1. กล่าวนำ
มักมีการกล่าวกันว่า เมื่อเวลาผ่านไป หลายสิ่งหลายอย่างก็จะเปลี่ยนไปด้วย (Time passed, things change.) แม้บางสิ่งบางอย่างจะเปลี่ยนไป แต่บางเหตุการณ์ในอดีตก็อาจทำให้หลายท่านยังคงนึกถึงวันวานที่ผ่านมา เพราะบางเหตุการณ์ในอดีตยังคงเป็นเรื่องที่น่าจดจำหรือเป็นเรื่องที่จำฝังใจจนไม่สามารถลบเลือนออกไปจากความทรงจำของแต่ละคนได้ (ความจำฝังใจมิรู้ลืม) ซึ่งเป็นความทรงจำที่ทำให้เรารู้สึกมีความสุขหรือความทุกข์ระทมทุกครั้งที่ได้นึกถึงเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมา และอาจมีบางเรื่องไม่เพียงได้กลายเป็นตัวอย่างหรือบทเรียนที่ดีให้คนรุ่นหลังหรือลูกหลานได้นำไปเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตเท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปค้นคว้าศึกษาเพิ่มเติมเพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาในอนาคตได้อีกด้วย
การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 (พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช) เมื่อวันที่ 13 ต.ค. 59 ก็เช่นเดียวกัน เหตุการณ์นี้ได้ทำให้พวกเราคนไทยรู้สึกเศร้าโศกจนไม่อาจลืมได้โดยง่าย และก็ต้องยอมรับความจริงว่า คงเป็นไปไม่ได้ที่จะนำพระองค์กลับมาอยู่กับคนไทยได้อีก ถึงแม้พระองค์จะจากคนไทยไปโดยไม่มีวันได้กลับมา แต่คำสอนและผลงานต่างๆ ของพระองค์จะยังคงอยู่ในหัวใจคนไทยต่อไปอีกนานแสนนาน
มีนักเขียนหลายท่านได้เขียนเกี่ยวกับประวัติและผลงานของพระองค์ไว้มากมายทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น ในบทความนี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงบางเรื่องที่ไม่ค่อยมีใครได้กล่าวถึง แต่เป็นเรื่องที่น่าจดจำเพื่อเป็นบทเรียน หรือเรื่องที่มีบางอย่างขาดหายไป หรือเปลี่ยนไปจากที่เคยเป็นมาในอดีต (ในช่วงก่อนที่พระองค์จะจากคนไทยไปคือ ก่อนวันที่ 14 ต.ค. 59) โดยจะขอนำมากล่าวเป็นบางเรื่องเท่านั้น
2. เรื่องต่างๆ ที่คนไทยได้เรียนรู้จากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เมื่อวันที่ 13 ต.ค. 59 ได้ทำให้ช่วงเวลาการครองราชย์ที่ยาวนานถึง 70 ปีของพระองค์ได้สิ้นสุดลง ด้วยผู้เขียนเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังมีความรู้สึกเคยชินที่ได้เห็นพระองค์ทุกวันไม่ว่าจะเป็นในหน้าหนังสือพิมพ์ หรือในข่าวราชสำนักที่สถานีโทรทัศน์ต่างๆ ได้นำมาเผยแพร่ในช่วงค่ำทุกวัน หรือแม้แต่ในธนบัตรและเหรียญที่เราได้ใช้กันอยู่เป็นประจำ ไม่เพียงความเคยชินที่กล่าวมาเท่านั้น แต่คนไทยส่วนใหญ่ยังรู้สึกว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เปรียบประดุจญาติผู้ใหญ่ซึ่งเป็นที่เคารพรักของคนไทยทุกคน ดังนั้น เมื่อพระองค์ได้จากไปจึงทำให้คนไทยมีความรู้สึกเสมือนญาติผู้ใหญ่อันเป็นที่รักและเคารพนับถือของครอบครัวได้จากไปเช่นกัน
ก่อนที่จะกล่าวถึงเรื่องต่างๆ ที่คนไทยได้เรียนรู้จากพระองค์ ผู้เขียนจะขอถือโอกาสนี้ถวายอาลัยต่อการจากไปของพระองค์ด้วยข้อความสั้นๆ เป็นภาษาอังกฤษเพื่อให้ชาวต่างประเทศที่ติดตามบทความนี้ได้รับรู้ถึงความรู้สึกของคนไทยทั้งมวลที่มีต่อพระองค์ ดังต่อไปนี้
Our deepest condolences from Thai people.
May the soul of His Majesty King BhumibolAdulyadejbe at peace. You always live deep inside our hearts and minds. You will never be forgotten what you did for all Thai people.
May Buddha give you eternal rest, our beloved King and Father of Thai people.
