"พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต"
"ปัญญาพลวัตร"
หลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๐ การเคลื่อนไหวทางการเมืองก็เริ่มปรากฎเป็นข่าวให้ได้ยินได้ฟังกันมากขึ้น กลุ่มต่างๆ ในสังคมต่างเริ่มขยับตัวเคลื่อนไหว เตรียมการเพื่อแสดงบทบาทและแสวงหาพื้นที่ทางสังคมการเมืองที่กำลังเปิดในอนาคต
ที่เห็นคึกคักมากเป็นพิเศษก็คงเป็นบรรดานักการเมืองและพรรคการเมือง รวมทั้งกลุ่มภาคประชาชนที่มีสายสัมพันธ์กับพรรคการเมือง มีข่าวทั้งในเรื่องการพูดคุยระหว่างหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กับผู้นำกลุ่ม กปปส. การติดต่อระหว่างอดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทยกับแกนนำพรรคชาติไทยพัฒนา และการลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาปฏิรูป ที่เป็นอดีตนักการเมือง ซึ่งประสงค์จะกลับเข้าสู่วงจรการเมืองอีกครั้งในอนาคต
สำหรับพรรคการเมืองที่อยู่ในจุดความสนใจของสังคมก็คงไม่พ้นพรรคหลักๆ อย่างพรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย เพราะว่าคงมีพรรคหนึ่งพรรคใดในสองพรรคนี้ ที่จะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลในอนาคต ส่วนพรรคน่าความสนใจติดตามรองลงมาคือ พรรคชาติไทยพัฒนา ของกลุ่มสพรรณบุรี ซึ่งมีบุตรธิดาของนายบรรหารเป็นแกน พรรคภูมิใจไทยของกลุ่มบุรีรัมย์ ซึ่งมีนายอนุทิน ชาญวีรกูลและเนวิน ชิดชอบ เป็นแกนนำ พรรคชาติพัฒนา ของกลุ่มโคราช ซึ่งมีนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นแกนนำ และรวมถึงพรรคเล็กของกลุ่มชลบุรีอย่างพรรคพลังชล ซึ่งมีตระกูลคุณปลื้มเป็นแกนนำ
เริ่มจากพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งในช่วงที่มีการขัดแย้งทางการเมืองเข้มข้นระหว่างปี ๒๕๕๖ ถึงต้นปี ๒๕๕๗ มีนักการเมืองบางส่วนของพรรคได้ลาออก เพื่อเข้าสู่ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมการเมือง ในบรรดาผู้ที่ลาออกมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เพียงคนเดียวที่ประกาศยุติบทบาทการเป็นนักการเมืองในระบบพรรค ส่วนบุคคลอื่นๆ คาดว่าคงจะกลับเข้าพรรคเหมือนเดิมเมื่อสถานการณ์เหมาะสม
ในปัจจุบันการนำของพรรคประชาธิปัตย์เป็นปมปัญหาหนึ่งที่มีกระแสการพูดคุยกันภายในสมาชิกระดับนำของพรรค โดยเฉพาะตำแหน่งหัวหน้าพรรค สมาชิกบางส่วนมีความเห็นว่า พรรคควรมีการเปลี่ยนแปลงหัวหน้าพรรค ขณะที่บางส่วนก็ยังคงสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคอยู่ในปัจจุบัน สำหรับกลุ่มที่เห็นว่าควรมีการเปลี่ยนแปลงหัวหน้าก็มีการเสนอชื่อบุคคลอื่นๆในลักษณะโยนหินถามทางเป็นระยะ บุคคลที่มักรับการเอ่ยถึงบ่อยครั้งก็มี นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ และ นายศุภชัย พานิชภักดิ์ เป็นต้น และในอนาคตก็อาจมีชื่อบุคคลอื่นๆขึ้นมาอีกก็ได้
