วานนี้ (15 พ.ย.) ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำ อ.146/2557 ที่พนักงานอัยการคดีอาญา 6 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายโกสินทร์ สีนวลขำ อายุ 21 ปี (เสียชีวิตแล้ว เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 58) และจ.ส.อ.ศิริศักดิ์ จันทร์เหลือง หรือ จ่าเหลือง อายุ 56 ปี อดีตทหารการข่าว เป็นจำเลยที่ 1 - 2 ในความผิดฐานร่วมกันใช้ จ้างวานให้ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน , ร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา,ร่วมกันมีอาวุธปืน และเครื่องกระสุนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และพาอาวุธปืนไปโดยไม่มีเหตุอันควร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 และ 371
คดีนี้อัยการโจทก์ ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 23 ม.ค.57 บรรยายพฤติการณ์สรุปว่า เมื่อวันที่ 3-4 ก.ย.56 เวลากลางคืน จ.ส.อ.ศิริศักดิ์ จำเลยที่ 2 กับพวกอีก 2 คน ได้ให้เงิน 100,000 บาท ว่าจ้างนายโกสินทร์ จำเลยที่ 1 และนายสุขุม หรือตั้ม แดงกุลวานิช โดยจำเลย ยิง ส.อ.ถนอม บริคุต หรือ เปาหนอม อายุ 46 ปี ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นกรรมการตัดสินฟุตบอล ของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย โดยจำเลยที่ 1 ร่วมกันมีปืนพกสั้นขนาด .38 ไม่มีทะเบียน และกระสุนปืน 4 นัด ติดตัวไปที่ ถ.รามคำแหง และในการกีฬาแห่งประเทศไทย โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งส.อ.ถนอม ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัส ที่บริเวณลานจอดรถการกีฬาแห่งประเทศไทย เหตุเกิดที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กทม.
คดีนี้ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษา เมื่อ 26 ส.ค.58 ให้ยกฟ้อง เนื่องจากทางนำสืบโจทก์ยังไม่ปรากฏพยานหลักฐานเพียงพอให้ฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 กระทำผิดตามฟ้อง ดังนั้นให้ยกประโยชน์ให้จำเลยที่ 2 ต่อมาอัยการโจทก์ ยื่นอุทธรณ์
โดยเมื่อวานนี้ จ.ส.อ.ศิริศักดิ์ หรือ จ่าเหลือง จำเลยที่ 2 ได้เดินทางพร้อมบุตรสาว และครอบครัว มาศาลเพื่อฟังคำพิพากษา
ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุในฟ้องมีคนร้ายยิง ส.อ.ถนอม กระสุนเข้าที่ชายโครงด้านขวา ได้รับบาดเจ็บสาหัส ตำรวจยึดหัวกระสุนได้ ซึ่งโจทก์มีพนักงานสอบสวนคดีนี้ เบิกความว่า เรื่องดังกล่าวมีมูลเหตุจากการที่ผู้เสียหาย ที่ 1 เป็นกรรมการตัดสินเกมฟุตบอล เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 56 ระหว่าง ทีมเพื่อนตำรวจ กับ ทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ซึ่งต่อมาทราบว่า จำเลยที่ 2 ได้ขอให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบทะเบียนราษฎรของผู้เสียหาย โดยอ้างการตรวจสอบการกระทำผิดเรื่องการค้าอาวุธ และยังมีข้อมูลการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่ติดต่อสื่อสารกันระหว่างกลุ่มจำเลยที่ 2 ช่วงระหว่างที่ผู้เสียหายทำหน้าที่เป็นกรรมการตัดสินเกมฟุตบอลอื่น ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นการติดต่อเพื่อชี้ตัวผู้เสียหาย ระหว่างเดือนก.ค.56 โดยเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เชิญตัวจำเลยที่ 2 มาสอบถาม ก็ให้การว่า ปกติใช้โทรศัพท์ที่ลงท้ายด้วยหมายเลข 3894 แต่เมื่อตรวจสอบแล้ว กลับพบว่า หมายเลขดังกล่าว ได้มีการจดทะเบียนและเปิดใช้เมื่อวันที่ 4 ก.ย.56 จึงเชื่อว่า จำเลยที่ 2 ปกปิดความจริงเกี่ยวกับหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้
