“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สัตว์ทั้งหลาย ย่อมเข้ากันได้ ย่อมลงกันได้โดยธาตุ คนมีศรัทธา ย่อมเข้ากันได้ ย่อมลงกันได้กับคนมีศรัทธา คนมีใจละอายต่อบาปเข้ากันได้ ลงกันได้กับคนที่มีใจละอายต่อบาป คนสดับตรับฟังมาก ย่อมเข้ากันได้ลงกันได้กับคนที่สดับตรับฟังมาก คนมีความเพียร ย่อมเข้ากันได้ ลงกันได้กับคนที่มีความเพียร คนมีสติตั้งมั่น ย่อมเข้ากันได้ลงกันได้กับคนที่มีสติตั้งมั่น คนมีปัญญา ย่อมเข้ากันได้ ลงกันได้กับคนที่มีปัญญา แม้ในอดีตอันนานไกล ในอนาคตอันนานไกล ก็เป็นอย่างนี้” นี่คือพุทธพจน์ ซึ่งมีที่มาปรากฏในพระไตรปิฎกเล่มที่ 16 หน้า 191
โดยนัยแห่งพุทธพจน์ข้างต้น มีความหมายชัดเจนว่า คนที่มีพฤติกรรมเหมือนเข้าเป็นพวกเดียวกันได้ เช่น คนเลวกับคนเลว คนดีกับคนดี ย่อมรวมเป็นกลุ่มเดียวกันได้ โดยอาศัยความเหมือนของพฤติกรรม
ด้วยเหตุนี้ ถ้ามีใครสักคนบอกท่านว่าคนนี้ คนนั้นเป็นคนดี แต่มีคนรอบข้างเป็นคนเลว ก็อย่าเพิ่งเชื่อว่าเป็นคนดี จนกว่าจะได้ศึกษาพฤติกรรมให้รอบคอบ และตอบคำถามในประเด็นที่ว่า ถ้าเขาเป็นคนดีแล้ว เหตุใดจึงเข้ากับคนเลวรอบข้างได้ และเขาคบคนเลวไว้เพื่ออะไร ทั้งนี้เนื่องจากว่ามีคนดีบางคนคบคนเลวอยู่รอบข้าง เพื่อที่จะควบคุมความเลวและชี้นำให้เลิก ละความเลวแล้วกลับมาเป็นคนดี คนดีประเภทนี้มีอยู่ แต่มีสถานะเป็นผู้สอน มิได้อยู่ในฐานะถูกคนเลวครอบงำ และทำตามคนเลว ทั้งคนดีประเภทนี้ก็มีอยู่น้อย แต่ส่วนใหญ่มีคนเลวไว้รอบข้างเพื่อใช้ความเลวแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเอง และคนดีประเภทนี้มิใช่คนดี แต่มีพฤติกรรมส่วนหนึ่งเป็นความเลวแฝงเร้นอยู่
ในทางพุทธศาสนาเรียกคนเลว คนชั่วว่าคนพาล และเรียกคนดีว่าบัณฑิต จะเห็นได้ในคำสอนในมงคลสูตรที่การไม่คบคนพาล และการคบบัณฑิต เป็นมงคล เป็นต้น
คนพาลและบัณฑิตแตกต่างกันทางด้านพฤติกรรมที่แสดงออกมา ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ กล่าวคือ คนพาลคิดชั่ว พูดชั่ว และทำชั่ว ส่วนบัณฑิตคิดดี พูดดี และทำดี ดังที่ปรากฏในติกนิบาต ปฐมปัณณาสก์พาลวรรคพระไตรปิฎกเล่มที่ 20 ว่า
“ภัย (สิ่งที่น่ากลัว) อุปทวะ (สิ่งที่เบียดเบียน หรือเป็นอันตราย) อุปสัค (สิ่งที่ขัดข้อง) ทั้งปวงเกิดจากคนพาล ไม่เกิดจากบัณฑิต คนพาลและบัณฑิตมีความแตกต่างกันดังนี้
คนพาลมีพฤติกรรมอันเป็นทุจริต ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
ส่วนบัณฑิตมีพฤติกรรมอันสุจริต ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