Weerasak Nathasiri
สำหรับเรื่องราวต่างๆ ที่คนไทยได้เรียนรู้จากพระองค์จะมาจากพระจริยาวัตรและพระราชกรณียกิจของพระองค์ในโอกาสต่างๆ ซึ่งผู้เขียนจะขอนำเสนอบางเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนไทย ดังนี้
2.1 การแสดงความรักและความกตัญญูต่อบุพการี
ภาพที่ 1 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงแสดงความรักต่อพระราชมารดา
*http://www.myhappyoffice.com/index.php/2012/06/beloved-king-timeline/ ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
ภาพที่ 2 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงแสดงความเคารพต่อพระราชมารดา
*ภาพจาก http://www.oknation.net/blog/surasakc/2009/12/09/entry-1 (ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย)
จากภาพที่ 1 และ 2 ผู้อ่านทุกท่านคงได้เห็นแล้วว่า พระองค์ท่านได้แสดงความเคารพรัก และความกัตญญูต่อพระราชมารดาอย่างสม่ำเสมอจนเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนคนไทยทั่วไป พระองค์ทรงปฏิบัติเป็นตัวอย่างให้คนไทยได้เห็นอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้คนไทยทั้งมวลระลึกถึงบุญคุณของบุพการีที่เลี้ยงดูมา (ทรงแสดงตัวอย่างให้ประชาชนเห็น เพื่อจะได้ปฏิบัติตาม) เพื่อให้คนไทยได้แสดงความเคารพรัก ดูแลปรนนิบัติบุพการีของทุกคน ดังที่พระองค์ได้ทรงปฏิบัติต่อพระราชชนนีเช่นกัน
2.2 ความมุ่งมั่น เสียสละ และอดทนต่อความลำบากในการปฏิบัติภารกิจเพื่อประชาชน
ภาพที่ 3 การเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมราษฎร และทรงศึกษาภูมิประเทศ
* http://www.praew.com/59913/king-of-thailand/king-royal-projects/ ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
ในบทความเรื่อง “เบื้องหลังพระปรีชาสามารถด้านชลประทาน ในหลวงรัชกาลที่ 9 ผู้ทรงงานหนัก เพื่อชีวิตร่มเย็นของพสกนิกรไทย” ของนิตยสารแพรว (ดูภาพที่ 3) ได้ระบุข้อความตอนหนึ่งว่า
“เป็นเวลาหลายปีที่พระองค์ได้ทรงทุ่มเทพระวรกาย เสด็จฯ ลงพื้นที่สำรวจพร้อมคณะ และชาวบ้าน และทรงพระราชดำริโครงการพัฒนาแหล่งน้ำต่างๆ ขึ้นมา อย่าง โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภค โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ฯลฯ จนเกิดเป็นอ่างเก็บน้ำเขาเต่า ที่สร้างขึ้นที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อกักเก็บน้ำจืดให้ราษฎรมีใช้ การสร้างฝนเทียมเพื่อช่วยเหลือพื้นที่แห้งแล้ง”
ภาพที่ 4 เวลาค่ำคืนไม่ได้เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจของพระองค์
* http://www.praew.com/59913/king-of-thailand/king-royal-projects ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
ในบทความเรื่องเดียวกันยังได้กล่าวถึงการที่พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงงานในถิ่นทุรกันดาร แม้ในเวลาค่ำคืน (ดูภาพที่ 4) โดยมีข้อความตอนหนึ่งว่า
“วันที่ 25 พฤศจิกายน 2535 ที่อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จฯ ด้วยเครื่องเฮลิคอปเตอร์ ทรงเลือกตำแหน่งในแผนที่ 1 ต่อ 50,000 เรียกว่าห้วยวังคำ เส้นทางน่าเป็นทางเกวียน มืดจริงๆ ที่พวกเรานั่งเบียดกัน ทั้งกรมชลประทาน มีอธิบดี ชาวบ้านนำทาง รองสมุหราชองครักษ์เกือบสิบคนได้นั่งไปก็โยกเยกไปมา กว่าจะเจอจุดที่พระองค์ทรงกำหนด ก็หลงทาง พระองค์ต้องทรงเรียกชาวบ้านนำทางว่า ไกด์ผี และเรียกถนนที่ไปว่า ทางดิสโก้”
จากภาพที่ 3 และ 4 พร้อมข้อความที่บรรยายในบทความข้างต้น ได้ชี้ให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและอดทนต่อความยากลำบากของพระองค์ในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ห่างไกล สรุปก็คือ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ทุรกันดารเพียงใด ไม่ว่าจะค่ำมืดเพียงใดไม่ว่าสภาพอากาศจะเลวร้ายเพียงใด และไม่ว่าจะต้องสูญเสียเวลาและความสุขส่วนพระองค์ สิ่งเหล่านี้หาได้เป็นอุปสรรคต่อการเสด็จพระราชดำเนินไปช่วยเหลือประชาชนแต่อย่างใด เพราะพระองค์ทรงมุ่งมั่นปฏิบัติภารกิจเพื่อช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทยให้ทัดทียมกับประชาชนในประเทศที่เจริญแล้วนั่นเอง
2.3 การยึดมั่นในคำสั่งสอนของศาสนาพุทธและการเป็นพุทธมามกะที่ดี
ภาพที่ 5 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงออกผนวช
* http://www.bkk1.in.th/Topic.aspx?TopicID=194734 ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
2.3.1 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงเป็นพุทธมามกะโดยได้ทรงเสด็จออกผนวชเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2499 โดยมีสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์สมเด็จพระสังฆราชเป็นพระอุปัชฌาย์, พระศาสนโสภณเป็นพระกรรมวาจาจารย์, สมเด็จพระวันรัตเป็นผู้ถวายอนุศาสน์และทรงได้รับพระสมณนามว่า “ภูมิพโล” โดยได้ทรงประทับที่พระตำหนักปั้นหยาในวัดบวรนิเวศวิหาร
ในระหว่างที่ทรงผนวช ได้ทรงปฏิบัติพระองค์อย่างเคร่งครัด โดยทรงลงพระอุโบสถทำวัตรและออกบิณฑบาตเป็นประจำทุกวัน การที่พระองค์ทรงออกบิณฑบาตเป็นประจำไม่เพียงเป็นภาพที่ประทับใจเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวอย่างให้พุทธมามกะชาวไทยได้ยึดถือ และประพฤติตนตามคำสั่งสอนและแนวทางของศาสนาพุทธอย่างเคร่งครัด ซึ่งจะมีส่วนช่วยกล่อมเกลาจิตใจคนไทยให้ประพฤติและทำความดีนั่นเอง ดูภาพที่ 6
ภาพที่ 6 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จออกบิณฑบาต
*udomdee@gmail.com สวัสดีครับ - วีระศักดิ์ นาทะสิริ">http://www.chaoprayanews.com/2009/03/22/ทรงพระผนวช/ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
2.3.2 พระองค์ไม่เพียงทรงเป็นพุทธมามกะเท่านั้น แต่พระองค์ยังได้ทรงปฏิบัติพระองค์ตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา โดยได้นำหลักทศพิธราชธรรมมาปฏิบัติจนเป็นที่ประจักษ์แจ้งแก่สาธารณชนทั่วไป ซึ่งทศพิธราชธรรม ประกอบด้วยหลักปฏิบัติที่สำคัญ 10 ประการ คือ
(1) ทานหรือการให้ ทั้งวัตถุทาน ธรรมทาน และอภัยทาน
(2) ศีลหรือความประพฤติที่ดีงาม ไม่ทำชั่ว หรือไม่ทำอะไรที่เป็นการไม่เหมาะไม่ควร
(3) ปริจจาคะ หรือการเสียสละ เช่น เสียสละประโยชน์ส่วนตน เพื่อประโยชน์ส่วนรวม
(4) อาชชวะหรือความซื่อตรง มีความประพฤติที่ซื่อตรง ไม่คิดทรยศต่อประชาชนและประเทศชาติ
(5) มัททวะหรือความอ่อนโยน มีกายวาจาสุภาพ อ่อนโยน ต่อคนทั้งหลาย
(6) ตบะหรือความเพียร มีความมานะปฏิบัติหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ ไม่เบื่อหน่าย ไม่อ่อนแอย่อท้อ
(7) อักโกธะหรือความไม่โกรธ ไม่ลุแก่อำนาจ และไม่กระทำไปด้วยอำนาจของความโกรธ
(8) อวิหิงสาหรือการไม่เบียดเบียน ไม่เพียงไม่เบียดเบียนผู้อื่นแต่ยังมีจิตเมตตาช่วยเหลือผู้อื่นอีกด้วย
(9) ขันติหรือความอดทนต่อความยากลำบากทั้งหลาย อดทนต่อถ้อยคำที่จาบจ้วงล่วงเกินเป็นต้น
(10) อวิโรธนะ ความไม่ผิดพลาดการจะทำอะไรต้องไตร่ตรองให้รอบคอบเพื่อไม่ให้ผิดพลาดนั่นเอง
2.3.3 นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภ์ ทรงให้ความอุปถัมภ์ศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นศาสนาหลักของประชาชนชาวไทย ทรงสนับสนุน ทำนุบำรุง และส่งเสริมพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่องมาตลอดชีวิตของพระองค์ตัวอย่างเช่น ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีการจัดสร้างพระพุทธมณฑล โดยพระองค์ทรงมีพระราชดำริจะจัดสร้างขึ้น เพื่อฉลองมงคลกาลสมัยที่พระพุทธศาสนามีอายุครบ 2,500 ปี ในวันวิสาขบูชา 13 พ.ค. 2500 ซึ่งรัฐบาลก็ได้ตอบสนองโดยมีมติเห็นชอบให้มีการสร้างปูชนียสถานเป็นอุทยานทางพุทธศาสนา “พุทธมณฑล” ขึ้น ซึ่งมีพื้นที่เชื่อมต่อกันระหว่าง อ.สามพราน และอ.นครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ดูภาพที่ 7
ภาพที่ 7 พุทธมณฑล
http://www.lovethailand.biz/travel/th/22%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%90%E0%B8%A1/1747%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B8%A5.html (ที่มาของภาพที่ 7: ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย)
(คำบรรยายเรียบเรียงจาก http://www.oocities.org/sakyaputto/article3.htm ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย)
3. โรงพยาบาลศิริราชกับบรรยากาศที่เปลี่ยนไป
เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ผู้เขียนได้มีโอกาสกลับไปส่งลูกชาย (นพ.ลพบุรี นาทะสิริ อดีตนักศึกษาแพทย์ศิริราช ซึ่งกำลังเรียนต่อเฉพาะทาง) ที่โรงพยาบาลศิริราชอีกครั้งหนึ่ง และได้พบว่า รพ.ศิริราชในค่ำคืนวันนั้น (วันที่ 15 ต.ค. 2559) ได้เปลี่ยนไปไม่เหมือนศิริราชเมื่อหลายปีที่ผ่านมา ในความคิดเห็นส่วนตัวในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาแพทย์ที่เข้าออกรพ.ศิริราชบ่อยมากในช่วง 7-8 ปีที่ผ่านมา ผู้เขียนมีความรู้สึกว่า รพ.ศิริราชเปรียบเสมือนสถานที่ที่ไม่มีวันหลับ จะตื่นอยู่ตลอดเวลา แต่ร.พ.ศิริราชในค่ำคืนวันที่ 15ตุลาคม ซึ่งจะไม่มีองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาประทับอีกต่อไปแล้ว ศิริราชที่มีชีวิตชีวาในอดีตจึงได้กลายเป็นศิริราชที่เงียบเหงา วังเวง และไม่มีชีวิตชีวาเช่นที่ผ่านมา (ดูภาพที่ 8) ไม่มีทหารตำรวจที่ยืนเฝ้ารักษาการณ์ตามจุดต่างๆ ไม่มีรถเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเข้าออกตลอดเวลาและมาจอดเป็นจุดๆ ไม่มีประชาชนที่ร่วมชุมนุมสวดขอพรและส่งกำลังใจไปให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และไม่มีขบวนรถของพระราชวงศ์ รวมทั้งบุคคลสำคัญต่างๆ ที่เข้าออกศิริราชเป็นระยะๆ ทุกวันบรรยากาศในยามค่ำคืนของศิริราชภายหลังวันที่ 14 ต.ค. จึงมีแต่ความเงียบเหงาและวังเวงจนรู้สึกเข้าไปในหัวใจของผู้เขียน และชาวศิริราชทุกคนอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
ภาพที่ 8 บรรยากาศในรพ.ศิริราช ภายหลังวันที่ 14 ต.ค. 59*
*ไม่มีรถ เจ้าหน้าที่ทหารหรือตำรวจยืนเฝ้ารักษาการณ์
4. บทสรุป
แม้จะรู้และเข้าใจดีว่า ทุกๆ อย่างที่เกิดขึ้นเป็นไปตามสัจธรรมคือ ไม่มีอะไรที่จะอยู่คงที่ถาวร ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นอนิจจัง และจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาที่ผ่านไป เราทุกคนที่เป็นมนุษย์จึงต้องเข้าใจ เรียนรู้การเปลี่ยนแปลง และปรับเปลี่ยนการดำรงชีวิตและพฤติกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกด้วยเช่นกัน แต่ในฐานะที่เป็นมนุษย์ที่ยังตัดขาดจากความเป็นไปของสังคมโลกไม่ได้ ผู้เขียนและรวมทั้งชาวไทยทั้งมวลจึงยังรู้สึกเศร้าและยากที่จะลืมได้ในช่วงเวลาอันสั้น และขอฝากพระบรมราโชวาท (ตอนหนึ่ง) ของพระองค์มายังผู้อ่านทุกท่านในโอกาสนี้ด้วย ดูภาพที่ 9
ภาพที่ 9 พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
ที่มา: จาก Thai PBS ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
ท้ายบทความ : ความคิดเห็นและความรู้สึกของผู้อ่าน
ได้มีผู้อ่านหลายท่านได้ส่งรูปภาพ และข้อความแสดงความรู้สึกต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาให้ผู้เขียน (ทาง Line) หลังจากได้อ่านแล้ว จึงได้คัดเลือกบางรูปภาพและบางข้อความที่น่าสนใจนำมาลงในท้ายบทความนี้เพื่อให้ผู้อ่านท่านอื่นๆ ได้ร่วมกันดูและอ่าน ดังนี้
(1) ภาพที่ 10-11 คือ ประชาชนที่มาร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีที่สนามหลวง วันที่ 22 ต.ค.
ภาพที่ 10 ประชาชนมาร่วมร้องเพลงที่ท้องสนามหลวง ในวันที่ 22 ต.ค. 59
ภาพที่ 11 ประชาชนที่มาร่วมร้องเพลง ที่ท้องสนามหลวงในวันที่ 22 ต.ค. 59
ขอขอบคุณ คุณภรดี พงษ์เลิศนภากร ที่ส่งภาพมาให้
(2) ผู้อ่านที่ใช้ชื่อว่า ชูชาติ กังวาน ได้ส่งบทกลอนภาษาอังกฤษถวายความอาลัยและความเคารพต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาให้ผู้เขียน ซึ่งมีความหมายดีมาก จึงขอส่งมาให้ทุกท่านได้อ่านกัน ดังต่อไปนี้
“บทกวีถวายความอาลัย ความเคารพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
Homage in memory of King Bhumibol, The Great King of Thailand
Like earthquake shaking the whole kingdom;
Like lightning striking the Thai fiefdom;
Like Tsunami storming the Thai coastlines;
King Bhumibol’s passing grief our hearts and minds.
Thais’ souls are shattering,
Our hearts are breaking,
Our tears are streaming,
‘Cause You are “Father and Soul of Our Land.”
Your great deeds and contributions are:
So abundant, so fruitful, so useful;
That we have relied upon;
That our lives and livings have been adorned;
That poverty in our land has gradually gone.
While sorrowful, mourning and sobbing,
We vow to follow your footsteps
Of being self-sufficient and rarely rest;
We shall hold You high with great respect.
May You be in Heaven;
May You peacefully rest,
While we glorifying King Bhumibol The Great.
