ผู้จัดการรายวัน360-"บอย ยูนิตี้" ตั้งโต๊ะแถลงฟ้องเรียกค่าเสียหายจากดีเอสไอ 50 ล้านบาท ตั้งแง่โดนกลั่นแกล้ง ทำให้ธุรกิจเสียหายหลายร้อยล้าน ด้านดีเอสไอส่งหนังสือชี้แจงทันควัน ยันทำหน้าที่ตามกฎหมาย ไม่สนถูกฟ้อง ระบุเป็นเรื่องปกติ ที่ผู้ต้องหามักจะใช้เทคนิคนี้ในการถ่วงคดี ย้ำผู้เสียหายมาขอรถคืนได้ โดยไม่ต้องมีหลักประกัน ระบุมีการสำแดงเอกสารหลักฐานและราคาไม่ถูกต้อง มั่นใจเอาผิดในชั้นศาลได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (5 มิ.ย.) นายอินทระศักดิ์ เตชธีรสิริ หรือบอย ยูนิตี้ กรรมการบริษัท เอสทีที ออโต้คาร์ จำกัด และบริษัทเอสทีที ออโต้ เซอร์วิส จำกัด พร้อมด้วยนายเจริญ แก้วยอดหล้า ประธานที่ปรึกษาบริษัท เอสทีที ออโต้ เซอร์วิส จำกัด นายไสว ทองโชติ ทนายความ ร่วมกันแถลงข่าวฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) มูลค่า 50 ล้านบาท หลังโชว์รูมรถ โดนเจ้าหน้าที่ดีเอสไอปิดทำการ และไม่สามารถประกอบกิจการได้ตั้งแต่วันที่ 23 พ.ค.ที่ผ่านมา
นายอินทระศักดิ์กล่าวว่า ได้ดำเนินการฟ้องร้องดีเอสไอในข้อหาละเมิด และเรียกค่าเสียหาย 50 ล้านบาท เพราะการที่ดีเอสไอเข้ามาอายัดรถในบริษัท 34 คัน ปิดโชว์รูม ทำให้ธุรกิจเสียหายหลายร้อยล้าน และยังทำให้บริษัทเสียชื่อเสียงและหมดความน่าเชื่อถือ ส่วนการอายัดรถ ก็ไม่มีการแสดงเอกสารหรือหลักฐานว่าเป็นรถที่ถูกโจรกรรมมา โดยยังคงยืนยันว่า พร้อมที่จะนำเอกสารหลักฐานการซื้อรถอย่างถูกต้องไปชี้แจงว่ามีการเสียภาษีในประเทศอย่างถูกต้อง
ส่วนรถลัมโบร์กีนี สีเขียว ที่ดีเอสไอระบุว่าเป็นรถที่ถูกโจรกรรมมา ขอชี้แจงว่า วันที่นำเข้ารถคันดังกล่าว คือ วันที่ 2 ก.พ.2560 ซึ่งขณะนำเข้า ได้เสียภาษีเรียบร้อยแล้ว โดยตำรวจกองปราบ ตำรวจสภ.ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และกรมศุลการกร สงสัยว่ารถดังกล่าวจะเข้ามาผิดกฎหมาย จึงขอตรวจสอบ ซึ่งสุดท้ายก็พบว่ารถดังกล่าวมีเอกสารถูกต้องตามกฎหมาย กระทั่งวันที่ 3 ก.พ.2560 จึงไปลงบันทึกประจำวันไว้ที่ สภ.ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิว่ารถคันดังกล่าวดำเนินการทุกอย่างถูกต้อง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการแถลงข่าว นายอินทระศักดิ์ได้นำรูปถ่ายที่เจ้าหน้าที่ดีเอสไอมาปิดกั้นโชว์รูม และเอกสารรถจำนวน 2 คัน ที่ถูกส่งไปประเทศฮ่องกง มาแสดง พร้อมยืนยันว่าดำเนินการจองเรือส่งไปก่อนที่ดีเอสไอจะทำการอายัด และยังระบุอีกว่า เคยมีปัญหากับเจ้าหน้าที่ระดับสูงในกระทรวงยุติธรรมท่านหนึ่ง จึงสงสัยว่าอาจจะเป็นสาเหตุที่โดนกลั่นแกล้งในครั้งนี้
ด้านนายเจริญ กล่าวว่า ได้ยื่นฟ้องคดีแพ่งดีเอสไอฐานละเมิดพร้อมเรียกค่าเสียหาย 50 ล้านบาทแล้ว ซึ่งศาลนัดพร้อมในวันที่ 4 ก.ย.2560 โดยเห็นว่าดีเอสไอใช้อำนาจหน้าที่ไม่ถูกต้องในการปิดโชว์รูม โดยไม่มีหมายศาล ทำให้กระทบการดำเนินธุรกิจ ทั้งการซื้อขาย ซ่อมบำรุงเปลี่ยนอะไหล่ให้ลูกค้า และการบริการอื่นๆ รวมถึงกระทบต่อพนักงาน จึงอยากทราบว่าดีเอสไอใช้กฎหมายอะไรในการปิดทางเข้า-ออกโชว์รูม และผู้บริโภคผิดอะไร จึงไปยึดอายัดรถ