อีกประการหนึ่ง คนพาลไม่เห็นโทษในสิ่งที่ตนเองทำคือ ไม่ยอมรับว่าตนเองทำผิด หรือเห็นว่าผิด หรือต้องยอมรับว่าผิด ด้วยจำนนต่อหลักฐานก็ไม่ขอโทษ
ส่วนบัณฑิต เมื่อเห็นว่าตนเองทำผิด ก็ยอมรับผิด และขอโทษต่อผู้เสียหายอันเกิดจากการกระทำของตน
คำว่า พาลในทางพุทธศาสนาหมายถึงคนชั่ว คนเลว คนดื้อด้าน ส่วนบัณฑิตหมายถึงคนดีมีปัญญา รอบรู้ แยกผิด แยกถูกได้ ไม่โง่เง่าดักดานเหมือนคนพาล ดังนั้น การไม่คบคนพาล และคบบัณฑิต จึงเป็นมงคลประการหนึ่ง ตามนัยแห่งมงคลสูตร
โดยปกติแล้ว คนพาลย่อมคบคนพาลด้วยกัน ในทางกลับกัน บัณฑิตย่อมคบบัณฑิตด้วยกัน แต่ถ้าบังเอิญถ้ามีคนกลุ่มหนึ่งยกย่องว่าเป็นคนดี แต่มีคนรอบข้างเป็นคนเลว ก็น่าจะเกิดจากเหตุปัจจัย 2 ประการดังต่อไปนี้
1. คนดีที่ว่านี้มีส่วนหนึ่งเป็นคนเลว แต่อาจเป็นความเลวที่ปกปิดซ่อนเร้น ในทำนองเดียวกับนักบวชประเภทมือถือสาก ปากถือศีล เฉกเช่นฤาษีในเรื่องฤาษีกินเหี้ย ดังนั้นคนดีที่มีความเลวซ่อนเร้นอยู่ จึงคบคนเลว ด้วยอาศัยความเลวที่ซ่อนเร้นนี้
2. คนดีเป็นคนดีจริง แต่มีคนรอบข้างเป็นคนเลว ก็เพื่ออบรมสั่งสอนให้คนเลวเลิกละพฤติกรรมที่ไม่ดี และกลับเป็นคนดีเฉกเช่นครูดีที่มีศิษย์เลว เป็นต้น
สังคมไทยในระยะเวลา 10 กว่าปีมานี้ มีผู้คนส่วนหนึ่งแสดงพฤติกรรมของคนพาล และบัณฑิตให้เห็นอย่างชัดเจน ว่าคนกลุ่มไหนเป็นคนพาล และกลุ่มไหนเป็นบัณฑิต จะเห็นได้อย่างชัดเจนจากความแตกแยกและแบ่งกันเป็นกลุ่ม
ด้วยเหตุนี้ สังคมไทยที่ผ่านมาจึงเกิดความสับสนและวุ่นวาย ไม่รู้จบ และยังไม่มีที่มาว่าจะจบลงได้ง่ายๆ ตราบเท่าที่กลุ่มของคนพาลยังครอบงำความคิดของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครอบงำบุคลากรทางการเมืองอยู่อย่างเหนียวแน่น
จะทำอย่างไรจึงจะแก้ไขความเป็นคนพาลที่ครอบงำสังคมไทยได้?
เกี่ยวกับประเด็นนี้ ทุกคนที่ได้รับความทุกข์ ความเดือดร้อนจากอิทธิพลความคิดของคนพาล กำลังรอคำตอบจากผู้ที่มีความรับผิดในการปกครองประเทศอยู่
แต่อย่างไรก็ตาม ในฐานะสื่อ ผู้เขียนคิดว่าถ้าจะขจัดอิทธิพลทางความคิดของคนพาลที่ครอบงำสังคมไทยอยู่ จะต้องให้ความรู้ ให้ความคิด และให้โอกาสแก่คนทุกคนได้เข้าถึงความจริง โดยผ่านทางการศึกษาและการอบรม ทั้งในสถาบันการศึกษา และนอกสถาบันโดยผ่านทางสื่อแขนงต่างๆ โดยชี้ให้เห็นภัยอุปทวะ และอุปสัคอันเกิดจากคนพาลว่าเป็นเหตุให้ประเทศหายนะอย่างไร พร้อมกับเปิดใจการให้คนพาลได้กลับตัวกลับใจเป็นคนดี ถ้าทำได้เช่นนี้โอกาสที่คนพาลส่วนหนึ่งซึ่งเป็นเนยยะคือ พอแนะนำได้ กลับตัวเป็นคนดีได้ แต่ส่วนหนึ่งที่เหลือซึ่งเป็นปทปรมะคือแนะนำได้ สอนได้ จะต้องควบคุมมิให้มีโอกาสแสดงพฤติกรรมก่อความเดือดร้อนแก่ปวงชนโดยรวมต่อไป
