น้ำท่วมภาคใต้ หลายจังหวัดอ่วม!! เมืองคอนได้รับผลกระทบหนักสุด 18 อำเภอจมบาดาล หลายชุมชนต้องใช้เรือออกมาซื้ออาหาร สังเวยแล้ว 6 ราย ส่วนที่สงขลาท่วม 6 อำเภอเสียชีวิตแล้ว 2 ต้องเร่งอพยพชาวบ้าน 37 ครอบครัวในสะบ้าย้อยกันวุ่น เช่นเดียวกับที่กระบี่ และสุราษฎร์ อ่วมหนักเช่นกัน ด้านกรมอุตุฯ เตือนหลายจังหวัดภาคใต้ ยังมีฝนตกหนัก
วานนี้ (4 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานสภาพพื้นที่ตัวเมืองนครศรีธรรมราชว่า กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากภาวะอุทกภัยที่ขยายวงกว้างอย่างต่อเนื่อง จากปริมาณฝนที่ตกหนักตลอด 4 วันที่ผ่านมา เบื้องต้นพบปริมาณฝนสะสมกว่า 200 มม. ในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะแถบเทือกเขาหลวง ส่งผลให้น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วม หลายชุมชนต้องใช้เรือออกมาซื้ออาหาร
นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผวจ.นครศรีธรรมราช ยืนยันว่า ขณะนี้มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 18 อำเภอ 161 ตำบล 1,245 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับผลกระทบ 234,158 คน 97,944 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิตแล้ว 5 คน ล่าสุดจมน้ำเสียชีวิตในพื้นที่ บ้านท่าแพ ต.ปากพูน อ.เมืองนครศรีธรรมราช เฉพาะในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช มีน้ำท่วม 36 ชุมชน ปัจจุบันอพยพประชาชนไปพักที่โรงเรียน หนักสุดบริเวณถนนพัฒนาการคูขวาง และซอยต่างๆ คาดว่าต้องใช้เวลาประมาณ 2 วัน สถานการณ์น่าจะคลี่คลาย
นอกจากนี้ยังเกิดเหตุไฟฟ้าช็อตคนเสียชีวิตในท้องที่ หมู่ 4 ต.นาสาร อ.พระพรหม อีก 1 ราย โดยผู้เสียชีวิตคือ นายพงศ์ศักดิ์ หรือ โอ๊ต ชื่นพจน์ ถูกกระแสไฟฟ้าช็อตใกล้คอกวัว เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ โดยเจ้าหน้าที่อยู่ในระหว่างการสอบสวน
**สงขลาท่วม 6 อำเภอเสียชีวิต 2 ราย
ส่วนที่ จ.สงขลา โดยเฉพาะที่ อ.สะบ้าย้อย ซึ่งได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมหนักสุดในรอบนี้ ล่าสุดเจ้าหน้าที่ได้อพยพชาวบ้านพื้นที่หมู่ 1 บ้านแลแบง ต.สะบ้าย้อย เพิ่มเป็น 37 ครัวเรือน มาอาศัยอยู่ที่ศาลาประชาคมอำเภอสะบ้าย้อยชั่วคราวแล้ว
ส่วนภาพรวมของสถานการณ์น้ำท่วมที่ จ.สงขลา ทาง ปภ.สงขลา รายงานว่า มีพื้นที่ซึ่งถูกน้ำท่วม 6 อำเภอ จาก 16 อำเภอ ประกอบด้วย อ.เมือง หาดใหญ่ นาหม่อม สะบ้าย้อย สะเดา และ อ.ระโนด และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 2 คน เป็นเด็กหญิงวัย 5 ขวบ ทั้ง 2 คน ซึ่งเสียชีวิตจากการจมน้ำใน ต.ปาดังเบซาร์ และ ต.ท่าโพธิ์ อ.สะเดา แต่ทุกแห่งเริ่มคลี่คลายจากฝนที่เริ่มหยุดตก
**พัทลุงประกาศเขตประสบภัย8อำเภอ
ที่ จ.พัทลุง เกิดน้ำท่วมหลายจุด โดยบางจุดสูงกว่า 2 เมตร และน้ำได้ไหลทะลักเข้าท่วมเขตพื้นที่เศรษฐกิจ ขณะที่เจ้าหน้าที่ต้องเร่งช่วยกันอพยพชาวบ้านหลายครอบครัวในพื้นที่ ต.ชะม่วง อ.ควนขนุน, ต.นาโหนด อ.เมืองฯ และใน ต.คลองเฉลิม อ.กงหรา ไปอยู่ในที่ปลอดภัย และเกือบทุกหมู่บ้านถนนถูกตัดขาด นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ขยังได้รับแจ้งว่าบ้านเลขที่ 431 หมู่ 3 ต.เขาชัยสน อ.เขาชัยสน ตัวบ้านถูกกระแสน้ำพัดพังเสียหาย 1 หลัง และเกิดดินสไลด์ที่ ต.บ้านนา ติดถนนสายเพชรเกษมพัทลุง-ตรัง ด้วย
ขณะที่นายวันชัย คงเกษม ผวจ.พัทลุงได้เรียกประชุมหัวหน้าส่วนราชการเพื่อประเมินสถานการณ์ พร้อมประกาศเขตพื้นที่ประสบภัยรวมทั้งสิ้น 8 อำเภอคือ อ.เมืองฯ, ควนขนุน, กงหรา, ศรีบรรพต, บางแก้ว, ปากพะยูน, ป่าพะยอม และ ป่าบอน รวม 50 ตำบล 262 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับความเดือดร้อนกว่า 10,000 ครัวเรือน พร้อมสั่งทุกหน่วยงานให้เร่งช่วยเหลือประชาชนที่ต้องการอพยพออกจากบ้านไปอยู่ที่ปลอดภัย
