**ยิ่งใกล้วันที่ 25 สิงหาคม เป็นวันที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนัดตัดสินคดีที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ถูกฟ้องเป็นจำเลย ฐานปล่อยปละละเลยทำให้เกิดความเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าว แน่นอนว่าทั้งสองฝ่ายในเวลานี้ ทั้งจากฝ่ายของ ยิ่งลักษณ์ ที่เชื่อว่าต้องนอนไม่หลับ เพราะต้องลุ้นว่า ผลจะออกมาแบบไหน บวกหรือลบกับตัวเอง เพราะงานนี้เมื่อเป็นคดีอาญา มันก็ย่อมเดิมพันถึงคุกตะราง ไม่ว่าใครก็ต้องเสียวกันทุกคน
ขณะเดียวกัน อีกด้านหนึ่งฝ่ายรัฐที่รับผิดชอบดูแลความสงบเรียบร้อยก็ต้องตื่นตัว เพื่อป้องกันเหตุวุ่นวาย ซึ่งไม่รู้ว่าจะเกิดจากฝ่ายไหน แต่มันก็เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบุคคลที่หนึ่ง ที่สอง และที่สาม ที่แทรกเข้ามาเพื่อสร้างสถานการณ์ก็มีโอกาสเป็นไปได้หมด จนทำให้เวลานี้ เมื่อยิ่งใกล้ถึงวันดีเดย์ บรรยากาศก็ยิ่งเครียดขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อเช็กปฏิกิริยาความเคลื่อนไหวของทั้งสองฝ่าย ก็ถือว่าเข้าขั้น "เต็มที่" เข้ามาทุกที เริ่มจากฝ่ายแรก คือ ฝ่ายของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก่อน บรรดาคนใกล้ชิดเริ่มมีการปลุกระดมกันทางอ้อมมาแบบเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าจะยังถูกควบคุมด้วยคำสั่งพิเศษ อย่างเข้มงวด แต่ก็ยังอาศัยความอ่อนไหวของความรู้สึกมวลชน ที่พยายามจะแสดงให้เห็นว่า ยิ่งลักษณ์ ถูกรังแกอย่างไม่เป็นธรรม ใช้จุดเด่นของ "ผู้หญิง" มาดรามาเรียกน้ำตา ซึ่งที่ผ่านมาแนวทางการเคลื่อนไหวที่ควบคู่กันมาก็คือ "เงินกับมวลชน" ที่ตีคู่กันมาแบบแยกไม่ออก แม้ว่าจะออกมาให้เห็นในแบบ "อำนวยความสะดวก" แต่ในความหมายก็คือ "ท่อน้ำเลี้ยง" ที่ส่งผ่านแกนนำในหลายระดับลงมาเป็นทอดๆ ทั้งเครือข่ายท้องถิ่น ที่เคยเกื้อหนุนกันมา และเชื่อว่าจะต้องใช้ประโยชน์แบบนี้ต่อไปในทางการเมือง จนถึงการเลือกตั้ง
หนังสือเตือนของ พิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส เลขาธิการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ที่ส่งไปถึงกระทรวงมหาดไทย ที่ให้ตรวจสอบการใช้งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) บางแห่ง ที่ใช้งบประมาณผิดประเภท ขนคนมาให้กำลังใจ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยพบว่า ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม วันที่มีการแถลงปิดคดีด้วยวาจา มีการตรวจสอบพบว่ามีมวลชนจากอปท.บางแห่งดังกล่าว ถูกนำไปที่หน้าศาลฎีกาฯ ซึ่งหนังสือเตือนถึงความผิด และอาจถึงขั้นถูกริบงบประมาณ เนื่องจากใช้จ่ายผิดประเภท
