ถ้าท่านผู้อ่านติดตามข่าวในสองสัปดาห์ที่ผ่านมา คงจะได้เห็นภาพข่าวที่คนไทยในอดีตไม่เคยเห็น นั่นก็คือภาพภิกษุสามเณรช่วยชาวนาเกี่ยวข้าว และภาพภิกษุปรุงอาหารแจกชาวบ้านที่ท้องสนามหลวง
ทั้งสองภาพนี้คนไทยเห็นแล้วมีความเห็นต่างแบ่งออกเป็นสองกลุ่มดังนี้
1. เห็นด้วยและชื่นชมยินดีว่าในยามที่ชาวนาเป็นทุกข์เดือดร้อน เนื่องจากราคาข้าวเปลือกตกต่ำและต้องเร่งเกี่ยวข้าว แต่ไม่มีเงินจ้างแรงงานคนหรือรถเกี่ยวข้าว ดังนั้น เมื่อคนไทยมีทั้งทหาร ตำรวจ ไม่เว้นแม้กระทั่งพระภิกษุและสามเณรมาช่วยชาวนาในยามทุกข์เช่นนี้ก็ดีแล้ว
2. แม้จะเห็นกับการที่คนไทยในกรณีของชาวนา แต่ก็ไม่เห็นที่พระภิกษุเกี่ยวข้าว เนื่องจากว่าผิดพระวินัยที่ห้ามมิให้ภิกษุพรากของเขียว ตามนัยแห่งปาจิตตีย์ในภูตตามวรรค และยังเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับเพศภาวะของบรรพชิตผู้เว้นแล้วจากกิจกรรมของคฤหัสถ์
ถ้าจะช่วยเหลือเกื้อกูลคฤหัสถ์เพื่อตอบแทนบุญคุณที่เขาถวายอาหาร จีวร และยารักษาโรค เป็นต้น สามารถกระทำได้โดยการสั่งสอนเป็นการให้ธรรมเป็นเครื่องตอบแทนแก่ผู้ให้ทาน ตามนัยพุทธพจน์ที่ว่า พระภิกษุกับคฤหัสถ์จะต้องอาศัยซึ่งกันและกัน โดยที่ชาวบ้านให้ทาน และพระภิกษุให้ธรรมเป็นเครื่องตอบแทน
ส่วนในกรณีพระภิกษุปรุงอาหาร ถ้าปรุงเพื่อฉันเองเรียกว่า สามปักกะคือให้สุกเองปรุงให้สุกด้วยตนเอง และถ้านำเอาวัตถุดิบที่เก็บไว้ในที่อยู่ของตนเองมาปรุงเรียกว่า อันโตปักกะ ต้องอาศัยทั้งสองกรณี แต่ถ้าปรุงเพื่อให้คนอื่นรับประทานถึงแม้วินัยมิได้ห้ามไว้ แต่ก็เข้าข่ายโลกวัชชะ โลกติเตียน เนื่องจากทำสิ่งที่ไม่เหมาะแก่เพศและภาวะของนักบวช ยิ่งกว่านี้ถ้ามีเจตนาให้คฤหัสถ์ยกย่องเรียกร้องให้เกิดศรัทธา และหวังให้เป็นที่มาของลาภสักการะ ทั้งในรูปของการสรรเสริญยกย่อง และในรูปของวัตถุทานมีเงินทอง เป็นต้น ก็ไม่พ้นเข้าข่ายต้องอาบัติสังฆาทิเสสข้อ 13 ที่ว่าด้วยการประจบคฤหัสถ์ โดยการลดตัวลงรับใช้เพื่อหวังเอาใจเรียกว่า เลียบเคียงสกุล
ถ้ามองทั้งสองกรณีดังกล่าวข้างต้น โดยยึดพระธรรมวินัยแล้ว พระภิกษุในนิกายเถรวาทหรือหินยาน ซึ่งมีรากฐานตั้งมั่นในประเทศไทย เขมร เมียนมาร์ และลาวแล้วนิกายเถรวาทในประเทศไทยนับได้ว่า นิกายเถรวาทในประเทศไทยมีความเคร่งครัดในพระวินัยมากที่สุด และเป็นแบบอย่างที่ดีในปัจจุบัน
