ผู้จัดการรายวัน 360 - สำนักงานประกันสังคมเพิ่มสิทธิ “ตรวจสุขภาพฟรี” ให้แก่ผู้ประกันตนเป็นของขวัญรับเทศกาลปีใหม่ คาดดีเดย์วันที่ 1 ม.ค. 2560 ย้ำตรวจสุขภาพได้ที่ รพ. ตามสิทธิและตรวจได้เฉพาะรายการตามความเหมาะสมของอายุและรายการที่จำเป็น ขณะที่ผู้ต้องการเปลี่ยนสถานพยาบาล เริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค. - 31 มี.ค. 60
วานนี้ (22 ธ.ค.) นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวถึงการเพิ่มสิทธิประโยชน์การส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคของผู้ประกันตน ว่า สปส. เล็งเห็นความสำคัญของการตรวจสุขภาพของผู้ประกันตน เนื่องจากเป็นสิทธิที่ควรได้รับ และจากมาตรา 63(2) เรื่องการตรวจสุขภาพของผู้ประกันตน ของ พ.ร.บ. ประกันสังคมฉบับแก้ไขนั้น
ล่าสุด สปส. ได้จัดทำข้อกำหนดในการตรวจสุขภาพของผู้ประกันตนกว่า 12 ล้านคนแล้วเสร็จ ทางคณะกรรมการการแพทย์ได้ลงนามแล้ว โดยอยู่ระหว่างประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งกำหนดไว้ว่ามีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560
สำหรับสิทธิประโยชน์การให้บริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ได้กำหนดให้ผู้ประกันตนทุกคน เข้ารับบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยการตรวจสุขภาพได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ต้องรับบริการในโรงพยาบาลตามสิทธิที่ผู้ประกันตนได้เลือกเอาไว้ เบื้องต้นในปีแรกคาดว่าจะใช้งบประมาณ 1,500 - 1,800 ล้านบาท โดยผู้ประกันตนที่เข้ารับบริการตรวจสุขภาพจะสามารถตรวจสุขภาพพื้นฐานได้ อาทิ ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจการทำงานของไต เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง ภาวะผิดปกติ หรือโรค ซึ่งนำไปสู่การป้องกันการส่งเสริมสุขภาพของผู้ประกันตน หรือหากพบความผิดปกติจะได้รับการบำบัดรักษาตั้งแต่ระยะแรกตามรายการ
สำหรับหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการแพทย์กำหนดการใช้บริการตรวจสุขภาพฟรีนั้น จะพิจารณาตามอายุ และความจำเป็น อาทิ การตรวจเต้านมโดยแพทย์ หรือบุคลากรสาธารณสุข ผู้ประกันตนอายุ 30 - 39 ปี ตรวจได้ทุก 3 ปี แต่ถ้าอายุ 40 - 54 ปี ตรวจได้ทุกปี หรือการตรวจน้ำตาลในเลือด อายุ 35 - 54 ปี ตรวจทุก 3 ปี แต่ถ้าอายุ 55 ปีขึ้นไป ตรวจได้ 1 ครั้งต่อปี หรือการเอกซเรย์ทรวงอก Chest x-ray ได้ปีละ 1 ครั้งอายุ 15 ปีขึ้นไป เป็นต้น
พร้อมกันนี้ นพ.สุรเดช กล่าวถึง กรณีที่ผู้ประกันตนที่ประสงค์จะเปลี่ยนสถานพยาบาลที่ตนเองเลือก ว่า สปส.ได้อำนวยความสะดวกให้ผู้ประกันตนสามารถแจ้งขอเปลี่ยนสถานพยาบาลได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขาทุกแห่ง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 - 31 มีนาคม 2560
สำหรับในปี 2560 มีสถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการประกันสังคมทั่วประเทศจำนวน 239 แห่ง แบ่งเป็นสถานพยาบาลของรัฐบาล 159 แห่ง สถานพยาบาลเอกชน 80 แห่ง และมีสถานพยาบาล ที่ไม่เข้าร่วมโครงการประกันสังคม จำนวน 3 แห่ง คือ โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน กรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลปิยะมินทร์ จังหวัดสมุทรปราการ และโรงพยาบาลรักษ์สกล จังหวัดสกลนคร
วานนี้ (22 ธ.ค.) นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวถึงการเพิ่มสิทธิประโยชน์การส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคของผู้ประกันตน ว่า สปส. เล็งเห็นความสำคัญของการตรวจสุขภาพของผู้ประกันตน เนื่องจากเป็นสิทธิที่ควรได้รับ และจากมาตรา 63(2) เรื่องการตรวจสุขภาพของผู้ประกันตน ของ พ.ร.บ. ประกันสังคมฉบับแก้ไขนั้น
ล่าสุด สปส. ได้จัดทำข้อกำหนดในการตรวจสุขภาพของผู้ประกันตนกว่า 12 ล้านคนแล้วเสร็จ ทางคณะกรรมการการแพทย์ได้ลงนามแล้ว โดยอยู่ระหว่างประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งกำหนดไว้ว่ามีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560
สำหรับสิทธิประโยชน์การให้บริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ได้กำหนดให้ผู้ประกันตนทุกคน เข้ารับบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยการตรวจสุขภาพได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ต้องรับบริการในโรงพยาบาลตามสิทธิที่ผู้ประกันตนได้เลือกเอาไว้ เบื้องต้นในปีแรกคาดว่าจะใช้งบประมาณ 1,500 - 1,800 ล้านบาท โดยผู้ประกันตนที่เข้ารับบริการตรวจสุขภาพจะสามารถตรวจสุขภาพพื้นฐานได้ อาทิ ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจการทำงานของไต เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง ภาวะผิดปกติ หรือโรค ซึ่งนำไปสู่การป้องกันการส่งเสริมสุขภาพของผู้ประกันตน หรือหากพบความผิดปกติจะได้รับการบำบัดรักษาตั้งแต่ระยะแรกตามรายการ
สำหรับหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการแพทย์กำหนดการใช้บริการตรวจสุขภาพฟรีนั้น จะพิจารณาตามอายุ และความจำเป็น อาทิ การตรวจเต้านมโดยแพทย์ หรือบุคลากรสาธารณสุข ผู้ประกันตนอายุ 30 - 39 ปี ตรวจได้ทุก 3 ปี แต่ถ้าอายุ 40 - 54 ปี ตรวจได้ทุกปี หรือการตรวจน้ำตาลในเลือด อายุ 35 - 54 ปี ตรวจทุก 3 ปี แต่ถ้าอายุ 55 ปีขึ้นไป ตรวจได้ 1 ครั้งต่อปี หรือการเอกซเรย์ทรวงอก Chest x-ray ได้ปีละ 1 ครั้งอายุ 15 ปีขึ้นไป เป็นต้น
พร้อมกันนี้ นพ.สุรเดช กล่าวถึง กรณีที่ผู้ประกันตนที่ประสงค์จะเปลี่ยนสถานพยาบาลที่ตนเองเลือก ว่า สปส.ได้อำนวยความสะดวกให้ผู้ประกันตนสามารถแจ้งขอเปลี่ยนสถานพยาบาลได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขาทุกแห่ง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 - 31 มีนาคม 2560
สำหรับในปี 2560 มีสถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการประกันสังคมทั่วประเทศจำนวน 239 แห่ง แบ่งเป็นสถานพยาบาลของรัฐบาล 159 แห่ง สถานพยาบาลเอกชน 80 แห่ง และมีสถานพยาบาล ที่ไม่เข้าร่วมโครงการประกันสังคม จำนวน 3 แห่ง คือ โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน กรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลปิยะมินทร์ จังหวัดสมุทรปราการ และโรงพยาบาลรักษ์สกล จังหวัดสกลนคร