"บุญสร้าง"ลงนามปรับปรุงโครงสร้าง ปฏิรูปตำรวจ ส่งถึง"บิ๊กตู่"แล้ว เผยโครงสร้างก.ต.ช. มีนายกฯเป็นประธาน ตัดอำนาจการคัดเลือก ผบ.ตร. ขณะที่โครงสร้าง ก.ตร. มี ผบ.ตร.เป็นประธาน และเป็นผู้เลือกผบ.ตร.คนใหม่ เสนอนายกฯ
วานนี้ (27ธ.ค.) ที่รัฐสภา นายมานิจ สุขสมจิตร ประธานคณะอนุกรรมการด้านสื่อสารสังคม คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ) กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการปฏิรูปตำรวจ ที่มี พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ประธานคณะกรรมการฯ ได้พิจารณาถึงข้อเสนอที่จะต้องส่งให้รัฐบาล เกี่ยวกับการบริหารบุคคล โดยเฉพาะการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจ ซึ่งรัฐบาลต้องการได้เรื่องนี้ ภายในสิ้นปี 2560 ครั้งนี้จึงเป็นการพิจารณาขั้นตอนสุดท้าย เกี่ยวกับการเสนอร่าง แก้ไข พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ฉบับ พ.ศ... และขณะนี้ พล.อ.บุญสร้าง ได้ลงนามในหนังสือเสนอให้รัฐบาลแล้ว เช่น การปรับปรุงโครงสร้างอำนาจคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ให้เป็นองค์กรกำหนดนโยบาย และ ยุทธศาสตร์ตำรวจ และยกเลิกอำนาจการคัดเลือกแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ส่วนสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ให้เป็นองค์กรกำหนดหลักเกณฑ์ การบริหารงานบุคคล และตรวจสอบการใช้อำนาจของผู้บังคับบัญชา รวมทั้งมีอำนาจในการพิจารณาคัดเลือก ผบ.ตร. ซึ่งการปรับปรุงในครั้งนี้ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับภารกิจของตำรวจ
สำหรับโครงสร้างของ ก.ต.ช. ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ และมีปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ขณะที่ ผบ.ตร.เป็นกรรมการ และเลขานุการ
ส่วนโครงสร้าง ก.ตร. ประกอบด้วย ผบ.ตร. เป็นประธานกรรมการ และมีเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) จเรตำรวจแห่งชาติ และ รอง ผบ.ตร. เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งไม่เคยเป็นข้าราชการตำรวจ เข้ามาเป็นกรรมการในการพิจารณาตำแหน่ง ผบ.ตร. ก่อนนำเสนอให้กับ นายกรัฐมนตรี
วานนี้ (27ธ.ค.) ที่รัฐสภา นายมานิจ สุขสมจิตร ประธานคณะอนุกรรมการด้านสื่อสารสังคม คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ) กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการปฏิรูปตำรวจ ที่มี พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ประธานคณะกรรมการฯ ได้พิจารณาถึงข้อเสนอที่จะต้องส่งให้รัฐบาล เกี่ยวกับการบริหารบุคคล โดยเฉพาะการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจ ซึ่งรัฐบาลต้องการได้เรื่องนี้ ภายในสิ้นปี 2560 ครั้งนี้จึงเป็นการพิจารณาขั้นตอนสุดท้าย เกี่ยวกับการเสนอร่าง แก้ไข พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ฉบับ พ.ศ... และขณะนี้ พล.อ.บุญสร้าง ได้ลงนามในหนังสือเสนอให้รัฐบาลแล้ว เช่น การปรับปรุงโครงสร้างอำนาจคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ให้เป็นองค์กรกำหนดนโยบาย และ ยุทธศาสตร์ตำรวจ และยกเลิกอำนาจการคัดเลือกแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ส่วนสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ให้เป็นองค์กรกำหนดหลักเกณฑ์ การบริหารงานบุคคล และตรวจสอบการใช้อำนาจของผู้บังคับบัญชา รวมทั้งมีอำนาจในการพิจารณาคัดเลือก ผบ.ตร. ซึ่งการปรับปรุงในครั้งนี้ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับภารกิจของตำรวจ
สำหรับโครงสร้างของ ก.ต.ช. ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ และมีปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ขณะที่ ผบ.ตร.เป็นกรรมการ และเลขานุการ
ส่วนโครงสร้าง ก.ตร. ประกอบด้วย ผบ.ตร. เป็นประธานกรรมการ และมีเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) จเรตำรวจแห่งชาติ และ รอง ผบ.ตร. เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งไม่เคยเป็นข้าราชการตำรวจ เข้ามาเป็นกรรมการในการพิจารณาตำแหน่ง ผบ.ตร. ก่อนนำเสนอให้กับ นายกรัฐมนตรี