**กระบี่-สุราษฎร์ฯ อ่วมหนัก
ที่ จ.กระบี่ ฝนที่ตกต่อเนื่องในพื้นที่ อ.เขาพนม ส่งผลให้คลองหลายสายในพื้นที่มีน้ำเอ่อล้นท่วมถนน สวนยาง และสวนปาล์มน้ำมันอย่างหนัก โดยเฉพาะในพื้นที่ ต.สินปุน มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมแล้ว 4 หมู่บ้าน มีชาวบ้านเดือดร้อนประมาณ 50 หลังคาเรือน พื้นที่ทางการเกษตรได้รับความเสียหายประมาณ 1,000 ไร่ โดยทางอำเภอเขาพนม ได้สั่งเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง
ขณะที่นายสมควร ขันเงิน รองผวจ.กระบี่ ได้ออกประกาศแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง 8 อำเภอ เตรียมความพร้อม ทั้งเจ้าหน้าที่อาสาสมัคร อุปกรณ์ช่วยชีวิตเพื่อรับสถานการณ์จากฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน ดินโคลนถล่ม คลื่นลมแรง หลังจากกรมอุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันตกออกประกาศเตือนภาคใต้ฝั่งตะวันตกได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุม ทำให้มีฝนตกหนัก ระหว่างวันที่ 4-5 ธ.ค.นี้
ที่จ.สุราษฎร์ธานี ฝนที่ตกหนักต่อเนื่องทำให้เกิดน้ำท่วมหลายพื้นที่เช่นกัน จากการตรวจสอบของ ปภ.สุราษฏร์ธานี พบมี 17 อำเภอจากทั้งหมด 19 อำเภอ ที่ได้รับผลกระทบคงเหลือ อ.บ้านตาขุน และ อ.พนม เท่านั้น พร้อมกันนี้ ทางจังหวัดยังได้แจ้งเตือนให้ประชาชนเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำท่วมด้วยเนื่องจากขณะนี้ ได้มีน้ำป่าไหลหลากจากเทือกเขาตอนบน รวมถึง จ.นครศรีธรรมราช หลากลงมาสมทบโดยเฉพาะจุดเสี่ยง 3 แห่งคือ อ.กาญจนดิษฐ์, อ.พุนพิน และ อ.ดอนสัก
**อุตุฯเตือนใต้ตอนล่างฝนตกหนักมาก
ด้านกรมอุตุนิยมวิทยา ได้ประกาศเตือนเมื่อเวลา 17.00 น. วานนี้ว่า ในช่วงวันที่ 4-5 ธ.ค.59 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมตอนเหนือของเกาะสุมาตรา และกำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนืออย่างช้าๆ ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณ จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี อ.เกาะสมุย นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และ ตรัง จึงขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ฝนที่ตกสะสม น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ และหลีกเลี่ยงการสัญจรผ่านบริเวณที่มีน้ำท่วมไว้ด้วย
**นายกฯติดตามเหตุน้ำท่วมภาคใต้อย่างใกล้ชิด
พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงปัญหาอุทุกภัยในพื้นที่ภาคใต้ในขณะนี้ ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่บูรณาการร่วมกัน เช่น ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตของกระทรวงมหาดไทย ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 4 และจังหวัดที่ประสบภัย เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
"นายกฯ ระบุว่า ภัยธรรมชาติเป็นสิ่งที่มนุษย์ควบคุมไม่ได้ แต่เมื่อรู้ว่าจะเกิดก็จำเป็นต้องป้องกันเพื่อลดความเสียหาย โดยแจ้งข่าวสารให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึง และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องแก้ไขปัญหาให้ทุเลาเบาบางลง ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวป้องกันเหตุจมน้ำ และช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้เร็วที่สุด เช่น จัดชุดเคลื่อนที่เร็วและเครื่องมืออุปกรณ์ด้านสาธารณภัยพร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุตลอด 24 ชม. เป็นต้น"
ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย เฝ้าติดตามประกาศเตือนภัยอย่างใกล้ชิด และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงนี้ ส่วนผู้ที่ประสบภัยให้ติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต สนง.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดและสาขาในพื้นที่ หรือโทร.สายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชม.
