จะเรียกว่าได้เวลาแล้วก็ได้ สำหรับทุกรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลไหน มาจากเลือกตั้ง หรือมาจากรัฐประหาร จะว่าไปแล้วสำหรับรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังถือว่า "ลงช้า" ด้วยซ้ำไป เพราะกว่าจะมีอาการ "ขาลง" ที่ชัดเจน ก็ย่างเข้าสู่ปีที่ 4 หรือเกือบเข้าสู่ปีที่ 4 เข้าไปแล้ว ทั้งที่โดยรูปแบบแล้วก็คือ "รัฐบาลเผด็จการเบ็ดเสร็จ" มีช่องโหว่ให้ถูกโจมตี ถูกรังเกียจ ทั้งในและต่างประเทศอยู่ตลอดเวลา
ส่วนใหญ่รัฐบาลเกือบทุกชุดที่ผ่านมา เมื่อล่วงผ่าน 6 เดือน หรือ 1 ปีแรก ก็ "โดน" กันแล้ว และช่วงปีที่ 2 ปีที่ 3 ก็ต้องหนักหน่วง เจียนอยู่เจียนไปแทบทั้งนั้น สำหรับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และรัฐบาลของเขา อย่างที่บอกตั้งแต่แรกต้องบอกว่า "ยื้อเวลาขาลง" อยู่ได้นาน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ "มีความยืดหยุ่น" ได้ดี เกินคาด
อาจเป็นเพราะเขาเตรียมการมาดี มีการสรุปบทเรียนในอดีตจนทำให้รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา เช่น เรื่องใหนที่มีความอ่อนไหว มีเสียงคัดค้านจากภายนอกมาก หลายครั้งเขาก็สั่งให้ทบทวนใหม่ หรือยืดเวลาออกไปอีกระยะหนึ่ง เพื่อลดกระแสความไม่พอใจลงไป ซึ่งจะผิดไปจากรัฐบาลเผด็จการในอดีตที่ "ชน" จนพัง ซึ่งนั่นก็กลายเป็น "จุดแข็ง" เฉพาะตัว
ขณะเดียวกันด้วยบุคลิกส่วนตัวของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทั้งคำพูด ท่าทาง ต้องบอกว่า"โดนใจ" คนไทยไม่น้อย ถูกมองว่ามีความ"เด็ดขาด" พูดจาโผงผาง แต่บางครั้งก็อ่อนโยน มีคำขอโทษออกมาได้ไม่ยาก ส่วนในเรื่องการบริหารจัดการ ก็ถือว่ามีความเข้าใจปัญหามากพอสมควร มากจนกลายเป็นว่า "เขาเข้าใจปัญหาอยู่คนเดียว" ขณะที่บรรดารัฐมนตรีคนอื่นๆ มีจำนวนไม่กี่คนเท่านั้นที่มีความเห็นไปในทางเดียวกัน หรือเข้าใจแบบเดียวกัน ดังนั้นอย่าได้แปลกใจที่แม้ว่าจะ "เร่งรัด" สั่งการกันแค่ไหน รูปแบบที่ออกมาก็ยังเป็นแบบ "รัฐราชการ" ยิ่งกว่าเดิม
ด้วยปัญหาองคาพยพดังกล่าวนี่เองที่อาจทำให้การขับเคลื่อนนโยบายสำคัญ เช่น "การปฏิรูป" ที่เป็นความต้องการหลักของชาวบ้านส่วนใหญ่เต็มไปด้วยความล่าช้าและไม่ตรงตามความต้องการของชาวบ้าน เช่น การปฏิรูปตำรวจ รวมทั้งการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ที่แม้ว่าเวลานี้กำลังดำเนินการโดยคณะกรรมการปฏิรูปตำรวจ ที่มีกฎหมายรองรับ มีการพิจารณาศึกษาในขั้นของคณะอนุกรรมการฯ แต่เมื่อดูจากผลการศึกษาที่แพลมออกมาให้เห็น ทำให้น่ากังวลว่าจะออกไปในโทนเน้นการสร้างความมั่นคงให้กับตำรวจ มากกว่าการปฏิรูปโครงสร้าง ที่ต้องเน้นการกระจายอำนาจ และการสร้างหลักประกันความยุติธรรมให้กับชาวบ้าน เป็นต้น
ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มักจะเน้นย้ำอยู่เสมอว่า รัฐบาลของเขา ต้องมาแก้ปัญหาบ้านเมืองที่หมักหมมมากมายหลายเรื่อง มีการเสนอกฎหมาย หรือแก้ไขกฎหมายใหม่มากมาย แต่คำถามก็คือ ทำไมความรู้สึกของชาวบ้านกลับไม่ได้รู้สึกแบบนั้น ทำไมยังมีความรู้สึกว่า ไม่มีการขับเคลื่อนอะไรออกมาเลย หรือว่าเป็นเพราะงานที่ออกมามัน "คนละเรื่อง" หรือเปล่า
สรุปรวมๆ ก็คือ หลายเรื่อง หลายโครงการ ยังไม่เข้าเป้า จนกลายเป็นความรู้สึก "ผิดหวังสะสม" จนนำมาสู่ผลสำรวจที่เริ่มทยอยออกมาตรงกันว่า ความพอใจต่อ รัฐบาล และต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา "วูบลง" เรื่อยๆ
เมื่อสำรวจถึงสาเหตุกันอีกรอบ ก็จะได้พบอย่างชัดเจนว่า สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งล้วนมาจาก "คนใกล้ชิด" และเครือข่ายใกล้ตัวนั่นแหละ นาทีนี้หากให้พูดกันตรงๆ ก็ต้องบอกว่า คนที่ถูกวิจารณ์ในทางลบมากที่สุดก็หนีไม่พ้น "พี่ใหญ่" พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่แทบทุกเรื่องถูกวิจารณ์ "หนักข้อ" ขึ้นเรื่อยๆ เป็นลักษณะเครือข่ายเพื่อนพ้องน้องพี่ ที่"ได้ประโยชน์" จากรัฐบาลและคสช. แม้กระทั่งล่าสุดที่เพิ่งเปิดเผยออกมาก็คือ การ "แต่งตั้งโยกย้ายในกองทัพ" ที่แน่นอนว่า คนใกล้ชิดของ "พี่ใหญ่" พรึบกันขึ้นมายกแผง หรือมีการทำทางเปิดตำแหน่งใหม่ให้กับ "ลูกหม้อ" ในหน่วยงานเพื่อดันให้พ้นทางแล้วโยก"คนกันเองข้ามห้วย" เข้ามา ตัวอย่างที่เห็นชัด และปฏิเสธไม่ได้ก็คือ ตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่เหมือนกับการ "ตบหน้า" คนในหน่วยงานทุกคน แต่เมื่อมีการอ้างเรื่อง"ความเหมาะสม" ต้องใช้คนจากกองทัพ ก็ต้องเงียบ แต่จะเงียบแบบไหน นั้นอีกเรื่องหนึ่ง
เมื่อผลสำรวจที่สะท้อนออกมาจากความรู้สึกของชาวบ้านตรงกันทุกโพล แบบนี้แหละมันน่าเป็นห่วง เพราะนั่นหมายความว่า รัฐบาล และ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าสู่ภาวะขาลงเต็มต้วแล้ว หากไม่มีวิธีการรับมือที่ดีพอ ก็น่าหวั่นเกรงว่าจะ "ลงเร็ว"
ที่น่าจับตาก็คือ เวลานี้ ทั้งฝ่ายที่ "เคยเป็นมิตร" ก็เริ่มหน่ายหันกลับมาทิ่มแทงวิจารณ์แบบหนักมือมากกว่าเดิม ซึ่งกลุ่มนี้แหละที่น่ากลัว เพราะที่ผ่านมาถือว่าเป็นกลุ่มใหญ่ที่สนับสนุนอุ้มชู พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มาตลอด ส่วนอีกกลุ่มก็คือ ฝ่ายตรงข้าม ที่เป็นฝ่ายการเมืองที่ต่างโผล่หน้าออกมารุมสกรัม บางคนที่ไม่เคยออกมาก็ออกมา"ผสมโรง" อาการแบบนี้แหละน่าห่วง เพราะเมื่อใดก็ตามที่ "ผู้นำ" ไม่บริหารจัดการซื้อเวลาให้ดี มันก็จะลงเร็ว เพราะ "ไม่มีทางขาขึ้น" แล้ว มีแต่ขาลง เพียงแต่ว่าจะลงเร็วหรือช้าเท่านั้น
ที่สำคัญอย่าทำให้ความไม่พอใจสะสมจาก "สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ" กดดันจนระเบิดออกมา เมื่อถึงตอนนั้น "ทำอะไรก็ผิด" แล้วจะยุ่ง !!
