สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายภัตตาหารเช้าแด่พระพิธีธรรม และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสวดพระอภิธรรมพระบรมศพในช่วงค่ำ คณาจารย์ นิสิต จุฬาฯร่วมสักการะพระบรมศพ ท่ามกลางประชาชนที่ยังคงหลั่งไหลไม่ขาดสาย ขณะที่มหาดไทยกำหนดแผนใหม่นำคน ตจว.เข้าเฝ้าฯ กราบถวายบังคมพระบรมศพวันที่ 29 ต.ค.นี้ วันละ 6 จังหวัด
เมื่อเวลา 07.03 น. วานนี้ (23 ต.ค.) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง พร้อมด้วย คุณพลอยไพลิน และคุณสิริกิติยา เจนเซน พระธิดาในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายภัตตาหารเช้าแด่พระพิธีธรรม ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อย หน้าพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิอดุลยเดช ทรงกราบ ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร เป็นพระพุทธรูปประทับยืนแบบสมภังค์ แสดงปางห้ามญาติ หรืออภัยมุทราด้วยพระหัตถ์ขวาเพียงข้างเดียว ที่หน้าพระแท่นนพปฏลมหาเศวตฉัตร จากนั้นประเคนสำรับภัตตาหารแด่พระพิธีธรรม 8 รูป จากวัดอนงคารามวรวิหาร และวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินกลับ
เวลา 19.00 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสวดพระอภิธรรมพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิอดุลยเดช มีพระพิธีธรรม 8 รูป จากวัดบวรนิเวศวิหาร และ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
จากนั้น เวลา 21.00 น. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จมาบำเพ็ญพระกุศลสวดพระอภิธรรมพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิอดุลยเดช
วันเดียวกัน กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา เปิดเผยว่า การสวดพระอภิธรรมพระศพในการพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมศพ พระพิธีธรรมในแต่วันละวันจะสวดพระอภิธรรมคัมภีร์ในทำนองหลวงแตกต่างกันไป โดยทำนองหลวงที่พระพิธีธรรม ใช้ในพระราชพิธีครั้งนี้ จะมี 4ทำนองหมุนเวียนในแต่ละวัน ได้แก่ 1.ทำนองกะ ทำนองนี้ แยกเป็น 2 ลักษณะ คือ” กะเปิด” เป็นการสวดที่เน้นการออกเสียงคำสวดชัดเจน และ “กะปิด” เป็นการสวดที่เน้นการสวด เอื้อนเสียงยาวต่อเนื่องกันตลอดทั้งบท ไม่เน้นความชัดเจนของคำสวด 2. ทำนองเลื่อนหรือทำนองเคลื่อน เป็นทำนองการสวดที่ว่าคำสวด ไม่เน้นความชัดเจนของคำสวด และเอื้อนเสียงทำนองติดต่อกันไป โดยไม่ให้เสียงขาดตอน 3.ทำนองลากซุง เป็นทำนองการสวดที่ต้องออกเสียงหนัก ในการว่าคำสวดทุก ๆ ตัวอักษรเอื้อนเสียงทำนองจากหนักแล้วจึงแผ่วลงไปหาเบา และ 4. ทำนองสรภัญญะ เป็นทำนองการสวดที่ว่าคำสวดชัดเจนและมีการเอื้อนทำนองเสียงสูง-ต่ำไปพร้อมกับคำสวดนั้น ๆ
ขณะที่ศาลาสหทัยสมาคม พระราชวังได้เปิดให้ประชาชนสักการะพระบรมศพเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ และลงนามในสมุดหลวง เพื่อลงนามถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช ตั้งแต่เวลา 08.04 น. มีประชาชนมาเข้าแถวอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย แม้ว่าวันนี้อากาศจะร้อนอบอ้าวแต่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการแสดงออกถึงความจงรักภักดี ที่พสกนิกรไทยมีต่อในหลวงรัชกาลที่ 9
นางยุพิน บุญบวร วัย 59 ปีประชาชนคนแรกที่เข้ามาลงนามแสดงความอาลัยวันนี้ กล่าวว่า เดินทางมาจากบ้านย่านบางปู จ.สมุทรปราการ มาร่วมจุดเทียนพร้อมร่วมเพลงสรรเสริญพระบารมีตั้งแต่เมื่อคืน เวลาประมาณ 4 ทุ่ม หลังจากนั้นก็มารอต่อแถวเข้าลงนามแสดงความอาลัย เช้านี้เลย ได้เข้ามาเป็นคนแรก
