ดำเนินคดี นายเปรมชัย กับพวก ในความผิดฐานกระทำการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร และได้รับคำร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบแล้วนั้น แต่ต่อมา เมื่อวันที่ 21 ก.พ. นายณรงค์ชัยได้เดินทางมาพบ ร.ต.อ.สุมิตร บุญยะนิจ พนักงานสอบสวน เพื่อขอถอนคำร้องทุกข์ เนื่องจากตรวจสอบพบว่า ไม่เข้าข่ายความผิดตามกฎหมาย
“ด้วยเหตุนี้จึงถือว่าการกระทำของ ร.ต.อ.สุมิตร พนักงานสอบสวน เป็นการบกพร่องต่อหน้าที่ เนื่องจากได้มีการรับคำร้องโดยไม่ตรวจสอบข้อกฎหมายให้แน่ชัดว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตามกฎหมายหรือไม่ และให้ลงโทษภาคทัณฑ์ ร.ต.อ.สุมิตรด้วย” คำสั่งระบุ
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า คำสั่งดังกล่าว เป็นการใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ประกอบกับกฎ ก.ตร. ว่าด้วยอำนาจการลงโทษข้าราชการตำรวจ อัตราโทษและการลงโทษภาคทัณฑ์ ทัณฑกรรม กักยาม กักขัง หรือตัดเงินเดือน พ.ศ.2547 ซึ่งผู้ที่ถูกลงโทษ มีสิทธิ์ที่จะขอยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ภายใน 30 วัน ผ่านช่องทางวินิจฉัยของศาลปกครอง ทั้งนี้ พ.ต.อ.วุฒิพงษ์ ได้รายงานกรณีดังกล่าวให้ พล.ต.อ.ศรีวราห์ ทราบแล้ว
วันเดียวกัน นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง โพสต์เฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala ระบุถึงกรณีดังกล่าวว่า ประเด็นที่พิกลก็คือ 1.ปกติถ้าประชาชนไปแจ้งความร้องทุกข์ เมื่อเจ้าหน้าที่พิจารณาเบื้องต้นเห็นว่าเป็นการแจ้งโดยสุจริต และมีความเป็นไปได้ที่จะมีความผิดตามกฎหมายตามที่ร้องทุกข์ เจ้าหน้าที่ตำรวจย่อมจะต้องรับคำร้องไว้ก่อน การจะขอให้ประชาชนกลับบ้านไปนอน ระหว่างที่เจ้าหน้าที่พลิกตำรากฎหมาย แล้วค่อยกลับมาร้องทุกข์ซ้ำในภายหลัง ย่อมเป็นวิธีการทำงานแบบพิกลพิการ ไร้สามัญสำนึก
2. ผู้ที่แจ้งความนั้นเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ที่กำกับดูแลกฎหมายเฉพาะ และร้องทุกข์เกี่ยวกับกฎหมายเฉพาะที่ตนเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ จึงย่อมมีความน่าเชื่อถือมากพอที่ร้อยตำรวจเอกดังกล่าวจะรับคำร้องไว้
และ 3. ประเด็นที่ผู้ที่แจ้งความขอถอนคำร้องในภายหลังนั้น เป็นเรื่องทางเทคนิกที่ซับซ้อน กล่าวคือถึงแม้การกระทำจะเป็นความผิดทั่วไปตามที่ระบุไว้ในกฎหมาย แต่ก็จำเป็นต้องขอถอนคำร้อง เนื่องจากรัฐมนตรีไม่ได้ทำงานแบบเอาใจใส่ ถึงแม้ตรากฎหมายตั้งแต่ปี 2557 แต่รัฐมนตรีก็ยังไม่ประกาศกำหนดชนิดของสัตว์เพื่อให้เข้าตามนิยามของมาตรา 3 ซึ่งวิญญูชนจะพิจารณาว่า ในฐานะร้อยตำรวจเอกในพื้นที่ ย่อมจะไม่สามารถล่วงรู้
