ผู้จัดการรายวัน360-ศาลอาญาสั่งจำหน่ายคดี “สรยุทธ-ไร่ส้ม” ปลอมเอกสารใบคิวโฆษณารายการคุยคุ้ยข่าว ทำให้ บมจ.อสมท ได้รับความเสียหาย เหตุเจตนาเดียวกับคดีเก่า เป็นการฟ้องซ้ำ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (28 พ.ย.) ที่ห้องพิจารณาคดี 709 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดตรวจพยานหลักฐาน คดีหมายเลขดำ อ.1748/2559 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 3 เป็นโจทก์ฟ้อง บริษัท ไร่ส้ม จำกัด โดยนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา อายุ 50 ปี อดีตพิธีกร รายการเล่าข่าวชื่อดัง , นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมการผู้จัดการ บจก.ไร่ส้ม, น.ส.มณฑา ธีระเดช อายุ 43 ปี เจ้าหน้าที่บริษัทไร่ส้ม และนางพิชชาภา เอี่ยมสะอาด หรือนางชนาภา บุญโต อายุ 47 ปี อดีตพนักงานจัดทำคิวโฆษณาของ บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-4 ตามลำดับ ในความผิดฐานร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิ และใช้หรืออ้างเอกสารสิทธิปลอม และร่วมกันทำให้เกิดความเสียหาย
คำฟ้องอัยการโจทก์สรุปว่า เมื่อประมาณกลางเดือนก.ค.2549 จำเลยทั้ง 4 ร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิและทำให้เสียหาย ทำลายซึ่งเอกสาร และจำเลยทั้ง 4 ร่วมกันนำเอกสารใบคิวโฆษณารายการคุยคุ้ยข่าวระหว่างเดือนม.ค.2549-พ.ย.2549 จำนวน 139 แผ่น ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิที่จำเลยร่วมกันทำปลอมขึ้นไปใช้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ บมจ.อสมท จำกัด เพื่อเป็นหลักฐานในการโฆษณาและคิดค่าโฆษณาส่วนเกินในรายการคุยคุ้ยข่าว ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่ บมจ. อสมท หลงเชื่อว่าเอกสารใบคิวโฆษณานั้นเป็นเอกสารจริง ทำให้ บจก.ไร่ส้ม จำเลยที่ 1 ไม่ต้องเสียค่าโฆษณาหรือเสียค่าโฆษณาส่วนเกินน้อยกว่าความเป็นจริง การกระทำดังกล่าวทำให้ บมจ.อสมท ได้รับความเสียหาย
โดยวันนี้อัยการโจทก์, นางพิชชาภา จำเลยที่ 4 และทนายจำเลยที่ 1-4 มาศาล ขณะที่นายสรยุทธ จำเลยที่ 1 และจำเลยอื่นไม่ได้มาศาล เนื่องจากศาลอนุญาตให้สืบพยานลับหลังจำเลยที่ 1-3 ได้
ต่อมาศาลพิเคราะห์คำร้องโจทก์ คำร้องจำเลยเกี่ยวกับคำฟ้องซ้ำของอัยการโจทก์ในคดีนี้ และคำพิพากษาศาลอาญา คดีหมายเลขดำ อ.313/2558 แล้วเห็นว่า ตามคำพิพากษาศาลอาญาในท้ายคำฟ้องระบุว่า อัยการได้ฟ้องจำเลยที่ 1 (จำเลยที่ 4 ในคดีนี้) ในความผิดฐานเป็นพนักงานเรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบฯ , เป็นพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใดๆ ใช้อำนาจหน้าที่โดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่องค์กร, เป็นพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดฯ และฟ้องจำเลยที่ 3-4 (จำเลยที่ 2-3 ในคดีนี้) ฐานสนับสนุนพนักงานกระทำความผิด และที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเพราะเมื่อเดือนก.