**แม้ว่าในหนังสือเตือนจะไม่ระบุว่าเป็นท้องที่ใดบ้าง หรือบางมุมอาจถูกมองเป็นการเมือง ก็อาจมองแบบนั้นใด้ แต่หากเป็นจริงมันก็สะท้อนให้เห็นว่า ระดับผู้บริหารของท้องถิ่นหลายแห่งยังภักดีกับ "ครอบครัวชินวัตร" พวกนี้อยู่ ทั้งที่การอยู่ในตำแหน่งเวลานี้ ก็เป็นเพราะคำสั่งของคสช. ที่ยืดอายุวาระเพื่อรอการเลือกตั้งครั้งใหม่ก็ตาม
สำหรับฝ่ายรัฐบาล และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เวลานี้ถือว่าตื่นต้วเข้มข้นขึ้นทุกที จากเดิมที่มีการเตรียมการจากฝ่ายตำรวจที่ นำโดย พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ฝ่ายคดีความมั่นคง และคดีพิเศษที่เคยเปิดเผยถึงการเตรียมการใช้แผน "กรกฏ 52 "ไว้คอยรับมือ แต่นาทีนี้จะเห็นความเคลื่อนไหวจาก คสช. แบบเต็มตัว ที่นำโดย พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะเลขาฯคสช. เข้ามาเป็น"แม่งาน" โดยตรง ในฐานะผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบ (กกล.รส.) ที่เรียกประชุมหน่วยงานด้านความมั่นคง และ กกล.รส. ทั้ง 4 ภาค เมื่อวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา เพื่อเตรียมการรับมือเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น
รวมทั้งมีการรายงานสถานการณ์ในที่ประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ชุดใหญ่ ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าอีกด้วย ก็ถือว่างานนี้ไม่ธรรมดา เพราะถือว่ามีการ "ยกระดับความสำคัญ"ไม่น้อย มีการประเมินตัวเลขมวลชนที่มีการเปิดเผยออกมาว่า น่าจะมีประมาณ 1-2 พันคน มีการระบุพื้นที่ ที่จะนำมวลชนเข้ามา เช่น จากพื้นที่ปริมณฑลเป็นหลัก รวมไปถึงการประกบติดบรรดาแกนนำนปช. ในพื้นที่บางคน
** มีการเปิดเผยถึงตัวเลขค่ารถตู้สำหรับการขนคนเข้ามาให้กำลังใจ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าตกไม่ต่ำกว่าคันละ 1 แสนบาท
ขณะเดียวกัน ทางกระทรวงมหาดไทย ที่เป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ก็ส่งหนังสือเตือนผ่านไปทางผู้ว่าฯ และนายอำเภอ กำชับให้ตรวจสอบเรื่องการขนคนดังกล่าว ซึ่งอีกด้านหนึ่งมันก็เหมือนกับการ "รับลูก" ได้ทีคุมเข้ม แต่ในภาพรวมทั้งหมด มันก็สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลว่าจะเกิดเหตุการณ์ป่วนขึ้นมาใน วันที่ 25 สิงหาคม ขึ้นมาจริงๆ และเมื่อพิจารณาจากจำนวนมวลชนที่คาดว่าจะขนกันเข้ามาจำนวนไม่ต่ำกว่า 1-2 พันคน ซึ่งนั่นเป็นตัวเลขที่เปิดเผย แต่ตัวเลขในทางไม่เปิดเผย มันก็น่าจะมากกว่านี้ ซึ่งนั่นแหละ อาจจะทำให้ "ป่วน" ขึ้นมาได้
**อีกทั้งคราวนี้มัน "เดิมพันสูง" จึงต้องทำทุกทาง ทั้งดรามา ปลุกระดม ยั่วยุ และแม้กระทั่งกดดันศาล แต่อีกมุมหนึ่งหากมีมวลชนเข้ามาจำนวนมาเท่าใด มันก็ยิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวของฝ่ายรัฐ โดยเฉพาะคณะรักษาความสงบแห่งชาต(คสช.) มากขึ้นเท่านั้น เพราะเท่ากับว่าที่ผ่านมาไม่ได้มีการชี้แจง อธิบายข้อเท็จจริงและความผิดพลาด ให้ชาวบ้านได้เข้าใจเลย และที่สำคัญ นี่เป็นการตัดสินของศาลตามพยานหลักฐานตามกระบวนการยุติธรรมที่ทุกฝ่ายต้องยอมรับไม่ว่าจะเห็นด้วยกับคำตัดสินหรือไม่ก็ตาม !!