ส่วนใหญ่รัฐบาลเกือบทุกชุดที่ผ่านมา เมื่อล่วงผ่าน 6 เดือน หรือ 1 ปีแรก ก็ "โดน" กันแล้ว และช่วงปีที่ 2 ปีที่ 3 ก็ต้องหนักหน่วง เจียนอยู่เจียนไปแทบทั้งนั้น สำหรับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และรัฐบาลของเขา อย่างที่บอกตั้งแต่แรกต้องบอกว่า "ยื้อเวลาขาลง" อยู่ได้นาน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ "มีความยืดหยุ่น" ได้ดี เกินคาด
อาจเป็นเพราะเขาเตรียมการมาดี มีการสรุปบทเรียนในอดีตจนทำให้รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา เช่น เรื่องใหนที่มีความอ่อนไหว มีเสียงคัดค้านจากภายนอกมาก หลายครั้งเขาก็สั่งให้ทบทวนใหม่ หรือยืดเวลาออกไปอีกระยะหนึ่ง เพื่อลดกระแสความไม่พอใจลงไป ซึ่งจะผิดไปจากรัฐบาลเผด็จการในอดีตที่ "ชน" จนพัง ซึ่งนั่นก็กลายเป็น "จุดแข็ง" เฉพาะตัว
ขณะเดียวกันด้วยบุคลิกส่วนตัวของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทั้งคำพูด ท่าทาง ต้องบอกว่า"โดนใจ" คนไทยไม่น้อย ถูกมองว่ามีความ"เด็ดขาด" พูดจาโผงผาง แต่บางครั้งก็อ่อนโยน มีคำขอโทษออกมาได้ไม่ยาก ส่วนในเรื่องการบริหารจัดการ ก็ถือว่ามีความเข้าใจปัญหามากพอสมควร มากจนกลายเป็นว่า "เขาเข้าใจปัญหาอยู่คนเดียว" ขณะที่บรรดารัฐมนตรีคนอื่นๆ มีจำนวนไม่กี่คนเท่านั้นที่มีความเห็นไปในทางเดียวกัน หรือเข้าใจแบบเดียวกัน ดังนั้นอย่าได้แปลกใจที่แม้ว่าจะ "เร่งรัด" สั่งการกันแค่ไหน รูปแบบที่ออกมาก็ยังเป็นแบบ "รัฐราชการ" ยิ่งกว่าเดิม
ด้วยปัญหาองคาพยพดังกล่าวนี่เองที่อาจทำให้การขับเคลื่อนนโยบายสำคัญ เช่น "การปฏิรูป" ที่เป็นความต้องการหลักของชาวบ้านส่วนใหญ่เต็มไปด้วยความล่าช้าและไม่ตรงตามความต้องการของชาวบ้าน เช่น การปฏิรูปตำรวจ รวมทั้งการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ที่แม้ว่าเวลานี้กำลังดำเนินการโดยคณะกรรมการปฏิรูปตำรวจ ที่มีกฎหมายรองรับ มีการพิจารณาศึกษาในขั้นของคณะอนุกรรมการฯ แต่เมื่อดูจากผลการศึกษาที่แพลมออกมาให้เห็น ทำให้น่ากังวลว่าจะออกไปในโทนเน้นการสร้างความมั่นคงให้กับตำรวจ มากกว่าการปฏิรูปโครงสร้าง ที่ต้องเน้นการกระจายอำนาจ และการสร้างหลักประกันความยุติธรรมให้กับชาวบ้าน เป็นต้น
ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มักจะเน้นย้ำอยู่เสมอว่า รัฐบาลของเขา ต้องมาแก้ปัญหาบ้านเมืองที่หมักหมมมากมายหลายเรื่อง มีการเสนอกฎหมาย หรือแก้ไขกฎหมายใหม่มากมาย แต่คำถามก็คือ ทำไมความรู้สึกของชาวบ้านกลับไม่ได้รู้สึกแบบนั้น ทำไมยังมีความรู้สึกว่า ไม่มีการขับเคลื่อนอะไรออกมาเลย หรือว่าเป็นเพราะงานที่ออกมามัน "คนละเรื่อง" หรือเปล่า