"พระองค์ยังอยู่ในใจเราเสมอ พระองค์ท่านทรงมองมาที่ประชาชนของพระองค์ท่าน ทรงดูแลให้ทุกคนอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข และสามัคคีกัน โดยส่วนตัวป้ายังได้น้อมนำสิ่งที่พระองค์ท่านสอนมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันเสมอ โดยเฉพาะเรื่องความประหยัด ด้วยการปลูกผักสวนครัวไว้กินเอง มีทั้งผักบุ้ง ตะไคร้ ข่า กะเพรา ฯลฯ อีกทั้งยังสอนลูกๆ ให้รู้จักการใช้เงินอย่างประหยัด ใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นด้วย" นางยุพิน กล่าว
ด้านคุณลุงจำนงค์ พุทธโส วัย 73 ปี ที่นั่งรถเข็นเข้ามาเป็นคันแรก โดยมีเจ้าหน้าที่คอยช่วยอำนวยความสะดวก เผยว่า เดินทางมาจากบ้านย่านลาดพร้าว มาร่วมจุดเทียนและร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีตั้งแต่เมื่อคืน แล้วรอจนเช้า เพื่อเข้ามาลงนามแสดงความอาลัย
"ตอนขึ้นไปกราบพรองค์ท่านด้านบนศาลาสหทัยสมาคม ตอนนั้นปลาบปลื้มใจมากจนไม่ทันได้อธิษฐานอะไรถึงพระองค์ท่าน แต่ที่ผ่านมาลุงได้นำคำสอนของพระองค์ท่านมาเป็นแนวทางปฏิบัติในชีวิตหลายข้อ ที่เห็นชัดก็คือ ความขยันหมั่นเพียร มีน้อยใช้น้อย มีมากก็ใช้แต่พอดี" คุณลุงจำนงค์กล่าวด้วยน้ำเสียงสั่นเครือ
** คณาจารย์นิสิต จุฬาฯ ร่วมสักการะ
ต่อมาเวลา 11.05 น. คณาจารย์ พร้อมด้วยนิสิต และบุคลากร จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประมาณ 3,000 คน นำโดยรศ.ดร.บัญชา ชลาภิรมย์ รองอธิการบดีด้านการพัฒนานิสิตและนิสิตเก่าสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันกล่าวบทอาเศียรวาทน้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ และกราบสักการะพระบรมศพเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บริเวณสนามหญ้าหน้าด้านหน้าศาลาสหทัยสมาคม หลังจากมีการรวมตัวกันที่จุฬาฯ ตั้งแต่เวลา 07.00 น. กระทั่งเวลา 8.30 น. ได้ร่วมกันกล่าวอาเศียรวาท และสักการะพระบรมรูป 2 รัชกาล แล้วจึงเดินทางมาถวายบังคม พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 บริเวณลานพระราชวังดุสิต ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติสืบกันมาทุกปี
รศ.ดร.บัญชา ชลาภิรมย์ กล่าวว่า เนื่องจากปีนี้เกิดการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ ทางจุฬาฯ จึงได้มีการนัดแนะผ่านทางโซเชียลเนตเวิร์ก เพื่อมาสักการะพระบรมศพ ปรากฏว่า มีนักศึกษาพร้อมใจกันมาร่วมกิจกรรมครั้งนี้กว่า 3,000 คน ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นองค์พระบรมราชูปถัมภกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเดินเท้าจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เข้ามาทางประตูสวัสดิโสภา ผ่านประตูมณีนพรัตน์ มายังสนามหญ้าหน้าศาลาสหทัยฯ
หนึ่งในผู้เข้าร่วมกิจกรรม กิตติวัช พรมใจ อายุ 19 ปี นิสิตจากคณะรัฐศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า วันนี้ตั้งใจจะมากราบสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงมีต่อประชาชนคนไทย พร้อมตั้งจิตอธิษฐานบอกพระองค์ ว่า จะตั้งใจเรียนและจะเป็นคนดีของสังคม ทั้งยังจะน้อมนำคำสั่งสอนของพระองค์ท่านมาเป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิต โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากตัวเองเป็นเด็กต่างจังหวัด ที่ได้รับทุนจากโครงการจุฬาฯ - ชนบท จึงพยามยามใช้จ่ายอย่างประหยัด ไม่รบกวนเงินพ่อแม่ทางบ้าน