ดังนั้น จึงควรอย่างยิ่งที่รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ คสช.จะได้ดำเนินการให้สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปศาสนา และวัฒนธรรมที่สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศกำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ แต่การปฏิรูปในส่วนของศาสนาพุทธซึ่งเป็นศาสนาที่คนไทยส่วนใหญ่นับถือนั้น จะต้องได้รับการปรับปรุง และเปลี่ยนองค์กรที่มีหน้าที่ในการปกป้องและคุ้มครองพระพุทธศาสนาโดยตรงคือ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้องค์กรแห่งนี้มีศักยภาพเพียงพอที่จะปกป้องความมั่นคงให้แก่พระพุทธศาสนา ซึ่งเพื่อให้ปกป้องจากภัยอันอาจเกิดขึ้นจาก 2 ทางคือ
1. ภัยอันเกิดจากภายในได้แก่ การประพฤติปฏิบัติของพุทธบริษัท 4 ได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกาที่ไม่เคารพในพระศาสนา พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ไม่เคารพในการศึกษา ไม่เคารพยำเกรงซึ่งกันและกัน ตามนัยที่พระพุทธองค์ได้ตรัสแก่พระกิมพิละว่าเป็นเหตุ เป็นปัจจัยทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้นาน เมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้ว
2. ภัยจากภายนอกอันน่าจะได้แก่ ลัทธิการเมือง และศาสนารวมถึงลัทธิอื่น
ภัยประเภทนี้ในปัจจุบันไม่น่าจะต้องกังวลมากนัก เนื่องจากลัทธิการเมืองที่เป็นอันตรายแก่ศาสนาได้แก่ ลัทธิคอมมิวนิสต์ในปัจจุบันได้ลดความรุนแรงลงแล้ว ประกอบกับรัฐธรรมนูญที่กำลังจะประกาศใช้ในมาตรา 67 ก็ได้ระบุชัดเจนให้มีการคุ้มครองพระพุทธศาสนา และศาสนาอื่นจึงพอจะเชื่อได้ว่าการคุกคามจากภายนอกคงเกิดขึ้นได้ยาก แต่ชาวพุทธก็ไม่ควรประมาท คอยจับตาดูความเคลื่อนไหวของปัญหานอกประเทศนี้ไว้บ้างก็จะดี
แต่เท่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน พระพุทธศาสนาในประเทศไทยถูกคุกคาม และบั่นทอนความมั่นคงแห่งศรัทธาจากภัยภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากพฤติกรรมของภิกษุด้วยการล่วงละเมิดพระวินัย ซึ่งมีให้เห็นอย่างดาษดื่นแต่ไม่มีการจัดการตามพระวินัยคือ การระงับอธิกรณ์ และ พ.ร.บ.ปกครองสงฆ์ พ.ศ. 2505 ยิ่งกว่านี้ แม้มีผู้โจทย์ด้วยอนุวาทาธิกรณ์ และมีการฟ้องทางกฎหมายแล้ว ก็ยากที่จะจัดการให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว ดังจะเห็นได้ในกรณีของพระธัมมชโย แห่งวัดพระธรรมกาย และพระคึกฤทธิ์ แห่งวัดนาป่าพง ได้ถูกโจทย์ทางพระวินัยและมีการฟ้องทางกฎหมาย แต่ก็ไม่คืบหน้าเท่าที่ควรจะเป็น ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ทั้งพระธัมมชโย และพระคึกฤทธิ์ มีคนเคารพนับถือมาก จึงยากแก่การดำเนินการ โดยไม่เกิดการกระทบกระทั่งระหว่างผู้ดำเนินการ และบรรดาเหล่าสาวกผู้คอยปกป้องคุ้มครอง