"คำสั่งดังกล่าวออกมาภายหลังจากที่ตำรวจระดับสูงผู้คุมสำนวน กล่าวให้สื่อมวลชนว่า จะตรวจสอบผู้ที่แจ้งความข้อหานี้ ผมเกรงว่าประชาชนทั่วไปจะคิดไปว่า การลงโทษตำรวจชั้นผู้น้อยเช่นนี้ เป็นการเอาใจผู้ที่มีอำนาจบารมี เป็นการแสดงให้เห็นว่า ได้มีความพยายามที่จะเขียนเสือให้วัวกลัวแล้ว เพื่อห้ามปรามการขยายวงข้อหาความผิด และเป็นการส่งสัญญาณให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องว่า อย่าล้ำเส้น จริงหรือไม่ ในระหว่างที่ผมตรวจยืนยัน ผู้อ่านอย่าเพิ่งสรุปว่าเป็นคำสั่งแท้จริงนะครับ แต่เป็นเรื่องสังคมที่น่าคิดพิจารณา เพราะถ้าคำสั่งนี้เป็นจริง ผมคิดว่าถึงเวลาที่สังคมจะเรียกร้องให้ปฏิรูปตำรวจ ให้เกิดขึ้นจริงจังได้แล้ว แบบฟ้าผ่า แบบถอนรากถอนโคน" นายธีระชัย ระบุ.
ความคืบหน้าการดำเนินคดี นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหารและกรรมการ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) พร้อมพวกรวม 4 คน ที่ถูกจับกุมขณะล่าสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร พร้อมของกลาง ซากสัตว์ป่าคุ้มครอง และอาวุธปืน ข้อหาลักลอบเข้าป่าล่าสัตว์ ซึ่ง พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร. เป็นผู้รับผิดชอบติดตามการทำงานของพนักงานสอบสวน
วานนี้ (1 มี.ค.) มีรายงานข่าวว่า ในวันที่ 2 มี.ค. พล.ต.อ.ศรีวราห์ เตรียมลงพื้นที่สภานีตำรวจภูธรทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เพื่อตรวจสำนวนการสอบสวน พร้อมทั้งมีรายงานข่าวว่า นายเปรมชัย เตรียมเดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวน เพื่อให้ปากคำเพิ่มเติมในคดีที่ถูกแจ้งข้อกล่าวหาด้วย
ขณะเดียวกันก็มีรายงานว่า พ.ต.อ.วุฒิพงษ์ เย็นจิตร ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรทองผาภูมิ มีหนังสือคำสั่ง สถานีตำรวจภูธรทองผาภูมิ ที่ 37/2561 เรื่อง ลงโทษภาคทัณฑ์ ระบุสาระสำคัญว่า ตามที่ นายณรงค์ชัย สังวรวงศา หัวหน้าด่านกักกันสัตว์กาญจนบุรี ได้มาแจ้งความร้องทุกข์เมื่อวันที่ 7 ก.พ.61 ที่ผ่านมา ให้ดำเนินคดี นายเปรมชัย กับพวก ในความผิดฐานกระทำการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร และได้รับคำร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบแล้วนั้น แต่ต่อมา เมื่อวันที่ 21 ก.พ. นายณรงค์ชัยได้เดินทางมาพบ ร.ต.อ.สุมิตร บุญยะนิจ พนักงานสอบสวน เพื่อขอถอนคำร้องทุกข์ เนื่องจากตรวจสอบพบว่า ไม่เข้าข่ายความผิดตามกฎหมาย
“ด้วยเหตุนี้จึงถือว่าการกระทำของ ร.ต.อ.สุมิตร พนักงานสอบสวน เป็นการบกพร่องต่อหน้าที่ เนื่องจากได้มีการรับคำร้องโดยไม่ตรวจสอบข้อกฎหมายให้แน่ชัดว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตามกฎหมายหรือไม่ และให้ลงโทษภาคทัณฑ์ ร.ต.อ.สุมิตรด้วย” คำสั่งระบุ
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า คำสั่งดังกล่าว เป็นการใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ประกอบกับกฎ ก.ตร. ว่าด้วยอำนาจการลงโทษข้าราชการตำรวจ อัตราโทษและการลงโทษภาคทัณฑ์ ทัณฑกรรม กักยาม กักขัง หรือตัดเงินเดือน พ.ศ.2547 ซึ่งผู้ที่ถูกลงโทษ มีสิทธิ์ที่จะขอยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ภายใน 30 วัน ผ่านช่องทางวินิจฉัยของศาลปกครอง ทั้งนี้ พ.ต.อ.วุฒิพงษ์ ได้รายงานกรณีดังกล่าวให้ พล.ต.อ.ศรีวราห์ ทราบแล้ว
วันเดียวกัน นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง โพสต์เฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala ระบุถึงกรณีดังกล่าวว่า ประเด็นที่พิกลก็คือ 1.ปกติถ้าประชาชนไปแจ้งความร้องทุกข์ เมื่อเจ้าหน้าที่พิจารณาเบื้องต้นเห็นว่าเป็นการแจ้งโดยสุจริต และมีความเป็นไปได้ที่จะมีความผิดตามกฎหมายตามที่ร้องทุกข์ เจ้าหน้าที่ตำรวจย่อมจะต้องรับคำร้องไว้ก่อน การจะขอให้ประชาชนกลับบ้านไปนอน ระหว่างที่เจ้าหน้าที่พลิกตำรากฎหมาย แล้วค่อยกลับมาร้องทุกข์ซ้ำในภายหลัง ย่อมเป็นวิธีการทำงานแบบพิกลพิการ ไร้สามัญสำนึก
2. ผู้ที่แจ้งความนั้นเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ที่กำกับดูแลกฎหมายเฉพาะ และร้องทุกข์เกี่ยวกับกฎหมายเฉพาะที่ตนเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ จึงย่อมมีความน่าเชื่อถือมากพอที่ร้อยตำรวจเอกดังกล่าวจะรับคำร้องไว้
และ 3. ประเด็นที่ผู้ที่แจ้งความขอถอนคำร้องในภายหลังนั้น เป็นเรื่องทางเทคนิกที่ซับซ้อน กล่าวคือถึงแม้การกระทำจะเป็นความผิดทั่วไปตามที่ระบุไว้ในกฎหมาย แต่ก็จำเป็นต้องขอถอนคำร้อง เนื่องจากรัฐมนตรีไม่ได้ทำงานแบบเอาใจใส่ ถึงแม้ตรากฎหมายตั้งแต่ปี 2557 แต่รัฐมนตรีก็ยังไม่ประกาศกำหนดชนิดของสัตว์เพื่อให้เข้าตามนิยามของมาตรา 3 ซึ่งวิญญูชนจะพิจารณาว่า ในฐานะร้อยตำรวจเอกในพื้นที่ ย่อมจะไม่สามารถล่วงรู้
"คำสั่งดังกล่าวออกมาภายหลังจากที่ตำรวจระดับสูงผู้คุมสำนวน กล่าวให้สื่อมวลชนว่า จะตรวจสอบผู้ที่แจ้งความข้อหานี้ ผมเกรงว่าประชาชนทั่วไปจะคิดไปว่า การลงโทษตำรวจชั้นผู้น้อยเช่นนี้ เป็นการเอาใจผู้ที่มีอำนาจบารมี เป็นการแสดงให้เห็นว่า ได้มีความพยายามที่จะเขียนเสือให้วัวกลัวแล้ว เพื่อห้ามปรามการขยายวงข้อหาความผิด และเป็นการส่งสัญญาณให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องว่า อย่าล้ำเส้น จริงหรือไม่ ในระหว่างที่ผมตรวจยืนยัน ผู้อ่านอย่าเพิ่งสรุปว่าเป็นคำสั่งแท้จริงนะครับ แต่เป็นเรื่องสังคมที่น่าคิดพิจารณา เพราะถ้าคำสั่งนี้เป็นจริง ผมคิดว่าถึงเวลาที่สังคมจะเรียกร้องให้ปฏิรูปตำรวจ ให้เกิดขึ้นจริงจังได้แล้ว แบบฟ้าผ่า แบบถอนรากถอนโคน" นายธีระชัย ระบุ.