"สมคิด"เห็นด้วย ขยับเพิ่มค่าแรง กำชับ ก.พาณิชย์ คุมเข้มราคาสินค้าให้สอดคล้องกับค่าแรง ส.อ.ท.ประชุมใหญ่ 22 ม.ค. ถกผลกระทบขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ คสรท.เล็งยื่นทบทวน "ค่าจ้างขั้นต่ำ" ใหม่ “จรินทร์” ยันบอร์ดชุดที่19 ไม่ทบทวน ชี้เหมาะสมแล้ว เตรียมชง ครม.สัปดาห์หน้า
วานนี้ (18 ม.ค.) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง กรณีคณะกรรมการค่าจ้าง เห็นชอบร่วมกันกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 61 รูปแบบตามพื้นที่ มีทั้งหมด 7 อัตรา ตั้งแต่ 8-22 บาท ซึ่งหารือกันนาน 7-8 ชั่วโมง โดยยอมรับว่า การปรับตามพื้นที่ ก็เพื่อให้สอดคล้องตามเศรษฐกิจพื้นที่แต่ละจังหวัด นับว่าทุกฝ่าย ทั้งนายจ้าง ภาครัฐ ภาคแรงงาน หารือร่วมกันอย่างรอบคอบ และภาคเอกชนพร้อมดูแลแรงงาน เพราะไม่ได้ปรับเพิ่มมานาน 3 ปี ทั้งนี้ ตนเห็นด้วยกับการปรับเพิ่มค่าแรงครั้งนี้ เป็นการเพิ่มอำนาจซื้อให้กับแรงงานได้พอสมควร ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ พร้อมดูแลราคาสินค้า ให้สอดคล้องกับค่าแรงที่ปรับเพิ่ม ส่วนการลอยตัวค่าแรงในพื้นที่ เขตอีอีซี ต้องหารือเพิ่มเติมภายหลัง ตอนนี้ยังไม่ต้องคุย รอให้การเพิ่มค่าแรงทั้งประเทศได้ข้อยุติไปก่อน
นายสมคิดกล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างมากในการดูแลเศรษฐกิจระดับภูมิภาค จึงใช้รูปแบบบูรณาการแนวดิ่งของส่วนราชการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประสานความร่วมมือกัน ทั้ง มหาดไทย พาณิชย์ คลัง อุตสหากรรม ท่องเที่ยว และ ทุกหน่วยงาน โดยเลือกลงพื้นที่ ที่ต้องดูแลเพิ่มเติมเป็นพิเศษ
ด้าน นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 22 ม.ค.นี้ ส.อ.ท.จะจัดประชุมใหญ่สมาชิก เพื่อหารือถึงผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ ซึ่งขณะนี้ได้ให้อุตสาหกรรมแต่ละจังหวัดไปหารือกับผู้ประกอบการ และเสนอผลกระทบมาอย่างละเอียด ส่วนผลกระทบเป็นอย่างไรนั้น ยังไม่อยากออกความเห็น จนกว่าจะได้รับความเห็นจากสมาชิกอย่างเป็นทางการก่อน
อีกด้าน นายชาลี ลอยสูง รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เปิดเผยว่า การพิจารณาขึ้นค่าจ้างก็ยังดีกว่าไม่ขึ้น แต่ยังไม่ตอบโจทย์ที่เรียกร้องคือขึ้นเท่ากันทั่วประเทศ ซึ่งยังยืนยันในจุดนี้ ส่วนตัวเลข 5-22 บาทก็น่าพอใจในระดับหนึ่ง แต่ความแตกต่างกันเรื่องการปรับขึ้นค่าจ้างในแต่ละพื้นที่ คสรท.จะมีการคุยกันในวันที่ 22 ม.ค. แล้วคงมีการคเลื่อนไหวอะไรออกไป ส่วนตัวอยากให้ทบทวนใหม่ ซึ่งก็ได้ยินว่าฝ่ายผู้ประกอบการเองก็ไม่พอใจเตรียมยื่นหนังสือขอให้มีการทบทวนเหมือนกัน
ส่วน นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) ชุดที่ 19 เปิดเผยว่า ล่าสุดได้นำผลการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ประจำปี 2561 เสนอ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.แรงงาน พิจารณาเพื่อเตรียมนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสัปดาห์หน้า หลังจากเมื่อวันที่ 17 ม.ค. บอร์ดค่าจ้างได้มีมติปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศ โดยที่ประชุมเห็นพ้องกันว่าอัตราดังกล่าวเป็นไปอย่างเหมาะสม และยืนยันว่าจะไม่มีการทบทวนอีก เพราะถือเป็นฉันทามติร่วมกันจากทุกฝ่าย.