นอกจากนี้ ยังมีคำให้การของจำเลยที่ 1 ที่แม้ชั้นแรกจะให้การปฏิเสธ แต่เมื่อได้ดูภาพวงจรปิดแล้ว ก็ให้การรับสารภาพว่า เป็นผู้ขี่รถจักรยานยนต์ให้มือปืนยิงผู้เสียหาย โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ว่าจ้าง ซึ่งแม้คำให้การของ จำเลยที่ 1 จะเป็นคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกัน ซึ่งศาลจะต้องรับฟังด้วยความระมัดระวัง โดยคำให้การของจำเลยที่ 1 นั้น แม้จะซัดทอดถึงจำเลยที่ 2 แต่คำให้การนั้นก็ไม่ได้ทำให้ตัวจำเลยที่ 1 ถูกพ้นจากความผิดที่ได้กระทำลงไป ซึ่งจำเลยที่ 1 ยังได้ชี้ยืนยันภาพถ่าย จำเลยที่ 2 จากบัตรประจำตัวประชาชน และยังได้เขียนข้อความด้วยลายมือ ยืนยันว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ว่าจ้าง นอกจากนี้ ยังมีพยานอื่นที่รับฟังประกอบคำให้การของจำเลยที่ 1 ได้ว่า ปกติจำเลยที่ 1 ได้ขี่วินรถจักรยานยนต์รับจ้าง ที่มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ดูแล โดยเรียกจำเลยที่ 2 ว่า พ่อ และยังมีคนรักของ จำเลยที่ 1 เบิกความว่า ได้ให้หมายเลขบัญชีธนาคารกับจำเลยที่ 1 ไป ที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า จะให้จ่าเหลืองโอนเงินมาใช้หนี้จำนวน 2 หมื่นบาท
ส่วนที่ จ.ส.อ.ศิริศักดิ์ จำเลยที่ 2 อ้างว่าไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดนั้น ก็ยังฟังไม่ได้ถนัด ซึ่งเอกสารที่ จำเลยที่ 1 เขียนด้วยลายมือว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้จ้างวาน และยังระบุรายละเอียดในเรื่องที่คนที่อยู่ในเหตุการณ์เท่านั้นที่จะรับรู้ได้ ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ให้ความเคารพ จำเลยที่ 2 จึงไม่น่าเชื่อว่า จะให้การปรักปรำ พยานโจทก์ที่นำสืบมาจึงรับฟังได้ปราศจากสงสัยว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกันใช้จ้างวานฆ่าผู้อื่น ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 80 และ 84 ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องนั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลอุทธรณ์ จึงพิพากษาให้ จำคุกตลอดชีวิต
ภายหลังฟังคำพิพากษาญาติของ จ.ส.อ.ศิริศักดิ์ ได้เตรียมหาหลักทรัพย์เพื่อยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว ระหว่างสู้คดีชั้นฎีกา
คดีนี้อัยการโจทก์ ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 23 ม.ค.57 บรรยายพฤติการณ์สรุปว่า เมื่อวันที่ 3-4 ก.ย.56 เวลากลางคืน จ.ส.อ.ศิริศักดิ์ จำเลยที่ 2 กับพวกอีก 2 คน ได้ให้เงิน 100,000 บาท ว่าจ้างนายโกสินทร์ จำเลยที่ 1 และนายสุขุม หรือตั้ม แดงกุลวานิช โดยจำเลย ยิง ส.อ.ถนอม บริคุต หรือ เปาหนอม อายุ 46 ปี ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นกรรมการตัดสินฟุตบอล ของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย โดยจำเลยที่ 1 ร่วมกันมีปืนพกสั้นขนาด .38 ไม่มีทะเบียน และกระสุนปืน 4 นัด ติดตัวไปที่ ถ.รามคำแหง และในการกีฬาแห่งประเทศไทย โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งส.อ.ถนอม ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัส ที่บริเวณลานจอดรถการกีฬาแห่งประเทศไทย เหตุเกิดที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กทม.