วานนี้ (4 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานสภาพพื้นที่ตัวเมืองนครศรีธรรมราชว่า กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากภาวะอุทกภัยที่ขยายวงกว้างอย่างต่อเนื่อง จากปริมาณฝนที่ตกหนักตลอด 4 วันที่ผ่านมา เบื้องต้นพบปริมาณฝนสะสมกว่า 200 มม. ในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะแถบเทือกเขาหลวง ส่งผลให้น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วม หลายชุมชนต้องใช้เรือออกมาซื้ออาหาร
นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผวจ.นครศรีธรรมราช ยืนยันว่า ขณะนี้มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 18 อำเภอ 161 ตำบล 1,245 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับผลกระทบ 234,158 คน 97,944 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิตแล้ว 5 คน ล่าสุดจมน้ำเสียชีวิตในพื้นที่ บ้านท่าแพ ต.ปากพูน อ.เมืองนครศรีธรรมราช เฉพาะในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช มีน้ำท่วม 36 ชุมชน ปัจจุบันอพยพประชาชนไปพักที่โรงเรียน หนักสุดบริเวณถนนพัฒนาการคูขวาง และซอยต่างๆ คาดว่าต้องใช้เวลาประมาณ 2 วัน สถานการณ์น่าจะคลี่คลาย
นอกจากนี้ยังเกิดเหตุไฟฟ้าช็อตคนเสียชีวิตในท้องที่ หมู่ 4 ต.นาสาร อ.พระพรหม อีก 1 ราย โดยผู้เสียชีวิตคือ นายพงศ์ศักดิ์ หรือ โอ๊ต ชื่นพจน์ ถูกกระแสไฟฟ้าช็อตใกล้คอกวัว เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ โดยเจ้าหน้าที่อยู่ในระหว่างการสอบสวน
**สงขลาท่วม 6 อำเภอเสียชีวิต 2 ราย
ส่วนที่ จ.สงขลา โดยเฉพาะที่ อ.สะบ้าย้อย ซึ่งได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมหนักสุดในรอบนี้ ล่าสุดเจ้าหน้าที่ได้อพยพชาวบ้านพื้นที่หมู่ 1 บ้านแลแบง ต.สะบ้าย้อย เพิ่มเป็น 37 ครัวเรือน มาอาศัยอยู่ที่ศาลาประชาคมอำเภอสะบ้าย้อยชั่วคราวแล้ว
ส่วนภาพรวมของสถานการณ์น้ำท่วมที่ จ.สงขลา ทาง ปภ.สงขลา รายงานว่า มีพื้นที่ซึ่งถูกน้ำท่วม 6 อำเภอ จาก 16 อำเภอ ประกอบด้วย อ.เมือง หาดใหญ่ นาหม่อม สะบ้าย้อย สะเดา และ อ.ระโนด และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 2 คน เป็นเด็กหญิงวัย 5 ขวบ ทั้ง 2 คน ซึ่งเสียชีวิตจากการจมน้ำใน ต.ปาดังเบซาร์ และ ต.ท่าโพธิ์ อ.สะเดา แต่ทุกแห่งเริ่มคลี่คลายจากฝนที่เริ่มหยุดตก
**พัทลุงประกาศเขตประสบภัย8อำเภอ
ที่ จ.พัทลุง เกิดน้ำท่วมหลายจุด โดยบางจุดสูงกว่า 2 เมตร และน้ำได้ไหลทะลักเข้าท่วมเขตพื้นที่เศรษฐกิจ ขณะที่เจ้าหน้าที่ต้องเร่งช่วยกันอพยพชาวบ้านหลายครอบครัวในพื้นที่ ต.ชะม่วง อ.ควนขนุน, ต.นาโหนด อ.เมืองฯ และใน ต.คลองเฉลิม อ.กงหรา ไปอยู่ในที่ปลอดภัย และเกือบทุกหมู่บ้านถนนถูกตัดขาด นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ขยังได้รับแจ้งว่าบ้านเลขที่ 431 หมู่ 3 ต.เขาชัยสน อ.เขาชัยสน ตัวบ้านถูกกระแสน้ำพัดพังเสียหาย 1 หลัง และเกิดดินสไลด์ที่ ต.บ้านนา ติดถนนสายเพชรเกษมพัทลุง-ตรัง ด้วย
ขณะที่นายวันชัย คงเกษม ผวจ.พัทลุงได้เรียกประชุมหัวหน้าส่วนราชการเพื่อประเมินสถานการณ์ พร้อมประกาศเขตพื้นที่ประสบภัยรวมทั้งสิ้น 8 อำเภอคือ อ.เมืองฯ, ควนขนุน, กงหรา, ศรีบรรพต, บางแก้ว, ปากพะยูน, ป่าพะยอม และ ป่าบอน รวม 50 ตำบล 262 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับความเดือดร้อนกว่า 10,000 ครัวเรือน พร้อมสั่งทุกหน่วยงานให้เร่งช่วยเหลือประชาชนที่ต้องการอพยพออกจากบ้านไปอยู่ที่ปลอดภัย