สรุปรวมๆ ก็คือ หลายเรื่อง หลายโครงการ ยังไม่เข้าเป้า จนกลายเป็นความรู้สึก "ผิดหวังสะสม" จนนำมาสู่ผลสำรวจที่เริ่มทยอยออกมาตรงกันว่า ความพอใจต่อ รัฐบาล และต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา "วูบลง" เรื่อยๆ
เมื่อสำรวจถึงสาเหตุกันอีกรอบ ก็จะได้พบอย่างชัดเจนว่า สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งล้วนมาจาก "คนใกล้ชิด" และเครือข่ายใกล้ตัวนั่นแหละ นาทีนี้หากให้พูดกันตรงๆ ก็ต้องบอกว่า คนที่ถูกวิจารณ์ในทางลบมากที่สุดก็หนีไม่พ้น "พี่ใหญ่" พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่แทบทุกเรื่องถูกวิจารณ์ "หนักข้อ" ขึ้นเรื่อยๆ เป็นลักษณะเครือข่ายเพื่อนพ้องน้องพี่ ที่"ได้ประโยชน์" จากรัฐบาลและคสช. แม้กระทั่งล่าสุดที่เพิ่งเปิดเผยออกมาก็คือ การ "แต่งตั้งโยกย้ายในกองทัพ" ที่แน่นอนว่า คนใกล้ชิดของ "พี่ใหญ่" พรึบกันขึ้นมายกแผง หรือมีการทำทางเปิดตำแหน่งใหม่ให้กับ "ลูกหม้อ" ในหน่วยงานเพื่อดันให้พ้นทางแล้วโยก"คนกันเองข้ามห้วย" เข้ามา ตัวอย่างที่เห็นชัด และปฏิเสธไม่ได้ก็คือ ตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่เหมือนกับการ "ตบหน้า" คนในหน่วยงานทุกคน แต่เมื่อมีการอ้างเรื่อง"ความเหมาะสม" ต้องใช้คนจากกองทัพ ก็ต้องเงียบ แต่จะเงียบแบบไหน นั้นอีกเรื่องหนึ่ง
เมื่อผลสำรวจที่สะท้อนออกมาจากความรู้สึกของชาวบ้านตรงกันทุกโพล แบบนี้แหละมันน่าเป็นห่วง เพราะนั่นหมายความว่า รัฐบาล และ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าสู่ภาวะขาลงเต็มต้วแล้ว หากไม่มีวิธีการรับมือที่ดีพอ ก็น่าหวั่นเกรงว่าจะ "ลงเร็ว"
ที่น่าจับตาก็คือ เวลานี้ ทั้งฝ่ายที่ "เคยเป็นมิตร" ก็เริ่มหน่ายหันกลับมาทิ่มแทงวิจารณ์แบบหนักมือมากกว่าเดิม ซึ่งกลุ่มนี้แหละที่น่ากลัว เพราะที่ผ่านมาถือว่าเป็นกลุ่มใหญ่ที่สนับสนุนอุ้มชู พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มาตลอด ส่วนอีกกลุ่มก็คือ ฝ่ายตรงข้าม ที่เป็นฝ่ายการเมืองที่ต่างโผล่หน้าออกมารุมสกรัม บางคนที่ไม่เคยออกมาก็ออกมา"ผสมโรง" อาการแบบนี้แหละน่าห่วง เพราะเมื่อใดก็ตามที่ "ผู้นำ" ไม่บริหารจัดการซื้อเวลาให้ดี มันก็จะลงเร็ว เพราะ "ไม่มีทางขาขึ้น" แล้ว มีแต่ขาลง เพียงแต่ว่าจะลงเร็วหรือช้าเท่านั้น
ที่สำคัญอย่าทำให้ความไม่พอใจสะสมจาก "สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ" กดดันจนระเบิดออกมา เมื่อถึงตอนนั้น "ทำอะไรก็ผิด" แล้วจะยุ่ง !!