พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ออกมาแสดงความขึงขังอีกครั้ง ในการแก้ปัญหารถบรรทุกน้ำหนักเกิน โดยสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประสานความร่วมมือในการกวดขันทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
เหตุผลของการแก้ปัญหารถบรรทุกน้ำหนักเกิน เพื่อป้องกันถนนพัง ทำให้ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในการซ่อมแซม
รถบรรทุกเกินน้ำหนักที่กฎหมายกำหนด ไม่ใช่ปัญหาเล็กๆ แต่เป็นปัญหาใหญ่ที่เรื้อรังมานาน สร้างความเดือดร้อนรำคาญให้ประชาชนมาหลายสิบปี ไม่เพียงถนนพังเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดอุบัติเหตุหลายต่อหลายกรณี รวมทั้งเป็นแหล่งบ่มเพาะการทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐด้วย
ไม่รู้ว่า เพราะเหตุใดพล.อ.ประยุทธ์จึงสนใจลงมาจัดการปัญหารถบรรทุกน้ำหนักเกิน แต่การสั่งปราบรถบรรทุกที่ฝ่าฝืนกฎหมาย เป็นสิ่งที่ “โดนใจ” ประชาชน ซึ่งต้องการเห็นการจัดระเบียบรถบรรทุกอย่างจริงจัง
รถบรรทุกสิบล้อ กฎหมายกำหนดบรรทุกได้ไม่เกิน 20 ตัน รวมน้ำหนักรถต้องไม่เกิน 25 ตัน รถพ่วงโดยทั่วไปบรรทุกได้ไม่เกิน 25 ตัน รวมน้ำหนักรถไม่เกิน 50.5 ตัน แต่เป็นที่รับรู้กันอยู่ว่า รถบรรทุกที่วิ่งขวักไขว่กันทั่วประเทศนั้น บรรทุกน้ำหนักเกิน
ทำไมบรรทุกน้ำหนักเกินกันได้ ทำไมรถบรรทุกที่ขนดิน อิฐ หิน ปูน ทราย และทำตกเรี่ยราดนำไปสู่อุบัติเหตุเสียชีวิตกันนับไม่ถ้วน แต่ยังวิ่งอยู่บนท้องถนนได้ เป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่า เพราะมีการจ่ายส่วย
ส่วยสติ๊กเกอร์เป็นข่าวฉาวโฉ่มาแล้วไม่รู้กี่ครั้ง แต่ส่วยสติ๊กเกอร์ก็ยังไม่ถูกทำลาย สำนักงานตำรวจแห่งชาติมักทำไม่รู้ไม่ชี้ และไม่มีรัฐบาลชุดใดกล้าหาญลงไปปะทะกับส่วยรถบรรทุกเสียด้วย
ถนนที่สร้างด้วยเงินภาษีของประชาชนทั่วประเทศ จึงกลายเป็นสัมปทานการทำมาหากินของข้าราชการหน่วยงานที่ดูแล
ไม่ว่ากรมการขนส่งทางบก ตำรวจทางหลวง หรือตำรวจในแต่ละพื้นที่ที่รถบรรทุกใช้เส้นทางผ่าน
ปัญหารถบรรทุกน้ำหนักเกิน ไม่แตกต่างจากปัญหาบ่อนการพนันผิดกฎหมาย ปัญหาสถานบันเทิงเปิดเกินเวลา ปัญหาร้านค้ารุกล้ำที่สาธารณะ หรือปัญหาการจอดรถในพื้นที่ห้ามจอดกีดขวางการจราจร โดยพฤติการณ์ผิดกฎหมายเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะเจ้าหน้าที่ไม่ทำตามหน้าที่