**กระบี่-สุราษฎร์ฯ อ่วมหนัก
ที่ จ.กระบี่ ฝนที่ตกต่อเนื่องในพื้นที่ อ.เขาพนม ส่งผลให้คลองหลายสายในพื้นที่มีน้ำเอ่อล้นท่วมถนน สวนยาง และสวนปาล์มน้ำมันอย่างหนัก โดยเฉพาะในพื้นที่ ต.สินปุน มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมแล้ว 4 หมู่บ้าน มีชาวบ้านเดือดร้อนประมาณ 50 หลังคาเรือน พื้นที่ทางการเกษตรได้รับความเสียหายประมาณ 1,000 ไร่ โดยทางอำเภอเขาพนม ได้สั่งเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง
ขณะที่นายสมควร ขันเงิน รองผวจ.กระบี่ ได้ออกประกาศแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง 8 อำเภอ เตรียมความพร้อม ทั้งเจ้าหน้าที่อาสาสมัคร อุปกรณ์ช่วยชีวิตเพื่อรับสถานการณ์จากฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน ดินโคลนถล่ม คลื่นลมแรง หลังจากกรมอุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันตกออกประกาศเตือนภาคใต้ฝั่งตะวันตกได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุม ทำให้มีฝนตกหนัก ระหว่างวันที่ 4-5 ธ.ค.นี้
ที่จ.สุราษฎร์ธานี ฝนที่ตกหนักต่อเนื่องทำให้เกิดน้ำท่วมหลายพื้นที่เช่นกัน จากการตรวจสอบของ ปภ.สุราษฏร์ธานี พบมี 17 อำเภอจากทั้งหมด 19 อำเภอ ที่ได้รับผลกระทบคงเหลือ อ.บ้านตาขุน และ อ.พนม เท่านั้น พร้อมกันนี้ ทางจังหวัดยังได้แจ้งเตือนให้ประชาชนเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำท่วมด้วยเนื่องจากขณะนี้ ได้มีน้ำป่าไหลหลากจากเทือกเขาตอนบน รวมถึง จ.นครศรีธรรมราช หลากลงมาสมทบโดยเฉพาะจุดเสี่ยง 3 แห่งคือ อ.กาญจนดิษฐ์, อ.พุนพิน และ อ.ดอนสัก
**อุตุฯเตือนใต้ตอนล่างฝนตกหนักมาก
ด้านกรมอุตุนิยมวิทยา ได้ประกาศเตือนเมื่อเวลา 17.00 น. วานนี้ว่า ในช่วงวันที่ 4-5 ธ.ค.59 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมตอนเหนือของเกาะสุมาตรา และกำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนืออย่างช้าๆ ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณ จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี อ.เกาะสมุย นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และ ตรัง จึงขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ฝนที่ตกสะสม น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ และหลีกเลี่ยงการสัญจรผ่านบริเวณที่มีน้ำท่วมไว้ด้วย
**นายกฯติดตามเหตุน้ำท่วมภาคใต้อย่างใกล้ชิด
พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงปัญหาอุทุกภัยในพื้นที่ภาคใต้ในขณะนี้ ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่บูรณาการร่วมกัน เช่น ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตของกระทรวงมหาดไทย ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 4 และจังหวัดที่ประสบภัย เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
"นายกฯ ระบุว่า ภัยธรรมชาติเป็นสิ่งที่มนุษย์ควบคุมไม่ได้ แต่เมื่อรู้ว่าจะเกิดก็จำเป็นต้องป้องกันเพื่อลดความเสียหาย โดยแจ้งข่าวสารให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึง และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องแก้ไขปัญหาให้ทุเลาเบาบางลง ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวป้องกันเหตุจมน้ำ และช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้เร็วที่สุด เช่น จัดชุดเคลื่อนที่เร็วและเครื่องมืออุปกรณ์ด้านสาธารณภัยพร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุตลอด 24 ชม. เป็นต้น"
ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย เฝ้าติดตามประกาศเตือนภัยอย่างใกล้ชิด และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงนี้ ส่วนผู้ที่ประสบภัยให้ติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต สนง.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดและสาขาในพื้นที่ หรือโทร.สายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชม.