xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

จากไทยไปยุโรป ไม่ต้องขึ้นรถไฟจีนก็ไปถึง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


"ฝั่งขวาเจ้าพระยา"
"โชกุน"

หลังจากสีจิ้นผิง ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการกลาง พรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้ 2 สัปดาห์ เขาได้พดถึง Chinese Dream หรือ ความใฝ่ฝันของชาวจีน เป็นครั้งแรก ระหว่างการเยี่ยมชมนิทรรศการ “ หนทางสู่ความเจริญรุ่งเรือง” ที่พิพิธภัณฑ์ แห่งชาติจีน ในกรุงปักกิ่ง

ความใฝ่ฝันของชาวจีนคือ การฟื้นฟูประเทศ ให้ยิ่งใหญ่ มีความเจริญรุ่งเรือง

ในการปฏิญานตนเข้ารับตำแหน่ง ประธานาธิบดี ต่อหน้าที่ประชุมสมัชชาผู้แทนประชาชนจีน เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2556 สี จิ้นผิง เอ่ยคำว่า “ จง กั๋ว ม่ง” หรือ Chinese Dream ถึง 9 ครั้ง นับจากนั้นเป็นต้นมา คำนี้ก็ภูกนำไปถ่ายทอด ขยายความ เผยแพร่ไปทั่วแผ่นดินจีน

Chinese Dream คือ วิสัยทัศน์ของจีน ที่ประชาชนมีชีวิตที่ดีอย่างทั่วถึง ประเทศมีความทันสมัย มีระบบสังคมนิยมที่เข้มแข็ง ยกระดับ เป็นประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้ว ภายในปี พ.ศ. 2592 ซึ่งเป็นปีที่ 100 ของกาสถาปนาประเทศจีนใหม่ ภายใต้การปกครองของพรรคคอมมิวนิสตืแห่งประเทศจีน
โครงการหนึ่งแถบ หนึ่งถนน หรือ One Belt One Road เป็นหนึ่งในเส้นทางสู่ฝันอันยิ่งใหญ่ของจีน ที่จะเชื่อมโยงจีนกับยุโรป ผ่านเอเชียกลาง เชื่อมโยงกับอ่าวเปอร์เซีย และทะเลเมดิเตอร์เรีเนียน ผ่านเอเชียตะวันตก เชื่อมโยงกับมหาสมุทรอินเดียผ่านท่าเรือในเอเชียใต้

ส่วนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน เชื่อมโยงผ่านทางรถไฟจากจีนตอนใต้ถึงสิงคโปร์ และเชื่อมโยงทางทะเล ผ่านท่าเรือในอินโดนีเซีย และมาเลเซีย

ทางรถไฟ ไทยจีน เป็นเส้นทางหนึ่งใน One Belt One Road ที่เชือมโยงจีนตอนใต้ คือคุนหมิง กับ อาเซียน โดยผ่านประเทศไทย ไม่มีรถไฟไทย จีน ที่ไปเชือมต่อกับรถไฟจีนลาว จีนก็ขนสินค้าจากคุนหมิงมาไทย และเลยไปถึงท่าเรือในสิงคโปร์มาเลเซียไม่ได้

ส่วนประเทศไทย ถ้าไม่มีรถไฟไทยจีน ก็ไม่น่าจะเดือดร้อนอะไร เพราะปัจจุบันมีถนน มีเส้นทางเดืนเรือในแม่น่ำโขงที่ไปถึงคุนหมิงอยู่แล้ว

รถไฟไทย จีน ไปถึงคุนหมิงเท่านั้น ไม่ถึงตะวันออกกลาง ไม่ถึงยุโรป การส่งสินค้าจากไทยไปขายยุโรป ทางเรือผ่านคลองสุเอซ ใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือน มากกว่า ขนผ่านคุนหมิ งไปขึ้นรถไฟที่เมืองยี่หวู ทางภาคตะวนัออกของจีน ซึ่งเป็นต้นทางรถไฟไปยุโรปเพียงไม่กี่วัน แต่มีต้นทุนที่ถูกกว่ามาก

การตกขบวนรถไฟจีนที่วิ่งไปถึงยุโรป และอังกฤษ จึงไม่มีปัญหาอะไรเลยสำหรับไทย เพราะรถไฟจีน ในเส้นทางสายไหมทางบกนั้น เป็นประโยชน์ของจีน ที่จะส่งสินค้าไปยังยุโรป ได้เร็วกว่าทางเรือ เพราะจีนไม่มีทางออกสู่มหาสมุทรอินเดีย

แต่การที่ไม่มีรถไฟไทยจีน จากหนองคายมาถึงกรุงทพ เป็นปัญหาของจีนว่า รถไฟจีนลาว จากคุนหมิงมาเวียงจันทน์แล้ว ข้ามมายังประเทศไทย เพื่อลงใต้เชื่มอต่อกับรถไฟมาเลเซีย สิงคโปร์ไม่ได้ เส้นทางสายไหมทางบก ที่เชื่อมกับอาเซียนก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะมีเส้นทางที่หายไป คือ เส้นทางที่ผ่านประเทศไทย

จีนได้ประโยชน์จากรถไฟ ไทยจีนมากกว่าไทย แต่ไม่ยอมลงทุน ในสัดส่วนที่มากกว่า หรือเท่ากัน กลับเกี่ยงให้ไทยเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด ในการก่อสร้างราง จีนจะร่วมลงทุนบางส่วน ในบริษัทที่ตั้งขึ้น เพื่อวางระบบ และบริหารการเดินรถ ซึ่งจะต้องซื้อจากจีน

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จึงตัดสินใจใหม่ บอกกับนายหลี่เค่อเฉียง ในระหว่างการประชุมกลุ่มลุ่มน้ำโขง ล้านช้าง เมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้วว่า ไทยจะลงทุนเองทั้งหมด แต่จะทำรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ -โคราช

การตัดสินใจในครั้งันั้น คือ การยุติโครงการรถไฟไทยจีน ตามเอ็มโอยู ที่ตกลงกันไว้เมื่อปลายปี 2557 แต่เพื่อรักษาไมตรีที่มีต่อกัน ฝ่ายไทยจึงยังคงจะใช้เทคโนโลยี่การออกแบบก่อสร้าง และซื้อระบบอาณัติสัญญาณ ขบวนรถไฟจากจีนทั้งหมด

รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ โคราช ระยะทาง 250 กิโลเมตร ถูกแบ่งการก่อสร้างออกเป็นสี่ช่วง ช่วงแรกที่จะก่อสร้าง คือ ที่ปากช่อง มีระยะทางเพียง 3.5 กิโลเมตรเท่านั้น การเจรจาระหว่างไทยจีนดำเนินไปอย่างเชื่องช้า ผ่านไปแล้ว ปีกว่า ยังลงมือไมได้ เพราะมีปัญหามากมาย ตั้งแต่เรื่อง แบบก่อสร้างที่จีนส่งมา ไทยอ่านไม่ออก ไม่เข้าใจ ไปจนถึง ปัญหาวิศวกรจีน ไม่มีใบอนุญาตให้ออกแบบ คุมงานในประเทศไทยได้

จึงเป็นที่มาของ การออกคำสั่ง คสช. ใช้มาตรา 44 ยกเว้น กฎหมายหลายฉบับ เพื่อให้ รถไฟความเร็วสูง เดินหน้าเสียที ซึ่งไม่รู้ว่า เป็นความต้องการทีแท้จริงของรัฐบาลไทย หรือ ถูกกดันจากจีนให้ลงมือสร้างเสียที

แม้รถไฟความเร็วสูงสายนี้ ไปไม่ถึงหนองคาย แต่ฝ่ายจีนคงหวังว่า เมื่อมีการก่อสร้างแล้ว ในอนาคต ฝ่ายไทยคงไม่มีทางเลือก จะต้องขยายรถไฟสายนี้ไปให้ถึงหนองคาย และเชื่อมต่อกับรถไฟจีนลาว การที่ฝ่ายจีนเป็นผู้ออกแบบ ควบคุมงานก่อสร้าง จัดหาระบบอาณัติสัญญาณ ขบวนรถไฟ ก็ต้องออกแบบ โดยคำนึงถึง การเชื่อมต่อกับ รถไฟจีนลาว ในอนาคตด้วย

รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ โคราช จึงเกิดขึ้นด้วยความเกรงใจ เกรงกลัวอำนาจทางเศรษฐกิจของจีน ที่ไทยต้องพึ่งพา ไม่ใช่เกิดขึ้นเพราะ เป็นประโยชน์กับไทย








กำลังโหลดความคิดเห็น