พ.2548-มิ.ย.2549 จำเลยที่ 4 ในคดีนี้ ไม่รายงานค่าโฆษณาส่วนเกินของรายการคุยคุ้ยข่าวให้ผู้บริหารทราบเพื่อเป็นประโยชน์ต่อบริษัทไร่ส้ม (จำเลยที่ 1 ในคดีนี้) ทำให้บมจ. อสมท. เกิดความเสียหาย 138 ล้านบาทเศษ และจำเลยที่ 4 ในคดีนี้ยังใช้น้ำยาลบคำผิดลบรายการโฆษณาที่เกินเวลาในใบคิวโฆษณารวม ซึ่งศาลอาญาเคยได้วินิจฉัยและลงโทษจำคุกจำเลยที่ 4 ในคดีนี้ 20 ปี ส่วนจำเลยที่ 2-3 ในคดีนี้ถูกจำคุก 13 ปี 4 เดือน
สำหรับคำฟ้องโจทก์ในคดีนี้ที่ระบุว่า จำเลยได้ปลอมแปลงเอกสารและใช้เอกสารปลอม ตัดทอน เพื่อไม่ให้จำเลยที่ 1 ในคดีนี้ เสียค่าโฆษณาส่วนเกินหรือเสียน้อยกว่าความเป็นจริงให้แก่ผู้เสียหาย พฤติกรรมของจำเลยที่ 4 ในคดีนี้ที่ใช้เอกสารปลอมก็ถือเป็นเจตนาเดียวกันเพื่อปกปิดข้อเท็จจริง การกระทำของจำเลยที่ 1-4 ในคดีนี้จึงเป็นความผิดตามที่ศาลอาญาได้มีคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำ อ.313/2558 ซึ่งเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อศาลอาญาได้มีคำพิพากษาเด็ดขาดแล้วสิทธิในการนำคดีมาฟ้องของโจทก์จึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39 (4) โจทก์จึงไม่มีสิทธิ์ฟ้องคดีอีก ให้งดตรวจหลักฐานในวันนี้ และจำหน่ายคดีออกจากสารระบบ
ภายหลังอัยการโจทก์ กล่าวว่า หลังจากนี้จะนำคำสั่งของศาลไปศึกษากับคณะทำงานว่าจะยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลในประเด็นใดหรือไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (28 พ.ย.) ที่ห้องพิจารณาคดี 709 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดตรวจพยานหลักฐาน คดีหมายเลขดำ อ.1748/2559 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 3 เป็นโจทก์ฟ้อง บริษัท ไร่ส้ม จำกัด โดยนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา อายุ 50 ปี อดีตพิธีกร รายการเล่าข่าวชื่อดัง , นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมการผู้จัดการ บจก.ไร่ส้ม, น.ส.มณฑา ธีระเดช อายุ 43 ปี เจ้าหน้าที่บริษัทไร่ส้ม และนางพิชชาภา เอี่ยมสะอาด หรือนางชนาภา บุญโต อายุ 47 ปี อดีตพนักงานจัดทำคิวโฆษณาของ บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-4 ตามลำดับ ในความผิดฐานร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิ และใช้หรืออ้างเอกสารสิทธิปลอม และร่วมกันทำให้เกิดความเสียหาย
คำฟ้องอัยการโจทก์สรุปว่า เมื่อประมาณกลางเดือนก.ค.2549 จำเลยทั้ง 4 ร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิและทำให้เสียหาย ทำลายซึ่งเอกสาร และจำเลยทั้ง 4 ร่วมกันนำเอกสารใบคิวโฆษณารายการคุยคุ้ยข่าวระหว่างเดือนม.ค.2549-พ.ย.2549 จำนวน 139 แผ่น ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิที่จำเลยร่วมกันทำปลอมขึ้นไปใช้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ บมจ.อสมท จำกัด เพื่อเป็นหลักฐานในการโฆษณาและคิดค่าโฆษณาส่วนเกินในรายการคุยคุ้ยข่าว ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่ บมจ. อสมท หลงเชื่อว่าเอกสารใบคิวโฆษณานั้นเป็นเอกสารจริง ทำให้ บจก.ไร่ส้ม จำเลยที่ 1 ไม่ต้องเสียค่าโฆษณาหรือเสียค่าโฆษณาส่วนเกินน้อยกว่าความเป็นจริง การกระทำดังกล่าวทำให้ บมจ.อสมท ได้รับความเสียหาย
โดยวันนี้อัยการโจทก์, นางพิชชาภา จำเลยที่ 4 และทนายจำเลยที่ 1-4 มาศาล ขณะที่นายสรยุทธ จำเลยที่ 1 และจำเลยอื่นไม่ได้มาศาล เนื่องจากศาลอนุญาตให้สืบพยานลับหลังจำเลยที่ 1-3 ได้
ต่อมาศาลพิเคราะห์คำร้องโจทก์ คำร้องจำเลยเกี่ยวกับคำฟ้องซ้ำของอัยการโจทก์ในคดีนี้ และคำพิพากษาศาลอาญา คดีหมายเลขดำ อ.313/2558 แล้วเห็นว่า ตามคำพิพากษาศาลอาญาในท้ายคำฟ้องระบุว่า อัยการได้ฟ้องจำเลยที่ 1 (จำเลยที่ 4 ในคดีนี้) ในความผิดฐานเป็นพนักงานเรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบฯ , เป็นพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใดๆ ใช้อำนาจหน้าที่โดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่องค์กร, เป็นพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดฯ และฟ้องจำเลยที่ 3-4 (จำเลยที่ 2-3 ในคดีนี้) ฐานสนับสนุนพนักงานกระทำความผิด และที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเพราะเมื่อเดือนก.พ.2548-มิ.ย.2549 จำเลยที่ 4 ในคดีนี้ ไม่รายงานค่าโฆษณาส่วนเกินของรายการคุยคุ้ยข่าวให้ผู้บริหารทราบเพื่อเป็นประโยชน์ต่อบริษัทไร่ส้ม (จำเลยที่ 1 ในคดีนี้) ทำให้บมจ. อสมท. เกิดความเสียหาย 138 ล้านบาทเศษ และจำเลยที่ 4 ในคดีนี้ยังใช้น้ำยาลบคำผิดลบรายการโฆษณาที่เกินเวลาในใบคิวโฆษณารวม ซึ่งศาลอาญาเคยได้วินิจฉัยและลงโทษจำคุกจำเลยที่ 4 ในคดีนี้ 20 ปี ส่วนจำเลยที่ 2-3 ในคดีนี้ถูกจำคุก 13 ปี 4 เดือน
สำหรับคำฟ้องโจทก์ในคดีนี้ที่ระบุว่า จำเลยได้ปลอมแปลงเอกสารและใช้เอกสารปลอม ตัดทอน เพื่อไม่ให้จำเลยที่ 1 ในคดีนี้ เสียค่าโฆษณาส่วนเกินหรือเสียน้อยกว่าความเป็นจริงให้แก่ผู้เสียหาย พฤติกรรมของจำเลยที่ 4 ในคดีนี้ที่ใช้เอกสารปลอมก็ถือเป็นเจตนาเดียวกันเพื่อปกปิดข้อเท็จจริง การกระทำของจำเลยที่ 1-4 ในคดีนี้จึงเป็นความผิดตามที่ศาลอาญาได้มีคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำ อ.313/2558 ซึ่งเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อศาลอาญาได้มีคำพิพากษาเด็ดขาดแล้วสิทธิในการนำคดีมาฟ้องของโจทก์จึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39 (4) โจทก์จึงไม่มีสิทธิ์ฟ้องคดีอีก ให้งดตรวจหลักฐานในวันนี้ และจำหน่ายคดีออกจากสารระบบ
ภายหลังอัยการโจทก์ กล่าวว่า หลังจากนี้จะนำคำสั่งของศาลไปศึกษากับคณะทำงานว่าจะยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลในประเด็นใดหรือไม่