2. ในความเป็นจริง ถ้าดูจากหลักฐานตามข่าวที่ปรากฏ ก็มีหลักฐานเพียงพอที่จะดำเนินการทางพระวินัย และ พ.ร.บ.ปกครองสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 26 ให้พระธัมมชโย และพระคึกฤทธิ์พ้นจากภาวะแห่งความเป็นภิกษุ ภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากได้รับคำวินิจฉัยว่าต้องอาบัติปาราชิกข้อที่ 4 และข้ออื่นๆ ที่ปรากฏตามหลักฐาน
แต่สำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ และมหาเถรสมาคมหรือ มส.ไม่ได้ดำเนินการใดๆ ทางพระวินัย จึงเป็นการยากที่ฝ่ายบ้านเมืองจะใช้กฎหมายดำเนินการ เนื่องจากต้องอาศัยหลักฐาน และพยานบุคคลตามกระบวนการยุติธรรมซึ่งต้องใช้เวลานาน
ด้วยเหตุนี้ แนวทางการปฏิรูปเพื่อปกป้องพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ให้คงอยู่ในประเทศไทยยาวนาน และเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาโลก ในส่วนของนิกายเถรวาทให้ได้ผลอย่างจริงจัง จะต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสำนักพุทธศาสนาในลักษณะยกเครื่องเสียใหม่ โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนตัวบุคคลในระดับบริหารให้มีคุณภาพ และศักยภาพในการทำงานสนองแนวนโยบายปฏิรูปของรัฐบาล โดยการสรรหาบุคคลที่มีความรอบรู้ทางพระวินัย และกฎหมายรวมไปถึงจะต้องมีความเด็ดขาดในการใช้อำนาจในการจัดการกับเหล่ามารศาสนาให้พ้นไปจากวงการสงฆ์ โดยไม่เกรงกลัวว่าตนเองจะเสียความนิยมจากเจ้าลัทธิที่ทำตนอยู่เหนือพระวินัย และกฎหมายดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ทั้งสองภาพนี้คนไทยเห็นแล้วมีความเห็นต่างแบ่งออกเป็นสองกลุ่มดังนี้
1. เห็นด้วยและชื่นชมยินดีว่าในยามที่ชาวนาเป็นทุกข์เดือดร้อน เนื่องจากราคาข้าวเปลือกตกต่ำและต้องเร่งเกี่ยวข้าว แต่ไม่มีเงินจ้างแรงงานคนหรือรถเกี่ยวข้าว ดังนั้น เมื่อคนไทยมีทั้งทหาร ตำรวจ ไม่เว้นแม้กระทั่งพระภิกษุและสามเณรมาช่วยชาวนาในยามทุกข์เช่นนี้ก็ดีแล้ว
2. แม้จะเห็นกับการที่คนไทยในกรณีของชาวนา แต่ก็ไม่เห็นที่พระภิกษุเกี่ยวข้าว เนื่องจากว่าผิดพระวินัยที่ห้ามมิให้ภิกษุพรากของเขียว ตามนัยแห่งปาจิตตีย์ในภูตตามวรรค และยังเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับเพศภาวะของบรรพชิตผู้เว้นแล้วจากกิจกรรมของคฤหัสถ์
ถ้าจะช่วยเหลือเกื้อกูลคฤหัสถ์เพื่อตอบแทนบุญคุณที่เขาถวายอาหาร จีวร และยารักษาโรค เป็นต้น สามารถกระทำได้โดยการสั่งสอนเป็นการให้ธรรมเป็นเครื่องตอบแทนแก่ผู้ให้ทาน ตามนัยพุทธพจน์ที่ว่า พระภิกษุกับคฤหัสถ์จะต้องอาศัยซึ่งกันและกัน โดยที่ชาวบ้านให้ทาน และพระภิกษุให้ธรรมเป็นเครื่องตอบแทน
