เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมได้เขียนเรื่อง “ถ่านหินตายแล้ว” มาถึงสัปดาห์นี้ก็เป็นเรื่องที่คล้ายๆ กันแต่มาจากบทความที่ได้อ้างถึงผลงานวิจัยที่ต่างกัน คราวนี้เป็นของ Bloomberg New Energy Finance’s Outlook ที่เพิ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2560 เรียกว่ายังอุ่นๆ อยู่เลย เพื่อให้เกียรติกับผู้เขียนที่ได้นำเรื่องราวที่ทันสมัยมาให้ผม และเพื่อความสะดวกในการค้นคว้าต่อของผู้สนใจ ผมได้นำภาพมาแสดงแล้วครับ
ผู้เขียนทั้ง 2 ท่านนี้ได้เริ่มต้นบทความว่า “พลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเมื่อก่อนเคยมีราคาแพงมากจนเชื่อกันว่าจะสามารถคุ้มค่าทางเศรษฐกิจได้เมื่อนำไปใช้ในยานอวกาศเท่านั้น แต่ปัจจุบันกำลังมีราคาถูกลงมากจนสามารถผลักให้ถ่านหินหรือแม้แต่ก๊าซธรรมชาติต้องออกจากวงธุรกิจได้เร็วกว่าที่เคยพยากรณ์ไว้”
ผู้วิจัยได้พบว่าพลังงานแสงอาทิตย์สามารถแข่งขันกับโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ในประเทศเยอรมนีและในสหรัฐอเมริกาได้เรียบร้อยแล้ว และภายในปี 2021 หรืออีก 4 ปีข้างหน้าก็จะเกิดขึ้นเช่นเดียวกันนี้ในประเทศจีนและประเทศอินเดีย ทั้งนี้ผมเข้าใจว่าคงเป็นเพราะมาตรการป้องกันมลพิษของ 2 ประเทศแรกสูงกว่าอีก 2 ประเทศในเอเชีย ต้นทุนของถ่านหินใน 2 ประเทศขนาดยักษ์จึงยังถูกกว่า แต่อีก 4 ปีจะเกิดการผลิกผัน
ผู้เขียนบทความนี้บอกเพียงแค่นี้ครับ ผมพยายามตามไปดูรายงานฉบับเต็มว่าเขาได้พูดถึงประเทศไทยเราบ้างหรือไม่ แต่ก็สามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้เฉพาะ “บทสรุปสำหรับผู้บริหาร” เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนบทความได้นำเสนอภาพกราฟเปรียบเทียบราคาต้นทุนค่าไฟฟ้าเฉลี่ยที่ผลิตจากถ่านหิน แสงอาทิตย์และกังหันลมในประเทศจีน ผมได้นำมาเสนอในที่นี้พร้อมกับข้อมูลบางอย่างที่ผมได้รับจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กรุณาดูภาพประกอบครับ ไม่ได้ยากอย่างที่บางท่านรู้สึกกลัวไปก่อน
ข้อมูลนี้มาจากประเทศประเทศจีนครับ เริ่มต้นในปี 2017 ซึ่งราคาถ่านหินถูกที่สุด (เส้นสีดำ) แล้วพยากรณ์ล่วงหน้าไปจนถึงปี 2040 หรืออีก 23 ปีข้างหน้า พบว่าราคาจากถ่านหินเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่จากโซลาร์เซลล์และกังหันลม (ซึ่งเคยมีราคาสูงกว่า) ได้ลดลงอย่างรวดเร็ว และในปี 2021 ราคาไฟฟ้าจากถ่านหินและจากโซลาร์เซลล์มีราคาเท่ากัน คือ $60/MWhหรือ $0.06/KWh (1 MWh, เมกะวัตต์ชั่วโมงเท่ากับ 1,000 KWh, กิโลวัตต์ชั่วโมง หรือที่เรามักเรียกว่าหน่วยไฟฟ้า) คิดเป็นเงินไทยเท่ากับ 2.10 บาทต่อหน่วยไฟฟ้าครับ
แต่ข้อมูลที่ทาง กฟผ.เผยแพร่ในกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ซึ่งคาดว่าจะเดินไฟฟ้าได้ในปี 2564 เท่ากับ 2.67 บาทต่อหน่วย
