xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

เอฟทีเอนำหน้าประชาธิปไตย อียูขอคืนดีกับ รัฐบาส คสช.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


"ฝั่งขวาเจ้าพระยา"
"โชกุน"

แถลงการณ์ของรัฐมนตรีต่างประเทศ สหภาพยุโรป หรือ อียู เมื่อวันที่ 11 ธันวาคมที่ผ่านมา ขอปรับความสัมพันธ์ด้านการเมืองกับประเทศไทยอย่างช้าๆ เป็นเรื่อง นอกเหนือความคาดหมาย

หลังการยึดอำนาจของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 รัฐมนตรีต่างประเทศ อียู ออกแถลงการณ์ประณามการยึดอำนาจ และประกาศทบทวนความสัมพันธ์กับประเทศไทย โดยให้มีการระงับการเยือนอย่างเป็นทางการระหว่างกัน ระงับการลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือ (Partnership and Cooperation Agreement) กับประเทศไทย จนกว่าจะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

ในครั้งนั้น อียูบอกว่า จะไม่คบหาสมาคมกับประเทศไทย จนกว่า รัฐบาล คสช. จะมี “โรดแมป” ที่น่าเชิ่อถือ ในการกลับสู่ การปกครองภายใต้รับธรรมนูญโดยเร็ว กาสรมีการเลือกตั้งอันน่าเชื่อถือ และทุกฝ่ายมีส่วร่วมอย่างจริงจัง

ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกืดขึ้นทันทีคือ การเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรี หรือเอฟทีเอ ระหว่างไทย กับอียู หยุดชะงักลงทันที

การเจรจาเอฟทีเอนี้ เริ่มต้นมาก่อนหน้าแล้ว หลายรอบ ทั้งสองฝ่ายตั้งเป้าว่า จะบรรลุข้อตกลง เซ็นสัญญามีผลบังคับใช้ ภายในต้นปี 2558

ปี 2557 เป็นปีสุดท้ายที่สินค้าส่งออกของไทยไปยังอียู จะได้รับสิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากร หรือ จีเอสพี เพราะประเทศไทย ถูกสหประชาชาติ จัดอันดับเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ค่อนข้างสูง ติดต่อกันสามปี หมดสิทธิใช้ จีเอสพี เพราถือว่า ไม่ใช่ชาติยากจนแล้ว

ไทยหวังว่า เอฟทีเอ ซึ่งมีอัตราภาษีสินค้านำเข้า ส่งออกของประเทศคุ่สัญญา ในอัตราที่ต่ำ หรือไม่เสียเลย จะมาชดเชยจีเอสพี ฝ่ายอียูก็จะใช้จีเอสพี เพื่อขยายเวลาในการคุ้มครองสิทธิบัตรยา และการเข้ามาลงทุน เพราะประเทศไทย เป้นตลาดขนาดใหญ่ เป็นสุนย์กลางอาเซียน ซึ่งก้าวสู่การเป็นเออีซีแล้ว เป็นแหล่งลงทุนที่จะให้ผลตอบแทนที่ดี

แต่การยึดอำนาจเมื่อ ปี 2557 ทำให้การเจรจาเอฟทีเอ แ ละความคกลงในเรื่องอื่นๆ หยุดชะงักลง เพราะอึยู มีจุดยืนว่า จะไม่คบหาสมาคมกับรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ตามวิถีทางประชสธิปไตย ที่พวกเขายกย่องบูชา

การหวนกลับมาคนดี ปรับระดับความสัมพันธ์อย่างช้าๆ ครั้งนี้ถือว่า เป็นการเปลี่ยนท่าทีที่เร็วกว่าที่ควรจะเป็น คือ อึยู ไม่รอให้มีการเลือกตั้ง ไม่รอจนกว่าจะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแล้ว

อียูบอกว่า โรดแมปของ คสช ในการเตรียมการเลือกตั้ง กำลังมีความคืบหน้า และเชื่อในแถลงการณ์ของ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ซึ่งระบุว่า การเลือกตั้งทั่วไปจะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 และ มีการลดการดำนเนินคดีต่อพลเรือน ในศาลหทาร เป็นเหตุผลสำคัญที่อียู เห้นควรเริ่มกลับมาปรับความสัมพัน์กับประเทศไทยอย่างช้าๆ ไม่รอให้ให้มีการเลือกตั้ง และมรัฐบาลพลเรืนอที่มาจากการเลือกตั้งก่อน แต่ก็มีเงิ่อนไขว่า พร้มอจะทบทวนความความสัมพันธ์ หากไม่เป็นไปตามโรดแมป

ในแถลงการณ์ ข้อ 10 คณะรัฐมนตรีต่างประเทศ อียู ขอให้ คณะกรรมมาธิการยุโรป สำรวจความเป็นไปได้ ในการกลับมาเจรจาเอฟทีเอ ไทย - อียู

ท่าทีที่เปลี่ยนไปของอียู เป็นท่าทั่เดียวหับ สหรัฐอเมริกา ที่เชิญ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เดินทางไปเยือนทำเนียบขาวตามคำเชิยของ ประธานาธิบดี โอนัลด์ ทรัมป์ เมื่อต้นเดือนตุลาคม คือ ให้การรับรอง ยอมรับอย่างไม่เป็นทางการต่อ รัฐบาลทหารของไทย

เป็นการละทิ้ง หลักการเรื่อง ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน ไว้ข้างหลัง ให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ในเรื่อง ภูมิรัฐศาสตร์ และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเหนือหลักการ ค่านิยมทางการเมือ งที่ชาติตะวันตกยึดถือ

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความสำคัญทั้งในแง่ การเมือง ความมั่นคง และเศรษฐกิจ เป็นเวทีแข่งขัน ขยายอิทิพลของมหาอำนาจ

วันนี้ จีนเดินหน้ากระชับความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆในภูมิภาคอย่างเปิดเผย พร้อมๆกับ การขยายธุรกิจ การลงทุน

หากรอให้มีการเลือกตั้ง ปลายปีหน้า รอจนมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง อาจจะช้าเกินการณ์ สายเกินแก้ สำหรับสหรัฐฯ และอียู จึงต้องกลับหลังหันอย่างช้าๆ ยื่นมือมาผูกมิตร คืนดีกับรัฐบาลทหาร ในระบอบเผด็จการ ที่ตัวเองเคยกล่าวประณามไว้





กำลังโหลดความคิดเห็น