ผู้จัดการสุดสัปดาห์ -สัปดาห์ก่อนนอกจาก“สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)”จะได้รายงานผลการตรวจสอบให้กับสาธารณชนได้รับรู้ เกี่ยวกับ“การจัดเก็บภาษีอากร ค่าธรรมเนียม และรายได้อื่นของหน่วยรับตรวจ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559” (ข้อมูล ณ วันที่ 22 มีนาคม 2560) ที่ได้มีการดำเนินการตรวจสอบ และติดตามการจัดเก็บรายได้ ภาษีอากร และรายได้อื่นๆ ซึ่งคาดว่าจะสามารถได้เงินค่าภาษีเข้ารัฐ ในปีงบประมาณใหม่นี้ถึง 24,133.86 ล้านบาท นั้น
ยังมีข่าวสั้นๆที่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กำลังเตรียมสนับสนุน“สตง.”ให้เข้ารับการคัดเลือกเป็น“คณะกรรมการผู้ตรวจสอบภายนอกแห่งสหประชาชาติ”ถือเป็นการยกระดับของ“สตง.”ในฐานะสถาบันการตรวจสอบสูงสุดของประเทศไทยให้ได้รับการยอมรับในระดับสากล
ตามมติ คณะรัฐมนตรีระบุว่า ได้อนุมัติตามที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เสนอ ให้สตง. สมัครเข้ารับการคัดเลือกและปฏิบัติหน้าที่เป็นคณะกรรมการผู้ตรวจสอบภายนอกแห่งสหประชาชาติ (UNBOA)และผู้ตรวจสอบภายนอก (External Auditor) ของหน่วยงานภายใต้สหประชาชาติหรือหน่วยงานระหว่างประเทศอื่น โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทย
ทั้งนี้ มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ประสานการสนับสนุนติดตาม ผลักดัน เกี่ยวกับการหาเสียง ขอเสียง แลกเปลี่ยนเสียงสนับสนุน ทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคีในโอกาสและรูปแบบที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการจัดกิจกรรมที่เป็นการสร้างความโดดเด่นหรือ raise visibility/raise profile ของ สตง. ในการสมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นคณะกรรมการผู้ตรวจสอบภายนอกแห่งสหประชาชาติ (UNBOA) และผู้ตรวจสอบภายนอก (External Auditor) ของหน่วยงานภายใต้สหประชาชาติหรือหน่วยงานระหว่างประเทศอื่นทุกหน่วยงาน
สตง. รายงานว่าการสมัครเพื่อดำรงตำแหน่ง UNBOA จะต้องแข่งขันกับประเทศอื่นๆ สตง. จำเป็นต้องสร้างความโดดเด่นให้เป็นที่ประจักษ์ในระดับนานาชาติ ดังนั้น การสมัครเป็นผู้ตรวจสอบภายนอก (External Auditor) ของหน่วยงานภายใต้สหประชาชาติหรือหน่วยงานระหว่างประเทศอื่นถือเป็น กลยุทธ์ที่สำคัญในการเตรียมความพร้อมและเป็นเรื่องที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อสร้างจุดแข็งให้กับ สตง. หาก สตง. ได้รับคัดเลือกฯ จะเป็นการสร้างโอกาสในการสั่งสมประสบการณ์ที่สำคัญในระดับนานาชาติ ถือเป็นการยกระดับของ สตง. ในฐานะสถาบันการตรวจสอบสูงสุดของประเทศไทยให้ได้รับการยอมรับในระดับสากล
นอกจากนี้ การตรวจสอบของ สตง. ถือเป็นกลไกสำคัญในการเสริมสร้างความโปร่งใสและธรรมมาภิบาลของประเทศ การได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยให้เข้ารับการคัดเลือกเป็นคณะกรรมการผู้ตรวจสอบภายนอกแห่งสหประชาชาติ (UNBOA) และผู้ตรวจสอบภายนอก (External Auditor) ของหน่วยงานภายใต้องค์การสหประชาชาติหรือหน่วยงานระหว่างประเทศอื่น ย่อมแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการสร้างความโปร่งใสและธรรมาภิบาลในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นในระดับประเทศและระดับนานาชาติ ถือเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศไทย
สตง. กำลังจะโกอินเตอร์ เข้าไปเป็น คณะกรรมการผู้ตรวจสอบภายนอกแห่งสหประชาชาติ (UNBOA)และผู้ตรวจสอบภายนอก (External Auditor) ของหน่วยงานภายใต้องค์การสหประชาชาติหรือหน่วยงานระหว่างประเทศอื่น