ส่วนในกรณีพระภิกษุปรุงอาหาร ถ้าปรุงเพื่อฉันเองเรียกว่า สามปักกะคือให้สุกเองปรุงให้สุกด้วยตนเอง และถ้านำเอาวัตถุดิบที่เก็บไว้ในที่อยู่ของตนเองมาปรุงเรียกว่า อันโตปักกะ ต้องอาศัยทั้งสองกรณี แต่ถ้าปรุงเพื่อให้คนอื่นรับประทานถึงแม้วินัยมิได้ห้ามไว้ แต่ก็เข้าข่ายโลกวัชชะ โลกติเตียน เนื่องจากทำสิ่งที่ไม่เหมาะแก่เพศและภาวะของนักบวช ยิ่งกว่านี้ถ้ามีเจตนาให้คฤหัสถ์ยกย่องเรียกร้องให้เกิดศรัทธา และหวังให้เป็นที่มาของลาภสักการะ ทั้งในรูปของการสรรเสริญยกย่อง และในรูปของวัตถุทานมีเงินทอง เป็นต้น ก็ไม่พ้นเข้าข่ายต้องอาบัติสังฆาทิเสสข้อ 13 ที่ว่าด้วยการประจบคฤหัสถ์ โดยการลดตัวลงรับใช้เพื่อหวังเอาใจเรียกว่า เลียบเคียงสกุล
ถ้ามองทั้งสองกรณีดังกล่าวข้างต้น โดยยึดพระธรรมวินัยแล้ว พระภิกษุในนิกายเถรวาทหรือหินยาน ซึ่งมีรากฐานตั้งมั่นในประเทศไทย เขมร เมียนมาร์ และลาวแล้วนิกายเถรวาทในประเทศไทยนับได้ว่า นิกายเถรวาทในประเทศไทยมีความเคร่งครัดในพระวินัยมากที่สุด และเป็นแบบอย่างที่ดีในปัจจุบัน
ดังนั้น จึงควรอย่างยิ่งที่รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ คสช.จะได้ดำเนินการให้สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปศาสนา และวัฒนธรรมที่สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศกำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ แต่การปฏิรูปในส่วนของศาสนาพุทธซึ่งเป็นศาสนาที่คนไทยส่วนใหญ่นับถือนั้น จะต้องได้รับการปรับปรุง และเปลี่ยนองค์กรที่มีหน้าที่ในการปกป้องและคุ้มครองพระพุทธศาสนาโดยตรงคือ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้องค์กรแห่งนี้มีศักยภาพเพียงพอที่จะปกป้องความมั่นคงให้แก่พระพุทธศาสนา ซึ่งเพื่อให้ปกป้องจากภัยอันอาจเกิดขึ้นจาก 2 ทางคือ
1. ภัยอันเกิดจากภายในได้แก่ การประพฤติปฏิบัติของพุทธบริษัท 4 ได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกาที่ไม่เคารพในพระศาสนา พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ไม่เคารพในการศึกษา ไม่เคารพยำเกรงซึ่งกันและกัน ตามนัยที่พระพุทธองค์ได้ตรัสแก่พระกิมพิละว่าเป็นเหตุ เป็นปัจจัยทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้นาน เมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้ว
2. ภัยจากภายนอกอันน่าจะได้แก่ ลัทธิการเมือง และศาสนารวมถึงลัทธิอื่น
ภัยประเภทนี้ในปัจจุบันไม่น่าจะต้องกังวลมากนัก เนื่องจากลัทธิการเมืองที่เป็นอันตรายแก่ศาสนาได้แก่ ลัทธิคอมมิวนิสต์ในปัจจุบันได้ลดความรุนแรงลงแล้ว ประกอบกับรัฐธรรมนูญที่กำลังจะประกาศใช้ในมาตรา 67 ก็ได้ระบุชัดเจนให้มีการคุ้มครองพระพุทธศาสนา และศาสนาอื่นจึงพอจะเชื่อได้ว่าการคุกคามจากภายนอกคงเกิดขึ้นได้ยาก แต่ชาวพุทธก็ไม่ควรประมาท คอยจับตาดูความเคลื่อนไหวของปัญหานอกประเทศนี้ไว้บ้างก็จะดี
