ผู้จัดการรายวัน 360 - "รสนา" อดีต สปช.ด้านพลังงาน ตั้งคำถามข้อตกลงหยุดโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่-เทพา เป็นวิสัยทัศน์หรือแค่ซื้อเวลา ชี้หากมองเชิงยุทธศาสตร์-ความคุ้มค่า ควรยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งสองแห่ง และให้สอดคล้องกับแผน PDP ที่ต้องการเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน ขณะที่เทคโนโลยีถ่านหินกำลังตกยุคไปแล้ว ด้านม็อบหนุนถ่านหิน ฉีก MOU กลุ่มต้าน! จี้รมว.พลังงานลาออก-เตรียมบุกทำเนียบฯ
วานนี้ (21 ก.พ.) น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตส.ว.กรุงเทพฯ และอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้านพลังงาน โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก รสนา โตสิตระกูล หัวข้อ “ข้อตกลงเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา-กระบี่ เป็นวิสัยทัศน์หรือการซื้อเวลา!?!” โดยได้กล่าวชื่นชม ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธุ์ รมว.กระทรวงพลังงาน ที่ลงมาแก้ปัญหาความขัดแย้งเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินที่กระบี่-เทพา จนมีข้อตกลงที่เป็นที่ยอมรับกันทั้ง 2 ฝ่าย แม้ว่ารัฐบาลยังไม่ยอมยุติโรงไฟฟ้าถ่านหินอย่างเด็ดขาดในขณะนี้ แต่จะใช้เวลา 9 เดือนในการประเมินความคุ้มค่าเชิงพื้นที่ ซึ่งก็หวังว่าจะไม่ใช่เพียงการซื้อเวลาเพื่อให้ชาวบ้านกลับบ้านไปก่อนสักระยะหนึ่งในช่วงกระแสขาลงของรัฐบาล
น.ส.รสนาระบุว่า หากมองในเชิงยุทธศาสตร์ ความคุ้มค่าเชิงพื้นที่ของเทพา-กระบี่ เทียบกับผลได้ด้านพลังงานจากโรงไฟฟ้าถ่านหินน่าจะไม่คุ้มค่าที่เห็นได้อย่างชัดเจน กระบี่เป็นพื้นที่ท่องเที่ยว ที่สร้างรายได้ให้ประเทศปีละไม่น้อยกว่า 5-6 หมื่นล้านบาท
เทพา-กระบี่ยังเป็นแหล่งอาหารทะเลที่สำคัญ มีพื้นที่ที่เป็นป่าชายเลน ซึ่งเป็นห่วงโซ่อาหารในธรรมชาติ ระบบนิเวศป่าชายเลนโดยธรรมชาติแล้วจะมีความสมดุลในตัวของมันเอง แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งก็จะเป็นผลทำให้ระบบความสัมพันธ์นี้ถูกทำลายลง จนเกิดเป็นผลเสียขึ้นได้
นอกจากนี้ถ่านหินก่อให้เกิดมลภาวะในอากาศ ฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 จะทำลายความบริสุทธิ์ของอากาศ กระทบชีวิตผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ย่อมไม่เหมาะจะเป็นสถานที่พักผ่อนท่องเที่ยวอีกต่อไป
น.ส.รสนาระบุอีกว่า ตามแผน PDP2015 ของภาครัฐกำหนดสัดส่วนประเภทเชื้อเพลิง โดยถ่านหินถูกกำหนดว่าจะมีสัดส่วน 20-25% ภายในปี 2569 แต่ขณะนี้สัดส่วนพลังงานไฟฟ้าจากถ่านหินในปี 2561 มาถึง 24.7% แล้ว ในขณะที่พลังงานหมุนเวียนซึ่งกำหนดสัดส่วนไว้ที่ 15-20% ในปี 2569 แต่ขณะนี้มีสัดส่วนไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพียง 4-5% เท่านั้น
ถ้ามองจากมุมนี้ จึงไม่ควรเพิ่มโรงไฟฟ้าถ่านหินที่กระบี่-เทพาอีก ควรหันมาส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนให้เต็มพิกัด 15-20% เสียก่อน และควรส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ที่เรียกว่า Energy Efficiency หรือ EE แทน ซึ่งในแผน PDP ก็กำหนดไว้ไม่ต่ำกว่า 10%
อดีต ส.ว.กรุงเทพฯ กล่าวอีกว่า หาก ดร.ศิริมีวิสัยทัศน์กว้างไกลในฐานะที่เป็นนักวิชาการมาก่อนเป็นรัฐมนตรี ย่อมจะเห็นว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นเทคโนโลยี่ที่ล้าสมัยแล้วเป็นเทคโนโลยี่ที่ใกล้จะตกดินแล้ว และพลังงานทดแทนหรือหมุนเวียนอื่นๆ กำลังจะมาแทนที่ รัฐบาลและ กฟผ.จึงต้องเตรียมรับมืออย่างชาญฉลาด
ม็อบหนุนจ่อบุกทำเนียบไล่รมว.พลังงาน
ขณะเดียวกันที่ว่าการอำเภอเหนือคลอง จ.กระบี่ เครือข่ายปกป้องสิทธิชุมชนคนจังหวัดกระบี่ นำโดยนายไพโรจน์ บุตรเผียน และนายกิจจา ทองทิพย์ ได้รวมตัวกัน พร้อมออกแถลงการณ์คัดค้านข้อตกลงดังกล่าว จำนวน 5 ข้อ และยื่นหนังสือผ่านนายอำเภอเหนือคลอง อาทิ คนกระบี่ไม่เห็นด้วยกับข้อตกลงและให้นายกฯ สั่งการยกเลิกข้อตกลงดังกล่าว ให้นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พลังงาน ลาออกจากตำแหน่ง หากไม่ดำเนินการตามข้อเรียกร้องเครือข่ายจะเดินทางขึ้นไปชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาลต่อไป