ขณะเดียวกัน อีกด้านหนึ่งฝ่ายรัฐที่รับผิดชอบดูแลความสงบเรียบร้อยก็ต้องตื่นตัว เพื่อป้องกันเหตุวุ่นวาย ซึ่งไม่รู้ว่าจะเกิดจากฝ่ายไหน แต่มันก็เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบุคคลที่หนึ่ง ที่สอง และที่สาม ที่แทรกเข้ามาเพื่อสร้างสถานการณ์ก็มีโอกาสเป็นไปได้หมด จนทำให้เวลานี้ เมื่อยิ่งใกล้ถึงวันดีเดย์ บรรยากาศก็ยิ่งเครียดขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อเช็กปฏิกิริยาความเคลื่อนไหวของทั้งสองฝ่าย ก็ถือว่าเข้าขั้น "เต็มที่" เข้ามาทุกที เริ่มจากฝ่ายแรก คือ ฝ่ายของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก่อน บรรดาคนใกล้ชิดเริ่มมีการปลุกระดมกันทางอ้อมมาแบบเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าจะยังถูกควบคุมด้วยคำสั่งพิเศษ อย่างเข้มงวด แต่ก็ยังอาศัยความอ่อนไหวของความรู้สึกมวลชน ที่พยายามจะแสดงให้เห็นว่า ยิ่งลักษณ์ ถูกรังแกอย่างไม่เป็นธรรม ใช้จุดเด่นของ "ผู้หญิง" มาดรามาเรียกน้ำตา ซึ่งที่ผ่านมาแนวทางการเคลื่อนไหวที่ควบคู่กันมาก็คือ "เงินกับมวลชน" ที่ตีคู่กันมาแบบแยกไม่ออก แม้ว่าจะออกมาให้เห็นในแบบ "อำนวยความสะดวก" แต่ในความหมายก็คือ "ท่อน้ำเลี้ยง" ที่ส่งผ่านแกนนำในหลายระดับลงมาเป็นทอดๆ ทั้งเครือข่ายท้องถิ่น ที่เคยเกื้อหนุนกันมา และเชื่อว่าจะต้องใช้ประโยชน์แบบนี้ต่อไปในทางการเมือง จนถึงการเลือกตั้ง
หนังสือเตือนของ พิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส เลขาธิการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ที่ส่งไปถึงกระทรวงมหาดไทย ที่ให้ตรวจสอบการใช้งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) บางแห่ง ที่ใช้งบประมาณผิดประเภท ขนคนมาให้กำลังใจ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยพบว่า ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม วันที่มีการแถลงปิดคดีด้วยวาจา มีการตรวจสอบพบว่ามีมวลชนจากอปท.บางแห่งดังกล่าว ถูกนำไปที่หน้าศาลฎีกาฯ ซึ่งหนังสือเตือนถึงความผิด และอาจถึงขั้นถูกริบงบประมาณ เนื่องจากใช้จ่ายผิดประเภท
**แม้ว่าในหนังสือเตือนจะไม่ระบุว่าเป็นท้องที่ใดบ้าง หรือบางมุมอาจถูกมองเป็นการเมือง ก็อาจมองแบบนั้นใด้ แต่หากเป็นจริงมันก็สะท้อนให้เห็นว่า ระดับผู้บริหารของท้องถิ่นหลายแห่งยังภักดีกับ "ครอบครัวชินวัตร" พวกนี้อยู่ ทั้งที่การอยู่ในตำแหน่งเวลานี้ ก็เป็นเพราะคำสั่งของคสช. ที่ยืดอายุวาระเพื่อรอการเลือกตั้งครั้งใหม่ก็ตาม
สำหรับฝ่ายรัฐบาล และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เวลานี้ถือว่าตื่นต้วเข้มข้นขึ้นทุกที