แต่เท่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน พระพุทธศาสนาในประเทศไทยถูกคุกคาม และบั่นทอนความมั่นคงแห่งศรัทธาจากภัยภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากพฤติกรรมของภิกษุด้วยการล่วงละเมิดพระวินัย ซึ่งมีให้เห็นอย่างดาษดื่นแต่ไม่มีการจัดการตามพระวินัยคือ การระงับอธิกรณ์ และ พ.ร.บ.ปกครองสงฆ์ พ.ศ. 2505 ยิ่งกว่านี้ แม้มีผู้โจทย์ด้วยอนุวาทาธิกรณ์ และมีการฟ้องทางกฎหมายแล้ว ก็ยากที่จะจัดการให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว ดังจะเห็นได้ในกรณีของพระธัมมชโย แห่งวัดพระธรรมกาย และพระคึกฤทธิ์ แห่งวัดนาป่าพง ได้ถูกโจทย์ทางพระวินัยและมีการฟ้องทางกฎหมาย แต่ก็ไม่คืบหน้าเท่าที่ควรจะเป็น ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ทั้งพระธัมมชโย และพระคึกฤทธิ์ มีคนเคารพนับถือมาก จึงยากแก่การดำเนินการ โดยไม่เกิดการกระทบกระทั่งระหว่างผู้ดำเนินการ และบรรดาเหล่าสาวกผู้คอยปกป้องคุ้มครอง
2. ในความเป็นจริง ถ้าดูจากหลักฐานตามข่าวที่ปรากฏ ก็มีหลักฐานเพียงพอที่จะดำเนินการทางพระวินัย และ พ.ร.บ.ปกครองสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 26 ให้พระธัมมชโย และพระคึกฤทธิ์พ้นจากภาวะแห่งความเป็นภิกษุ ภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากได้รับคำวินิจฉัยว่าต้องอาบัติปาราชิกข้อที่ 4 และข้ออื่นๆ ที่ปรากฏตามหลักฐาน
แต่สำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ และมหาเถรสมาคมหรือ มส.ไม่ได้ดำเนินการใดๆ ทางพระวินัย จึงเป็นการยากที่ฝ่ายบ้านเมืองจะใช้กฎหมายดำเนินการ เนื่องจากต้องอาศัยหลักฐาน และพยานบุคคลตามกระบวนการยุติธรรมซึ่งต้องใช้เวลานาน
ด้วยเหตุนี้ แนวทางการปฏิรูปเพื่อปกป้องพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ให้คงอยู่ในประเทศไทยยาวนาน และเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาโลก ในส่วนของนิกายเถรวาทให้ได้ผลอย่างจริงจัง จะต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสำนักพุทธศาสนาในลักษณะยกเครื่องเสียใหม่ โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนตัวบุคคลในระดับบริหารให้มีคุณภาพ และศักยภาพในการทำงานสนองแนวนโยบายปฏิรูปของรัฐบาล โดยการสรรหาบุคคลที่มีความรอบรู้ทางพระวินัย และกฎหมายรวมไปถึงจะต้องมีความเด็ดขาดในการใช้อำนาจในการจัดการกับเหล่ามารศาสนาให้พ้นไปจากวงการสงฆ์ โดยไม่เกรงกลัวว่าตนเองจะเสียความนิยมจากเจ้าลัทธิที่ทำตนอยู่เหนือพระวินัย และกฎหมายดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน