**ไม่ว่าประเทศไทยจะพัฒนาไปสู่ยุค 4.0 หรือ 5.0 ก็แล้วแต่ แต่ตราบใดที่ยังไม่อาจยกระดับราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะสินค้าเกษตรตัวหลัก เช่น ข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง ให้มีราคาแบบมาตรฐานให้เกษตรกรมีกำไร จนสามารถใช้ชีวิตตามปกติได้ เมื่อนั้นก็ยังถือว่ารัฐบาลยังไม่อาจก้าวข้ามปัญหาดั้งเดิมที่เป็นต้นตอของความยากจนของชาวบ้านส่วนใหญ่ในประเทศนี้ ซึ่งก็จะจมปลักอยู่กับปัญหาแบบนี้กันไปตลอด
อันที่จริงจะว่าไปแล้วสำหรับประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมมาตั้งแต่โบราณ ย่อมมีความเชี่ยวชาญทางการเกษตรในระดับแถวหน้า แต่กลายเป็นว่า ยิ่งปลูกยิ่งจน ปัญหาอาจเป็นเพราะขาดการวางแผน วิธีการจัดการแบบที่เรียกว่าเป็นองค์รวม หรือต่างคนต่างปลูก แย่งกันขาย หรืออีกด้านหนึ่งคือ ปลูกแล้วไม่มีที่ขาย หรือสินค้าเกษตรเน่าเสียเร็ว จนขาดอำนาจการต่อรอง เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ปัญหาทั้งหลายทั้งปวงเมื่อรูปแบบเปลี่ยนไปจากเดิมที่ปลูกเพื่อการบริโภค แลกเปลี่ยนระหว่างกัน กลายเป็นปลูกเพื่อการค้า เพื่อเศรษฐกิจในครัวเรือน มีผลต่อเศรษฐกิจของชาติในภาพรวม ก็ต้องมีการบริหารจัดการจากภาครัฐเข้ามาช่วย ดังนั้นนาทีนี้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ หรือราคาไม่ดี ล้วนมีสาเหตุจากรัฐบาล โดยเฉพาะจากบรรดารัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง อย่างเลี่ยงไม่ได้
แน่นอนว่าหากพูดถึงรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับบรรดาเกษตรกรโดยตรง นอกเหนือจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติลงมาแล้ว ก็ต้องมี พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรืออาจมีรัฐมนตรีช่วยว่าการท่านอื่นร่วมด้วย รวมไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังด้วย แต่หากพิจารณากันแบบตรงตัวจริงๆก็ต้องเป็นสองคนข้างต้นคือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่คนแรกวางแผนเกี่ยวกับพื้นที่ปลูก วิชาการเกษตร เรื่องปุ๋ย เรื่องยาปราบศัตรูพืช อะไรแบบนี้ ส่วนกระทรวงพาณิชย์ ก็มาร่วมดูแลเรื่องการตลาด การขายสินค้าผลผลิตทั้งตลาดภายใน และส่งออก แม้ว่ามีบางหน่วยงานจะทับซ้อนกัน แต่ก็ถือว่าไม่พ้นสองคนนี้
ดังนั้นหากปีใดที่ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ก็ต้องชี้หน้ากล่าวโทษพวกเขาด้วย หากราคาดี ก็ต้องให้เครดิต แต่อย่างไรก็ดี ผ่านมากว่า 3 ปี ในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ค่อยปรากฏว่าจะมีราคาดีจนชาวบ้านมีกำไรแบบลืมตาอ้าปากได้