สุดท้ายขอจบด้วยกวีบทนี้
“คบคนพาล พาลพา ไปหาผิด
คบบัณฑิต บัณฑิตพา ไปหาผล”
พาลคบพาล ผลาญพร่า ปัญญาตน
คราอับจน จึงรู้ว่า มาผิดทาง
โดยนัยแห่งพุทธพจน์ข้างต้น มีความหมายชัดเจนว่า คนที่มีพฤติกรรมเหมือนเข้าเป็นพวกเดียวกันได้ เช่น คนเลวกับคนเลว คนดีกับคนดี ย่อมรวมเป็นกลุ่มเดียวกันได้ โดยอาศัยความเหมือนของพฤติกรรม
ด้วยเหตุนี้ ถ้ามีใครสักคนบอกท่านว่าคนนี้ คนนั้นเป็นคนดี แต่มีคนรอบข้างเป็นคนเลว ก็อย่าเพิ่งเชื่อว่าเป็นคนดี จนกว่าจะได้ศึกษาพฤติกรรมให้รอบคอบ และตอบคำถามในประเด็นที่ว่า ถ้าเขาเป็นคนดีแล้ว เหตุใดจึงเข้ากับคนเลวรอบข้างได้ และเขาคบคนเลวไว้เพื่ออะไร ทั้งนี้เนื่องจากว่ามีคนดีบางคนคบคนเลวอยู่รอบข้าง เพื่อที่จะควบคุมความเลวและชี้นำให้เลิก ละความเลวแล้วกลับมาเป็นคนดี คนดีประเภทนี้มีอยู่ แต่มีสถานะเป็นผู้สอน มิได้อยู่ในฐานะถูกคนเลวครอบงำ และทำตามคนเลว ทั้งคนดีประเภทนี้ก็มีอยู่น้อย แต่ส่วนใหญ่มีคนเลวไว้รอบข้างเพื่อใช้ความเลวแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเอง และคนดีประเภทนี้มิใช่คนดี แต่มีพฤติกรรมส่วนหนึ่งเป็นความเลวแฝงเร้นอยู่
ในทางพุทธศาสนาเรียกคนเลว คนชั่วว่าคนพาล และเรียกคนดีว่าบัณฑิต จะเห็นได้ในคำสอนในมงคลสูตรที่การไม่คบคนพาล และการคบบัณฑิต เป็นมงคล เป็นต้น
คนพาลและบัณฑิตแตกต่างกันทางด้านพฤติกรรมที่แสดงออกมา ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ กล่าวคือ คนพาลคิดชั่ว พูดชั่ว และทำชั่ว ส่วนบัณฑิตคิดดี พูดดี และทำดี ดังที่ปรากฏในติกนิบาต ปฐมปัณณาสก์พาลวรรคพระไตรปิฎกเล่มที่ 20 ว่า
“ภัย (สิ่งที่น่ากลัว) อุปทวะ (สิ่งที่เบียดเบียน หรือเป็นอันตราย) อุปสัค (สิ่งที่ขัดข้อง) ทั้งปวงเกิดจากคนพาล ไม่เกิดจากบัณฑิต คนพาลและบัณฑิตมีความแตกต่างกันดังนี้
คนพาลมีพฤติกรรมอันเป็นทุจริต ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
ส่วนบัณฑิตมีพฤติกรรมอันสุจริต ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
อีกประการหนึ่ง คนพาลไม่เห็นโทษในสิ่งที่ตนเองทำคือ ไม่ยอมรับว่าตนเองทำผิด หรือเห็นว่าผิด หรือต้องยอมรับว่าผิด ด้วยจำนนต่อหลักฐานก็ไม่ขอโทษ
ส่วนบัณฑิต เมื่อเห็นว่าตนเองทำผิด ก็ยอมรับผิด และขอโทษต่อผู้เสียหายอันเกิดจากการกระทำของตน