วานนี้ (18 ม.ค.) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง กรณีคณะกรรมการค่าจ้าง เห็นชอบร่วมกันกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 61 รูปแบบตามพื้นที่ มีทั้งหมด 7 อัตรา ตั้งแต่ 8-22 บาท ซึ่งหารือกันนาน 7-8 ชั่วโมง โดยยอมรับว่า การปรับตามพื้นที่ ก็เพื่อให้สอดคล้องตามเศรษฐกิจพื้นที่แต่ละจังหวัด นับว่าทุกฝ่าย ทั้งนายจ้าง ภาครัฐ ภาคแรงงาน หารือร่วมกันอย่างรอบคอบ และภาคเอกชนพร้อมดูแลแรงงาน เพราะไม่ได้ปรับเพิ่มมานาน 3 ปี ทั้งนี้ ตนเห็นด้วยกับการปรับเพิ่มค่าแรงครั้งนี้ เป็นการเพิ่มอำนาจซื้อให้กับแรงงานได้พอสมควร ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ พร้อมดูแลราคาสินค้า ให้สอดคล้องกับค่าแรงที่ปรับเพิ่ม ส่วนการลอยตัวค่าแรงในพื้นที่ เขตอีอีซี ต้องหารือเพิ่มเติมภายหลัง ตอนนี้ยังไม่ต้องคุย รอให้การเพิ่มค่าแรงทั้งประเทศได้ข้อยุติไปก่อน
นายสมคิดกล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างมากในการดูแลเศรษฐกิจระดับภูมิภาค จึงใช้รูปแบบบูรณาการแนวดิ่งของส่วนราชการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประสานความร่วมมือกัน ทั้ง มหาดไทย พาณิชย์ คลัง อุตสหากรรม ท่องเที่ยว และ ทุกหน่วยงาน โดยเลือกลงพื้นที่ ที่ต้องดูแลเพิ่มเติมเป็นพิเศษ
ด้าน นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 22 ม.ค.นี้ ส.อ.ท.จะจัดประชุมใหญ่สมาชิก เพื่อหารือถึงผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ ซึ่งขณะนี้ได้ให้อุตสาหกรรมแต่ละจังหวัดไปหารือกับผู้ประกอบการ และเสนอผลกระทบมาอย่างละเอียด ส่วนผลกระทบเป็นอย่างไรนั้น ยังไม่อยากออกความเห็น จนกว่าจะได้รับความเห็นจากสมาชิกอย่างเป็นทางการก่อน
อีกด้าน นายชาลี ลอยสูง รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เปิดเผยว่า การพิจารณาขึ้นค่าจ้างก็ยังดีกว่าไม่ขึ้น แต่ยังไม่ตอบโจทย์ที่เรียกร้องคือขึ้นเท่ากันทั่วประเทศ ซึ่งยังยืนยันในจุดนี้ ส่วนตัวเลข 5-22 บาทก็น่าพอใจในระดับหนึ่ง แต่ความแตกต่างกันเรื่องการปรับขึ้นค่าจ้างในแต่ละพื้นที่ คสรท.จะมีการคุยกันในวันที่ 22 ม.ค. แล้วคงมีการคเลื่อนไหวอะไรออกไป ส่วนตัวอยากให้ทบทวนใหม่ ซึ่งก็ได้ยินว่าฝ่ายผู้ประกอบการเองก็ไม่พอใจเตรียมยื่นหนังสือขอให้มีการทบทวนเหมือนกัน
ส่วน นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) ชุดที่ 19 เปิดเผยว่า ล่าสุดได้นำผลการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ประจำปี 2561 เสนอ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.แรงงาน พิจารณาเพื่อเตรียมนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสัปดาห์หน้า หลังจากเมื่อวันที่ 17 ม.ค. บอร์ดค่าจ้างได้มีมติปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศ โดยที่ประชุมเห็นพ้องกันว่าอัตราดังกล่าวเป็นไปอย่างเหมาะสม และยืนยันว่าจะไม่มีการทบทวนอีก เพราะถือเป็นฉันทามติร่วมกันจากทุกฝ่าย.