วานนี้ (21 ก.พ.) น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตส.ว.กรุงเทพฯ และอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้านพลังงาน โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก รสนา โตสิตระกูล หัวข้อ “ข้อตกลงเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา-กระบี่ เป็นวิสัยทัศน์หรือการซื้อเวลา!?!” โดยได้กล่าวชื่นชม ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธุ์ รมว.กระทรวงพลังงาน ที่ลงมาแก้ปัญหาความขัดแย้งเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินที่กระบี่-เทพา จนมีข้อตกลงที่เป็นที่ยอมรับกันทั้ง 2 ฝ่าย แม้ว่ารัฐบาลยังไม่ยอมยุติโรงไฟฟ้าถ่านหินอย่างเด็ดขาดในขณะนี้ แต่จะใช้เวลา 9 เดือนในการประเมินความคุ้มค่าเชิงพื้นที่ ซึ่งก็หวังว่าจะไม่ใช่เพียงการซื้อเวลาเพื่อให้ชาวบ้านกลับบ้านไปก่อนสักระยะหนึ่งในช่วงกระแสขาลงของรัฐบาล
น.ส.รสนาระบุว่า หากมองในเชิงยุทธศาสตร์ ความคุ้มค่าเชิงพื้นที่ของเทพา-กระบี่ เทียบกับผลได้ด้านพลังงานจากโรงไฟฟ้าถ่านหินน่าจะไม่คุ้มค่าที่เห็นได้อย่างชัดเจน กระบี่เป็นพื้นที่ท่องเที่ยว ที่สร้างรายได้ให้ประเทศปีละไม่น้อยกว่า 5-6 หมื่นล้านบาท
เทพา-กระบี่ยังเป็นแหล่งอาหารทะเลที่สำคัญ มีพื้นที่ที่เป็นป่าชายเลน ซึ่งเป็นห่วงโซ่อาหารในธรรมชาติ ระบบนิเวศป่าชายเลนโดยธรรมชาติแล้วจะมีความสมดุลในตัวของมันเอง แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งก็จะเป็นผลทำให้ระบบความสัมพันธ์นี้ถูกทำลายลง จนเกิดเป็นผลเสียขึ้นได้
นอกจากนี้ถ่านหินก่อให้เกิดมลภาวะในอากาศ ฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 จะทำลายความบริสุทธิ์ของอากาศ กระทบชีวิตผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ย่อมไม่เหมาะจะเป็นสถานที่พักผ่อนท่องเที่ยวอีกต่อไป
น.ส.รสนาระบุอีกว่า ตามแผน PDP2015 ของภาครัฐกำหนดสัดส่วนประเภทเชื้อเพลิง โดยถ่านหินถูกกำหนดว่าจะมีสัดส่วน 20-25% ภายในปี 2569 แต่ขณะนี้สัดส่วนพลังงานไฟฟ้าจากถ่านหินในปี 2561 มาถึง 24.7% แล้ว ในขณะที่พลังงานหมุนเวียนซึ่งกำหนดสัดส่วนไว้ที่ 15-20% ในปี 2569 แต่ขณะนี้มีสัดส่วนไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพียง 4-5% เท่านั้น
ถ้ามองจากมุมนี้ จึงไม่ควรเพิ่มโรงไฟฟ้าถ่านหินที่กระบี่-เทพาอีก ควรหันมาส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนให้เต็มพิกัด 15-20% เสียก่อน และควรส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ที่เรียกว่า Energy Efficiency หรือ EE แทน ซึ่งในแผน PDP ก็กำหนดไว้ไม่ต่ำกว่า 10%
อดีต ส.ว.กรุงเทพฯ กล่าวอีกว่า หาก ดร.ศิริมีวิสัยทัศน์กว้างไกลในฐานะที่เป็นนักวิชาการมาก่อนเป็นรัฐมนตรี ย่อมจะเห็นว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นเทคโนโลยี่ที่ล้าสมัยแล้วเป็นเทคโนโลยี่ที่ใกล้จะตกดินแล้ว และพลังงานทดแทนหรือหมุนเวียนอื่นๆ กำลังจะมาแทนที่ รัฐบาลและ กฟผ.จึงต้องเตรียมรับมืออย่างชาญฉลาด
ม็อบหนุนจ่อบุกทำเนียบไล่รมว.พลังงาน
ขณะเดียวกันที่ว่าการอำเภอเหนือคลอง จ.กระบี่ เครือข่ายปกป้องสิทธิชุมชนคนจังหวัดกระบี่ นำโดยนายไพโรจน์ บุตรเผียน และนายกิจจา ทองทิพย์ ได้รวมตัวกัน พร้อมออกแถลงการณ์คัดค้านข้อตกลงดังกล่าว จำนวน 5 ข้อ และยื่นหนังสือผ่านนายอำเภอเหนือคลอง อาทิ คนกระบี่ไม่เห็นด้วยกับข้อตกลงและให้นายกฯ สั่งการยกเลิกข้อตกลงดังกล่าว ให้นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พลังงาน ลาออกจากตำแหน่ง หากไม่ดำเนินการตามข้อเรียกร้องเครือข่ายจะเดินทางขึ้นไปชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาลต่อไป