เริ่มจากราคาสินค้าเกษตรตัวหลัก อย่างเช่น ยางพารา หากพิจารณากันแบบเป็นธรรม อาจจะกล่าวโทษรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงพาณิชย์ได้ไม่เต็มที่ ข้ออ้างในเรื่องกลไกตลาดภายนอกเป็นตัวกำหนด การรับซื้อของต่างประเทศยังไม่ค่อยกระเตื้อง ก็ไม่ว่ากัน ขณะเดียวกันพื้นที่การปลูกยางยังมีจำนวนมากที่สุดในโลก อย่างน้อยก็มากกว่า อินโดฯ และมาเลเซีย ที่เป็น 3 ประเทศหลัก ที่ตกลงร่วมกันแก้ปัญหาราคา ที่ล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เปิดเผยว่าไทยถูกสองประเทศดังกล่าวรุมตำหนิว่าเป็น "ตัวปัญหา" ทำลายราคายาง เนื่องจากมีพื้นที่ปลูกมากจนแก้ปัญหายาก ก็ไม่ว่ากัน
**แต่คำถามก็คือ ที่ผ่านมาเมื่อปี สองปีก่อน หากจำกันได้ เมื่อมีปัญหาราคายางตกต่ำ เกษตรกรออกมาโวยวายขู่จะประท้วง รัฐบาลก็บอกว่าจะแก้ปัญหาแบบระยะยาวโดยการสนับสนุนให้เพิ่มมูลค่าส่งเสริมให้มีการแปรรูปภายในประเทศ มีการเพิ่มสัดส่วนในการผสมพื้นผิวถนน ให้ท้องถิ่นใช้น้ำยางผสมในการก่อสร้างสนามกีฬา เป็นต้น ก็อยากรู้ว่า มีการคืบหน้าไปถึงไหน และใช้จริงหรือไม่ ทำไมปริมาณยางยังล้นตลาด และราคาตกต่ำกว่าปีที่ผ่านมาจนเหลือ สามกิโลร้อยแล้ว
เรื่องราคาปาล์มก็ตกต่ำแทบไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นแบบนี้ไปได้ ทั้งที่รัฐบาลน่าจะบริหารจัดการได้ ล่าสุดไม่นานมานี้ก็เพิ่งจะมีการกำหนดให้เพิ่มส่วนผสมจากปาล์มในน้ำมันไบโอดีเซล เป็นร้อยละ 7 แต่ก็มีปัญหาเรื่องนำเข้าน้ำมันปาล์มเถื่อนอีกจนกดราคาซ้ำเติม
เรื่องข้าวก็เช่นเดียวกัน เรื่องลดพื้นที่แล้วกำหนดพื้นที่เพาะปลูกเป็นแปลงใหญ่ในแหล่งเหมาะสม จะได้ผลตามที่คุยโม้หรือไม่ เพราะผ่านมาสองสามปีแล้ว น่าจะเห็นผล ประกอบกับที่อ้างว่าหลังจากระบายข้าวจำนำในยุครัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กว่า 18 ล้านตันออกไปหมดแล้ว ทำให้ความกดดันด้านราคาในตลาดหมดไป และเป็นยุคขาขึ้นของราคาข้าวนั้น จะจริงหรือเปล่า แต่ที่ผ่านมาชาวนาบ่นกันอุบ จนทำให้พวกพรรคเพื่อไทย นำไปตีกิน หาเสียงโจมตีมั่วๆว่า ราคาตกต่ำเพราะไม่มีจำนำข้าว แต่ที่ผ่านมารัฐบาลนี้ก็ไม่ค่อยชี้แจงให้เข้าใจ
อย่างไรก็ดี หากพูดเรื่องราคาที่ถือว่าดีก็น่าจะมีแต่ทุเรียน ที่ถือว่ามีการบริหารจัดการที่ใช้ได้ ประกอบกับกระแสในโลกโซเชียลฯ ที่สร้างกระแสกินทุเรียน อีกทั้งมีการระบายออกสู่ตลาด ทั้งภายใน และส่งออกได้อย่างเป็นระบบ ในประเทศมีการร่วมมือกับห้างยักษ์ใหญ่ เปิดตลาดนัดระบายสินค้าซับปริมาณส่วนเกินได้รวดเร็ว ก็ถือว่าทำได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้เห็นแอ็กชั่นของ สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในการวางแผนด้านการตลาดสินค้าเกษตรตามฤดูกาลได้อย่างเป็นระบบ ก็น่าจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องกับสินค้าอื่นๆ ด้วย