น.ส.ชุติกาญจน์ เอกวิสิฐ อายุ 18 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ตั้งแต่ทราบข่าวว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สวรรคตก็รู้สึกเสียใจมาก แต่ยังไม่มีโอกาสเดินทางมาสักการะพระบรมศพและแสดงความอาลัยถวายพระองค์ท่าน จึงอยากมาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย ส่วนตัวรู้สึกภูมิใจที่ได้เข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันเป็นสถานศึกษาที่ในหลวงทรงเป็นพระบรมราชูปถัมภก นอกจากนี้ ยังประทับใจและซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมากที่ท่านทรงงานอย่างหนักเพื่อคนไทยมาตลอดพระชนม์ชีพ ทำให้เด็กรุ่นใหม่อย่างตัวเองศึกษาองค์ความรู้จากพระองค์ได้ไม่ยาก เพราะไม่ว่าไปที่ไหนก็ตามจะมีเรื่องราวและพระราชกรณียกิจของพ่อหลวงให้เห็น หลังจากนี้ จะพยานามดำรงตนเป็นคนดีและทำตามคำสอนต่าง ๆ ที่ทรงสอนไว้
ทั้งนี้เมื่อเวลา 16.00 น. สำนักพระราชวัง ปิดการสักการะพระบรมศพหน้าพระฉายาลักษณ์ลงนามถวายความอาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รวมจำนวนประชาชนที่มาลงนามถวายความอาลัย 36,486 คน มีประชาชนถวายเงิน เพื่อร่วมบำเพ็ญพระราชกุศลทั้งสิ้น 1,304,870 บาท รวมเก้าวัน จำนวนเงิน 5,479,954.25 บาท
***มท.กำหนดแผนนำคน ตจว.
ตามที่สำนักพระราชวังได้ประกาศให้ประชาชนได้เข้าเฝ้าฯ กราบถวายบังคมพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ภายหลังจากพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลครบ 15 วัน ตั้งแต่เวลา 09.00 น. ถึง 16.00 น. ทุกวัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 28 ต.ค. 2559 เวลา 13.00 น. นั้น วานนี้ (23 ต.ค.) นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดแผนดำเนินงานอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่มีความประสงค์จะเดินทางมาเข้าเฝ้าฯ กราบถวายบังคมพระบรมศพ กำหนดเป้าหมายจำนวนคนจากจังหวัดต่างๆ วันละ 5 จังหวัด จังหวัดละ 600 คน รวมวันละ 3,000 คน เป็นเวลา 79 วัน และกำหนดวันละ 6 จังหวัด จังหวัดละ 600 คน รวมวันละ 3,600 คน เป็นเวลา 5 วัน รวม 84 วัน ตั้งแต่วันที่ 29 ต.ค. 2559 -20 ม.ค. 2560
** "บิ๊กป้อม" ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่.
เมื่อเวลา 08.50น. วานนี้ ที่กองอำนวยการร่วมรักษาความสงบเรียบร้อย (กอร.รส.) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เดินทางมาพร้อมพล.อ.อนุพงศ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม. พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผบ.ทบ. พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. พล.ท.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ แม่ทัพภาคที่ 1 มาตรวจเยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนผู้เดินทางมาแสดงความอาลัย แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยเข้ามาฟังการสรุปการทำงานตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
พ.อ.มนัส จันทร์ดี รองเลขาธิการร่วม รส.ได้บรรยายสรุปเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยให้ประชาชนในพื้นที่รอบพระบรมมหาราชวัง และบริเวณสนามหลวง ว่า ทางเจ้าหน้าที่กองอำนวยการร่วมลงตามจุดในพื้นโดยรอบ ซึ่งได้มีการจัดการพื้นที่อย่างเป็นระบบ โดยเราได้มีจุดคัดกรองประชาชนที่เข้ามาในพื้นที่รวม 8 จุด ใช้กำลังของ ทหาร ตำรวจ อาสาสมัคร ร่วมกันในการดูเเล จุดตรวจที่ 2 เป็นกองอำนวยการซึ่งอยู่ในพื้นที่สนามหลวง 9 จุด เพื่อเป็นการคัดกรองประชาชนอีกชั้นหนึ่ง
ทั้งนี้ ทางทหารช่างได้สร้างสะพานแบรี่ M 2 ให้กับประชาชนได้เดินทางเข้า-ออก ได้สะดวกยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยการจราจรในพื้นที่
จากนั้น พล.อ.ประวิตร พร้อมคณะได้ออกตรวจเยี่ยมหน่วยบริการทางการแพทย์ ทั้งแพทย์ทหาร แพทย์กทม. ครัวสนามเคลื่อนที่ของกองทัพบก กองทัพอากาศ และกระทรวงกลาโหม ตรวจและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่จัดคิวถวายความอาลัย ที่ประตูวิเศษชัยศรี และตรวจเยี่ยมศูนย์ปฏิบัติการตำรวจส่วนหน้า ที่ประตูวิเศษชัยศรี
พล.อ.ประวิตร ให้สัมภาษณ์ว่า เป็นการมาตรวจเยี่ยมตามความห่วงใยของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในเรื่องการดูแล และอำนวยความสะดวก และรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชนที่มาร่วมเเสดงความอาลัย แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งจากการฟังบรรยายจากกองอำนวยการร่วม กทม. และทุกภาคส่วนที่ร่วมมือกันทำให้เกิดความปลอดภัยโดยเฉพาะมิจฉาชีพ จะต้องไม่เกิดขึ้น และที่สำคัญคือ จุดแจกจ่ายอาหารและน้ำดื่มต้องให้บริการอย่างทั่วถึง
ทั้งนี้จากการฟังบรรยายสรุปการทำงานที่ผ่านมา ทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่งหากเกิดอะไรขึ้น ทางกอร.รส. มีชุดเคลื่อนที่เร็วในการแก้ปัญหา ดังนั้นหากประชาชนมีเรื่องที่คิดว่าไม่สามารถดำเนินการได้ เจ้าหน้าที่สามารถอำนวยความสะดวกให้ได้ทั้งหมด ยืนยันจะทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่น และเกิดความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่ประชุม กอร.รส. พล.อ.ประวิตรได้สั่งการให้สร้าง ทหารช่าง จากองพลทหารราบที่ 9 สร้าง จัดสร้างสะพานแบรี่ M2 อีก 1 สะพาน บริเวณข้างสะพานช้างโรงสี หลังกระทรวงกลาโหม โดยจะเริ่มดำเนินการสร้างหลังเที่ยงคืน วันนี้ (23 ต.ค.) และมีกำหนดแล้วเสร็จ 06.00 น. หลังสร้างสะพานแรก หน้า รร.รัตนโกสินทร์ ไปแล้ว ซึ่งสามารถช่วยจัดระบบการจราจรได้เป็นอย่างดี.
เมื่อเวลา 07.03 น. วานนี้ (23 ต.ค.) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง พร้อมด้วย คุณพลอยไพลิน และคุณสิริกิติยา เจนเซน พระธิดาในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายภัตตาหารเช้าแด่พระพิธีธรรม ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อย หน้าพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิอดุลยเดช ทรงกราบ ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร เป็นพระพุทธรูปประทับยืนแบบสมภังค์ แสดงปางห้ามญาติ หรืออภัยมุทราด้วยพระหัตถ์ขวาเพียงข้างเดียว ที่หน้าพระแท่นนพปฏลมหาเศวตฉัตร จากนั้นประเคนสำรับภัตตาหารแด่พระพิธีธรรม 8 รูป จากวัดอนงคารามวรวิหาร และวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินกลับ
เวลา 19.00 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสวดพระอภิธรรมพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิอดุลยเดช มีพระพิธีธรรม 8 รูป จากวัดบวรนิเวศวิหาร และ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
จากนั้น เวลา 21.00 น. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จมาบำเพ็ญพระกุศลสวดพระอภิธรรมพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิอดุลยเดช
วันเดียวกัน กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา เปิดเผยว่า การสวดพระอภิธรรมพระศพในการพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมศพ พระพิธีธรรมในแต่วันละวันจะสวดพระอภิธรรมคัมภีร์ในทำนองหลวงแตกต่างกันไป โดยทำนองหลวงที่พระพิธีธรรม ใช้ในพระราชพิธีครั้งนี้ จะมี 4ทำนองหมุนเวียนในแต่ละวัน ได้แก่ 1.ทำนองกะ ทำนองนี้ แยกเป็น 2 ลักษณะ คือ” กะเปิด” เป็นการสวดที่เน้นการออกเสียงคำสวดชัดเจน และ “กะปิด” เป็นการสวดที่เน้นการสวด เอื้อนเสียงยาวต่อเนื่องกันตลอดทั้งบท ไม่เน้นความชัดเจนของคำสวด 2. ทำนองเลื่อนหรือทำนองเคลื่อน เป็นทำนองการสวดที่ว่าคำสวด ไม่เน้นความชัดเจนของคำสวด และเอื้อนเสียงทำนองติดต่อกันไป โดยไม่ให้เสียงขาดตอน 3.ทำนองลากซุง เป็นทำนองการสวดที่ต้องออกเสียงหนัก ในการว่าคำสวดทุก ๆ ตัวอักษรเอื้อนเสียงทำนองจากหนักแล้วจึงแผ่วลงไปหาเบา และ 4. ทำนองสรภัญญะ เป็นทำนองการสวดที่ว่าคำสวดชัดเจนและมีการเอื้อนทำนองเสียงสูง-ต่ำไปพร้อมกับคำสวดนั้น ๆ
ขณะที่ศาลาสหทัยสมาคม พระราชวังได้เปิดให้ประชาชนสักการะพระบรมศพเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ และลงนามในสมุดหลวง เพื่อลงนามถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช ตั้งแต่เวลา 08.04 น. มีประชาชนมาเข้าแถวอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย แม้ว่าวันนี้อากาศจะร้อนอบอ้าวแต่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการแสดงออกถึงความจงรักภักดี ที่พสกนิกรไทยมีต่อในหลวงรัชกาลที่ 9
นางยุพิน บุญบวร วัย 59 ปีประชาชนคนแรกที่เข้ามาลงนามแสดงความอาลัยวันนี้ กล่าวว่า เดินทางมาจากบ้านย่านบางปู จ.สมุทรปราการ มาร่วมจุดเทียนพร้อมร่วมเพลงสรรเสริญพระบารมีตั้งแต่เมื่อคืน เวลาประมาณ 4 ทุ่ม หลังจากนั้นก็มารอต่อแถวเข้าลงนามแสดงความอาลัย เช้านี้เลย ได้เข้ามาเป็นคนแรก
"พระองค์ยังอยู่ในใจเราเสมอ พระองค์ท่านทรงมองมาที่ประชาชนของพระองค์ท่าน ทรงดูแลให้ทุกคนอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข และสามัคคีกัน โดยส่วนตัวป้ายังได้น้อมนำสิ่งที่พระองค์ท่านสอนมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันเสมอ โดยเฉพาะเรื่องความประหยัด ด้วยการปลูกผักสวนครัวไว้กินเอง มีทั้งผักบุ้ง ตะไคร้ ข่า กะเพรา ฯลฯ อีกทั้งยังสอนลูกๆ ให้รู้จักการใช้เงินอย่างประหยัด ใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นด้วย" นางยุพิน กล่าว
ด้านคุณลุงจำนงค์ พุทธโส วัย 73 ปี ที่นั่งรถเข็นเข้ามาเป็นคันแรก โดยมีเจ้าหน้าที่คอยช่วยอำนวยความสะดวก เผยว่า เดินทางมาจากบ้านย่านลาดพร้าว มาร่วมจุดเทียนและร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีตั้งแต่เมื่อคืน แล้วรอจนเช้า เพื่อเข้ามาลงนามแสดงความอาลัย
"ตอนขึ้นไปกราบพรองค์ท่านด้านบนศาลาสหทัยสมาคม ตอนนั้นปลาบปลื้มใจมากจนไม่ทันได้อธิษฐานอะไรถึงพระองค์ท่าน แต่ที่ผ่านมาลุงได้นำคำสอนของพระองค์ท่านมาเป็นแนวทางปฏิบัติในชีวิตหลายข้อ ที่เห็นชัดก็คือ ความขยันหมั่นเพียร มีน้อยใช้น้อย มีมากก็ใช้แต่พอดี" คุณลุงจำนงค์กล่าวด้วยน้ำเสียงสั่นเครือ
** คณาจารย์นิสิต จุฬาฯ ร่วมสักการะ
ต่อมาเวลา 11.05 น. คณาจารย์ พร้อมด้วยนิสิต และบุคลากร จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประมาณ 3,000 คน นำโดยรศ.ดร.บัญชา ชลาภิรมย์ รองอธิการบดีด้านการพัฒนานิสิตและนิสิตเก่าสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันกล่าวบทอาเศียรวาทน้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ และกราบสักการะพระบรมศพเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บริเวณสนามหญ้าหน้าด้านหน้าศาลาสหทัยสมาคม หลังจากมีการรวมตัวกันที่จุฬาฯ ตั้งแต่เวลา 07.00 น. กระทั่งเวลา 8.30 น. ได้ร่วมกันกล่าวอาเศียรวาท และสักการะพระบรมรูป 2 รัชกาล แล้วจึงเดินทางมาถวายบังคม พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 บริเวณลานพระราชวังดุสิต ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติสืบกันมาทุกปี
รศ.ดร.บัญชา ชลาภิรมย์ กล่าวว่า เนื่องจากปีนี้เกิดการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ ทางจุฬาฯ จึงได้มีการนัดแนะผ่านทางโซเชียลเนตเวิร์ก เพื่อมาสักการะพระบรมศพ ปรากฏว่า มีนักศึกษาพร้อมใจกันมาร่วมกิจกรรมครั้งนี้กว่า 3,000 คน ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นองค์พระบรมราชูปถัมภกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเดินเท้าจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เข้ามาทางประตูสวัสดิโสภา ผ่านประตูมณีนพรัตน์ มายังสนามหญ้าหน้าศาลาสหทัยฯ
หนึ่งในผู้เข้าร่วมกิจกรรม กิตติวัช พรมใจ อายุ 19 ปี นิสิตจากคณะรัฐศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า วันนี้ตั้งใจจะมากราบสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงมีต่อประชาชนคนไทย พร้อมตั้งจิตอธิษฐานบอกพระองค์ ว่า จะตั้งใจเรียนและจะเป็นคนดีของสังคม ทั้งยังจะน้อมนำคำสั่งสอนของพระองค์ท่านมาเป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิต โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากตัวเองเป็นเด็กต่างจังหวัด ที่ได้รับทุนจากโครงการจุฬาฯ - ชนบท จึงพยามยามใช้จ่ายอย่างประหยัด ไม่รบกวนเงินพ่อแม่ทางบ้าน
น.ส.ชุติกาญจน์ เอกวิสิฐ อายุ 18 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ตั้งแต่ทราบข่าวว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สวรรคตก็รู้สึกเสียใจมาก แต่ยังไม่มีโอกาสเดินทางมาสักการะพระบรมศพและแสดงความอาลัยถวายพระองค์ท่าน จึงอยากมาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย ส่วนตัวรู้สึกภูมิใจที่ได้เข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันเป็นสถานศึกษาที่ในหลวงทรงเป็นพระบรมราชูปถัมภก นอกจากนี้ ยังประทับใจและซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมากที่ท่านทรงงานอย่างหนักเพื่อคนไทยมาตลอดพระชนม์ชีพ ทำให้เด็กรุ่นใหม่อย่างตัวเองศึกษาองค์ความรู้จากพระองค์ได้ไม่ยาก เพราะไม่ว่าไปที่ไหนก็ตามจะมีเรื่องราวและพระราชกรณียกิจของพ่อหลวงให้เห็น หลังจากนี้ จะพยานามดำรงตนเป็นคนดีและทำตามคำสอนต่าง ๆ ที่ทรงสอนไว้
ทั้งนี้เมื่อเวลา 16.00 น. สำนักพระราชวัง ปิดการสักการะพระบรมศพหน้าพระฉายาลักษณ์ลงนามถวายความอาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รวมจำนวนประชาชนที่มาลงนามถวายความอาลัย 36,486 คน มีประชาชนถวายเงิน เพื่อร่วมบำเพ็ญพระราชกุศลทั้งสิ้น 1,304,870 บาท รวมเก้าวัน จำนวนเงิน 5,479,954.25 บาท
***มท.กำหนดแผนนำคน ตจว.
ตามที่สำนักพระราชวังได้ประกาศให้ประชาชนได้เข้าเฝ้าฯ กราบถวายบังคมพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ภายหลังจากพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลครบ 15 วัน ตั้งแต่เวลา 09.00 น. ถึง 16.00 น. ทุกวัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 28 ต.ค. 2559 เวลา 13.00 น. นั้น วานนี้ (23 ต.ค.) นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดแผนดำเนินงานอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่มีความประสงค์จะเดินทางมาเข้าเฝ้าฯ กราบถวายบังคมพระบรมศพ กำหนดเป้าหมายจำนวนคนจากจังหวัดต่างๆ วันละ 5 จังหวัด จังหวัดละ 600 คน รวมวันละ 3,000 คน เป็นเวลา 79 วัน และกำหนดวันละ 6 จังหวัด จังหวัดละ 600 คน รวมวันละ 3,600 คน เป็นเวลา 5 วัน รวม 84 วัน ตั้งแต่วันที่ 29 ต.ค. 2559 -20 ม.ค. 2560