ผมมองว่ากลุ่มที่เห็นว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะไม่เหมาะสมกับการเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คงมาจากเหตุผลที่ว่านายอภิสิทธิ์ไม่สามารถนำพรรคชนะการเลือกตั้งเมื่อคราวก่อนได้ และไม่มีท่าทีว่าจะสามารถขยายความนิยมออกไปได้ในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แม้ว่าความนิยมของประชาชนต่อนายอภิสิทธิ์ จะมีแนวโน้มลดลง แต่ก็ยังเป็นการยากอยู่ไม่น้อยที่พรรคจะหาบุคคลอื่นภายในพรรคที่ได้รับความนิยมจากประชาชนมากกว่าหรือใกล้เคียงกับนายอภิสิทธิ์ได้
สำหรับบุคคลที่ทรงอิทธิพลภายในพรรคอย่างนายชวน หลีกภัย ผมประเมินว่ายังคงให้การสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ รวมทั้งบุคคลที่ทรงอิทธิพลนอกพรรคอย่างนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผมก็ประเมินว่ามีแนวโน้มสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ อยู่เช่นกัน แม้ว่าแกนนำบางคนในกลุ่ม กปปส. อาจเห็นข้อจำกัดของนายอภิสิทธิ์อยู่ไม่น้อยก็ตาม แต่ถึงที่สุดแล้ว พวกเขาก็มีทางเลือกไม่มากนัก ยกเว้นว่านายสุเทพ จะลงมาเข้าสู่เกมนี้เอง แต่ก็เป็นไปได้ยากเพราะว่า นายสุเทพ ได้ประกาศเป็นสัญญาประชาคมหลายต่อหลายครั้งแล้วว่า จะไม่หวนคืนสู่การเมืองที่เป็นทางการ
ข่าวที่ว่ากลุ่ม กปปส.จะเข้ามายึดพรรคประชาธิปัตย์นั้นเป็นการให้ข้อมูลของ นายพิเชษฐ์ พันธุ์วิชาติกุล อดีตนักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ และส.ส.กระบี่ ซึ่งปัจจุบันประกาศวางมือทางการเมืองไปแล้ว แต่ก็ยังคงแสดงความคิดเห็นต่อสถานการณ์ของพรรคประชาธิปัตย์อยู่ นายพิเชษฐ์ เป็นนักการเมืองที่มีความคิดยึดติดกับการเมืองในรัฐสภา และไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวทางสังคมนอกสภาของนักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ที่ไปเป็นแกนนำของ กปปส.
ในภายตาผม การต่อสู้ช่วงชิงตำแหน่งอำนาจในพรรคการเมืองเป็นธรรมชาติของพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอยู่แล้ว ไม่ว่าพรรคการเมืองของประเทศใดก็มีการต่อสู้กันภายในพรรคเกิดขึ้นเป็นระยะ ซึ่งแต่ละพรรคก็มีกฏเกณฑ์และบรรทัดฐานที่เป็นกรอบหรือแนวปฏิบัติอยู่แล้ว โดยเฉพาะพรรคการเมืองที่มีความเป็นสถาบันทางการเมืองสูง การต่อสู้ก็เล่นกันไปตามกติกาของพรรค ทั้งกติกาที่เป็นทางการและกติกาที่เป็นบรรทัดฐานการปฏิบัติที่ไม่เป็นทางการ
กรณีพรรคประชาธิปัตย์ก็เช่นเดียวกัน ผมคิดว่าพรรคนี้มีหลักเกณฑ์และกติกาของการต่อสู้และการเปลี่ยนแปลงอำนาจการนำของพรรค ซึ่งสมาชิกพรรคยึดถือร่วมกันดำรงอยู่มานานแล้ว เมื่อถึงวาระที่ต้องเปลี่ยนแปลงก็ว่ากันไปตามกฎเกณฑ์ แต่ละกลุ่มที่ประสงค์จะเป็นแกนนำพรรคก็ต้องดำเนินการหาเสียงสนับสนุนตามแบบแผน และตัดสินกันด้วยเสียงส่วนใหญ่ที่มีสิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งภายในพรรค ส่วนผู้ที่พลาดจากตำแหน่งก็ทำหน้าที่อื่นๆและเป็นสมาชิกต่อไป
ประเภทแพ้แล้วหาเรื่อง หรือ แพ้แล้วลาออกไปตั้งพรรคใหม่ เท่าที่ผมติดตามการเมืองภายในพรรคประชาธิปัตย์มาต่อเนื่องพอสมควร ผมคิดว่าเหตุการณ์ของกลุ่ม ๑๐ มกราคม ๒๕๓๐ ที่กลุ่มผู้แพ้การต่อสู้ภายในพรรคยกทีมออกจากพรรคไปจัดตั้งพรรคใหม่ น่าจะเป็นเหตุการณ์สุดท้าย และคนที่ตัดสินใจเช่นนั้นก็ได้รับบทเรียนไปแล้ว หลังจากนั้นการต่อสู้ภายในพรรคประชาธิปัตย์ข้ามพ้นเรื่องเหล่านั้นไปแล้ว และคิดว่าคงไม่มีกลุ่มอำนาจย่อยภายในพรรคจะทำแบบนั้นอีก หากมีสมาชิกลาออกก็เป็นเพียงรายบุคคล ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติสำหรับนักการเมืองไทยที่อุดมการณ์มีความสำคัญน้อยกว่าโอกาสการได้อำนาจและผลประโยชน์ทางการเมือง
สำหรับพรรคเพื่อไทย ซึ่งเคยได้คะแนนเสียงมากที่สุดในการเลือกตั้งคราวที่แล้ว แกนนำที่ทรงอิทธิพลในพรรคอย่างตระกูลชินวัตร ก็ยังคงดำรงสถานภาพเดิม พรรคนี้ตำแหน่งหัวหน้าพรรคไม่ค่อยมีความสำคัญเท่าไรนัก เพราะอำนาจที่จริงไม่ได้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เป็นทางการภายในพรรค ดังนั้นการเมืองภายในของพรรคนี้จึงไม่ค่อยน่าสนใจมากนัก แต่ที่น่าสนใจของพรรคนี้คือการแสวงหาหนทางที่จะกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลว่าพวกเขาจะใช้ยุทธวิธีอย่างไร
ภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่นั้นโอกาสที่จะทำให้พรรคใดพรรคหนึ่งได้รับเสียงข้างมาเด็ดขาด มีความยากลำบากมากกว่ารัฐธรรมนูญฉบับก่อน ดังนั้นการจัดตั้งรัฐบาลได้จึงต้องแสวงหาพรรคการเมืองอื่นๆเข้ามาเป็นพันธมิตร ซึ่งก็คงไม่พ้นพรรคขนาดกลางทั้งหลาย พรรคขนาดกลางที่กลุ่มแกนนำพรรคเพื่อไทยพอจะแสวงหาข้อตกลงร่วมได้มากที่สุดคือพรรคชาติไทยพัฒาของกลุ่มสุพรรณบุรี ในระยะนี้จึงมีข่าวออกมาว่าแกนนำที่ทรงอิทธิพลของพรรคเพื่อไทยดำเนินการติดต่อพูดคุยเพื่อสร้างข้อตกลงกับแกนนำของพรรคชาติไทยพัฒนา
ส่วนพรรคขนาดกลางอื่นๆอย่างพรรคชาติพัฒนา และพรรคภูมิใจไทยนั้นสภาพการเมืองภายในพรรคก็มีแบบแผนความคล้ายคลึงกับพรรคเพื่อไทยและพรรคชาติไทยพัฒนา คือมีกลุ่มตระกูลหนึ่งหรือสองกลุ่มภายในพรรคที่ทรงอิทธิพลและชี้นำพรรคได้ ดังนั้นการต่อสู้ภายในพรรคแบบพรรคประชาธิปัตย์ก็คงจะไม่มีให้เห็น ประเด็นหลักทางการเมืองของพรรคขนาดกลางคือ การตัดสินใจเลือกจับมือกับพรรคใหญ่พรรคใดดี เพื่อที่จะมีโอกาสมากที่สุดในการเป็นรัฐบาล
ดูจากประวัติศาสตร์และจุดยืนทางการเมืองของพรรคชาติพัฒนาและพรรคภูมิใจไทยแล้ว คงจะยากที่จะไปร่วมมือกับพรรคเพื่อไทย แนวโน้มที่พรรคเหล่านี้ร่วมมือกับพรรคประชาธิปัตย์น่าจะมีสูงกว่า แต่นั่นก็ไม่ใช่เป็นสิ่งที่แน่นอนเสมอไปสำหรับการเมืองไทย เพราะว่าการจัดตั้งรัฐบาลในอนาคตตัวแปรสำคัญไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรของพรรคการเมืองเพียงอย่างเดียว หากแต่ยังมีตัวแปรที่สำคัญอีกตัวหนึ่งคือวุฒิสภา ซึ่งอุปมาเสมือนเป็นพรรคการเมืองอีกพรรคหนึ่งที่เรียกกันว่า “พรรคราชการ” นั่นเอง
สภาพการเมืองในอนาคตหลังการเลือกตั้งจึงเป็นสภาพที่มีกลุ่มอำนาจทางการเมืองต่อสู้และต่อรองกัน เพื่อช่วงชิงการจัดตั้งรัฐบาล โดยเป็นการต่อสู้ระหว่างพรรคหลัก ๓ พรรค คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย และ “พรรคราชการ” และมีพรรคขนาดกลางที่กล่าวมาเป็นตัวแปร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อาจมีพรรคการเมืองใหม่ ๆ เข้ามาแทรกในฐานะที่เป็นพรรคตัวแปรด้วยก็ได้ เพราะการเมืองไทยนั้นมีความไม่แน่นอนอยู่สูงมาก และเหตุการณ์ที่อยู่เหนือความคาดคิดมักเกิดขึ้นอยู่เสมอ
"ปัญญาพลวัตร"
หลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๐ การเคลื่อนไหวทางการเมืองก็เริ่มปรากฎเป็นข่าวให้ได้ยินได้ฟังกันมากขึ้น กลุ่มต่างๆ ในสังคมต่างเริ่มขยับตัวเคลื่อนไหว เตรียมการเพื่อแสดงบทบาทและแสวงหาพื้นที่ทางสังคมการเมืองที่กำลังเปิดในอนาคต
ที่เห็นคึกคักมากเป็นพิเศษก็คงเป็นบรรดานักการเมืองและพรรคการเมือง รวมทั้งกลุ่มภาคประชาชนที่มีสายสัมพันธ์กับพรรคการเมือง มีข่าวทั้งในเรื่องการพูดคุยระหว่างหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กับผู้นำกลุ่ม กปปส. การติดต่อระหว่างอดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทยกับแกนนำพรรคชาติไทยพัฒนา และการลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาปฏิรูป ที่เป็นอดีตนักการเมือง ซึ่งประสงค์จะกลับเข้าสู่วงจรการเมืองอีกครั้งในอนาคต
สำหรับพรรคการเมืองที่อยู่ในจุดความสนใจของสังคมก็คงไม่พ้นพรรคหลักๆ อย่างพรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย เพราะว่าคงมีพรรคหนึ่งพรรคใดในสองพรรคนี้ ที่จะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลในอนาคต ส่วนพรรคน่าความสนใจติดตามรองลงมาคือ พรรคชาติไทยพัฒนา ของกลุ่มสพรรณบุรี ซึ่งมีบุตรธิดาของนายบรรหารเป็นแกน พรรคภูมิใจไทยของกลุ่มบุรีรัมย์ ซึ่งมีนายอนุทิน ชาญวีรกูลและเนวิน ชิดชอบ เป็นแกนนำ พรรคชาติพัฒนา ของกลุ่มโคราช ซึ่งมีนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นแกนนำ และรวมถึงพรรคเล็กของกลุ่มชลบุรีอย่างพรรคพลังชล ซึ่งมีตระกูลคุณปลื้มเป็นแกนนำ
เริ่มจากพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งในช่วงที่มีการขัดแย้งทางการเมืองเข้มข้นระหว่างปี ๒๕๕๖ ถึงต้นปี ๒๕๕๗ มีนักการเมืองบางส่วนของพรรคได้ลาออก เพื่อเข้าสู่ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมการเมือง ในบรรดาผู้ที่ลาออกมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เพียงคนเดียวที่ประกาศยุติบทบาทการเป็นนักการเมืองในระบบพรรค ส่วนบุคคลอื่นๆ คาดว่าคงจะกลับเข้าพรรคเหมือนเดิมเมื่อสถานการณ์เหมาะสม
ในปัจจุบันการนำของพรรคประชาธิปัตย์เป็นปมปัญหาหนึ่งที่มีกระแสการพูดคุยกันภายในสมาชิกระดับนำของพรรค โดยเฉพาะตำแหน่งหัวหน้าพรรค สมาชิกบางส่วนมีความเห็นว่า พรรคควรมีการเปลี่ยนแปลงหัวหน้าพรรค ขณะที่บางส่วนก็ยังคงสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคอยู่ในปัจจุบัน สำหรับกลุ่มที่เห็นว่าควรมีการเปลี่ยนแปลงหัวหน้าก็มีการเสนอชื่อบุคคลอื่นๆในลักษณะโยนหินถามทางเป็นระยะ บุคคลที่มักรับการเอ่ยถึงบ่อยครั้งก็มี นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ และ นายศุภชัย พานิชภักดิ์ เป็นต้น และในอนาคตก็อาจมีชื่อบุคคลอื่นๆขึ้นมาอีกก็ได้
ผมมองว่ากลุ่มที่เห็นว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะไม่เหมาะสมกับการเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คงมาจากเหตุผลที่ว่านายอภิสิทธิ์ไม่สามารถนำพรรคชนะการเลือกตั้งเมื่อคราวก่อนได้ และไม่มีท่าทีว่าจะสามารถขยายความนิยมออกไปได้ในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แม้ว่าความนิยมของประชาชนต่อนายอภิสิทธิ์ จะมีแนวโน้มลดลง แต่ก็ยังเป็นการยากอยู่ไม่น้อยที่พรรคจะหาบุคคลอื่นภายในพรรคที่ได้รับความนิยมจากประชาชนมากกว่าหรือใกล้เคียงกับนายอภิสิทธิ์ได้
สำหรับบุคคลที่ทรงอิทธิพลภายในพรรคอย่างนายชวน หลีกภัย ผมประเมินว่ายังคงให้การสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ รวมทั้งบุคคลที่ทรงอิทธิพลนอกพรรคอย่างนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผมก็ประเมินว่ามีแนวโน้มสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ อยู่เช่นกัน แม้ว่าแกนนำบางคนในกลุ่ม กปปส. อาจเห็นข้อจำกัดของนายอภิสิทธิ์อยู่ไม่น้อยก็ตาม แต่ถึงที่สุดแล้ว พวกเขาก็มีทางเลือกไม่มากนัก ยกเว้นว่านายสุเทพ จะลงมาเข้าสู่เกมนี้เอง แต่ก็เป็นไปได้ยากเพราะว่า นายสุเทพ ได้ประกาศเป็นสัญญาประชาคมหลายต่อหลายครั้งแล้วว่า จะไม่หวนคืนสู่การเมืองที่เป็นทางการ
ข่าวที่ว่ากลุ่ม กปปส.จะเข้ามายึดพรรคประชาธิปัตย์นั้นเป็นการให้ข้อมูลของ นายพิเชษฐ์ พันธุ์วิชาติกุล อดีตนักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ และส.ส.กระบี่ ซึ่งปัจจุบันประกาศวางมือทางการเมืองไปแล้ว แต่ก็ยังคงแสดงความคิดเห็นต่อสถานการณ์ของพรรคประชาธิปัตย์อยู่ นายพิเชษฐ์ เป็นนักการเมืองที่มีความคิดยึดติดกับการเมืองในรัฐสภา และไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวทางสังคมนอกสภาของนักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ที่ไปเป็นแกนนำของ กปปส.
ในภายตาผม การต่อสู้ช่วงชิงตำแหน่งอำนาจในพรรคการเมืองเป็นธรรมชาติของพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอยู่แล้ว ไม่ว่าพรรคการเมืองของประเทศใดก็มีการต่อสู้กันภายในพรรคเกิดขึ้นเป็นระยะ ซึ่งแต่ละพรรคก็มีกฏเกณฑ์และบรรทัดฐานที่เป็นกรอบหรือแนวปฏิบัติอยู่แล้ว โดยเฉพาะพรรคการเมืองที่มีความเป็นสถาบันทางการเมืองสูง การต่อสู้ก็เล่นกันไปตามกติกาของพรรค ทั้งกติกาที่เป็นทางการและกติกาที่เป็นบรรทัดฐานการปฏิบัติที่ไม่เป็นทางการ
กรณีพรรคประชาธิปัตย์ก็เช่นเดียวกัน ผมคิดว่าพรรคนี้มีหลักเกณฑ์และกติกาของการต่อสู้และการเปลี่ยนแปลงอำนาจการนำของพรรค ซึ่งสมาชิกพรรคยึดถือร่วมกันดำรงอยู่มานานแล้ว เมื่อถึงวาระที่ต้องเปลี่ยนแปลงก็ว่ากันไปตามกฎเกณฑ์ แต่ละกลุ่มที่ประสงค์จะเป็นแกนนำพรรคก็ต้องดำเนินการหาเสียงสนับสนุนตามแบบแผน และตัดสินกันด้วยเสียงส่วนใหญ่ที่มีสิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งภายในพรรค ส่วนผู้ที่พลาดจากตำแหน่งก็ทำหน้าที่อื่นๆและเป็นสมาชิกต่อไป
ประเภทแพ้แล้วหาเรื่อง หรือ แพ้แล้วลาออกไปตั้งพรรคใหม่ เท่าที่ผมติดตามการเมืองภายในพรรคประชาธิปัตย์มาต่อเนื่องพอสมควร ผมคิดว่าเหตุการณ์ของกลุ่ม ๑๐ มกราคม ๒๕๓๐ ที่กลุ่มผู้แพ้การต่อสู้ภายในพรรคยกทีมออกจากพรรคไปจัดตั้งพรรคใหม่ น่าจะเป็นเหตุการณ์สุดท้าย และคนที่ตัดสินใจเช่นนั้นก็ได้รับบทเรียนไปแล้ว หลังจากนั้นการต่อสู้ภายในพรรคประชาธิปัตย์ข้ามพ้นเรื่องเหล่านั้นไปแล้ว และคิดว่าคงไม่มีกลุ่มอำนาจย่อยภายในพรรคจะทำแบบนั้นอีก หากมีสมาชิกลาออกก็เป็นเพียงรายบุคคล ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติสำหรับนักการเมืองไทยที่อุดมการณ์มีความสำคัญน้อยกว่าโอกาสการได้อำนาจและผลประโยชน์ทางการเมือง
สำหรับพรรคเพื่อไทย ซึ่งเคยได้คะแนนเสียงมากที่สุดในการเลือกตั้งคราวที่แล้ว แกนนำที่ทรงอิทธิพลในพรรคอย่างตระกูลชินวัตร ก็ยังคงดำรงสถานภาพเดิม พรรคนี้ตำแหน่งหัวหน้าพรรคไม่ค่อยมีความสำคัญเท่าไรนัก เพราะอำนาจที่จริงไม่ได้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เป็นทางการภายในพรรค ดังนั้นการเมืองภายในของพรรคนี้จึงไม่ค่อยน่าสนใจมากนัก แต่ที่น่าสนใจของพรรคนี้คือการแสวงหาหนทางที่จะกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลว่าพวกเขาจะใช้ยุทธวิธีอย่างไร
ภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่นั้นโอกาสที่จะทำให้พรรคใดพรรคหนึ่งได้รับเสียงข้างมาเด็ดขาด มีความยากลำบากมากกว่ารัฐธรรมนูญฉบับก่อน ดังนั้นการจัดตั้งรัฐบาลได้จึงต้องแสวงหาพรรคการเมืองอื่นๆเข้ามาเป็นพันธมิตร ซึ่งก็คงไม่พ้นพรรคขนาดกลางทั้งหลาย พรรคขนาดกลางที่กลุ่มแกนนำพรรคเพื่อไทยพอจะแสวงหาข้อตกลงร่วมได้มากที่สุดคือพรรคชาติไทยพัฒาของกลุ่มสุพรรณบุรี ในระยะนี้จึงมีข่าวออกมาว่าแกนนำที่ทรงอิทธิพลของพรรคเพื่อไทยดำเนินการติดต่อพูดคุยเพื่อสร้างข้อตกลงกับแกนนำของพรรคชาติไทยพัฒนา
ส่วนพรรคขนาดกลางอื่นๆอย่างพรรคชาติพัฒนา และพรรคภูมิใจไทยนั้นสภาพการเมืองภายในพรรคก็มีแบบแผนความคล้ายคลึงกับพรรคเพื่อไทยและพรรคชาติไทยพัฒนา คือมีกลุ่มตระกูลหนึ่งหรือสองกลุ่มภายในพรรคที่ทรงอิทธิพลและชี้นำพรรคได้ ดังนั้นการต่อสู้ภายในพรรคแบบพรรคประชาธิปัตย์ก็คงจะไม่มีให้เห็น ประเด็นหลักทางการเมืองของพรรคขนาดกลางคือ การตัดสินใจเลือกจับมือกับพรรคใหญ่พรรคใดดี เพื่อที่จะมีโอกาสมากที่สุดในการเป็นรัฐบาล
ดูจากประวัติศาสตร์และจุดยืนทางการเมืองของพรรคชาติพัฒนาและพรรคภูมิใจไทยแล้ว คงจะยากที่จะไปร่วมมือกับพรรคเพื่อไทย แนวโน้มที่พรรคเหล่านี้ร่วมมือกับพรรคประชาธิปัตย์น่าจะมีสูงกว่า แต่นั่นก็ไม่ใช่เป็นสิ่งที่แน่นอนเสมอไปสำหรับการเมืองไทย เพราะว่าการจัดตั้งรัฐบาลในอนาคตตัวแปรสำคัญไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรของพรรคการเมืองเพียงอย่างเดียว หากแต่ยังมีตัวแปรที่สำคัญอีกตัวหนึ่งคือวุฒิสภา ซึ่งอุปมาเสมือนเป็นพรรคการเมืองอีกพรรคหนึ่งที่เรียกกันว่า “พรรคราชการ” นั่นเอง
สภาพการเมืองในอนาคตหลังการเลือกตั้งจึงเป็นสภาพที่มีกลุ่มอำนาจทางการเมืองต่อสู้และต่อรองกัน เพื่อช่วงชิงการจัดตั้งรัฐบาล โดยเป็นการต่อสู้ระหว่างพรรคหลัก ๓ พรรค คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย และ “พรรคราชการ” และมีพรรคขนาดกลางที่กล่าวมาเป็นตัวแปร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อาจมีพรรคการเมืองใหม่ ๆ เข้ามาแทรกในฐานะที่เป็นพรรคตัวแปรด้วยก็ได้ เพราะการเมืองไทยนั้นมีความไม่แน่นอนอยู่สูงมาก และเหตุการณ์ที่อยู่เหนือความคาดคิดมักเกิดขึ้นอยู่เสมอ