กลับมาดูเส้นกราฟในภาพอีกครั้งครับ ในปี 2025 ราคาไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์จะลดลงเหลือประมาณ 2 ใน 3 ของราคาจากถ่านหิน และจะเหลือ 1 ใน 3 และ 1 ใน 5 ในอีกประมาณ 10 และ 15 ปีข้างหน้าตามลำดับ
นี่แหละครับคือเหตุผลที่ผู้เขียนบทความ 2 ท่านจึงใช้คำว่า “จะฆ่าถ่านหิน”
ผมเชื่อว่า ท่านผู้อ่านทุกท่านคงจะมีประสบการณ์ตรงกับการลดลงของราคาโทรศัพท์มือถือ ตั้งแต่ยุค 1 จี จนถึง ยุค 4 จี ซึ่งพบว่ามันลดลงอย่างรวดเร็ว ระบบโซลาร์เซลล์ก็เช่นเดียวกันครับ เพราะใช้วัสดุอุปกรณ์ประเภทเดียวกันที่เรียกว่าสารกึ่งตัวนำ หรือเซมิคอนดักเตอร์
ผมอยากจะยืมคำอธิบายของสตีฟ จอบส์ (บุคคลอัจฉริยะผู้มีส่วนสำคัญทำให้เรามีสมาร์ทโฟนใช้ในราคาถูกแต่มีประสิทธิภาพสูง) มาดัดแปลงเพื่อจะตอบข้อสงสัยว่า ทำไมราคาไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ที่ผลิตจากสารกึ่งตัวนำจึงได้มีราคาถูกกว่าที่ผลิตจากถ่านหินดังนี้ครับ
“โรงไฟฟ้าถ่านหินทำงานด้วยระบบการเผาไหม้ภายในของเครื่องจักรไอน้ำ ใช้แรงดันไอน้ำไปผลักดันลูกสูบให้เคลื่อนที่ แล้วไปหมุนขดลวดทองแดงให้ตัดสนามแม่เหล็กจึงเกิดกระแสไฟฟ้า (เป็นอุตสาหกรรมยุคที่ 2 ปล่อยมลพิษมาก) แต่โซลาร์เซลล์ไม่ต้องมีลูกสูบ ไม่ต้องใช้แรงดันไอน้ำ แต่เมื่อแสงแดดมากระทบผิว จะทำให้อิเล็กตรอนนับพันๆ ล้านตัวเคลื่อนด้วยความเร็วสูงเกือบเท่าความเร็วแสง กระแสไฟฟ้าจึงเกิดขึ้น (เป็นอุตสาหกรรมยุคที่ 4 ไม่ปล่อยมลพิษ)”
ว่าไปแล้ว หลักการทำงานของโซลาร์เซลล์ก็เป็นหลักการเดียวกับที่พืชใช้ในการสังเคราะห์แสงมานานมากแล้ว หลักการดังกล่าวถูกค้นพบโดยอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ที่เรียกว่า “Photoelectric Effect” เมื่อปี 1905 จนได้รับรางวัลโนเบลในเวลาต่อมา
กลับมาที่รายงานล่าสุดของ Bloomberg อีกครั้งครับ ผมขอนำสิ่งที่น่าสนใจมาเสนอเพียงสั้นๆ 2 ประการดังนี้ครับ
● จากนี้ไปจนถึงปี 2040 ความต้องการใช้ไฟฟ้าทั่วโลกจะเพิ่มเฉลี่ย 2% ต่อปี ในขณะที่แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของไทย (พีดีพี 2015) คาดว่า ในช่วง 2015-2036 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ย 3.94% ต่อปี การคาดการณ์ความต้องการไฟฟ้าก็คาดการณ์จากอัตรานี้ แต่ผ่านมา 2-3 ปีแล้ว เศรษฐกิจยังโตได้จริงแค่ 2-3% เท่านั้น นั่นคือเราคาดการณ์สูงเกินจริง นอกจากนี้ Bloomberg ยังคาดการณ์ว่า ความต้องการใช้พลังงานของโลกต่อหนึ่งหน่วยรายได้จะลดลง 27% ในช่วง 2016-2040 นั่นหมายความว่าเศรษฐกิจโลกจะเป็นเศรษฐกิจแบบสร้างสรรค์มากขึ้น