การเรียกรับผลประโยชน์ การกินสินบน การรับส่วย ทำให้เจ้าหน้าที่ละเว้นการปฏิบัติ ปล่อยให้คนบางกลุ่มอยู่เหนือกฎหมาย จนสังคมขาดระเบียบ ไร้กติกา โดยผู้ที่รับเคราะห์กรรมต้องแบกรับผลกระทบคือ ประชาชน และไม่รู้จะร้องเรียนความเดือดร้อนจากใคร
เพราะเจ้าหน้าที่รัฐที่รักษากฎหมาย ก็กลายเป็นผู้ให้ความคุ้มครองพวกที่ทำตัวอยู่เหนือกฎหมาย
จะแจ้งความบางทีก็ไม่รับ จะร้องเรียนก็ทำแกล้งเป็นไม่รู้ ทำให้ปัญหารถบรรทุกน้ำหนักเกินถูกหมักหมมยาวนานนับสิบๆ ปี จนสังคมชาชินกับกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจที่เห็นแก่ตัว และเอือมระอากับเจ้าหน้าที่รัฐที่เห็นแก่ได้ เห็นแก่สินบน รับแต่ส่วยเต็มทีแล้ว
การที่พล.อ.ประยุทธ์ประกาศสะสางปัญหารถบรรทุกน้ำหนักเกิน เสียงตอบรับดีแน่ แต่สิ่งที่ยังกังวลกันอยู่คือ การแก้ปัญหาลักษณะไฟไหม้ฟาง แก้กันไม่จริง ไม่ได้ลงไปแก้ที่ต้นตอของปัญหา และลงท้ายก็ไม่ได้แก้ปัญหา
ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐยังไม่เลิกรับส่วย รถบรรทุกน้ำหนักเกิน ก็จะถูกปล่อยให้ย่ำยีถนนที่สร้างขึ้นจากเงินภาษีของประชาชนต่อไป
เจ้าหน้าที่รัฐตบทรัพย์เข้ากระเป๋า แต่ประชาชนทุกคนต้องควักเงินค่าก่อสร้างถนนและยังต้องจ่ายค่าดูแลรักษาซ่อมแซมอีกด้วย
คำสั่งให้ทุกหน่วยงานรัฐกวดขันรถบรรทุกน้ำหนักเกินนั้น มีคำถามว่า เจ้าหน้าที่จะขานรับนโยบายของพล.อ.ประยุทธ์และปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเพียงใด ในเมื่อยังรับส่วยรับสินบนกันอยู่
ตำรวจทางหลวง ตำรวจจราจรในแต่ละพื้นที่ ไม่มีทางจัดระเบียบการใช้รถใช้ถนนอย่างเข้มงวด ในเมื่อยังหากินกับรถบรรทุก รถตู้ หรือรถรับจ้างอื่นๆ
ถ้าไม่แก้ระบบส่วย ไม่กำจัดเจ้าหน้าที่รัฐที่ทุจริตให้สิ้นซาก ก็ไม่มีวันที่จะแก้ปัญหารถบรรทุกน้ำหนักเกินได้อย่างยั่งยืน
พล.อ.ประยุทธ์มีความคิดริเริ่มดีๆ การแก้ปัญหาเรื้อรังในหลายด้าน แต่การที่ยังแก้อะไรไม่ได้เป็นชิ้นเป็นอันเท่าไหร่นั้น เพราะไม่ได้แก้ปัญหาอย่างถึงลูกถึงคน ไม่ได้พุ่งลงไปแก้ที่ต้นตอของปัญหา ไม่ว่าปัญหาบ่อน ปัญหาสถานบันเทิงฝ่าฝืนกฎหมาย และแม้แต่ปัญหารถบรรทุกน้ำหนักเกินที่กำลังกวดขันกันอยู่
รู้กันทั่วประเทศว่า ต้อตอของปัญหารถบรรทุกน้ำหนักเกินอยู่ที่การ “รับส่วย” ถ้าไม่ปราบ “ส่วย” ก็ไม่มีวันจะแก้รถบรรทุกน้ำหนักเกินได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
น่าแปลกใจไหมล่ะ พล.อ.ประยุทธ์ลงมาลุยปราบรถบรรทุกน้ำหนักเกินด้วยตัวเอง แต่ทำไมไม่พูดถึง “ส่วย” รถบรรทุกแม้แต่คำเดียว เกรงใจตำรวจถึงเพียงนี้เชียวหรือ
เหตุผลของการแก้ปัญหารถบรรทุกน้ำหนักเกิน เพื่อป้องกันถนนพัง ทำให้ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในการซ่อมแซม
รถบรรทุกเกินน้ำหนักที่กฎหมายกำหนด ไม่ใช่ปัญหาเล็กๆ แต่เป็นปัญหาใหญ่ที่เรื้อรังมานาน สร้างความเดือดร้อนรำคาญให้ประชาชนมาหลายสิบปี ไม่เพียงถนนพังเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดอุบัติเหตุหลายต่อหลายกรณี รวมทั้งเป็นแหล่งบ่มเพาะการทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐด้วย
ไม่รู้ว่า เพราะเหตุใดพล.อ.ประยุทธ์จึงสนใจลงมาจัดการปัญหารถบรรทุกน้ำหนักเกิน แต่การสั่งปราบรถบรรทุกที่ฝ่าฝืนกฎหมาย เป็นสิ่งที่ “โดนใจ” ประชาชน ซึ่งต้องการเห็นการจัดระเบียบรถบรรทุกอย่างจริงจัง
รถบรรทุกสิบล้อ กฎหมายกำหนดบรรทุกได้ไม่เกิน 20 ตัน รวมน้ำหนักรถต้องไม่เกิน 25 ตัน รถพ่วงโดยทั่วไปบรรทุกได้ไม่เกิน 25 ตัน รวมน้ำหนักรถไม่เกิน 50.5 ตัน แต่เป็นที่รับรู้กันอยู่ว่า รถบรรทุกที่วิ่งขวักไขว่กันทั่วประเทศนั้น บรรทุกน้ำหนักเกิน
ทำไมบรรทุกน้ำหนักเกินกันได้ ทำไมรถบรรทุกที่ขนดิน อิฐ หิน ปูน ทราย และทำตกเรี่ยราดนำไปสู่อุบัติเหตุเสียชีวิตกันนับไม่ถ้วน แต่ยังวิ่งอยู่บนท้องถนนได้ เป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่า เพราะมีการจ่ายส่วย
ส่วยสติ๊กเกอร์เป็นข่าวฉาวโฉ่มาแล้วไม่รู้กี่ครั้ง แต่ส่วยสติ๊กเกอร์ก็ยังไม่ถูกทำลาย สำนักงานตำรวจแห่งชาติมักทำไม่รู้ไม่ชี้ และไม่มีรัฐบาลชุดใดกล้าหาญลงไปปะทะกับส่วยรถบรรทุกเสียด้วย
ถนนที่สร้างด้วยเงินภาษีของประชาชนทั่วประเทศ จึงกลายเป็นสัมปทานการทำมาหากินของข้าราชการหน่วยงานที่ดูแล
ไม่ว่ากรมการขนส่งทางบก ตำรวจทางหลวง หรือตำรวจในแต่ละพื้นที่ที่รถบรรทุกใช้เส้นทางผ่าน
ปัญหารถบรรทุกน้ำหนักเกิน ไม่แตกต่างจากปัญหาบ่อนการพนันผิดกฎหมาย ปัญหาสถานบันเทิงเปิดเกินเวลา ปัญหาร้านค้ารุกล้ำที่สาธารณะ หรือปัญหาการจอดรถในพื้นที่ห้ามจอดกีดขวางการจราจร โดยพฤติการณ์ผิดกฎหมายเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะเจ้าหน้าที่ไม่ทำตามหน้าที่
การเรียกรับผลประโยชน์ การกินสินบน การรับส่วย ทำให้เจ้าหน้าที่ละเว้นการปฏิบัติ ปล่อยให้คนบางกลุ่มอยู่เหนือกฎหมาย จนสังคมขาดระเบียบ ไร้กติกา โดยผู้ที่รับเคราะห์กรรมต้องแบกรับผลกระทบคือ ประชาชน และไม่รู้จะร้องเรียนความเดือดร้อนจากใคร
เพราะเจ้าหน้าที่รัฐที่รักษากฎหมาย ก็กลายเป็นผู้ให้ความคุ้มครองพวกที่ทำตัวอยู่เหนือกฎหมาย
จะแจ้งความบางทีก็ไม่รับ จะร้องเรียนก็ทำแกล้งเป็นไม่รู้ ทำให้ปัญหารถบรรทุกน้ำหนักเกินถูกหมักหมมยาวนานนับสิบๆ ปี จนสังคมชาชินกับกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจที่เห็นแก่ตัว และเอือมระอากับเจ้าหน้าที่รัฐที่เห็นแก่ได้ เห็นแก่สินบน รับแต่ส่วยเต็มทีแล้ว
การที่พล.อ.ประยุทธ์ประกาศสะสางปัญหารถบรรทุกน้ำหนักเกิน เสียงตอบรับดีแน่ แต่สิ่งที่ยังกังวลกันอยู่คือ การแก้ปัญหาลักษณะไฟไหม้ฟาง แก้กันไม่จริง ไม่ได้ลงไปแก้ที่ต้นตอของปัญหา และลงท้ายก็ไม่ได้แก้ปัญหา
ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐยังไม่เลิกรับส่วย รถบรรทุกน้ำหนักเกิน ก็จะถูกปล่อยให้ย่ำยีถนนที่สร้างขึ้นจากเงินภาษีของประชาชนต่อไป
เจ้าหน้าที่รัฐตบทรัพย์เข้ากระเป๋า แต่ประชาชนทุกคนต้องควักเงินค่าก่อสร้างถนนและยังต้องจ่ายค่าดูแลรักษาซ่อมแซมอีกด้วย
คำสั่งให้ทุกหน่วยงานรัฐกวดขันรถบรรทุกน้ำหนักเกินนั้น มีคำถามว่า เจ้าหน้าที่จะขานรับนโยบายของพล.อ.ประยุทธ์และปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเพียงใด ในเมื่อยังรับส่วยรับสินบนกันอยู่
ตำรวจทางหลวง ตำรวจจราจรในแต่ละพื้นที่ ไม่มีทางจัดระเบียบการใช้รถใช้ถนนอย่างเข้มงวด ในเมื่อยังหากินกับรถบรรทุก รถตู้ หรือรถรับจ้างอื่นๆ
ถ้าไม่แก้ระบบส่วย ไม่กำจัดเจ้าหน้าที่รัฐที่ทุจริตให้สิ้นซาก ก็ไม่มีวันที่จะแก้ปัญหารถบรรทุกน้ำหนักเกินได้อย่างยั่งยืน
พล.อ.ประยุทธ์มีความคิดริเริ่มดีๆ การแก้ปัญหาเรื้อรังในหลายด้าน แต่การที่ยังแก้อะไรไม่ได้เป็นชิ้นเป็นอันเท่าไหร่นั้น เพราะไม่ได้แก้ปัญหาอย่างถึงลูกถึงคน ไม่ได้พุ่งลงไปแก้ที่ต้นตอของปัญหา ไม่ว่าปัญหาบ่อน ปัญหาสถานบันเทิงฝ่าฝืนกฎหมาย และแม้แต่ปัญหารถบรรทุกน้ำหนักเกินที่กำลังกวดขันกันอยู่
รู้กันทั่วประเทศว่า ต้อตอของปัญหารถบรรทุกน้ำหนักเกินอยู่ที่การ “รับส่วย” ถ้าไม่ปราบ “ส่วย” ก็ไม่มีวันจะแก้รถบรรทุกน้ำหนักเกินได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
น่าแปลกใจไหมล่ะ พล.อ.ประยุทธ์ลงมาลุยปราบรถบรรทุกน้ำหนักเกินด้วยตัวเอง แต่ทำไมไม่พูดถึง “ส่วย” รถบรรทุกแม้แต่คำเดียว เกรงใจตำรวจถึงเพียงนี้เชียวหรือ