เพราะอีกไม่นานก็จะมีสินค้าเกษตรอื่นๆ ทะลักออกมาตามฤดูกาล เช่น มังคุด เงาะ ลองกอง ลำใย เป็นต้น จากภาคตะวันออก แล้วก็มาที่ผลไม้ภาคใต้ ภาคเหนือ คำถามก็คือ รัฐบาลโดยรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องวางแผนจัดการระบายสินค้าเกษตรเหล่านี้ล่วงหน้าได้จริงแค่ไหน เพราะอย่างที่รู้กันว่าเป็นสินค้าเน่าเสียเร็ว หากระบายดูดซับส่วนเกินออกจากพื้นที่เพาะปลูกไม่ทัน มันก็ยิ่งกดราคา ยิ่งขาดทุน ทุกอย่างถึงได้บอกว่า นี่คือการพิสูจน์คำพูดเรื่องบูรณาการระหว่างหน่วยงานอย่างแท้จริง ทั้งกระทรวงเกษตร มหาดไทย พาณิชย์ รวมไปถึงกระทรวงคมนาคม คลัง ซึ่งปัจจุบันนี้กลายเป็นกระทรวงเศรษฐกิจ ไปหมดแล้ว
บางครั้งมันก็เป็นเรื่องแปลก ที่จะว่าไปแล้วเป็นปัญหาซ้ำซากทุกปี แต่ก็ปล่อยให้เกิดขึ้นและขยายวงกว้าง แทนที่ในทางตรงกันข้ามน่าจะมีประสบการณ์ มีวิธีแก้ปัญหาในการปรับใช้ น่าจะเป็นประเทศที่มีการบริหารจัดการเรื่องพื้นที่การเกษตร และบริหารเรื่องผลผลิตได้อย่างดีเยี่ยม เพราะมีประสบการณ์แบบนี้มานานนับร้อยปีแล้ว ดังนั้นเมื่อยังมีปัญหาซ้ำซาก มันก็ต้องกล่าวโทษรัฐมนตรีว่าด้อยประสิทธิภาพ ทำงานเฉื่อย เป็นตัวถ่วง เพราะผ่านมา 3 ปีแล้วก็ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงแบบมีนัยสำคัญเลย
และเรื่องราคาสินค้าเกษตรตกต่ำนี่แหละจะเป็นตัวฉุดการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะตราบใดก็ตาม เมื่อเกษตรกรที่เป็นคนส่วนใหญ่ระดับล่างไม่มีกำลังซื้อ มันก็พอหลับตานึกภาพออก
**ขณะเดียวกัน ยังส่งผลกระทบไปถึงการเมือง ที่จะทำให้ฝ่ายตรงข้ามนำไปขยายผลโจมตีไปถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้กลายเป็นเป้านิ่ง ซึ่งก็ได้ผลเพราะเป็นภาพที่ประจักษ์อยู่ตรงหน้า อธิบายไม่ออกอยู่แล้ว !!
อันที่จริงจะว่าไปแล้วสำหรับประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมมาตั้งแต่โบราณ ย่อมมีความเชี่ยวชาญทางการเกษตรในระดับแถวหน้า แต่กลายเป็นว่า ยิ่งปลูกยิ่งจน ปัญหาอาจเป็นเพราะขาดการวางแผน วิธีการจัดการแบบที่เรียกว่าเป็นองค์รวม หรือต่างคนต่างปลูก แย่งกันขาย หรืออีกด้านหนึ่งคือ ปลูกแล้วไม่มีที่ขาย หรือสินค้าเกษตรเน่าเสียเร็ว จนขาดอำนาจการต่อรอง เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ปัญหาทั้งหลายทั้งปวงเมื่อรูปแบบเปลี่ยนไปจากเดิมที่ปลูกเพื่อการบริโภค แลกเปลี่ยนระหว่างกัน กลายเป็นปลูกเพื่อการค้า เพื่อเศรษฐกิจในครัวเรือน มีผลต่อเศรษฐกิจของชาติในภาพรวม ก็ต้องมีการบริหารจัดการจากภาครัฐเข้ามาช่วย ดังนั้นนาทีนี้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ หรือราคาไม่ดี ล้วนมีสาเหตุจากรัฐบาล โดยเฉพาะจากบรรดารัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง อย่างเลี่ยงไม่ได้
