สวนดุสิตโพลชี้ประชาชนไม่เห็นด้วย ตั้งพรรคเพื่อหนุน "ประยุทธ์" มองว่าเป็นการสืบทอดอำนาจ ระบุตั้งพรรคใหม่แค่เพิ่มสีสัน ไม่มีผลต่อการตัดสินใจ "มาร์ค"ชี้เป็นสิทธิทำได้ กรณี "เทพเทือก"จะตั้งพรรคใหม่ ย้ำอุดมการณ์พรรคประชาธิปัตย์ ต้องสนับสนุนหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ใช่สนับสนุน " บิ๊กตู่"
สวนดุสิตโพล เผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง พรรคการเมืองใหม่ ในสายตาประชาชน โดยจากกระแสข่าวการตั้งพรรคการเมืองใหม่ในช่วงนี้ ส่งผลให้บรรยากาศทางการเมืองไทยคึกคัก โดยเฉพาะการจัดตั้งพรรคใหม่ของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ถูกจับตา และเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งจากผลสำรวจจำนวนทั้งสิ้น 1,185 คน ระหว่างวันที่ 21 - 24 ก.พ.61 สรุปผลได้ ดังนี้
เมื่อถามว่า การรับรู้เกี่ยวกับการจัดตั้ง"พรรคการเมืองใหม่" อันดับ 1 ไม่รู้ 53.87% เพราะไม่ได้ติดตามข่าว ไม่สนใจ เบื่อข่าวการเมือง ไม่มีเวลา ไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ฯลฯ
อันดับ 2 รู้ 46.13% เพราะ อยากรู้ความคืบหน้า ติดตามข่าวเป็นประจำ ทราบจากสื่อต่างๆโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต ฯลฯ
เมื่อถามถึงการตั้งพรรคพลังพลเมือง (สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์) รวม อันดับ 1 เป็นสิทธิตามกฎหมาย เป็นตัวเลือกใหม่ 43.39%อันดับ 2 ไม่ค่อยรู้จัก ไม่รู้นโยบาย 36.24% อันดับ 3 อาจเป็นนอมินี จัดตั้งโดยคนกลุ่มเดิม ๆ 29.89%
เมื่อถามถึงพรรคมวลมหาประชาชน (สุเทพ เทือกสุบรรณ) อันดับ 1 เป็นทางเลือกให้กับประชาชน มีประสบการณ์ 45.69%อันดับ 2 อาจกระทบกับฐานเสียงพรรคประชาธิปัตย์ 38.28% อันดับ 3 เป็นที่รู้จัก เป็นพรรคที่น่าจับตามอง 28.23%
เมื่อถามว่าประชาชนเห็นด้วยหรือไม่ ถ้ามีการจัดตั้ง“พรรคการเมืองใหม่”เพื่อสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อันดับ 1 ไม่เห็นด้วย 58.95% เพราะ พรรคการเมืองควรเป็นอิสระ เป็นกลาง มีนโยบายชัดเจน เน้นทำเพื่อประชาชน พัฒนาบ้านเมือง ไม่ควรสนับสนุนใครคนใดคนหนึ่ง เป็นการสืบทอดอำนาจ อันดับ 2 เห็นด้วย 35.37% เพราะ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของพรรค เป็นสิทธิที่สามารถทำได้ ทำให้มีพรรคใหม่ ๆ มีตัวเลือกมากขึ้น อันดับ 3 เฉยๆ 5.68%
เมื่อถามว่า การจัดตั้ง“พรรคการเมืองใหม่”มีผลต่อการตัดสินใจเลือกส.ส.ของประชาชนหรือไม่ อันดับ 1 ไม่มีผล 57.26%เพราะ มีบุคคลและพรรคการเมืองที่ชื่นชอบอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับนโยบายของพรรค และตัวผู้สมัครมากกว่า อันดับ 2 มีผล 42.74% เพราะ เป็นทางเลือกใหม่ อยากลองเลือกพรรคใหม่ๆ ดูบ้าง เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาทำงาน
เมื่อถามว่าการจัดตั้ง “พรรคการเมืองใหม่”มีผลต่อการเมืองไทยอย่างไร อันดับ 1 เพิ่มสีสันทางการเมือง บรรยากาศคึกคัก 48.88% อันดับ 2 มีพรรคการเมืองเพิ่มขึ้น หลากหลาย ประชาชนมีตัวเลือกมากขึ้น 41.38% อันดับ 3 เกิดการแข่งขันมากขึ้น เป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง 35.23%
**”มาร์ค”ย้ำปชป.ต้องสนับหนุนหน.พรรค
จากกรณีนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย อดีต ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ และอดีต แกนนำ กปปส. เปิดเผยว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย (มปท.) เตรียมจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมือง ด้วยเหตุที่ว่า ภารกิจมวลมหาประชาชนในการต่อสู้บนท้องถนนจบไปแล้ว แต่ภารกิจในการสนับสนุนปฏิรูปประเทศยังไม่จบ จึงมีความคิดจะรวบรวมคนที่มีแนวคิดตรงกับมวลมหาประชาชนตั้งพรรคการเมือง เพื่อสนับสนุนแนวทางการปฏิรูป ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้วางแนวทางเอาไว้
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า นายสุเทพได้ประกาศลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ไปนานแล้ว ดังนั้น ก็ถือเป็นสิทธิของนายสุเทพ หากจะมีการตั้งพรรคใหม่ ก็จะต้องดำเนินการตามกฎหมายในเดือนมี.ค.ที่จะถึงนี้ ซึ่งจะต้องหาผู้ร่วมจัดตั้ง และประชุมเพื่อเลือกหัวหน้าพรรค และหากมีการตั้งพรรคใหม่จริง ก็จะต้องแข่งขันกันในการเลือกตั้ง ซึ่งก็ไม่ได้เป็นปัญหาอะไร และไม่มีความกังวลว่ากรณีดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อสมาชิกพรรคที่ยังมีบางส่วนศรัทธาในตัวนายสุเทพ เพราะถือเป็นสิทธิของแต่ละคนที่จะตัดสินใจจะอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์ต่อ หรือไม่
ส่วนพรรคของนายสุเทพ มีอุดมการณ์สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ถือว่าตรงกับอุดมการณ์พรรคประชาธิปัตย์หรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อุดมการณ์พรรคประชาธิปัตย์ ก็ต้องสนับสนุนหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
นายอภิสิทธ์ ยังกล่าวถึง กรณีที่มีกลุ่มออกมาเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง ว่า ส่วนตัวมองว่าคือเสียงสะท้อนแทนประชาชนอีกจำนวนมาก แต่ทุกอย่างต้องอยู่ภายในกรอบของกฎหมาย เพื่อไม่ให้มีปัญหาเกิดขึ้น ขณะเดียวกันอยากให้ คสช.ได้ผ่อนคลายกฎหมายพิเศษ และเปิดกว้างในการรับฟังให้มากขึ้น และเชื่อว่าจะไม่สั่นคลอนต่อรัฐบาล และคสช. เพราะเป็นเสียงสะท้อนจากประชาชนส่วนหนึ่งเท่านั้น และรัฐบาลต้องลดเงื่อนไขที่ถือว่าเป็นปัญหาและอุปสรรคไปสู่ความขัดแย้ง และให้ความสำคัญของความน่าเชื่อถือของโรดแมปด้วย
ด้านนายวิทยา แก้วภราดัย อดีตแกนนำ กปปส. กล่าวว่า ตนไม่เกี่ยวข้องกับการตั้งพรรค เพราะมีหน้าที่เป็นกรรมการมูลนิธิฯ เท่านั้น และคิดว่าการตั้งพรรคการเมืองเป็นเรื่องดี แต่นายสุเทพ คงไม่รับตำแหน่งหัวหน้าพรรค ทั้งนี้ ตนคิดว่า การปฏิรูปประเทศ ถือเป็นภารกิจหลักของ กปปส. เพราะเรารับความเห็นของประชาชนมา ว่าต้องปฏิรูปให้สำเร็จ แม้ว่ารัฐบาลชุดนี้ จะพยายามแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่เห็นผลเท่าที่ควร ดังนั้นถ้ามีพรรคการเมืองที่เน้นการปฏิรูปร่วมกันกับรัฐบาล ก็น่าจะทำให้อะไรต่างๆ ดีขึ้น
ส่วนที่นายสุเทพ เคยประกาศว่าจะไม่ลงเล่นการเมือง แต่จะมาตั้งพรรคนั้น ตนคิดว่านายสุเทพ คงไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง และไม่ได้เป็นหัวหน้าพรรค แต่ท่านก็มีสิทธิ์ที่จะสนับสนุนพรรคการเมืองได้ ซึ่งคิดว่าท่านน่าจะวางบทบาทแบบนี้
ส่วนพรรคดังกล่าวจะสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หรือไม่นั้น นายวิทยา กล่าว่า ถ้าให้พรรคเพื่อไทยมาทำการปฏิรูปคงยาก ตราบใดที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ยังเป็นผู้บงการพรรคแบบนี้ และต้องรอฟังคำสั่งอะไรต่างๆ จะมาบิดเบือนว่าไม่ใช่ ก็ไม่จริง ดังนั้นพรรคที่จะมาทำการปฏิรูปการเมือง จะสมคบคิดกับระบอบทักษิณไม่ได้เด็ดขาด ตนก็ไม่เอาด้วย ส่วนจะสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ หรือไม่ คิดว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะพูดตอนนี้ แต่คิดว่าทิศทางก็ควรจะเป็นเช่นนั้น
สวนดุสิตโพล เผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง พรรคการเมืองใหม่ ในสายตาประชาชน โดยจากกระแสข่าวการตั้งพรรคการเมืองใหม่ในช่วงนี้ ส่งผลให้บรรยากาศทางการเมืองไทยคึกคัก โดยเฉพาะการจัดตั้งพรรคใหม่ของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ถูกจับตา และเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งจากผลสำรวจจำนวนทั้งสิ้น 1,185 คน ระหว่างวันที่ 21 - 24 ก.พ.61 สรุปผลได้ ดังนี้
เมื่อถามว่า การรับรู้เกี่ยวกับการจัดตั้ง"พรรคการเมืองใหม่" อันดับ 1 ไม่รู้ 53.87% เพราะไม่ได้ติดตามข่าว ไม่สนใจ เบื่อข่าวการเมือง ไม่มีเวลา ไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ฯลฯ
อันดับ 2 รู้ 46.13% เพราะ อยากรู้ความคืบหน้า ติดตามข่าวเป็นประจำ ทราบจากสื่อต่างๆโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต ฯลฯ
เมื่อถามถึงการตั้งพรรคพลังพลเมือง (สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์) รวม อันดับ 1 เป็นสิทธิตามกฎหมาย เป็นตัวเลือกใหม่ 43.39%อันดับ 2 ไม่ค่อยรู้จัก ไม่รู้นโยบาย 36.24% อันดับ 3 อาจเป็นนอมินี จัดตั้งโดยคนกลุ่มเดิม ๆ 29.89%
เมื่อถามถึงพรรคมวลมหาประชาชน (สุเทพ เทือกสุบรรณ) อันดับ 1 เป็นทางเลือกให้กับประชาชน มีประสบการณ์ 45.69%อันดับ 2 อาจกระทบกับฐานเสียงพรรคประชาธิปัตย์ 38.28% อันดับ 3 เป็นที่รู้จัก เป็นพรรคที่น่าจับตามอง 28.23%
เมื่อถามว่าประชาชนเห็นด้วยหรือไม่ ถ้ามีการจัดตั้ง“พรรคการเมืองใหม่”เพื่อสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อันดับ 1 ไม่เห็นด้วย 58.95% เพราะ พรรคการเมืองควรเป็นอิสระ เป็นกลาง มีนโยบายชัดเจน เน้นทำเพื่อประชาชน พัฒนาบ้านเมือง ไม่ควรสนับสนุนใครคนใดคนหนึ่ง เป็นการสืบทอดอำนาจ อันดับ 2 เห็นด้วย 35.37% เพราะ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของพรรค เป็นสิทธิที่สามารถทำได้ ทำให้มีพรรคใหม่ ๆ มีตัวเลือกมากขึ้น อันดับ 3 เฉยๆ 5.68%
เมื่อถามว่า การจัดตั้ง“พรรคการเมืองใหม่”มีผลต่อการตัดสินใจเลือกส.ส.ของประชาชนหรือไม่ อันดับ 1 ไม่มีผล 57.26%เพราะ มีบุคคลและพรรคการเมืองที่ชื่นชอบอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับนโยบายของพรรค และตัวผู้สมัครมากกว่า อันดับ 2 มีผล 42.74% เพราะ เป็นทางเลือกใหม่ อยากลองเลือกพรรคใหม่ๆ ดูบ้าง เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาทำงาน
เมื่อถามว่าการจัดตั้ง “พรรคการเมืองใหม่”มีผลต่อการเมืองไทยอย่างไร อันดับ 1 เพิ่มสีสันทางการเมือง บรรยากาศคึกคัก 48.88% อันดับ 2 มีพรรคการเมืองเพิ่มขึ้น หลากหลาย ประชาชนมีตัวเลือกมากขึ้น 41.38% อันดับ 3 เกิดการแข่งขันมากขึ้น เป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง 35.23%
**”มาร์ค”ย้ำปชป.ต้องสนับหนุนหน.พรรค
จากกรณีนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย อดีต ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ และอดีต แกนนำ กปปส. เปิดเผยว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย (มปท.) เตรียมจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมือง ด้วยเหตุที่ว่า ภารกิจมวลมหาประชาชนในการต่อสู้บนท้องถนนจบไปแล้ว แต่ภารกิจในการสนับสนุนปฏิรูปประเทศยังไม่จบ จึงมีความคิดจะรวบรวมคนที่มีแนวคิดตรงกับมวลมหาประชาชนตั้งพรรคการเมือง เพื่อสนับสนุนแนวทางการปฏิรูป ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้วางแนวทางเอาไว้
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า นายสุเทพได้ประกาศลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ไปนานแล้ว ดังนั้น ก็ถือเป็นสิทธิของนายสุเทพ หากจะมีการตั้งพรรคใหม่ ก็จะต้องดำเนินการตามกฎหมายในเดือนมี.ค.ที่จะถึงนี้ ซึ่งจะต้องหาผู้ร่วมจัดตั้ง และประชุมเพื่อเลือกหัวหน้าพรรค และหากมีการตั้งพรรคใหม่จริง ก็จะต้องแข่งขันกันในการเลือกตั้ง ซึ่งก็ไม่ได้เป็นปัญหาอะไร และไม่มีความกังวลว่ากรณีดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อสมาชิกพรรคที่ยังมีบางส่วนศรัทธาในตัวนายสุเทพ เพราะถือเป็นสิทธิของแต่ละคนที่จะตัดสินใจจะอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์ต่อ หรือไม่
ส่วนพรรคของนายสุเทพ มีอุดมการณ์สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ถือว่าตรงกับอุดมการณ์พรรคประชาธิปัตย์หรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อุดมการณ์พรรคประชาธิปัตย์ ก็ต้องสนับสนุนหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
นายอภิสิทธ์ ยังกล่าวถึง กรณีที่มีกลุ่มออกมาเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง ว่า ส่วนตัวมองว่าคือเสียงสะท้อนแทนประชาชนอีกจำนวนมาก แต่ทุกอย่างต้องอยู่ภายในกรอบของกฎหมาย เพื่อไม่ให้มีปัญหาเกิดขึ้น ขณะเดียวกันอยากให้ คสช.ได้ผ่อนคลายกฎหมายพิเศษ และเปิดกว้างในการรับฟังให้มากขึ้น และเชื่อว่าจะไม่สั่นคลอนต่อรัฐบาล และคสช. เพราะเป็นเสียงสะท้อนจากประชาชนส่วนหนึ่งเท่านั้น และรัฐบาลต้องลดเงื่อนไขที่ถือว่าเป็นปัญหาและอุปสรรคไปสู่ความขัดแย้ง และให้ความสำคัญของความน่าเชื่อถือของโรดแมปด้วย
ด้านนายวิทยา แก้วภราดัย อดีตแกนนำ กปปส. กล่าวว่า ตนไม่เกี่ยวข้องกับการตั้งพรรค เพราะมีหน้าที่เป็นกรรมการมูลนิธิฯ เท่านั้น และคิดว่าการตั้งพรรคการเมืองเป็นเรื่องดี แต่นายสุเทพ คงไม่รับตำแหน่งหัวหน้าพรรค ทั้งนี้ ตนคิดว่า การปฏิรูปประเทศ ถือเป็นภารกิจหลักของ กปปส. เพราะเรารับความเห็นของประชาชนมา ว่าต้องปฏิรูปให้สำเร็จ แม้ว่ารัฐบาลชุดนี้ จะพยายามแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่เห็นผลเท่าที่ควร ดังนั้นถ้ามีพรรคการเมืองที่เน้นการปฏิรูปร่วมกันกับรัฐบาล ก็น่าจะทำให้อะไรต่างๆ ดีขึ้น
ส่วนที่นายสุเทพ เคยประกาศว่าจะไม่ลงเล่นการเมือง แต่จะมาตั้งพรรคนั้น ตนคิดว่านายสุเทพ คงไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง และไม่ได้เป็นหัวหน้าพรรค แต่ท่านก็มีสิทธิ์ที่จะสนับสนุนพรรคการเมืองได้ ซึ่งคิดว่าท่านน่าจะวางบทบาทแบบนี้
ส่วนพรรคดังกล่าวจะสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หรือไม่นั้น นายวิทยา กล่าว่า ถ้าให้พรรคเพื่อไทยมาทำการปฏิรูปคงยาก ตราบใดที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ยังเป็นผู้บงการพรรคแบบนี้ และต้องรอฟังคำสั่งอะไรต่างๆ จะมาบิดเบือนว่าไม่ใช่ ก็ไม่จริง ดังนั้นพรรคที่จะมาทำการปฏิรูปการเมือง จะสมคบคิดกับระบอบทักษิณไม่ได้เด็ดขาด ตนก็ไม่เอาด้วย ส่วนจะสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ หรือไม่ คิดว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะพูดตอนนี้ แต่คิดว่าทิศทางก็ควรจะเป็นเช่นนั้น