** "บิ๊กป้อม" ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่.
เมื่อเวลา 08.50น. วานนี้ ที่กองอำนวยการร่วมรักษาความสงบเรียบร้อย (กอร.รส.) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เดินทางมาพร้อมพล.อ.อนุพงศ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม. พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผบ.ทบ. พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. พล.ท.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ แม่ทัพภาคที่ 1 มาตรวจเยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนผู้เดินทางมาแสดงความอาลัย แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยเข้ามาฟังการสรุปการทำงานตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
พ.อ.มนัส จันทร์ดี รองเลขาธิการร่วม รส.ได้บรรยายสรุปเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยให้ประชาชนในพื้นที่รอบพระบรมมหาราชวัง และบริเวณสนามหลวง ว่า ทางเจ้าหน้าที่กองอำนวยการร่วมลงตามจุดในพื้นโดยรอบ ซึ่งได้มีการจัดการพื้นที่อย่างเป็นระบบ โดยเราได้มีจุดคัดกรองประชาชนที่เข้ามาในพื้นที่รวม 8 จุด ใช้กำลังของ ทหาร ตำรวจ อาสาสมัคร ร่วมกันในการดูเเล จุดตรวจที่ 2 เป็นกองอำนวยการซึ่งอยู่ในพื้นที่สนามหลวง 9 จุด เพื่อเป็นการคัดกรองประชาชนอีกชั้นหนึ่ง
ทั้งนี้ ทางทหารช่างได้สร้างสะพานแบรี่ M 2 ให้กับประชาชนได้เดินทางเข้า-ออก ได้สะดวกยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยการจราจรในพื้นที่
จากนั้น พล.อ.ประวิตร พร้อมคณะได้ออกตรวจเยี่ยมหน่วยบริการทางการแพทย์ ทั้งแพทย์ทหาร แพทย์กทม. ครัวสนามเคลื่อนที่ของกองทัพบก กองทัพอากาศ และกระทรวงกลาโหม ตรวจและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่จัดคิวถวายความอาลัย ที่ประตูวิเศษชัยศรี และตรวจเยี่ยมศูนย์ปฏิบัติการตำรวจส่วนหน้า ที่ประตูวิเศษชัยศรี
พล.อ.ประวิตร ให้สัมภาษณ์ว่า เป็นการมาตรวจเยี่ยมตามความห่วงใยของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในเรื่องการดูแล และอำนวยความสะดวก และรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชนที่มาร่วมเเสดงความอาลัย แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งจากการฟังบรรยายจากกองอำนวยการร่วม กทม. และทุกภาคส่วนที่ร่วมมือกันทำให้เกิดความปลอดภัยโดยเฉพาะมิจฉาชีพ จะต้องไม่เกิดขึ้น และที่สำคัญคือ จุดแจกจ่ายอาหารและน้ำดื่มต้องให้บริการอย่างทั่วถึง
ทั้งนี้จากการฟังบรรยายสรุปการทำงานที่ผ่านมา ทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่งหากเกิดอะไรขึ้น ทางกอร.รส. มีชุดเคลื่อนที่เร็วในการแก้ปัญหา ดังนั้นหากประชาชนมีเรื่องที่คิดว่าไม่สามารถดำเนินการได้ เจ้าหน้าที่สามารถอำนวยความสะดวกให้ได้ทั้งหมด ยืนยันจะทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่น และเกิดความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่ประชุม กอร.รส. พล.อ.ประวิตรได้สั่งการให้สร้าง ทหารช่าง จากองพลทหารราบที่ 9 สร้าง จัดสร้างสะพานแบรี่ M2 อีก 1 สะพาน บริเวณข้างสะพานช้างโรงสี หลังกระทรวงกลาโหม โดยจะเริ่มดำเนินการสร้างหลังเที่ยงคืน วันนี้ (23 ต.ค.) และมีกำหนดแล้วเสร็จ 06.00 น. หลังสร้างสะพานแรก หน้า รร.รัตนโกสินทร์ ไปแล้ว ซึ่งสามารถช่วยจัดระบบการจราจรได้เป็นอย่างดี.