● การใช้พลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาของผู้บริโภคจะมีนัยสำคัญมากขึ้น ในปี 2040 สัดส่วนไฟฟ้าที่ผลิตจากหลังคาในออสเตรเลีย บราซิล เยอรมนี และญี่ปุ่น จะสูงถึง 24%, 20%, 15% และ 12% ตามลำดับ ในสหรัฐอเมริกาและอินเดียจะเท่ากับ 5% (ย้ำนะครับว่าเฉพาะบนหลังคา ถ้าคิดรวมโซลาร์เซลล์ทั้งหมดในสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนมีนาคมปีนี้ก็ผลิตไฟฟ้าได้ถึง 2% ของความต้องการทั้งประเทศแล้ว)
มีความเชื่อของผู้นำโลกหลายคนรวมทั้งประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาด้วยว่า ถ้าจะให้เศรษฐกิจโตจำเป็นจะต้องใช้พลังงานมากขึ้น แต่ผลงานวิจัยของ Bloomberg ที่กล่าวแล้วในข้อแรกว่าไม่จำเป็นเลย คือการใช้พลังงานลดลงได้ แต่รายได้เพิ่มขึ้น เหมือนกับที่ “ไทยแลนด์ 4.0” โฆษณาอยู่ปาวๆ ก็เป็นเช่นนั้นไม่ใช่หรือการรู้จักคิดดัดแปลงอะไรใหม่ๆ โดยไม่ต้องใช้พลังงานก็สามารถเพิ่มรายได้ได้
เพื่อยืนยันหลักการดังกล่าว ผมขอยกคำพูดของนางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีประเทศเยอรมนี ที่กล่าวในช่วงที่ผู้นำสหรัฐอเมริกาประกาศจะถอนตัวจากข้อตกลงปารีสว่า
ความพยายามที่จะลดและเลิกการใช้ถ่านหินแล้วหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ว่าเป็นการกระทำที่คุ้มค่าสำหรับมนุษยชาติและช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยย้ำ เป็นการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ
สิ่งที่ผมได้กล่าวมาแล้วทั้งหมดก็คือความพยายามของมนุษยชาติที่ยึดอยู่กับระบบคุณค่าหลักสองประการของของมนุษย์ คือ หนึ่ง ความเป็นอิสระ (รวมถึงความเป็นอิสระจากระบบพลังงานผูกขาด) และ สอง ร่วมกันรับผิดชอบต่อปัญหาสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ คือปัญหาโลกร้อนครับ
การได้ร่วมกันรับผิดชอบต่อปัญหาสำคัญที่สุดของโลกมันเท่นะครับ
ผู้เขียนทั้ง 2 ท่านนี้ได้เริ่มต้นบทความว่า “พลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเมื่อก่อนเคยมีราคาแพงมากจนเชื่อกันว่าจะสามารถคุ้มค่าทางเศรษฐกิจได้เมื่อนำไปใช้ในยานอวกาศเท่านั้น แต่ปัจจุบันกำลังมีราคาถูกลงมากจนสามารถผลักให้ถ่านหินหรือแม้แต่ก๊าซธรรมชาติต้องออกจากวงธุรกิจได้เร็วกว่าที่เคยพยากรณ์ไว้”
ผู้วิจัยได้พบว่าพลังงานแสงอาทิตย์สามารถแข่งขันกับโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ในประเทศเยอรมนีและในสหรัฐอเมริกาได้เรียบร้อยแล้ว และภายในปี 2021 หรืออีก 4 ปีข้างหน้าก็จะเกิดขึ้นเช่นเดียวกันนี้ในประเทศจีนและประเทศอินเดีย ทั้งนี้ผมเข้าใจว่าคงเป็นเพราะมาตรการป้องกันมลพิษของ 2 ประเทศแรกสูงกว่าอีก 2 ประเทศในเอเชีย ต้นทุนของถ่านหินใน 2 ประเทศขนาดยักษ์จึงยังถูกกว่า แต่อีก 4 ปีจะเกิดการผลิกผัน
ผู้เขียนบทความนี้บอกเพียงแค่นี้ครับ ผมพยายามตามไปดูรายงานฉบับเต็มว่าเขาได้พูดถึงประเทศไทยเราบ้างหรือไม่ แต่ก็สามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้เฉพาะ “บทสรุปสำหรับผู้บริหาร” เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนบทความได้นำเสนอภาพกราฟเปรียบเทียบราคาต้นทุนค่าไฟฟ้าเฉลี่ยที่ผลิตจากถ่านหิน แสงอาทิตย์และกังหันลมในประเทศจีน ผมได้นำมาเสนอในที่นี้พร้อมกับข้อมูลบางอย่างที่ผมได้รับจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กรุณาดูภาพประกอบครับ ไม่ได้ยากอย่างที่บางท่านรู้สึกกลัวไปก่อน
ข้อมูลนี้มาจากประเทศประเทศจีนครับ เริ่มต้นในปี 2017 ซึ่งราคาถ่านหินถูกที่สุด (เส้นสีดำ) แล้วพยากรณ์ล่วงหน้าไปจนถึงปี 2040 หรืออีก 23 ปีข้างหน้า พบว่าราคาจากถ่านหินเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่จากโซลาร์เซลล์และกังหันลม (ซึ่งเคยมีราคาสูงกว่า) ได้ลดลงอย่างรวดเร็ว และในปี 2021 ราคาไฟฟ้าจากถ่านหินและจากโซลาร์เซลล์มีราคาเท่ากัน คือ $60/MWhหรือ $0.06/KWh (1 MWh, เมกะวัตต์ชั่วโมงเท่ากับ 1,000 KWh, กิโลวัตต์ชั่วโมง หรือที่เรามักเรียกว่าหน่วยไฟฟ้า) คิดเป็นเงินไทยเท่ากับ 2.10 บาทต่อหน่วยไฟฟ้าครับ
แต่ข้อมูลที่ทาง กฟผ.เผยแพร่ในกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ซึ่งคาดว่าจะเดินไฟฟ้าได้ในปี 2564 เท่ากับ 2.67 บาทต่อหน่วย
กลับมาดูเส้นกราฟในภาพอีกครั้งครับ ในปี 2025 ราคาไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์จะลดลงเหลือประมาณ 2 ใน 3 ของราคาจากถ่านหิน และจะเหลือ 1 ใน 3 และ 1 ใน 5 ในอีกประมาณ 10 และ 15 ปีข้างหน้าตามลำดับ
นี่แหละครับคือเหตุผลที่ผู้เขียนบทความ 2 ท่านจึงใช้คำว่า “จะฆ่าถ่านหิน”
ผมเชื่อว่า ท่านผู้อ่านทุกท่านคงจะมีประสบการณ์ตรงกับการลดลงของราคาโทรศัพท์มือถือ ตั้งแต่ยุค 1 จี จนถึง ยุค 4 จี ซึ่งพบว่ามันลดลงอย่างรวดเร็ว ระบบโซลาร์เซลล์ก็เช่นเดียวกันครับ เพราะใช้วัสดุอุปกรณ์ประเภทเดียวกันที่เรียกว่าสารกึ่งตัวนำ หรือเซมิคอนดักเตอร์
ผมอยากจะยืมคำอธิบายของสตีฟ จอบส์ (บุคคลอัจฉริยะผู้มีส่วนสำคัญทำให้เรามีสมาร์ทโฟนใช้ในราคาถูกแต่มีประสิทธิภาพสูง) มาดัดแปลงเพื่อจะตอบข้อสงสัยว่า ทำไมราคาไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ที่ผลิตจากสารกึ่งตัวนำจึงได้มีราคาถูกกว่าที่ผลิตจากถ่านหินดังนี้ครับ
“โรงไฟฟ้าถ่านหินทำงานด้วยระบบการเผาไหม้ภายในของเครื่องจักรไอน้ำ ใช้แรงดันไอน้ำไปผลักดันลูกสูบให้เคลื่อนที่ แล้วไปหมุนขดลวดทองแดงให้ตัดสนามแม่เหล็กจึงเกิดกระแสไฟฟ้า (เป็นอุตสาหกรรมยุคที่ 2 ปล่อยมลพิษมาก) แต่โซลาร์เซลล์ไม่ต้องมีลูกสูบ ไม่ต้องใช้แรงดันไอน้ำ แต่เมื่อแสงแดดมากระทบผิว จะทำให้อิเล็กตรอนนับพันๆ ล้านตัวเคลื่อนด้วยความเร็วสูงเกือบเท่าความเร็วแสง กระแสไฟฟ้าจึงเกิดขึ้น (เป็นอุตสาหกรรมยุคที่ 4 ไม่ปล่อยมลพิษ)”
ว่าไปแล้ว หลักการทำงานของโซลาร์เซลล์ก็เป็นหลักการเดียวกับที่พืชใช้ในการสังเคราะห์แสงมานานมากแล้ว หลักการดังกล่าวถูกค้นพบโดยอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ที่เรียกว่า “Photoelectric Effect” เมื่อปี 1905 จนได้รับรางวัลโนเบลในเวลาต่อมา
กลับมาที่รายงานล่าสุดของ Bloomberg อีกครั้งครับ ผมขอนำสิ่งที่น่าสนใจมาเสนอเพียงสั้นๆ 2 ประการดังนี้ครับ
● จากนี้ไปจนถึงปี 2040 ความต้องการใช้ไฟฟ้าทั่วโลกจะเพิ่มเฉลี่ย 2% ต่อปี ในขณะที่แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของไทย (พีดีพี 2015) คาดว่า ในช่วง 2015-2036 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ย 3.94% ต่อปี การคาดการณ์ความต้องการไฟฟ้าก็คาดการณ์จากอัตรานี้ แต่ผ่านมา 2-3 ปีแล้ว เศรษฐกิจยังโตได้จริงแค่ 2-3% เท่านั้น นั่นคือเราคาดการณ์สูงเกินจริง นอกจากนี้ Bloomberg ยังคาดการณ์ว่า ความต้องการใช้พลังงานของโลกต่อหนึ่งหน่วยรายได้จะลดลง 27% ในช่วง 2016-2040 นั่นหมายความว่าเศรษฐกิจโลกจะเป็นเศรษฐกิจแบบสร้างสรรค์มากขึ้น
● การใช้พลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาของผู้บริโภคจะมีนัยสำคัญมากขึ้น ในปี 2040 สัดส่วนไฟฟ้าที่ผลิตจากหลังคาในออสเตรเลีย บราซิล เยอรมนี และญี่ปุ่น จะสูงถึง 24%, 20%, 15% และ 12% ตามลำดับ ในสหรัฐอเมริกาและอินเดียจะเท่ากับ 5% (ย้ำนะครับว่าเฉพาะบนหลังคา ถ้าคิดรวมโซลาร์เซลล์ทั้งหมดในสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนมีนาคมปีนี้ก็ผลิตไฟฟ้าได้ถึง 2% ของความต้องการทั้งประเทศแล้ว)
มีความเชื่อของผู้นำโลกหลายคนรวมทั้งประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาด้วยว่า ถ้าจะให้เศรษฐกิจโตจำเป็นจะต้องใช้พลังงานมากขึ้น แต่ผลงานวิจัยของ Bloomberg ที่กล่าวแล้วในข้อแรกว่าไม่จำเป็นเลย คือการใช้พลังงานลดลงได้ แต่รายได้เพิ่มขึ้น เหมือนกับที่ “ไทยแลนด์ 4.0” โฆษณาอยู่ปาวๆ ก็เป็นเช่นนั้นไม่ใช่หรือการรู้จักคิดดัดแปลงอะไรใหม่ๆ โดยไม่ต้องใช้พลังงานก็สามารถเพิ่มรายได้ได้
เพื่อยืนยันหลักการดังกล่าว ผมขอยกคำพูดของนางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีประเทศเยอรมนี ที่กล่าวในช่วงที่ผู้นำสหรัฐอเมริกาประกาศจะถอนตัวจากข้อตกลงปารีสว่า
ความพยายามที่จะลดและเลิกการใช้ถ่านหินแล้วหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ว่าเป็นการกระทำที่คุ้มค่าสำหรับมนุษยชาติและช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยย้ำ เป็นการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ
สิ่งที่ผมได้กล่าวมาแล้วทั้งหมดก็คือความพยายามของมนุษยชาติที่ยึดอยู่กับระบบคุณค่าหลักสองประการของของมนุษย์ คือ หนึ่ง ความเป็นอิสระ (รวมถึงความเป็นอิสระจากระบบพลังงานผูกขาด) และ สอง ร่วมกันรับผิดชอบต่อปัญหาสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ คือปัญหาโลกร้อนครับ
การได้ร่วมกันรับผิดชอบต่อปัญหาสำคัญที่สุดของโลกมันเท่นะครับ