แน่นอนว่าหากพูดถึงรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับบรรดาเกษตรกรโดยตรง นอกเหนือจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติลงมาแล้ว ก็ต้องมี พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรืออาจมีรัฐมนตรีช่วยว่าการท่านอื่นร่วมด้วย รวมไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังด้วย แต่หากพิจารณากันแบบตรงตัวจริงๆก็ต้องเป็นสองคนข้างต้นคือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่คนแรกวางแผนเกี่ยวกับพื้นที่ปลูก วิชาการเกษตร เรื่องปุ๋ย เรื่องยาปราบศัตรูพืช อะไรแบบนี้ ส่วนกระทรวงพาณิชย์ ก็มาร่วมดูแลเรื่องการตลาด การขายสินค้าผลผลิตทั้งตลาดภายใน และส่งออก แม้ว่ามีบางหน่วยงานจะทับซ้อนกัน แต่ก็ถือว่าไม่พ้นสองคนนี้
ดังนั้นหากปีใดที่ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ก็ต้องชี้หน้ากล่าวโทษพวกเขาด้วย หากราคาดี ก็ต้องให้เครดิต แต่อย่างไรก็ดี ผ่านมากว่า 3 ปี ในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ค่อยปรากฏว่าจะมีราคาดีจนชาวบ้านมีกำไรแบบลืมตาอ้าปากได้
เริ่มจากราคาสินค้าเกษตรตัวหลัก อย่างเช่น ยางพารา หากพิจารณากันแบบเป็นธรรม อาจจะกล่าวโทษรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงพาณิชย์ได้ไม่เต็มที่ ข้ออ้างในเรื่องกลไกตลาดภายนอกเป็นตัวกำหนด การรับซื้อของต่างประเทศยังไม่ค่อยกระเตื้อง ก็ไม่ว่ากัน ขณะเดียวกันพื้นที่การปลูกยางยังมีจำนวนมากที่สุดในโลก อย่างน้อยก็มากกว่า อินโดฯ และมาเลเซีย ที่เป็น 3 ประเทศหลัก ที่ตกลงร่วมกันแก้ปัญหาราคา ที่ล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เปิดเผยว่าไทยถูกสองประเทศดังกล่าวรุมตำหนิว่าเป็น "ตัวปัญหา" ทำลายราคายาง เนื่องจากมีพื้นที่ปลูกมากจนแก้ปัญหายาก ก็ไม่ว่ากัน
**แต่คำถามก็คือ ที่ผ่านมาเมื่อปี สองปีก่อน หากจำกันได้ เมื่อมีปัญหาราคายางตกต่ำ เกษตรกรออกมาโวยวายขู่จะประท้วง รัฐบาลก็บอกว่าจะแก้ปัญหาแบบระยะยาวโดยการสนับสนุนให้เพิ่มมูลค่าส่งเสริมให้มีการแปรรูปภายในประเทศ มีการเพิ่มสัดส่วนในการผสมพื้นผิวถนน ให้ท้องถิ่นใช้น้ำยางผสมในการก่อสร้างสนามกีฬา เป็นต้น ก็อยากรู้ว่า มีการคืบหน้าไปถึงไหน และใช้จริงหรือไม่ ทำไมปริมาณยางยังล้นตลาด และราคาตกต่ำกว่าปีที่ผ่านมาจนเหลือ สามกิโลร้อยแล้ว
เรื่องราคาปาล์มก็ตกต่ำแทบไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นแบบนี้ไปได้ ทั้งที่รัฐบาลน่าจะบริหารจัดการได้ ล่าสุดไม่นานมานี้ก็เพิ่งจะมีการกำหนดให้เพิ่มส่วนผสมจากปาล์มในน้ำมันไบโอดีเซล เป็นร้อยละ 7 แต่ก็มีปัญหาเรื่องนำเข้าน้ำมันปาล์มเถื่อนอีกจนกดราคาซ้ำเติม
เรื่องข้าวก็เช่นเดียวกัน เรื่องลดพื้นที่แล้วกำหนดพื้นที่เพาะปลูกเป็นแปลงใหญ่ในแหล่งเหมาะสม จะได้ผลตามที่คุยโม้หรือไม่ เพราะผ่านมาสองสามปีแล้ว น่าจะเห็นผล ประกอบกับที่อ้างว่าหลังจากระบายข้าวจำนำในยุครัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กว่า 18 ล้านตันออกไปหมดแล้ว ทำให้ความกดดันด้านราคาในตลาดหมดไป และเป็นยุคขาขึ้นของราคาข้าวนั้น จะจริงหรือเปล่า แต่ที่ผ่านมาชาวนาบ่นกันอุบ จนทำให้พวกพรรคเพื่อไทย นำไปตีกิน หาเสียงโจมตีมั่วๆว่า ราคาตกต่ำเพราะไม่มีจำนำข้าว แต่ที่ผ่านมารัฐบาลนี้ก็ไม่ค่อยชี้แจงให้เข้าใจ
อย่างไรก็ดี หากพูดเรื่องราคาที่ถือว่าดีก็น่าจะมีแต่ทุเรียน ที่ถือว่ามีการบริหารจัดการที่ใช้ได้ ประกอบกับกระแสในโลกโซเชียลฯ ที่สร้างกระแสกินทุเรียน อีกทั้งมีการระบายออกสู่ตลาด ทั้งภายใน และส่งออกได้อย่างเป็นระบบ ในประเทศมีการร่วมมือกับห้างยักษ์ใหญ่ เปิดตลาดนัดระบายสินค้าซับปริมาณส่วนเกินได้รวดเร็ว ก็ถือว่าทำได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้เห็นแอ็กชั่นของ สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในการวางแผนด้านการตลาดสินค้าเกษตรตามฤดูกาลได้อย่างเป็นระบบ ก็น่าจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องกับสินค้าอื่นๆ ด้วย
เพราะอีกไม่นานก็จะมีสินค้าเกษตรอื่นๆ ทะลักออกมาตามฤดูกาล เช่น มังคุด เงาะ ลองกอง ลำใย เป็นต้น จากภาคตะวันออก แล้วก็มาที่ผลไม้ภาคใต้ ภาคเหนือ คำถามก็คือ รัฐบาลโดยรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องวางแผนจัดการระบายสินค้าเกษตรเหล่านี้ล่วงหน้าได้จริงแค่ไหน เพราะอย่างที่รู้กันว่าเป็นสินค้าเน่าเสียเร็ว หากระบายดูดซับส่วนเกินออกจากพื้นที่เพาะปลูกไม่ทัน มันก็ยิ่งกดราคา ยิ่งขาดทุน ทุกอย่างถึงได้บอกว่า นี่คือการพิสูจน์คำพูดเรื่องบูรณาการระหว่างหน่วยงานอย่างแท้จริง ทั้งกระทรวงเกษตร มหาดไทย พาณิชย์ รวมไปถึงกระทรวงคมนาคม คลัง ซึ่งปัจจุบันนี้กลายเป็นกระทรวงเศรษฐกิจ ไปหมดแล้ว
บางครั้งมันก็เป็นเรื่องแปลก ที่จะว่าไปแล้วเป็นปัญหาซ้ำซากทุกปี แต่ก็ปล่อยให้เกิดขึ้นและขยายวงกว้าง แทนที่ในทางตรงกันข้ามน่าจะมีประสบการณ์ มีวิธีแก้ปัญหาในการปรับใช้ น่าจะเป็นประเทศที่มีการบริหารจัดการเรื่องพื้นที่การเกษตร และบริหารเรื่องผลผลิตได้อย่างดีเยี่ยม เพราะมีประสบการณ์แบบนี้มานานนับร้อยปีแล้ว ดังนั้นเมื่อยังมีปัญหาซ้ำซาก มันก็ต้องกล่าวโทษรัฐมนตรีว่าด้อยประสิทธิภาพ ทำงานเฉื่อย เป็นตัวถ่วง เพราะผ่านมา 3 ปีแล้วก็ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงแบบมีนัยสำคัญเลย
และเรื่องราคาสินค้าเกษตรตกต่ำนี่แหละจะเป็นตัวฉุดการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะตราบใดก็ตาม เมื่อเกษตรกรที่เป็นคนส่วนใหญ่ระดับล่างไม่มีกำลังซื้อ มันก็พอหลับตานึกภาพออก
**ขณะเดียวกัน ยังส่งผลกระทบไปถึงการเมือง ที่จะทำให้ฝ่ายตรงข้ามนำไปขยายผลโจมตีไปถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้กลายเป็นเป้านิ่ง ซึ่งก็ได้ผลเพราะเป็นภาพที่ประจักษ์อยู่ตรงหน้า อธิบายไม่ออกอยู่แล้ว !!