คำว่า พาลในทางพุทธศาสนาหมายถึงคนชั่ว คนเลว คนดื้อด้าน ส่วนบัณฑิตหมายถึงคนดีมีปัญญา รอบรู้ แยกผิด แยกถูกได้ ไม่โง่เง่าดักดานเหมือนคนพาล ดังนั้น การไม่คบคนพาล และคบบัณฑิต จึงเป็นมงคลประการหนึ่ง ตามนัยแห่งมงคลสูตร
โดยปกติแล้ว คนพาลย่อมคบคนพาลด้วยกัน ในทางกลับกัน บัณฑิตย่อมคบบัณฑิตด้วยกัน แต่ถ้าบังเอิญถ้ามีคนกลุ่มหนึ่งยกย่องว่าเป็นคนดี แต่มีคนรอบข้างเป็นคนเลว ก็น่าจะเกิดจากเหตุปัจจัย 2 ประการดังต่อไปนี้
1. คนดีที่ว่านี้มีส่วนหนึ่งเป็นคนเลว แต่อาจเป็นความเลวที่ปกปิดซ่อนเร้น ในทำนองเดียวกับนักบวชประเภทมือถือสาก ปากถือศีล เฉกเช่นฤาษีในเรื่องฤาษีกินเหี้ย ดังนั้นคนดีที่มีความเลวซ่อนเร้นอยู่ จึงคบคนเลว ด้วยอาศัยความเลวที่ซ่อนเร้นนี้
2. คนดีเป็นคนดีจริง แต่มีคนรอบข้างเป็นคนเลว ก็เพื่ออบรมสั่งสอนให้คนเลวเลิกละพฤติกรรมที่ไม่ดี และกลับเป็นคนดีเฉกเช่นครูดีที่มีศิษย์เลว เป็นต้น
สังคมไทยในระยะเวลา 10 กว่าปีมานี้ มีผู้คนส่วนหนึ่งแสดงพฤติกรรมของคนพาล และบัณฑิตให้เห็นอย่างชัดเจน ว่าคนกลุ่มไหนเป็นคนพาล และกลุ่มไหนเป็นบัณฑิต จะเห็นได้อย่างชัดเจนจากความแตกแยกและแบ่งกันเป็นกลุ่ม
ด้วยเหตุนี้ สังคมไทยที่ผ่านมาจึงเกิดความสับสนและวุ่นวาย ไม่รู้จบ และยังไม่มีที่มาว่าจะจบลงได้ง่ายๆ ตราบเท่าที่กลุ่มของคนพาลยังครอบงำความคิดของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครอบงำบุคลากรทางการเมืองอยู่อย่างเหนียวแน่น
จะทำอย่างไรจึงจะแก้ไขความเป็นคนพาลที่ครอบงำสังคมไทยได้?
เกี่ยวกับประเด็นนี้ ทุกคนที่ได้รับความทุกข์ ความเดือดร้อนจากอิทธิพลความคิดของคนพาล กำลังรอคำตอบจากผู้ที่มีความรับผิดในการปกครองประเทศอยู่
แต่อย่างไรก็ตาม ในฐานะสื่อ ผู้เขียนคิดว่าถ้าจะขจัดอิทธิพลทางความคิดของคนพาลที่ครอบงำสังคมไทยอยู่ จะต้องให้ความรู้ ให้ความคิด และให้โอกาสแก่คนทุกคนได้เข้าถึงความจริง โดยผ่านทางการศึกษาและการอบรม ทั้งในสถาบันการศึกษา และนอกสถาบันโดยผ่านทางสื่อแขนงต่างๆ โดยชี้ให้เห็นภัยอุปทวะ และอุปสัคอันเกิดจากคนพาลว่าเป็นเหตุให้ประเทศหายนะอย่างไร พร้อมกับเปิดใจการให้คนพาลได้กลับตัวกลับใจเป็นคนดี ถ้าทำได้เช่นนี้โอกาสที่คนพาลส่วนหนึ่งซึ่งเป็นเนยยะคือ พอแนะนำได้ กลับตัวเป็นคนดีได้ แต่ส่วนหนึ่งที่เหลือซึ่งเป็นปทปรมะคือแนะนำได้ สอนได้ จะต้องควบคุมมิให้มีโอกาสแสดงพฤติกรรมก่อความเดือดร้อนแก่ปวงชนโดยรวมต่อไป
สุดท้ายขอจบด้วยกวีบทนี้
“คบคนพาล พาลพา ไปหาผิด
คบบัณฑิต บัณฑิตพา ไปหาผล”
พาลคบพาล ผลาญพร่า ปัญญาตน
คราอับจน จึงรู้ว่า มาผิดทาง