คดีนี้ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษา เมื่อ 26 ส.ค.58 ให้ยกฟ้อง เนื่องจากทางนำสืบโจทก์ยังไม่ปรากฏพยานหลักฐานเพียงพอให้ฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 กระทำผิดตามฟ้อง ดังนั้นให้ยกประโยชน์ให้จำเลยที่ 2 ต่อมาอัยการโจทก์ ยื่นอุทธรณ์
โดยเมื่อวานนี้ จ.ส.อ.ศิริศักดิ์ หรือ จ่าเหลือง จำเลยที่ 2 ได้เดินทางพร้อมบุตรสาว และครอบครัว มาศาลเพื่อฟังคำพิพากษา
ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุในฟ้องมีคนร้ายยิง ส.อ.ถนอม กระสุนเข้าที่ชายโครงด้านขวา ได้รับบาดเจ็บสาหัส ตำรวจยึดหัวกระสุนได้ ซึ่งโจทก์มีพนักงานสอบสวนคดีนี้ เบิกความว่า เรื่องดังกล่าวมีมูลเหตุจากการที่ผู้เสียหาย ที่ 1 เป็นกรรมการตัดสินเกมฟุตบอล เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 56 ระหว่าง ทีมเพื่อนตำรวจ กับ ทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ซึ่งต่อมาทราบว่า จำเลยที่ 2 ได้ขอให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบทะเบียนราษฎรของผู้เสียหาย โดยอ้างการตรวจสอบการกระทำผิดเรื่องการค้าอาวุธ และยังมีข้อมูลการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่ติดต่อสื่อสารกันระหว่างกลุ่มจำเลยที่ 2 ช่วงระหว่างที่ผู้เสียหายทำหน้าที่เป็นกรรมการตัดสินเกมฟุตบอลอื่น ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นการติดต่อเพื่อชี้ตัวผู้เสียหาย ระหว่างเดือนก.ค.56 โดยเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เชิญตัวจำเลยที่ 2 มาสอบถาม ก็ให้การว่า ปกติใช้โทรศัพท์ที่ลงท้ายด้วยหมายเลข 3894 แต่เมื่อตรวจสอบแล้ว กลับพบว่า หมายเลขดังกล่าว ได้มีการจดทะเบียนและเปิดใช้เมื่อวันที่ 4 ก.ย.56 จึงเชื่อว่า จำเลยที่ 2 ปกปิดความจริงเกี่ยวกับหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้
นอกจากนี้ ยังมีคำให้การของจำเลยที่ 1 ที่แม้ชั้นแรกจะให้การปฏิเสธ แต่เมื่อได้ดูภาพวงจรปิดแล้ว ก็ให้การรับสารภาพว่า เป็นผู้ขี่รถจักรยานยนต์ให้มือปืนยิงผู้เสียหาย โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ว่าจ้าง ซึ่งแม้คำให้การของ จำเลยที่ 1 จะเป็นคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกัน ซึ่งศาลจะต้องรับฟังด้วยความระมัดระวัง โดยคำให้การของจำเลยที่ 1 นั้น แม้จะซัดทอดถึงจำเลยที่ 2 แต่คำให้การนั้นก็ไม่ได้ทำให้ตัวจำเลยที่ 1 ถูกพ้นจากความผิดที่ได้กระทำลงไป ซึ่งจำเลยที่ 1 ยังได้ชี้ยืนยันภาพถ่าย จำเลยที่ 2 จากบัตรประจำตัวประชาชน และยังได้เขียนข้อความด้วยลายมือ ยืนยันว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ว่าจ้าง นอกจากนี้ ยังมีพยานอื่นที่รับฟังประกอบคำให้การของจำเลยที่ 1 ได้ว่า ปกติจำเลยที่ 1 ได้ขี่วินรถจักรยานยนต์รับจ้าง ที่มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ดูแล โดยเรียกจำเลยที่ 2 ว่า พ่อ และยังมีคนรักของ จำเลยที่ 1 เบิกความว่า ได้ให้หมายเลขบัญชีธนาคารกับจำเลยที่ 1 ไป ที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า จะให้จ่าเหลืองโอนเงินมาใช้หนี้จำนวน 2 หมื่นบาท
ส่วนที่ จ.ส.อ.ศิริศักดิ์ จำเลยที่ 2 อ้างว่าไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดนั้น ก็ยังฟังไม่ได้ถนัด ซึ่งเอกสารที่ จำเลยที่ 1 เขียนด้วยลายมือว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้จ้างวาน และยังระบุรายละเอียดในเรื่องที่คนที่อยู่ในเหตุการณ์เท่านั้นที่จะรับรู้ได้ ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ให้ความเคารพ จำเลยที่ 2 จึงไม่น่าเชื่อว่า จะให้การปรักปรำ พยานโจทก์ที่นำสืบมาจึงรับฟังได้ปราศจากสงสัยว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกันใช้จ้างวานฆ่าผู้อื่น ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 80 และ 84 ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องนั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลอุทธรณ์ จึงพิพากษาให้ จำคุกตลอดชีวิต
ภายหลังฟังคำพิพากษาญาติของ จ.ส.อ.ศิริศักดิ์ ได้เตรียมหาหลักทรัพย์เพื่อยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว ระหว่างสู้คดีชั้นฎีกา