เบื้องต้น สตง.จะเข้าสมัครเป็นคณะกรรมการดังกล่าว ในนามประเทศไทย
หน่วยงานข้างต้น จากข้อมูลของเว็บไซต์ http://www.un.org/en/auditors/board/ระบุว่า คณะกรรมการผู้ตรวจสอบภายนอกแห่งสหประชาชาติ ปัจจุบัน มี Shashi Kant Sharma ผู้ตรวจการและผู้สอบบัญชีทั่วไปของอินเดีย เป็น ประธานคณะกรรมการตรวจสอบแห่งสหประชาชาติ ปัจจุบันหัวหน้าของ SAI ยังมี ศาสตราจารย์ Mussa Juma Assad ผู้ควบคุมและผู้สอบบัญชีของ United Republic of Tanzania และ Mr. Kay Scheller ประธาน Federal Court of Audit ประเทศเยอรมนี ร่วมด้วย
UNBOA ดำเนินตามภารกิจของ สหประชาชาติทำหน้าที่ในประเด็นที่ต้องเผชิญกับมนุษยชาติในศตวรรษที่ 21 เช่น สันติภาพและความมั่นคง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาที่ยั่งยืนสิทธิมนุษยชน การลดอาวุธการก่อการร้าย การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและสุขภาพความเท่าเทียมทางเพศ การกำกับดูแลการผลิตอาหารและอื่น ๆ
วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2489 สมัชชาแห่งสหประชาชาติ ได้จัดตั้ง “คณะกรรมการตรวจสอบแห่งสหประชาชาติ” ขึ้นเพื่อตรวจสอบบัญชีขององค์การสหประชาชาติ และเงินและโครงการต่างๆ และรายงานผลการวิจัย และข้อเสนอแนะต่อสมัชชาผ่านทางคณะกรรมการที่ปรึกษาเกี่ยวกับ คำถามเกี่ยวกับการบริหารและงบประมาณ สำหรับเรื่องนี้การประชุมสมัชชาแต่งตั้งให้มีสมาชิกสามคน ซึ่งแต่ละคนจะต้องเป็นผู้สอบบัญชีทั่วไป (หรือเจ้าหน้าที่ที่มีชื่อเทียบเท่า) ของรัฐสมาชิก สมาชิกของคณะกรรมการมีความรับผิดชอบร่วมกันในการตรวจสอบ
เว็บไซต์ของ ยูเอ็น ระบุด้วยว่า ในช่วง 70 ปีที่ผ่านมา คณะกรรมการตรวจสอบได้พัฒนาเป็นองค์กรวิชาชีพที่ให้บริการตรวจสอบภายนอกตามมาตรฐานสากลของการตรวจสอบ ให้ความเชื่อมั่นเป็นอิสระแก่ประเทศสมาชิกและผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรของสหประชาชาติอย่างเหมาะสม รวมทั้งเงินทุนและโครงการต่างๆ รายงานเกี่ยวกับเรื่องการเงินตลอดจนประเด็นเรื่องความสม่ำเสมอและประสิทธิภาพ มีบทบาทสำคัญในการช่วยสหประชาชาติในการปรับปรุงการดำเนินงานและระบบการควบคุมภายในของสหประชาชาติ ข้อค้นพบและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการได้นำไปสู่การปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่องในการทำงานของสหประชาชาติ
ปัจจุบัน องค์การสหประชาชาติ กำลังผ่านช่วงการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางธุรกิจ โดยการใช้ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร (Umoja) และ Global Service Delivery Model เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กรคณะกรรมการตรวจสอบและ ในเดือนกันยายนปี 2015 สมัชชาแห่งสหประชาชาติ ได้รับรอง วาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2030 เพื่อทบทวนและรับรายงานความคืบหน้าในอนาคต
สำหรับวาระการดำรงตำแหน่งของ UNBOA เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2544 ที่ประชุมสมัชชา ได้มีมติให้เปลี่ยนแปลงวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการเป็นระยะเวลาหกปีนับ แต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ก่อนหน้านี้สมาชิกได้รับแต่งตั้งให้เป็น ระยะเวลาสามปี ซึ่งสามารถต่ออายุได้ ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงวาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกคนหนึ่งจะหมดอายุทุกสองปี ดังนั้น สมัชชาจึงจะแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ทุก ๆสองปี และหากพ้นจากตำแหน่งในฐานะผู้สอบบัญชี (หรือเทียบเท่า) ในประเทศของตนเองแล้ว หรือ “ผู้ตรวจเงินแผ่นดินในกรณีประเทศไทย” การพ้นจากตำแหน่งก็จะสิ้นสุดลงและบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิในฐานะผู้สอบบัญชีจะกลายเป็นกรรมการคนใหม่ สมาชิกของคณะกรรมการ จะไม่สามารถถูกถอดถอนได้ในระหว่างการดำรงตำแหน่ง
ส่วนการร่วมประชุมคณะกรรมการและคณะ ผู้ตรวจสอบจะมีการประชุมประมาณสองสัปดาห์ในแต่ละปี นอกจากนี้สมาชิกทุกคนจะต้องพร้อมสำหรับการปรึกษาหารือใด ๆ ที่จำเป็นตลอดทั้งปีกับคณะกรรมการสหประชาชาติคณะกรรมการที่ปรึกษาเกี่ยวกับคำถาม ด้านบริหารและงบประมาณ และหน่วยงานกำกับดูแลอื่น ๆ
องค์กรนี้จะมี “ผู้อำนวยการประจำ ที่ประจำการในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา”ขณะที่สมาชิกแต่ละคนจะให้พนักงานตรวจสอบจากสำนักงานตรวจสอบภายในของตน เพื่อทำการตรวจสอบในสถานที่ต่างๆในสหประชาชาติ เพื่อวัตถุประสงค์ในการทำการตรวจสอบในประเทศหรือพิเศษหรือส่งผลต่อเศรษฐกิจในค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบ คณะกรรมการอาจเข้ารับการบริการของผู้สอบบัญชีทั่วไปแห่งชาติ (หรือเจ้าหน้าที่ที่มีชื่อเทียบเท่า) หรือผู้ตรวจสอบบัญชีที่เป็นที่รู้จักในเชิงพาณิชย์หรือบุคคลอื่นใด บุคคลหรือ บริษัท ที่เห็นว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมทางเทคนิค
สมาชิกจะมีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบโครงการ 28 โครงการของสหประชาชาติหรือโครงการต่างๆ ด้วยความเห็นพ้องกันของคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อการบริหารและงบประมาณคำถาม (ACABQ) คณะกรรมการจัดสรรและหมุนเวียนการมอบหมายงานระหว่างสมาชิกแต่ละคน อย่างไรก็ตามความรับผิดชอบสำหรับรายงานของคณะกรรมการเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิทยาลัย การกระจายผลงานของคณะกรรมการในปัจจุบัน เช่น สำนักงานใหญ่แห่งสหประชาชาติ(อินเดีย ตรวจสอบ) ,ปฏิบัติการสันติภาพของสหประชาชาติ (UNPKO) (เยอรมนีตรวจสอบ) ,ศูนย์การค้าระหว่างประเทศ (ITC)( อินเดียตรวจสอบ ,โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) (แทนซาเนียตรวจสอบ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาทุนแห่งสหประชาชาติ (UNCDF) (แทนซาเนียตรวจสอบ) ,กองทุนเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) (อินเดียตรวจสอบ) ,กองทุนอาสาโดยคณะกรรมาธิการผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) (เยอรมนีตรวจสอบ) เป็นต้น
ขณะที่ สมาชิกก่อนหน้าในคณะกรรมการมีทั้งสิ้น 18 ประเทศ ประกอบด้วย ยูเครน สวีเดน แคนาดา โคลอมเบีย เดนมาร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ปากีสถาน เบลเยียม กานา บังคลาเทศ ฟิลิปปินส์ ฝรั่งเศส เยอรมนี สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ อินเดีย สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ และสาธารณรัฐประชาชนจีน
หากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ของไทยผ่านการคัดเลือก เป็นคณะกรรมการผู้ตรวจสอบภายนอกแห่งสหประชาชาติ ก็จะเป็นชาติที่ 19 ที่เข้ามาร่วมภารกิจของสหประชาชาติ ส่วนสมาชิกที่เข้าไปนั่งในยูเอ็น จะเป็นใคร คาดว่าคงไม่พ้น นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่า สตง.คนปัจจุบัน แต่ตอนนี้ สตง.ไทย ต้องหาความโดดเด่นให้เจอก่อน.