ทั้งนี้ นายอินทระศักดิ์ ยังได้ทำหนังสือร้องเรียนถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อขอความเป็นธรรม หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ได้ไปร้องเรียนไปที่สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน รมว.ยุติธรรม และหน่วยงานอื่นรวม 5 ครั้ง
ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ทำการเผยแพร่เอกสารชี้แจงถึงกรณีที่เกิดขึ้นโดยมีใจความโดยสรุปว่า พนักงานดีเอสไอได้ใช้อำนาจตามกฎหมายพ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในการยึดรถยนต์ เมื่อคดีถึงที่สุดแล้วก็จะคืน แต่ถ้าเห็นว่าการกระทำของดีเอสไอไม่ชอบด้วยกฎหมาย จงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำให้เสียหาย ก็ใช้สิทธิฟ้องร้องได้ แต่ต้องใช้สิทธิโดยสุจริต และยังระบุอีกว่า ถือเป็นเทคนิค ที่มักจะใช้วิธีนี้ในการขัดขวางกระบวนการยุติธรรม ส่วนผู้บริโภคที่เป็นผู้เสียหาย ดีเอสไออนุญาตให้รับรถยนต์ของกลางคืนไปดูแลรักษาหรือใช้ประโยชน์ได้ โดยไม่มีหลักประกัน และกรณีรถยนต์ที่ปรากฎว่าเป็นรถที่ถูกโจรกรรมมา จะไม่อนุญาตให้ผู้เสียหายหรือเจ้าของหรือผู้มีสิทธิ นำรถไปดูแลรักษาหรือใช้ประโยชน์
พ.ต.ท.กรวัชร์ ปานประภากร รองอธิบดีดีเอสไอ กล่าวว่า ดีเอสไอไม่กังวลที่ผู้เสียหาย จะฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 50 ล้านบาท เนื่องจากเป็นสิทธิที่สามารถทำได้ เพราะเจ้าหน้าที่ได้ทำการอายัดรถหรูที่ถูกโจรกรรมไว้ตามหลักฐานที่มีอยู่ โดยยืนยันว่า รถหรูดังกล่าวมีการสำแดงเอกสารหลักฐานและราคาที่ไม่ถูกต้อง มีค่าส่วนต่างที่ต่างกันชัดเจน อีกทั้งราคารถที่เจ้าหน้าที่ใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินการ เป็นราคาจากต่างประเทศ ซึ่งหลักฐานส่วนนี้ สามารถนำไปต่อสู้และเอาผิดในชั้นศาลได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (5 มิ.ย.) นายอินทระศักดิ์ เตชธีรสิริ หรือบอย ยูนิตี้ กรรมการบริษัท เอสทีที ออโต้คาร์ จำกัด และบริษัทเอสทีที ออโต้ เซอร์วิส จำกัด พร้อมด้วยนายเจริญ แก้วยอดหล้า ประธานที่ปรึกษาบริษัท เอสทีที ออโต้ เซอร์วิส จำกัด นายไสว ทองโชติ ทนายความ ร่วมกันแถลงข่าวฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) มูลค่า 50 ล้านบาท หลังโชว์รูมรถ โดนเจ้าหน้าที่ดีเอสไอปิดทำการ และไม่สามารถประกอบกิจการได้ตั้งแต่วันที่ 23 พ.ค.ที่ผ่านมา
นายอินทระศักดิ์กล่าวว่า ได้ดำเนินการฟ้องร้องดีเอสไอในข้อหาละเมิด และเรียกค่าเสียหาย 50 ล้านบาท เพราะการที่ดีเอสไอเข้ามาอายัดรถในบริษัท 34 คัน ปิดโชว์รูม ทำให้ธุรกิจเสียหายหลายร้อยล้าน และยังทำให้บริษัทเสียชื่อเสียงและหมดความน่าเชื่อถือ ส่วนการอายัดรถ ก็ไม่มีการแสดงเอกสารหรือหลักฐานว่าเป็นรถที่ถูกโจรกรรมมา โดยยังคงยืนยันว่า พร้อมที่จะนำเอกสารหลักฐานการซื้อรถอย่างถูกต้องไปชี้แจงว่ามีการเสียภาษีในประเทศอย่างถูกต้อง
ส่วนรถลัมโบร์กีนี สีเขียว ที่ดีเอสไอระบุว่าเป็นรถที่ถูกโจรกรรมมา ขอชี้แจงว่า วันที่นำเข้ารถคันดังกล่าว คือ วันที่ 2 ก.พ.2560 ซึ่งขณะนำเข้า ได้เสียภาษีเรียบร้อยแล้ว โดยตำรวจกองปราบ ตำรวจสภ.ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และกรมศุลการกร สงสัยว่ารถดังกล่าวจะเข้ามาผิดกฎหมาย จึงขอตรวจสอบ ซึ่งสุดท้ายก็พบว่ารถดังกล่าวมีเอกสารถูกต้องตามกฎหมาย กระทั่งวันที่ 3 ก.พ.2560 จึงไปลงบันทึกประจำวันไว้ที่ สภ.ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิว่ารถคันดังกล่าวดำเนินการทุกอย่างถูกต้อง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการแถลงข่าว นายอินทระศักดิ์ได้นำรูปถ่ายที่เจ้าหน้าที่ดีเอสไอมาปิดกั้นโชว์รูม และเอกสารรถจำนวน 2 คัน ที่ถูกส่งไปประเทศฮ่องกง มาแสดง พร้อมยืนยันว่าดำเนินการจองเรือส่งไปก่อนที่ดีเอสไอจะทำการอายัด และยังระบุอีกว่า เคยมีปัญหากับเจ้าหน้าที่ระดับสูงในกระทรวงยุติธรรมท่านหนึ่ง จึงสงสัยว่าอาจจะเป็นสาเหตุที่โดนกลั่นแกล้งในครั้งนี้
ด้านนายเจริญ กล่าวว่า ได้ยื่นฟ้องคดีแพ่งดีเอสไอฐานละเมิดพร้อมเรียกค่าเสียหาย 50 ล้านบาทแล้ว ซึ่งศาลนัดพร้อมในวันที่ 4 ก.ย.2560 โดยเห็นว่าดีเอสไอใช้อำนาจหน้าที่ไม่ถูกต้องในการปิดโชว์รูม โดยไม่มีหมายศาล ทำให้กระทบการดำเนินธุรกิจ ทั้งการซื้อขาย ซ่อมบำรุงเปลี่ยนอะไหล่ให้ลูกค้า และการบริการอื่นๆ รวมถึงกระทบต่อพนักงาน จึงอยากทราบว่าดีเอสไอใช้กฎหมายอะไรในการปิดทางเข้า-ออกโชว์รูม และผู้บริโภคผิดอะไร จึงไปยึดอายัดรถ
ทั้งนี้ นายอินทระศักดิ์ ยังได้ทำหนังสือร้องเรียนถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อขอความเป็นธรรม หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ได้ไปร้องเรียนไปที่สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน รมว.ยุติธรรม และหน่วยงานอื่นรวม 5 ครั้ง
ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ทำการเผยแพร่เอกสารชี้แจงถึงกรณีที่เกิดขึ้นโดยมีใจความโดยสรุปว่า พนักงานดีเอสไอได้ใช้อำนาจตามกฎหมายพ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในการยึดรถยนต์ เมื่อคดีถึงที่สุดแล้วก็จะคืน แต่ถ้าเห็นว่าการกระทำของดีเอสไอไม่ชอบด้วยกฎหมาย จงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำให้เสียหาย ก็ใช้สิทธิฟ้องร้องได้ แต่ต้องใช้สิทธิโดยสุจริต และยังระบุอีกว่า ถือเป็นเทคนิค ที่มักจะใช้วิธีนี้ในการขัดขวางกระบวนการยุติธรรม ส่วนผู้บริโภคที่เป็นผู้เสียหาย ดีเอสไออนุญาตให้รับรถยนต์ของกลางคืนไปดูแลรักษาหรือใช้ประโยชน์ได้ โดยไม่มีหลักประกัน และกรณีรถยนต์ที่ปรากฎว่าเป็นรถที่ถูกโจรกรรมมา จะไม่อนุญาตให้ผู้เสียหายหรือเจ้าของหรือผู้มีสิทธิ นำรถไปดูแลรักษาหรือใช้ประโยชน์
พ.ต.ท.กรวัชร์ ปานประภากร รองอธิบดีดีเอสไอ กล่าวว่า ดีเอสไอไม่กังวลที่ผู้เสียหาย จะฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 50 ล้านบาท เนื่องจากเป็นสิทธิที่สามารถทำได้ เพราะเจ้าหน้าที่ได้ทำการอายัดรถหรูที่ถูกโจรกรรมไว้ตามหลักฐานที่มีอยู่ โดยยืนยันว่า รถหรูดังกล่าวมีการสำแดงเอกสารหลักฐานและราคาที่ไม่ถูกต้อง มีค่าส่วนต่างที่ต่างกันชัดเจน อีกทั้งราคารถที่เจ้าหน้าที่ใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินการ เป็นราคาจากต่างประเทศ ซึ่งหลักฐานส่วนนี้ สามารถนำไปต่อสู้และเอาผิดในชั้นศาลได้