จากเดิมที่มีการเตรียมการจากฝ่ายตำรวจที่ นำโดย พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ฝ่ายคดีความมั่นคง และคดีพิเศษที่เคยเปิดเผยถึงการเตรียมการใช้แผน "กรกฏ 52 "ไว้คอยรับมือ แต่นาทีนี้จะเห็นความเคลื่อนไหวจาก คสช. แบบเต็มตัว ที่นำโดย พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะเลขาฯคสช. เข้ามาเป็น"แม่งาน" โดยตรง ในฐานะผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบ (กกล.รส.) ที่เรียกประชุมหน่วยงานด้านความมั่นคง และ กกล.รส. ทั้ง 4 ภาค เมื่อวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา เพื่อเตรียมการรับมือเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น
รวมทั้งมีการรายงานสถานการณ์ในที่ประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ชุดใหญ่ ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าอีกด้วย ก็ถือว่างานนี้ไม่ธรรมดา เพราะถือว่ามีการ "ยกระดับความสำคัญ"ไม่น้อย มีการประเมินตัวเลขมวลชนที่มีการเปิดเผยออกมาว่า น่าจะมีประมาณ 1-2 พันคน มีการระบุพื้นที่ ที่จะนำมวลชนเข้ามา เช่น จากพื้นที่ปริมณฑลเป็นหลัก รวมไปถึงการประกบติดบรรดาแกนนำนปช. ในพื้นที่บางคน
** มีการเปิดเผยถึงตัวเลขค่ารถตู้สำหรับการขนคนเข้ามาให้กำลังใจ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าตกไม่ต่ำกว่าคันละ 1 แสนบาท
ขณะเดียวกัน ทางกระทรวงมหาดไทย ที่เป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ก็ส่งหนังสือเตือนผ่านไปทางผู้ว่าฯ และนายอำเภอ กำชับให้ตรวจสอบเรื่องการขนคนดังกล่าว ซึ่งอีกด้านหนึ่งมันก็เหมือนกับการ "รับลูก" ได้ทีคุมเข้ม แต่ในภาพรวมทั้งหมด มันก็สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลว่าจะเกิดเหตุการณ์ป่วนขึ้นมาใน วันที่ 25 สิงหาคม ขึ้นมาจริงๆ และเมื่อพิจารณาจากจำนวนมวลชนที่คาดว่าจะขนกันเข้ามาจำนวนไม่ต่ำกว่า 1-2 พันคน ซึ่งนั่นเป็นตัวเลขที่เปิดเผย แต่ตัวเลขในทางไม่เปิดเผย มันก็น่าจะมากกว่านี้ ซึ่งนั่นแหละ อาจจะทำให้ "ป่วน" ขึ้นมาได้
**อีกทั้งคราวนี้มัน "เดิมพันสูง" จึงต้องทำทุกทาง ทั้งดรามา ปลุกระดม ยั่วยุ และแม้กระทั่งกดดันศาล แต่อีกมุมหนึ่งหากมีมวลชนเข้ามาจำนวนมาเท่าใด มันก็ยิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวของฝ่ายรัฐ โดยเฉพาะคณะรักษาความสงบแห่งชาต(คสช.) มากขึ้นเท่านั้น เพราะเท่ากับว่าที่ผ่านมาไม่ได้มีการชี้แจง อธิบายข้อเท็จจริงและความผิดพลาด ให้ชาวบ้านได้เข้าใจเลย และที่สำคัญ นี่เป็นการตัดสินของศาลตามพยานหลักฐานตามกระบวนการยุติธรรมที่ทุกฝ่ายต้องยอมรับไม่ว่าจะเห็นด้วยกับคำตัดสินหรือไม่ก็ตาม !!