"ฝั่งขวาเจ้าพระยา"
"โชกุน"
ธนาคารแห่งประเทศไทย ออกประกาศ ขอความร่วมมือสถาบันการเงินทุกแห่งไม่ให้ทำธุรกรรม ที่เกี่ยวข้องกับคริบโต เคอเรนซี่ (Cryptocurrency) หรือสกุลเงินดิจิตัล หรือมีส่วนร่วมในการสนับสนุน การทำธุรกรรมที่เกี่ยงข้องกับคริบโตเคอเรนซี่ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ไม่รู้ว่า เป็นเรี่องบังเอิญ หรือเป็นความตั้งใจ้ของแบงก์ชาติ ที่เลือกจังหวะเวลาออกประกาศ 2 วัน ก่อนหน้าที่ บริษัท เจ เวนเจอร์ส บริษัทย่อยของ บริษัทเจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) จะเปิดให้ ประชาชนทั่วไปจองซื้อ เจฟิน คอยน์ หรือ เจฟิน โทเคน ซึ่งเป็นเงินดิจิตัลที่ เจ เวนเจอร์เป็นผู้ออก จำนวน 100 ล้านหน่วย ราคาหน่วยละ 6.60 บาท
ประกาศของแบงก์ชาติ แม้จะเป็นการ “ขอความร่วมมือ” แต่ในทางปฏิบัติ สถาบันการเงินทุกแห่งรู้ว่า คือ คำสั่งที่ต้องทำตาม และถึงแม้ว่า จะเป็นการขอความร่วมมือ จากสถาบันการเงิน ไม่ให้ทำธุรกรรมเกียวกับคริบโตเคอเรนซี่ ไม่ใช่การห้าม บุคคล หรือ นิติบุคคล ทำไอซีโอ ขายเงินดิจิตัลให้กับประชาชนทั่วไป เพราะแบงก์ชาติไม่มีอำนาจเช่นนั้น แต่ประกาศนี้ จะส่งผลต่อ การทำไอซีโอ แน่นอน
ประการแรก มันคือ การส่งสัญญาณจาก แบงก์ชาติถึงประชาชนว่า เงินดิจิตัล อันตราย แบงก์ชาติจึงไม่ต้องการให้สถาบันการเงินที่ตนกำกับดูแลไปยุ่งเกี่ยว
ประการที่สอง ช่องทางที่ประชาชนทั่วไป จะเข้าไปลงทุน ซื้อเงินดิจิตัล ผ่านระบบการโอนเงินผ่านธนาคารพาณิชย์ จะถูกปิด เพราะแบงก์ชาติ ขอให้ สถาบันการเงินทุกแห่งเพิ่มความระมัดระวังการให้บริการ ด้านเงินฝากและด้าสินเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการเปิดบัญชี หรือการใช้บัญชีที่อาจนำไปสู่การทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับ คริบโตเคอเรนซี
จะลงทุนซื้อเงินดิจิตัล ต้องเอาเงินสดไปซื้อเท่านั้น
จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ประกาศนี้ มีผลเป็นการควบคุม สกัดกั้นไม่ให้ ความเสี่ยงของ การระดมทุนด้วยการทำไอซีโอ ลุกลามไปถึงประชาชนที่เป็นนักลงทุนรายย่อย กอนที่จะมีกฎหมายรองรับ
ไอซีโอ (ICO -initial coin offering) คือ การระดมทุน ด้วยการเสนอ ขาย เงินดิจิตัล ให้กับประชาชนทั่วไป เงินดิจิตัลนี้ ไร้รุปร่าง ไม่ใช่เหรียญที่จับต้องได้ เพราะเป็น รหัสที่ใช้กับระบบคอมพิวเตอร์เท่านั้น คนที่ซื้อต้องเอาเงินบาทไปซื้อ 6.60 บาท ซื้อ เจฟิน โทเคน ได้ 1 หน่วย เมื่อซื้อไปแล้ว มูลค่าที่เป็นเงินบาท อาจจะเพิ่มขึ้น หรืออาจจะลดลง ขึ้นอยู่การเก็งกำไร ในตลาดรอง
การออกเงิน ดิจิตัล ขายให้ประชาชนทั่วไป หรือ ICO (Initial Coin Offering) ถ้าจะเปรียบเทียบแล้ว ก็เหมือนการ ออกหุ้นขายให้ประชาชนทั่วไป IPO (Initial Public Offering) ที่ต่างกันคือ นักลงทุนที่ซื้อไอพีโอ มีสิทธิเป็นเจ้าของกิจการ มีสิทธิได้รับเงินปันผล มีสิทธิในการเรียกร้องความรับผิดชอบจาก ผู้บริหารกิจการ มีสิทธิได้รับชำระเงินต่อตจากเจ้าหกนี้ ถ้ากิจการล้มละลาย
