น.ส.เมรี รัตนราชชาติกุล ผู้บริหารบริษัทสวนอุทยานทองผาภูมิ จำกัด เปิดเผยว่า ตนเตรียมยื่นหนังสือร้องเรียนการประพฤติมิชอบของ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ต่อเลขาธิการ คสช. -ป.ป.ช. และ ป.ป.ท. เนื่องจากปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามมาตรา 157 โดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 6
น.ส.เมรี กล่าวว่า บริษัทฯ ได้รับอนุญาตปลูกป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อเดือนก.ย.29 เพื่อปลูกสร้างสวนป่าเนื้อที่ 702 ไร่ และเพื่อจัดตั้งวนอุทยานเนื้อที่ 401 ไร่ รวม 1,104 ไร่ ที่ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เป็นเวลา 15 ปี โดยรัฐบาลขณะนั้น มีนโยบายส่งเสริมเอกชนปลูกป่าศก. ในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม
ต่อมาปี 34 กรมอุทยานฯ ประกาศเขตอุทยาน ทับพื้นที่บริษัทฯและปฏิเสธจ่ายค่าชดเชย ที่บริษัทฯควรได้รับ จากการลงทุนปลูกไม้สักไปแล้ว
ต่อมาในปี 48 อุทยานแห่งชาติเขาแหลม และ ผวจ.กาญจนบุรี ในสมัยนั้น ได้ยอมรับว่า ปัญหาดังกล่าวเกิดจากความผิดพลาดของจนท.กรมอุทยานฯ ที่ไม่ทำการบินสำรวจ และเดินสำรวจทางพื้นดินในพื้นที่จริง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ก่อนประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งใหม่ จึงมีหนังสือเห็นควรให้ความเป็นธรรม และเยียวยาต่อบริษัทฯ แต่กรมอุทยานฯกลับนิ่งเฉย และ ต่อมาปี 49 บริษัทฯได้ทำหนังสือขอความเป็นธรรม จากความเสียหายที่เกิดขึ้น จำนวน 116 ล้านบาท จากมูลค่าไม้สัก นับแสนต้น กระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลาง ได้พิจารณาปัญหาดังกล่าวแล้ว มีความเห็นว่า เป็นความบกพร่องของทางราชการ เนื่องจากเอาผลประโยชน์จากการปลูกต้นไม้ที่บริษัทฯได้ลงทุนไป เป็นของรัฐ โดยไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น
น.ส.เมรี กล่าวว่าก่อนหน้านี้ มีคำวินิจฉัยกฤษฎีกา กรมบัญชีกลาง กรมป่าไม้ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่าเป็นความบกพร่องของกรมอุทยานฯ ก็ควรจ่ายชดเชยค่าเสียหายให้แก่บริษัทฯ โดยยึดหลักจำนวนเงินที่บริษัทฯได้ลงทุนรวมกับค่าธรรมเนียมที่ชำระให้แก่รัฐ คิดคำนวณดอก เบี้ย 7.5% ต่อปี ตั้งแต่มีการลงทุนและจ่ายค่าธรรมเนียมจนปัจจุบัน ขณะนี้เวลาล่วงเลยมากว่า 26 ปีแล้ว ยังไม่มีความคืบหน้า จึงเป็นสาเหตุที่ออกมาร้องเรียน และขอความเป็นธรรมจากนายกรัฐมนตรีด้วย
น.ส.เมรี กล่าวว่า บริษัทฯ ได้รับอนุญาตปลูกป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อเดือนก.ย.29 เพื่อปลูกสร้างสวนป่าเนื้อที่ 702 ไร่ และเพื่อจัดตั้งวนอุทยานเนื้อที่ 401 ไร่ รวม 1,104 ไร่ ที่ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เป็นเวลา 15 ปี โดยรัฐบาลขณะนั้น มีนโยบายส่งเสริมเอกชนปลูกป่าศก. ในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม
ต่อมาปี 34 กรมอุทยานฯ ประกาศเขตอุทยาน ทับพื้นที่บริษัทฯและปฏิเสธจ่ายค่าชดเชย ที่บริษัทฯควรได้รับ จากการลงทุนปลูกไม้สักไปแล้ว
ต่อมาในปี 48 อุทยานแห่งชาติเขาแหลม และ ผวจ.กาญจนบุรี ในสมัยนั้น ได้ยอมรับว่า ปัญหาดังกล่าวเกิดจากความผิดพลาดของจนท.กรมอุทยานฯ ที่ไม่ทำการบินสำรวจ และเดินสำรวจทางพื้นดินในพื้นที่จริง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ก่อนประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งใหม่ จึงมีหนังสือเห็นควรให้ความเป็นธรรม และเยียวยาต่อบริษัทฯ แต่กรมอุทยานฯกลับนิ่งเฉย และ ต่อมาปี 49 บริษัทฯได้ทำหนังสือขอความเป็นธรรม จากความเสียหายที่เกิดขึ้น จำนวน 116 ล้านบาท จากมูลค่าไม้สัก นับแสนต้น กระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลาง ได้พิจารณาปัญหาดังกล่าวแล้ว มีความเห็นว่า เป็นความบกพร่องของทางราชการ เนื่องจากเอาผลประโยชน์จากการปลูกต้นไม้ที่บริษัทฯได้ลงทุนไป เป็นของรัฐ โดยไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น
น.ส.เมรี กล่าวว่าก่อนหน้านี้ มีคำวินิจฉัยกฤษฎีกา กรมบัญชีกลาง กรมป่าไม้ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่าเป็นความบกพร่องของกรมอุทยานฯ ก็ควรจ่ายชดเชยค่าเสียหายให้แก่บริษัทฯ โดยยึดหลักจำนวนเงินที่บริษัทฯได้ลงทุนรวมกับค่าธรรมเนียมที่ชำระให้แก่รัฐ คิดคำนวณดอก เบี้ย 7.5% ต่อปี ตั้งแต่มีการลงทุนและจ่ายค่าธรรมเนียมจนปัจจุบัน ขณะนี้เวลาล่วงเลยมากว่า 26 ปีแล้ว ยังไม่มีความคืบหน้า จึงเป็นสาเหตุที่ออกมาร้องเรียน และขอความเป็นธรรมจากนายกรัฐมนตรีด้วย