xs
xsm
sm
md
lg

Data Driven Transformation ตอนที่ 2

เผยแพร่:   โดย: ผศ.ดร.วรพล พงษ์เพ็ชร

ภาพจาก pixabay.com
ผศ.ดร.วรพล พงษ์เพ็ชร
สาขาวิชา Business Analytics and Intelligence
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์


ตอนที่แล้วที่ผมกล่าวถึงสองบริษัทใหญ่ของโลก Google กับ Amazon ที่เป็นตัวอย่างขององค์กรที่นำข้อมูลมาใช้ขับเคลื่อนองค์กรและเป็นองค์กรที่ประสพความสำเร็จระดับโลกทั้งคู่ เมื่อพิจารณาดูจะเห็นได้ว่าในการปรับตัวเพื่อไปเป็นองค์กรที่ใช้ข้อมูลมาขับเคลื่อนองค์กรมีความแตกต่างในวิธีการอย่างชัดเจน โดย Google ใช้ข้อมูลที่เป็น feedback จากพนักงานองค์กร ส่วน Amazon ใช้ข้อมูลที่ได้มาจาก feedback ของลูกค้า

ผมจะเรียกการปรับองค์กรเข้าสู่การขับเคลื่อนด้วยข้อมูลของ Google ว่าเป็นการปรับตัวจากข้อมูลภายใน Internal Data Driven (IDD) และการปรับองค์กรในแนวทางของ Amazon ว่าเป็นการปรับตัวจากข้อมูลภายนอก External Data Driven (EDD) ก่อนที่ผมจะกล่าวถึงรายละเอียดแนวทางที่จะนำมาช่วยในการปรับองค์กรผมอยากจะให้ใช้เวลาพิจารณาบริษัททั้งสองที่ผมยกมาเป็นตัวอย่างสักครู่ จะเห็นได้ว่า

• ทั้งสององค์กรเป็นองค์กรขนาดใหญ่ระดับโลก
• ทั้งสององค์กรใช้ข้อมูลที่นำมาขับเคลื่อนในการปรับองค์กรต่างกันอย่างชัดเจน

แต่ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดไหนก็ตามหรือจะเป็นการใช้ IDD หรือ EDD สำหรับข้อมูลที่จะมาใช้ในการที่ผลักดันการเปลี่ยนแปลงในองค์กร ทั้งสององค์กรมีกรอบแนวทางในการปรับองค์กรเข้าสู่การขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูลที่เหมือนกันคือ 1.กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจก่อน 2.สนับสนุนสภาพแวดล้อม 3.สร้างวัฒนธรรม 4. การตัดสินใจด้วยข้อมูลอย่างเป็นระบบ 5.ลดข้อจำกัดในการใช้ข้อมูล 6.มีตัวชี้วัดในการใช้ข้อมูล 7. มีระบบกำกับดูแลข้อมูลที่ชัดเจน

1.กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจก่อน

ในช่วงสามปีที่ผ่านมามีการเติบโตด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับข้อมูลเป็นจำนวนมาก เช่น ฮาดูป (Hadoop) สปาร์ค (Spark) ดาต้าเลค (Data Lake) ดีพเลิร์นนิ่ง (Deep Learning) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เทคโนโลยีเหล่านี้มีประโยชน์ในการช่วยให้องค์กรเข้าสู่การขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์สำหรับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัญหาที่ผมพบกลับเป็นว่าเทคโนโลยีเหล่านี้กลายเป็นเหตุผลหลักในการที่ทำให้องค์กรไม่สามารถปรับตัวเข้าสู่การขับเคลื่อนด้วยข้อมูลได้สำเร็จ ด้วยเหตุผลที่ว่าองค์กรเลือกเทคโนโลยีก่อนที่จะกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจให้ชัดเจน

การปรับองค์กรเข้าสู่การขับเคลื่อนด้วยข้อมูลไม่ใช่เป็นการลงทุนซื้อเทคโนโลยีแต่เพียงอย่างเดียว เช่น Amazon เริ่มจากวัตถุประสงค์ว่าจะทำอย่างไรที่จะจูงใจผู้ซื้อได้หรือให้ผู้ซื้อใช้เงินกับสินค้า (Revenue Per Customer, RPC) โดย Amazon พิจารณาว่าถ้าผู้ซื้อสามารถอ่าน feedback จากผู้ซื้อคนอื่นได้จะช่วยให้สามารถตัดสินใจซื้อได้ดีขึ้น และก็จะเพิ่ม RPC ได้ในที่สุด

ส่วนด้าน Google เริ่มด้วยคำถามธุรกิจว่าเราจะพัฒนาผู้บริหารในองค์กรของเราให้ดีที่สุดสำหรับสภาพแวดล้อมขององค์กรเราได้อย่างไร จึงได้เริ่มด้วยการเก็บข้อมูลและมองหาเทคโนโลยีที่จะมาตอบสนองความต้องการ

เห็นได้ชัดว่าทั้งสองบริษัทไม่ได้เริ่มด้วยการลงทุนด้านเทคโนโลยีก่อน แต่เริ่มด้วยวัตถุประสงค์ทางธุรกิจก่อนแล้วจึงนำเทคโนโลยีข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาพิจารณาว่าเทคโนโลยีไหนที่จะช่วยให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์นี้ได้ แล้วจึงได้เริ่มลงทุนในเทคโนโลยีเหล่านั้นแต่ถ้าเริ่มจากการลงทุนเทคโนโลยีก่อนแล้วสิ่งที่ตามมาคือการที่จะต้องหาปัญหาให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีนั้น ที่น่าสนใจอีกส่วนหนึ่งคือ เมื่อทั้งสองบริษัทพิจารณาเทคโนโลยีต่างๆแล้วปรากฏว่าในตอนนั้นยังไม่มีเทคโนโลยีด้านข้อมูลที่มีประสิทธิภาพพอกับความต้องการ จึงได้พัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาเองจนประสบความสำเร็จอย่างมากและได้นำออกมาให้บริการบนก้อนเมฆ (Cloud service) ในเวลาต่อมา

2.สนับสนุนสภาพแวดล้อม

เมื่อได้วัตถุประสงค์ที่ตอบปัญหาทางธุรกิจชัดเจนแล้ว ก้าวต่อไปคือการที่จะหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่จะช่วยในการสนับสนุนสภาพแวดล้อมในองค์กรที่จะสามารนำข้อมูลมาช่วยในการขับเคลื่อนองค์กรได้ ผมเชื่อว่าถ้าเริ่มจากการเลือกเทคโนโลยีก่อนนอกจากจะเกิดการสร้างปัญหาประดิษฐ์ (ลงทุนไปแล้ว จะต้องมาปั้นปัญหาให้ตรงกับเทคโนโลยีที่ได้ลงทุนไป) และยังให้จะทำให้เกิดปัญหาในการที่จะควบคุมขนาดหรือสเกลของการลงทุนได้ยาก แต่ถ้าเราได้กำหนดปัญหาชัดเจนแล้ว เราจะสามารถเลือกที่จะสเกลการลงทุนเทคโนโลยีให้เหมาะกับปัญหาได้ หมายความว่าเราสามารถที่จะเลือกขนาดของปัญหาทางธุรกิจที่ไม่ใหญ่จนเกินไปเสียก่อน เช่นเดียวกับทั้ง Amazon และ Google ที่เริ่มจากปัญหาทางธุรกิจขนาดกลางและเมื่อประสบความสำเร็จแล้วจึงค่อยๆขยายไปทั่วทั้งองค์กร

เมื่อได้ปัญหาชัดแล้วการที่จะขอให้ vendors ต่าง ๆ หรือแม้แต่การที่จะเลือก open sources เพื่อที่จะนำมาสนับสนุนสภาพแวดล้อมจะทำได้สะดวกขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในบางกรณีอาจจะค้นพบว่าสิ่งที่มีอยู่แล้วสามารถช่วยตอบโจทย์ได้เลยก็เป็นไปได้ (อย่าแปลกใจว่า Excel ที่มีใช้อยู่เกือบทุกองค์กรสามารถนำมาทำประโยชน์ได้อีกมาก)

3.สร้างวัฒนธรรม

ผมขออนุญาตชี้ว่าถ้าเราได้ทำก้าวที่หนึ่งและสองมาตามลำดับแล้ว การสร้างวัฒนธรรมองค์กรในการใช้ข้อมูลขับเคลื่อนจะยากน้อยลง โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่าก้าวนี้เป็นก้าวที่จะต้องใช้เวลาวางแผนให้มากและเป็นก้าวทีสำคัญมาก และไม่มีเทมเพลทให้ใช้แต่จะต้องใช้เวลาพูดคุยหาข้อมูลจากบุคคลากรในองค์กรให้มากที่สุด เพราะแต่ละองค์กรก็จะมีวัฒนธรรมที่ต่างกันไป

เนื่องจากพื้นที่จำกัด ผมจะขออนุญาติเขียนข้อนี้ให้ละเอียดมากขึ้นในตอนที่ 3 น่ะครับ และจะเพิ่มส่วนที่ได้ไปฟังและพูดคุยกับองค์กรต่างๆที่งาน Strata Data Conference ที่ Singapore ไว้ในตอนที่ 4 น่ะครับ แล้วเจอกันครับ

คลิกอ่าน >> Data Driven Transformation ตอนที่ 1

http://www.oliverwyman.com/our-expertise/insights/2017/may/transforming-into-a-data-driven-organization.html
https://www.informationweek.com/strategic-cio/want-to-succeed-at-data-driven-transformation-start-slow/a/d-id/1329186
https://www.salesforce.com/blog/2016/07/data-driven-strategies.html
https://www.quirks.com/articles/the-five-pillars-of-data-driven-strategy
https://www.upwork.com/hiring/for-clients/data-driven-content-marketing/
กำลังโหลดความคิดเห็น