คนที่ลงทุนกับไอซีโอ ในกรณีของ เจ ฟิน คอยน์ มีสิทธิเข้า ถึง ใช้บริการของ ระบบสินเชื่อแบบดิจิตัล ที่ เจ เวนเจอร์ จะพัฒนาขึ้นมาโดยใช้เงินที่ได้จากการขายเจฟิน คอยน์ เท่านั้น แต่ถ้าโครงการไม่สำเร็จ ไม่มีสิทธิได้รับเงินคืน
การระดมทุนแบบไอซีโอ เป็นเรื่องใหม่ของโลก ยังไม่มีกติการองรับ ไม่ว่าที่ใดๆในโลก คน หรือบริษัทที่ออกไอซีโอ อาศัยช่องว่าง นี้ เขียนกติกา ป้องกันตัวเอง
ในWhite Paper ของ การทำไอซีโอ ขอ งเจ เวนเจอร์ ซี่งเปรียบเหมือนหนังสื้อชี้ชวนในการทำไอพีโอ ระบุว่า เจเวนเจอร์ ไม่รับประกันความเสี่ยงทางด้านกฎเกณฑ์ และกฎหมาย ไม่รับประกันความเสี่ยงจากการลดลงของมูลค่าของ เจฟิน โทเคน และไม่รับประกันความเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
เจเวนเจอร์ ออกเจฟิน โทเคน 600 ล้านหน่วย ขายให้ประชาชนทั่วไ ปหน่วยละ 6.60 บาท โดยจะนำออกขายก่อน 100 ล้านหน่วย ในช่วงวันที่ 1-31 มีนาคม นี้ หากขายหมด จะได้เงิน ซึ่งเป็นเงินจริงๆ ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย 666 ล้านบาท
เจมาร์ท ซึ่งเป็นบริษัมแม่ของเจเวนเจอร์ ทำหนังสือชี้แจงตลาดหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ว่า เงินสด 660 ล้านบาทนี้ จะถูกบันทึกเป็นทรัพยสินของบริษัท ในงบการเงินไตรมาส 1/2561
ในหนังสือฉบับเดียวกันนี้ เจมารท์ ระบุว่า ในกรณีที่บริษัทย่อยไม่สามารถพัฒนาระบบ DDLP ได้เสร้จสิ้น ผู้ถือโทเคน จะไม่ได้รับเงินคืนใดๆ และผู้ถือ JFin Token จะไม่ได้รับเงินคืนในกรณีที่บริษัทย่อย ( เจเวนเจอร์) ปิดชำระกิจการ
นอกจากนี้ บริษัทขอแจ้งให้ทราบง่า โทเคนที่ผู้สนับสนุนร่วมซื้อไปไม่สามารถนำJFin โทเคน กลับมาคืนเป็นเงินปกติ หรือ Fiat Money ได้ ซึ่งวิธีในการแปลงสภาพคล่องของโทเคน คือ การนำไปซื้อขายในตลาดรองที่ยอมรับของ JFin Coin
สรุปก็คือ เจมาร์ท ซึ่งได้เงินจากผู้ลงทุนไป 660 ล้านบาท ไม่ต้องรับผิดชอบใดๆทั้งสิ้นต่อ ผู้ที่ลงทุนซื้อเจฟิน โทเคน ถ้าหากโครงการที่ระดมเงินไปใช้ ล้มเหลว หรือ เจ เวนเจอร์ เลิกกิจการไป
การระดมทุนไปทำโครงการที่เป็นนวตกรรม ซึ่งยังไม่รู้ว่า จะได้ผลหรือไม่ ในต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นการระดมทุนจากนักลงทุนเฉพาะราย ที่เรียกกันว่า Venture Capital หรือ Angel Capital ซึ่งพร้อมจะรับความเสี่ยง ต้องสูญเงินลงทุนหากโครงล้าล้มเหลว
การระดมทุนแบบไอซีโอ เป็นการระดมทุนจากมหาชน โดยอาศัยช่องว่าง ที่ยังไม่มีกฎหมายที่กำหนดความรับผิดชอบของผู้ระดมทุน ผู้ระดมทุน เป็นคนเขียนกติกาป้องกันตัวเองไม่ต้องรับผิดชอบต่อ นักลงทุน
ถ้าไม่เรียกว่า จับเสือมือเปล่า โดยเขียน White Paper ป้องกันเสือกัด จะเรียกว่าอะไร