เมื่อวานนี้ (30พ.ย.) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณีที่พรรคการเมือง เรียกร้องขอเปิดประชุมพรรคและทำกิจกรรมทางการเมืองว่า ยังไม่อนุญาต เอาไว้ก่อน เมื่อถึงเวลาจะอนุญาตเอง เพราะอีกตั้งปีกว่าจึงจะมีการเลือกตั้ง แล้วจะทำกิจกรรมกันตอนนี้เลยหรือ
เมื่อถามว่า นักการเมืองเกรงว่าจะดำเนินการหลายอย่างไม่ทันตามบทเฉพาะกาล ซึ่งมีเวลาอยู่จำกัด พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ไม่ทันก็ไม่ต้องเข้า ในเมื่อร่างรธน.ออกมาแบบนี้ จะให้ทำอย่างไร เพราะวันนี้ก็เปิดพื้นที่มากอยู่แล้ว จะเอาอะไรกันอีก เอาไว้ก่อน
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีข้อสังเกตเรื่องโรดแมปของรัฐบาลว่าจะเลื่อน หรือจะมีการปรับอย่างไรหรือไม่ว่า "เคยพูดไว้อย่างไร เมื่อไม่พูดเป็นอย่างอื่น มันก็ยังเป็นอย่างนั้น ซึ่งนายกฯ สั่งว่าไม่มีการพูดเรื่องโรดแมป เพราะไม่มีอะไรจะเปลี่ยน ถ้าเปลี่ยนเมื่อไหร่จะบอก ถ้าไม่บอกก็แสดงว่ายังอยู่อย่างเดิม"
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทางรัฐบาลจะต้องหารือกับคสช. ก่อนหรือไม่ ว่าจะดำเนินต่อไปอย่างไร วิษณุ กล่าวว่า ตนไม่ทราบว่าจะต้องหารือหรือไม่ เมื่อถามว่าถึงเวลานี้ยังไม่มีปัจจัยใดๆ ที่จะทำให้ต้องขยับโรดแมป ใช่หรือไม่ วิษณุ กล่าวว่า "ผมไม่ตอบ เพราะไม่รู้ว่าจะตอบอย่างไร"
ด้านนายวิรัตน์ กัลยาศิริ หัวหน้าทีมกฎหมาย พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ระบุว่า ถ้าร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง และร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วย กกต. มีผลบังคับใช้แล้ว พรรคการเมืองจะทำกิจกรรมได้ แต่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของรัฐบาล และ คสช.ว่า เรื่องนี้ ต้องมีการพูดคุยกันก่อน เมื่อมีรธน.แล้ว ควรกำหนดขั้นตอนว่าพรรคการเมืองสามารถทำกิจกรรมอะไรได้บ้าง แต่หากยืนยันที่จะให้คงแบบเดิม คือไม่ให้พรรคการเมืองทำกิจกรรมเลย จะต้องมีเหตุผลว่าห้ามเพราะอะไรด้วย
"แม้ว่ารธน.ประกาศใช้ แต่คำสั่งคสช. ยังมีอยู่ ที่ห้ามพรรคการเมืองทำกิจกรรมเกิน 5 คน ฉะนั้นคำสั่งคสช. และรธน. ยังเป็นกฎหมายที่ขี่กันอยู่ จึงต้องดูว่ารัฐบาลและคสช. จะดำเนินการในเรื่องนี้อย่างไร" นายวิรัตน์ กล่าว
นายสมชาย แสวงการ สมาชิกสนช. กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมพิจารณาร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง และพ.ร.ป.ว่าด้วยกกต. ว่า ทางสนช.ได้ทำการศึกษาล่วงหน้าไว้แล้ว
ส่วนเรื่องโครงสร้างกมธ.พิจารณา พ.ร.ป. ทั้ง 10 ฉบับ ก็จะให้สมาชิกสนช.แสดงความจำนงค์ โดยสมาชิกคนหนึ่งจะเป็นกมธ.ได้ 1-2 คณะ แล้วแต่ความเชี่ยวชาญเฉพาะ แต่ในส่วนพ.ร.ป. 2 ฉบับแรก โครงสร้างจะอยู่ที่คณะละ 29 ถึง 35 คน เพราะถือว่า การพิจารณาร่างพ.ร.ป.เป็นเรื่องสำคัญ
ทั้งนี้ สัดส่วนของกมธ. จะประกอบด้วย สมาชิกสนช. , ตัวแทนจากกรธ. , ตัวแทนจากครม. โดยคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อดูเรื่องข้อกฎหมาย ตลอดจนอาจมีตัวแทนจาก สปท. ที่ได้ทำการศึกษาในเรื่องนั้นๆ แต่จะไม่มีตัวแทนจากพรรคการเมือง เพราะถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย แต่หากต้องการมีส่วนร่วม ก็เสนอความเห็นมาเป็นเอกสารได้
เมื่อถามว่า นักการเมืองเกรงว่าจะดำเนินการหลายอย่างไม่ทันตามบทเฉพาะกาล ซึ่งมีเวลาอยู่จำกัด พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ไม่ทันก็ไม่ต้องเข้า ในเมื่อร่างรธน.ออกมาแบบนี้ จะให้ทำอย่างไร เพราะวันนี้ก็เปิดพื้นที่มากอยู่แล้ว จะเอาอะไรกันอีก เอาไว้ก่อน
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีข้อสังเกตเรื่องโรดแมปของรัฐบาลว่าจะเลื่อน หรือจะมีการปรับอย่างไรหรือไม่ว่า "เคยพูดไว้อย่างไร เมื่อไม่พูดเป็นอย่างอื่น มันก็ยังเป็นอย่างนั้น ซึ่งนายกฯ สั่งว่าไม่มีการพูดเรื่องโรดแมป เพราะไม่มีอะไรจะเปลี่ยน ถ้าเปลี่ยนเมื่อไหร่จะบอก ถ้าไม่บอกก็แสดงว่ายังอยู่อย่างเดิม"
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทางรัฐบาลจะต้องหารือกับคสช. ก่อนหรือไม่ ว่าจะดำเนินต่อไปอย่างไร วิษณุ กล่าวว่า ตนไม่ทราบว่าจะต้องหารือหรือไม่ เมื่อถามว่าถึงเวลานี้ยังไม่มีปัจจัยใดๆ ที่จะทำให้ต้องขยับโรดแมป ใช่หรือไม่ วิษณุ กล่าวว่า "ผมไม่ตอบ เพราะไม่รู้ว่าจะตอบอย่างไร"
ด้านนายวิรัตน์ กัลยาศิริ หัวหน้าทีมกฎหมาย พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ระบุว่า ถ้าร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง และร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วย กกต. มีผลบังคับใช้แล้ว พรรคการเมืองจะทำกิจกรรมได้ แต่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของรัฐบาล และ คสช.ว่า เรื่องนี้ ต้องมีการพูดคุยกันก่อน เมื่อมีรธน.แล้ว ควรกำหนดขั้นตอนว่าพรรคการเมืองสามารถทำกิจกรรมอะไรได้บ้าง แต่หากยืนยันที่จะให้คงแบบเดิม คือไม่ให้พรรคการเมืองทำกิจกรรมเลย จะต้องมีเหตุผลว่าห้ามเพราะอะไรด้วย
"แม้ว่ารธน.ประกาศใช้ แต่คำสั่งคสช. ยังมีอยู่ ที่ห้ามพรรคการเมืองทำกิจกรรมเกิน 5 คน ฉะนั้นคำสั่งคสช. และรธน. ยังเป็นกฎหมายที่ขี่กันอยู่ จึงต้องดูว่ารัฐบาลและคสช. จะดำเนินการในเรื่องนี้อย่างไร" นายวิรัตน์ กล่าว
นายสมชาย แสวงการ สมาชิกสนช. กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมพิจารณาร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง และพ.ร.ป.ว่าด้วยกกต. ว่า ทางสนช.ได้ทำการศึกษาล่วงหน้าไว้แล้ว
ส่วนเรื่องโครงสร้างกมธ.พิจารณา พ.ร.ป. ทั้ง 10 ฉบับ ก็จะให้สมาชิกสนช.แสดงความจำนงค์ โดยสมาชิกคนหนึ่งจะเป็นกมธ.ได้ 1-2 คณะ แล้วแต่ความเชี่ยวชาญเฉพาะ แต่ในส่วนพ.ร.ป. 2 ฉบับแรก โครงสร้างจะอยู่ที่คณะละ 29 ถึง 35 คน เพราะถือว่า การพิจารณาร่างพ.ร.ป.เป็นเรื่องสำคัญ
ทั้งนี้ สัดส่วนของกมธ. จะประกอบด้วย สมาชิกสนช. , ตัวแทนจากกรธ. , ตัวแทนจากครม. โดยคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อดูเรื่องข้อกฎหมาย ตลอดจนอาจมีตัวแทนจาก สปท. ที่ได้ทำการศึกษาในเรื่องนั้นๆ แต่จะไม่มีตัวแทนจากพรรคการเมือง เพราะถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย แต่หากต้องการมีส่วนร่วม ก็เสนอความเห็นมาเป็นเอกสารได้