(With deepest sorrow, highest reverence to H.M. King Bhumibol, from ChuchartKangwan, 17/10/2016)”
-------------------------------------------------------------
ถ้าท่านใดต้องการแสดงความคิดเห็นใดๆ กรุณาส่งมาที่ udomdee@gmail.com
สวัสดีครับ – วีระศักดิ์ นาทะสิริ
มักมีการกล่าวกันว่า เมื่อเวลาผ่านไป หลายสิ่งหลายอย่างก็จะเปลี่ยนไปด้วย (Time passed, things change.) แม้บางสิ่งบางอย่างจะเปลี่ยนไป แต่บางเหตุการณ์ในอดีตก็อาจทำให้หลายท่านยังคงนึกถึงวันวานที่ผ่านมา เพราะบางเหตุการณ์ในอดีตยังคงเป็นเรื่องที่น่าจดจำหรือเป็นเรื่องที่จำฝังใจจนไม่สามารถลบเลือนออกไปจากความทรงจำของแต่ละคนได้ (ความจำฝังใจมิรู้ลืม) ซึ่งเป็นความทรงจำที่ทำให้เรารู้สึกมีความสุขหรือความทุกข์ระทมทุกครั้งที่ได้นึกถึงเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมา และอาจมีบางเรื่องไม่เพียงได้กลายเป็นตัวอย่างหรือบทเรียนที่ดีให้คนรุ่นหลังหรือลูกหลานได้นำไปเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตเท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปค้นคว้าศึกษาเพิ่มเติมเพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาในอนาคตได้อีกด้วย
การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 (พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช) เมื่อวันที่ 13 ต.ค. 59 ก็เช่นเดียวกัน เหตุการณ์นี้ได้ทำให้พวกเราคนไทยรู้สึกเศร้าโศกจนไม่อาจลืมได้โดยง่าย และก็ต้องยอมรับความจริงว่า คงเป็นไปไม่ได้ที่จะนำพระองค์กลับมาอยู่กับคนไทยได้อีก ถึงแม้พระองค์จะจากคนไทยไปโดยไม่มีวันได้กลับมา แต่คำสอนและผลงานต่างๆ ของพระองค์จะยังคงอยู่ในหัวใจคนไทยต่อไปอีกนานแสนนาน
มีนักเขียนหลายท่านได้เขียนเกี่ยวกับประวัติและผลงานของพระองค์ไว้มากมายทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น ในบทความนี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงบางเรื่องที่ไม่ค่อยมีใครได้กล่าวถึง แต่เป็นเรื่องที่น่าจดจำเพื่อเป็นบทเรียน หรือเรื่องที่มีบางอย่างขาดหายไป หรือเปลี่ยนไปจากที่เคยเป็นมาในอดีต (ในช่วงก่อนที่พระองค์จะจากคนไทยไปคือ ก่อนวันที่ 14 ต.ค. 59) โดยจะขอนำมากล่าวเป็นบางเรื่องเท่านั้น
2. เรื่องต่างๆ ที่คนไทยได้เรียนรู้จากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เมื่อวันที่ 13 ต.ค. 59 ได้ทำให้ช่วงเวลาการครองราชย์ที่ยาวนานถึง 70 ปีของพระองค์ได้สิ้นสุดลง ด้วยผู้เขียนเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังมีความรู้สึกเคยชินที่ได้เห็นพระองค์ทุกวันไม่ว่าจะเป็นในหน้าหนังสือพิมพ์ หรือในข่าวราชสำนักที่สถานีโทรทัศน์ต่างๆ ได้นำมาเผยแพร่ในช่วงค่ำทุกวัน หรือแม้แต่ในธนบัตรและเหรียญที่เราได้ใช้กันอยู่เป็นประจำ ไม่เพียงความเคยชินที่กล่าวมาเท่านั้น แต่คนไทยส่วนใหญ่ยังรู้สึกว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เปรียบประดุจญาติผู้ใหญ่ซึ่งเป็นที่เคารพรักของคนไทยทุกคน ดังนั้น เมื่อพระองค์ได้จากไปจึงทำให้คนไทยมีความรู้สึกเสมือนญาติผู้ใหญ่อันเป็นที่รักและเคารพนับถือของครอบครัวได้จากไปเช่นกัน
ก่อนที่จะกล่าวถึงเรื่องต่างๆ ที่คนไทยได้เรียนรู้จากพระองค์ ผู้เขียนจะขอถือโอกาสนี้ถวายอาลัยต่อการจากไปของพระองค์ด้วยข้อความสั้นๆ เป็นภาษาอังกฤษเพื่อให้ชาวต่างประเทศที่ติดตามบทความนี้ได้รับรู้ถึงความรู้สึกของคนไทยทั้งมวลที่มีต่อพระองค์ ดังต่อไปนี้
Our deepest condolences from Thai people.
May the soul of His Majesty King BhumibolAdulyadejbe at peace. You always live deep inside our hearts and minds. You will never be forgotten what you did for all Thai people.
May Buddha give you eternal rest, our beloved King and Father of Thai people.
Weerasak Nathasiri
สำหรับเรื่องราวต่างๆ ที่คนไทยได้เรียนรู้จากพระองค์จะมาจากพระจริยาวัตรและพระราชกรณียกิจของพระองค์ในโอกาสต่างๆ ซึ่งผู้เขียนจะขอนำเสนอบางเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนไทย ดังนี้
2.1 การแสดงความรักและความกตัญญูต่อบุพการี
ภาพที่ 1 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงแสดงความรักต่อพระราชมารดา
*http://www.myhappyoffice.com/index.php/2012/06/beloved-king-timeline/ ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
ภาพที่ 2 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงแสดงความเคารพต่อพระราชมารดา
*ภาพจาก http://www.oknation.net/blog/surasakc/2009/12/09/entry-1 (ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย)
จากภาพที่ 1 และ 2 ผู้อ่านทุกท่านคงได้เห็นแล้วว่า พระองค์ท่านได้แสดงความเคารพรัก และความกัตญญูต่อพระราชมารดาอย่างสม่ำเสมอจนเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนคนไทยทั่วไป พระองค์ทรงปฏิบัติเป็นตัวอย่างให้คนไทยได้เห็นอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้คนไทยทั้งมวลระลึกถึงบุญคุณของบุพการีที่เลี้ยงดูมา (ทรงแสดงตัวอย่างให้ประชาชนเห็น เพื่อจะได้ปฏิบัติตาม) เพื่อให้คนไทยได้แสดงความเคารพรัก ดูแลปรนนิบัติบุพการีของทุกคน ดังที่พระองค์ได้ทรงปฏิบัติต่อพระราชชนนีเช่นกัน
2.2 ความมุ่งมั่น เสียสละ และอดทนต่อความลำบากในการปฏิบัติภารกิจเพื่อประชาชน
ภาพที่ 3 การเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมราษฎร และทรงศึกษาภูมิประเทศ
* http://www.praew.com/59913/king-of-thailand/king-royal-projects/ ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
ในบทความเรื่อง “เบื้องหลังพระปรีชาสามารถด้านชลประทาน ในหลวงรัชกาลที่ 9 ผู้ทรงงานหนัก เพื่อชีวิตร่มเย็นของพสกนิกรไทย” ของนิตยสารแพรว (ดูภาพที่ 3) ได้ระบุข้อความตอนหนึ่งว่า
“เป็นเวลาหลายปีที่พระองค์ได้ทรงทุ่มเทพระวรกาย เสด็จฯ ลงพื้นที่สำรวจพร้อมคณะ และชาวบ้าน และทรงพระราชดำริโครงการพัฒนาแหล่งน้ำต่างๆ ขึ้นมา อย่าง โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภค โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ฯลฯ จนเกิดเป็นอ่างเก็บน้ำเขาเต่า ที่สร้างขึ้นที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อกักเก็บน้ำจืดให้ราษฎรมีใช้ การสร้างฝนเทียมเพื่อช่วยเหลือพื้นที่แห้งแล้ง”
ภาพที่ 4 เวลาค่ำคืนไม่ได้เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจของพระองค์
* http://www.praew.com/59913/king-of-thailand/king-royal-projects ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
ในบทความเรื่องเดียวกันยังได้กล่าวถึงการที่พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงงานในถิ่นทุรกันดาร แม้ในเวลาค่ำคืน (ดูภาพที่ 4) โดยมีข้อความตอนหนึ่งว่า
“วันที่ 25 พฤศจิกายน 2535 ที่อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จฯ ด้วยเครื่องเฮลิคอปเตอร์ ทรงเลือกตำแหน่งในแผนที่ 1 ต่อ 50,000 เรียกว่าห้วยวังคำ เส้นทางน่าเป็นทางเกวียน มืดจริงๆ ที่พวกเรานั่งเบียดกัน ทั้งกรมชลประทาน มีอธิบดี ชาวบ้านนำทาง รองสมุหราชองครักษ์เกือบสิบคนได้นั่งไปก็โยกเยกไปมา กว่าจะเจอจุดที่พระองค์ทรงกำหนด ก็หลงทาง พระองค์ต้องทรงเรียกชาวบ้านนำทางว่า ไกด์ผี และเรียกถนนที่ไปว่า ทางดิสโก้”
จากภาพที่ 3 และ 4 พร้อมข้อความที่บรรยายในบทความข้างต้น ได้ชี้ให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและอดทนต่อความยากลำบากของพระองค์ในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ห่างไกล สรุปก็คือ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ทุรกันดารเพียงใด ไม่ว่าจะค่ำมืดเพียงใดไม่ว่าสภาพอากาศจะเลวร้ายเพียงใด และไม่ว่าจะต้องสูญเสียเวลาและความสุขส่วนพระองค์ สิ่งเหล่านี้หาได้เป็นอุปสรรคต่อการเสด็จพระราชดำเนินไปช่วยเหลือประชาชนแต่อย่างใด เพราะพระองค์ทรงมุ่งมั่นปฏิบัติภารกิจเพื่อช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทยให้ทัดทียมกับประชาชนในประเทศที่เจริญแล้วนั่นเอง
2.3 การยึดมั่นในคำสั่งสอนของศาสนาพุทธและการเป็นพุทธมามกะที่ดี
ภาพที่ 5 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงออกผนวช
* http://www.bkk1.in.th/Topic.aspx?TopicID=194734 ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
