xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

ร็อคกี้เฟลเลอร์ นำการแพทย์ตะวันตกสู่ไทย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


"ฝั่งขวาเจ้าพระยา"
"โชกุน"

เดวิด ร็อคกี้เฟลเลอร์ ทายาทรุ่นที่สามของตระกูลร็อคกี้เฟลเลอร์ เสียชีวิต ในวัย 101 ปี เมื่อวันที่ 20 มีนาคมที่ผ่านมา

ร็อคกี้เฟลเลอร์ เป็นตระกูลมหาเศรษฐกิจตระกูลแรกๆ ของสหรัฐอเมริกา และของโลก ที่ร่ำรวยมาจากธุรกิจน้ำมันเมื่อ 140 ปีก่อน จอห์น ดี ร็อคกี้เฟลเลอร์ ปู่ของเดวิด ก่อตั้ง สแตนดาร์ด ออยล์ เป็นโรงกลั่นน้ำมันแห่งแรกในสหรัฐฯ และขยายกิจการแบบครบวงจรทั้งแนวนอน และแนวตั้ง จนกลายเป็นผู้ผูกขาดรายเดียวในอุตสาหกรรม

อำนาจการผูกขาด ของ สแตนดาร์ด ออยล์ ถูกศาลฎีกาสหรัฐ ทำลาย ด้วยคำสั่งให้แตกกิจการออกเป็นบริษัทย่อยๆ 30 กว่าแห่ง ในปี 1911 บริษัทน้ำมันระดับโลกหลายแห่งในปัจจุบัน แตกหน่อมาจากการสลายสแตนดาร์ด ออยล์ ในตอนนั้น เช่น บีพี เอสโซ่ เชฟรอน เอ็กซอน และ โมบิล ซึ่งควบรวมกันเป็น เอ็กซอน โมบิล

เดวิดผู้เสียชีวิต เป็นลูกชายคนสุดท้อง จากจำนวนลูกชาย ลูกสาว 6 คนของ จอห์น ดี จูเนียร์ ร็อกกี้เฟลเลอร์ ลูกชายคนเดียว ของ จอห์น ดี ร็อกกี้เฟลเลอร์ เขาเป็นประธานกรรมการ และซีอีโอ ธนาคารเชส แมนฮัตตัน ซึง่ตระกุลถือหุ้นไม่ถึง 5 % ในช่วงทศวรรษ 1970 โดยได้ขยายกิจการเชส แมนฮัตตัน ไปทั่วโลก แม้แต่ในรัสเซีย และปักกิ่ง ในยุคสงครามเย็น จนได้ชื่อว่า เป็นผู้ดำเนินนโ ยบายต่างประเทศตังจริงของสหรัฐฯ และผู้นำลัทธิทุนนิยมแบบอเมริกาไปปักธงในทวีปต่างๆ

ร็อคกี้เฟลเลอร์ เป็นต้นแบบของเศรษฐีอเมริกัน ที่จัดสรรความมั่งคั่งจำนวนหนึ่ง ให้ความช่วยเหลือแก่สังคม ทั้งในด้านการศึกษา สาธารรสุข สิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม การพัฒนาชีวิตความเป็นอยุ่ของผุ้ด้อยโอกาส ทั้งในประเทศ และในประเทศกำลังพัฒนา ผ่านมูลนิธิ ร็อคกี้เฟลเลอร์ ควบคุ่ไปกับ การลงทุน ในประเทศเหล่านั้น

สำหรับประเทศไทย มุลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ มีบทบาทสำคัญในการ สร้างระบบการแพทย์ สมัยใหม่

ความสัมพันธ์ระหว่างมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ กับประเทศไทย มีมาตั้งแต่ ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะตอนนั้น บริษัทสแตนดาร์ดออยส์ เริ่มเข้ามาลงทุนในธุรกิจน้ำมัน ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของตระกูลร็อคกี้เฟลเลอร์

บุคคลสำคัญที่เป็นตัวแทนดำเนินงานของมูลนิธิในระยะแรก คือ ดร.วิกเตอร์ จี ไฮเซอร์ (Dr. Victor G. Heiser) ผู้อำนวยการฝ่ายสาธารณสุขระหว่างประเทศ ของมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ในขณะที่ทางไทยมีสมเด็จฯ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ผู้บัญชาการราชแพทยาลัยอันเป็นโรงเรียนฝึกสอนแพทย์ ที่มีอยู่เพียงแห่งเดียวในประเทศ ทรงคอยประสานงานในช่วงเริ่มต้น

ผลงานที่สำคัญของมูลนิธิในช่วงนี้ ได้แก่ การช่วยดำเนินการปราบปรามการแพร่ระบาดของโรคพยาธิปากขอ ร่วมกับสภากาชาดและกรมสุขาภิบาลของไทย อย่างไรก็ตามเนื่องจากความช่วยเหลือยังมีลักษณะไม่เป็นทางการ จึงยังไม่สามารถทำการพัฒนาได้เต็มที่

การตกลงให้ความช่วยเหลือของมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์อย่างเป็นทางการ จะเริ่มต้นขึ้นในพ.ศ. 2464 โดยรัฐบาลไทยได้มอบหมายให้ สมเด็จฯพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ครั้งที่ยังดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ ทำหน้าที่ผู้แทน ในการประสานงานกับมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ เพราะทรงเป็นเจ้านายชั้นสูง ที่เป็นที่เคารพนับถือ ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ สามารถใช้ภาษาต่างประเทศได้หลายภาษา และมีความรู้ทางการแพทย์ด้วย

ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2464 สมเด็จฯ พระบรมราชชนก พร้อมด้วยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้เสด็จไปพบ และเจรจากับผู้แทนของมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ตามเมืองต่างๆ ในทวีปยุโรป เช่น กรุงลอนดอน กรุงปารีส และกรุงเบิร์น จนสามารถจัดให้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลง ซึ่งได้รับการรับรองจากทั้งทางมูลนิธิ และได้รับพระบรมราชานุญาตจาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปลายปี พ.ศ. 2465 จากนั้นจึงทรงร่วมกับมูลนิธิ เสาะหาบุคคลเข้ามาเป็นอาจารย์ และจัดปรับปรุงหลักสูตรแพทย์ของไทย ให้ถึงระดับแพทยศาสตรบัณฑิต

นอกจากนี้สมเด็จฯ พระบรมราชชนกยังทรงได้คัดเลือกนักเรียนไทย ที่กำลังเรียนวิชาแพทย์ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ให้ได้รับทุนของมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ เพื่อฝึกอบรมศึกษาต่อ สำหรับกลับมาเป็นอาจารย์ในคณะแพทยศาสตร์ต่อไปด้วย

ในปี พ.ศ. 2466 สมเด็จฯพระบรมราชชนก ทรงตั้งพระทัยจะเสด็จไปทรงศึกษาวิชาแพทย์ต่อที่มหาวิทยาลัยเอดินเบอระ แต่จากการที่พระวรกายไม่แข็งแรง เนื่องจากทรงพระประชวรด้วยโรคของพระวักกะ (โรคไต) ประกอบกับที่อังกฤษมีอากาศชื้นและหนาวเย็น ไม่เหมาะกับโรค ทำให้ต้องเสด็จกลับประเทศไทย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย และรับตำแหน่งในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2466 เพื่อให้สะดวกแก่การที่จะทรงประสานงานกับมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ในการพัฒนาโรงเรียนราชแพทยาลัยที่กระทรวงธรรมการประกาศให้เข้าร่วมสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ.2460 ซึ่งมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ได้ให้เงินสนับสนุนทุนก่อสร้าง ตึก อุปกรณ์ทางการแพทย์ ทุนอุดหนุน บุคลากรทางการแพทย์ ให้ไปศึกษาต่อต่างประเทศและหาอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ ต่างประเทศมาประจำตามแผนกต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงหลักสูตรและ ให้ความช่วยเหลือด้านการเรียนการสอนแก่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

นอกจากนี้ สมเด็จฯพระบรมราชชนกยังทรงรับตำแหน่งประธานกรรมการโรงพยาบาลศิริราช เพื่อดำเนินการปรับปรุงการบริหารจัดการ โดยรับความช่วยเหลือจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งความสำเร็จจากความร่วมมือจะได้ปรากฏให้เห็นในเวลาต่อมา คือการที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีนิสิตแพทย์ จบการศึกษาระดับปริญญารุ่นแรกใน พ.ศ.2471 ส่วนโรงพยาบาลศิริราช ก็ได้พัฒนาเป็นโรงพยาบาลที่มีมาตรฐานเหมาะสมสำหรับสอนนิสิตแพทย์ด้วย บทบาทของพระองค์ที่ทรงปรับปรุงการแพทย์ไทยร่วมกับมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ นับว่าเป็นการวางรากฐานการแพทย์ไทยให้เจริญก้าวหน้าเท่าเทียมอารยประเทศจนถึงปัจจุบัน


กำลังโหลดความคิดเห็น