2.3.1 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงเป็นพุทธมามกะโดยได้ทรงเสด็จออกผนวชเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2499 โดยมีสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์สมเด็จพระสังฆราชเป็นพระอุปัชฌาย์, พระศาสนโสภณเป็นพระกรรมวาจาจารย์, สมเด็จพระวันรัตเป็นผู้ถวายอนุศาสน์และทรงได้รับพระสมณนามว่า “ภูมิพโล” โดยได้ทรงประทับที่พระตำหนักปั้นหยาในวัดบวรนิเวศวิหาร
ในระหว่างที่ทรงผนวช ได้ทรงปฏิบัติพระองค์อย่างเคร่งครัด โดยทรงลงพระอุโบสถทำวัตรและออกบิณฑบาตเป็นประจำทุกวัน การที่พระองค์ทรงออกบิณฑบาตเป็นประจำไม่เพียงเป็นภาพที่ประทับใจเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวอย่างให้พุทธมามกะชาวไทยได้ยึดถือ และประพฤติตนตามคำสั่งสอนและแนวทางของศาสนาพุทธอย่างเคร่งครัด ซึ่งจะมีส่วนช่วยกล่อมเกลาจิตใจคนไทยให้ประพฤติและทำความดีนั่นเอง ดูภาพที่ 6
ภาพที่ 6 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จออกบิณฑบาต
*udomdee@gmail.com สวัสดีครับ - วีระศักดิ์ นาทะสิริ">http://www.chaoprayanews.com/2009/03/22/ทรงพระผนวช/ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
2.3.2 พระองค์ไม่เพียงทรงเป็นพุทธมามกะเท่านั้น แต่พระองค์ยังได้ทรงปฏิบัติพระองค์ตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา โดยได้นำหลักทศพิธราชธรรมมาปฏิบัติจนเป็นที่ประจักษ์แจ้งแก่สาธารณชนทั่วไป ซึ่งทศพิธราชธรรม ประกอบด้วยหลักปฏิบัติที่สำคัญ 10 ประการ คือ
(1) ทานหรือการให้ ทั้งวัตถุทาน ธรรมทาน และอภัยทาน
(2) ศีลหรือความประพฤติที่ดีงาม ไม่ทำชั่ว หรือไม่ทำอะไรที่เป็นการไม่เหมาะไม่ควร
(3) ปริจจาคะ หรือการเสียสละ เช่น เสียสละประโยชน์ส่วนตน เพื่อประโยชน์ส่วนรวม
(4) อาชชวะหรือความซื่อตรง มีความประพฤติที่ซื่อตรง ไม่คิดทรยศต่อประชาชนและประเทศชาติ
(5) มัททวะหรือความอ่อนโยน มีกายวาจาสุภาพ อ่อนโยน ต่อคนทั้งหลาย
(6) ตบะหรือความเพียร มีความมานะปฏิบัติหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ ไม่เบื่อหน่าย ไม่อ่อนแอย่อท้อ
(7) อักโกธะหรือความไม่โกรธ ไม่ลุแก่อำนาจ และไม่กระทำไปด้วยอำนาจของความโกรธ
(8) อวิหิงสาหรือการไม่เบียดเบียน ไม่เพียงไม่เบียดเบียนผู้อื่นแต่ยังมีจิตเมตตาช่วยเหลือผู้อื่นอีกด้วย
(9) ขันติหรือความอดทนต่อความยากลำบากทั้งหลาย อดทนต่อถ้อยคำที่จาบจ้วงล่วงเกินเป็นต้น
(10) อวิโรธนะ ความไม่ผิดพลาดการจะทำอะไรต้องไตร่ตรองให้รอบคอบเพื่อไม่ให้ผิดพลาดนั่นเอง
2.3.3 นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภ์ ทรงให้ความอุปถัมภ์ศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นศาสนาหลักของประชาชนชาวไทย ทรงสนับสนุน ทำนุบำรุง และส่งเสริมพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่องมาตลอดชีวิตของพระองค์ตัวอย่างเช่น ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีการจัดสร้างพระพุทธมณฑล โดยพระองค์ทรงมีพระราชดำริจะจัดสร้างขึ้น เพื่อฉลองมงคลกาลสมัยที่พระพุทธศาสนามีอายุครบ 2,500 ปี ในวันวิสาขบูชา 13 พ.ค. 2500 ซึ่งรัฐบาลก็ได้ตอบสนองโดยมีมติเห็นชอบให้มีการสร้างปูชนียสถานเป็นอุทยานทางพุทธศาสนา “พุทธมณฑล” ขึ้น ซึ่งมีพื้นที่เชื่อมต่อกันระหว่าง อ.สามพราน และอ.นครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ดูภาพที่ 7
ภาพที่ 7 พุทธมณฑล
http://www.lovethailand.biz/travel/th/22%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%90%E0%B8%A1/1747%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B8%A5.html (ที่มาของภาพที่ 7: ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย)
(คำบรรยายเรียบเรียงจาก http://www.oocities.org/sakyaputto/article3.htm ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย)
3. โรงพยาบาลศิริราชกับบรรยากาศที่เปลี่ยนไป
เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ผู้เขียนได้มีโอกาสกลับไปส่งลูกชาย (นพ.ลพบุรี นาทะสิริ อดีตนักศึกษาแพทย์ศิริราช ซึ่งกำลังเรียนต่อเฉพาะทาง) ที่โรงพยาบาลศิริราชอีกครั้งหนึ่ง และได้พบว่า รพ.ศิริราชในค่ำคืนวันนั้น (วันที่ 15 ต.ค. 2559) ได้เปลี่ยนไปไม่เหมือนศิริราชเมื่อหลายปีที่ผ่านมา ในความคิดเห็นส่วนตัวในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาแพทย์ที่เข้าออกรพ.ศิริราชบ่อยมากในช่วง 7-8 ปีที่ผ่านมา ผู้เขียนมีความรู้สึกว่า รพ.ศิริราชเปรียบเสมือนสถานที่ที่ไม่มีวันหลับ จะตื่นอยู่ตลอดเวลา แต่ร.พ.ศิริราชในค่ำคืนวันที่ 15ตุลาคม ซึ่งจะไม่มีองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาประทับอีกต่อไปแล้ว ศิริราชที่มีชีวิตชีวาในอดีตจึงได้กลายเป็นศิริราชที่เงียบเหงา วังเวง และไม่มีชีวิตชีวาเช่นที่ผ่านมา (ดูภาพที่ 8) ไม่มีทหารตำรวจที่ยืนเฝ้ารักษาการณ์ตามจุดต่างๆ ไม่มีรถเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเข้าออกตลอดเวลาและมาจอดเป็นจุดๆ ไม่มีประชาชนที่ร่วมชุมนุมสวดขอพรและส่งกำลังใจไปให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และไม่มีขบวนรถของพระราชวงศ์ รวมทั้งบุคคลสำคัญต่างๆ ที่เข้าออกศิริราชเป็นระยะๆ ทุกวันบรรยากาศในยามค่ำคืนของศิริราชภายหลังวันที่ 14 ต.ค. จึงมีแต่ความเงียบเหงาและวังเวงจนรู้สึกเข้าไปในหัวใจของผู้เขียน และชาวศิริราชทุกคนอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
ภาพที่ 8 บรรยากาศในรพ.ศิริราช ภายหลังวันที่ 14 ต.ค. 59*
*ไม่มีรถ เจ้าหน้าที่ทหารหรือตำรวจยืนเฝ้ารักษาการณ์
4. บทสรุป
แม้จะรู้และเข้าใจดีว่า ทุกๆ อย่างที่เกิดขึ้นเป็นไปตามสัจธรรมคือ ไม่มีอะไรที่จะอยู่คงที่ถาวร ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นอนิจจัง และจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาที่ผ่านไป เราทุกคนที่เป็นมนุษย์จึงต้องเข้าใจ เรียนรู้การเปลี่ยนแปลง และปรับเปลี่ยนการดำรงชีวิตและพฤติกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกด้วยเช่นกัน แต่ในฐานะที่เป็นมนุษย์ที่ยังตัดขาดจากความเป็นไปของสังคมโลกไม่ได้ ผู้เขียนและรวมทั้งชาวไทยทั้งมวลจึงยังรู้สึกเศร้าและยากที่จะลืมได้ในช่วงเวลาอันสั้น และขอฝากพระบรมราโชวาท (ตอนหนึ่ง) ของพระองค์มายังผู้อ่านทุกท่านในโอกาสนี้ด้วย ดูภาพที่ 9
ภาพที่ 9 พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
ที่มา: จาก Thai PBS ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
ท้ายบทความ : ความคิดเห็นและความรู้สึกของผู้อ่าน
ได้มีผู้อ่านหลายท่านได้ส่งรูปภาพ และข้อความแสดงความรู้สึกต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาให้ผู้เขียน (ทาง Line) หลังจากได้อ่านแล้ว จึงได้คัดเลือกบางรูปภาพและบางข้อความที่น่าสนใจนำมาลงในท้ายบทความนี้เพื่อให้ผู้อ่านท่านอื่นๆ ได้ร่วมกันดูและอ่าน ดังนี้
(1) ภาพที่ 10-11 คือ ประชาชนที่มาร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีที่สนามหลวง วันที่ 22 ต.ค.
ภาพที่ 10 ประชาชนมาร่วมร้องเพลงที่ท้องสนามหลวง ในวันที่ 22 ต.ค. 59
ภาพที่ 11 ประชาชนที่มาร่วมร้องเพลง ที่ท้องสนามหลวงในวันที่ 22 ต.ค. 59
ขอขอบคุณ คุณภรดี พงษ์เลิศนภากร ที่ส่งภาพมาให้
(2) ผู้อ่านที่ใช้ชื่อว่า ชูชาติ กังวาน ได้ส่งบทกลอนภาษาอังกฤษถวายความอาลัยและความเคารพต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาให้ผู้เขียน ซึ่งมีความหมายดีมาก จึงขอส่งมาให้ทุกท่านได้อ่านกัน ดังต่อไปนี้
“บทกวีถวายความอาลัย ความเคารพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
Homage in memory of King Bhumibol, The Great King of Thailand
Like earthquake shaking the whole kingdom;
Like lightning striking the Thai fiefdom;
Like Tsunami storming the Thai coastlines;
King Bhumibol’s passing grief our hearts and minds.
Thais’ souls are shattering,
Our hearts are breaking,
Our tears are streaming,
‘Cause You are “Father and Soul of Our Land.”
Your great deeds and contributions are:
So abundant, so fruitful, so useful;
That we have relied upon;
That our lives and livings have been adorned;
That poverty in our land has gradually gone.
While sorrowful, mourning and sobbing,
We vow to follow your footsteps
Of being self-sufficient and rarely rest;
We shall hold You high with great respect.
May You be in Heaven;
May You peacefully rest,
While we glorifying King Bhumibol The Great.
(With deepest sorrow, highest reverence to H.M. King Bhumibol, from ChuchartKangwan, 17/10/2016)”
-------------------------------------------------------------
ถ้าท่านใดต้องการแสดงความคิดเห็นใดๆ กรุณาส่งมาที่ udomdee@gmail.com
สวัสดีครับ – วีระศักดิ์ นาทะสิริ